สถานะห้องพักในระบบ Opera มี กี่ ประเภท

แผนกแม่บ้าน (Housekeeping Department) มีหน้าที่รับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงานหลังฉาก (Behind the scenes operation) เหมือนกับงานของแผนกครัว แต่แขกหรือผู้มาใช้บริการจะได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพของงานทำนองเดียวกับแผนครัว

สถานะห้องพักในระบบ Opera มี กี่ ประเภท

แม้ว่างานของแผนกแม่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นงานหลังฉาก การติดต่อกับแขกก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น แขกมาถามว่าที่โรงแรมมีอาหารเจขายหรือไม่ คุณอาจจะคิดว่า มาถามคำถามที่ไม่เห็นเกี่ยวกับงานแม่บ้านซักหน่อย แต่ในฐานะพนักงานคนหนึ่งก็ควรจะรู้เรื่องเกี่ยวกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่โรงแรมจัดไว้ให้แขกมากพอที่จะตอบคำถามพื้น ๆ ของแขกได้ ซึ่งในทางหนึ่งก็เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่แขกด้วย ถ้าแม่บ้านสามารถตอบคำถามของแขกได้ และตอบอย่างชัดเจนละด้วยความเต็มอกเต็มใจก็จะมีส่วนช่วยให้แขกเกิดความรู้สึกที่ดีและอยากกลับมาพักหรือใช้บริการที่โรงแรมอีก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อโรงแรมและต่อพนักงานทุกคนที่ทำงานในโรงแรมนั้นด้วย ตำแหน่งงานในแผนกแม่บ้าน(House-Keeping หรือ Accommodation Service)  โดยทั่วไปจะมีดังนี้

1. หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper)

ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับผู้จัดการใหญ่ (general Manager) แต่ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการส่วนหน้า ( Font of House Manager) โดยงานหลักๆ ของหัวหน้าแผนกแม่บ้าน ได้แก่ การตรวจสอบงานส่วนต่างๆของแผนกว่าได้มาตรฐานที่วางไว้หรือไม่ ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่าย จัดตางเวลาการทำงานของพนักงาน และการฝึกอบรม อีกทั้งต้องรับผิดชอบเรื่องกุญแจต่างๆ ที่จะแจกจ่ายให้พนักงานโรงแรม และคอยดูและควบคุมห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดเอง

2. หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper)

หัวหน้าแม่บ้านจะคอยดูแลตรวจตราการทำงานองผู้ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ 3 คนขึ้นไป ในกรณีเป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด

3. แม่บ้านประจำฟลอร์หรือผู้ช่วยแม่บ้าน (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper)

แม่บ้านประจำฟลอร์จะเป็นผู้ตรวจตราการทำงานของพนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานดูแลห้องพัก เฉพาะที่ทำงานอยู่ที่ฟลอร์ใดฟลอร์หนึ่งของโรงแรม

4. พนักงานดูแลห้องพัก (Room Attendant)

พนักงานดูแลห้องพัก มีหน้าที่ทำความสะอาดและให้บริการต่างๆที่เกี่ยวกับห้องพัก เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องอาบน้ำ และห้องส้วม รวมถึงทางเดินหน้าห้องพักด้วย

5. พนักงานยกของ/ทำความสะอาด (Housekeeper)

มีหน้าที่ยกของหรือย้ายพวกเฟอร์นิเจอร์หนักๆ หรือนำขยะไปทิ้ง บางครั้งก็ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้ร่วมกันในโรงแรมในเมืองไทยชื่อตำแหน่งนี้จะไม่ค่อยได้พบ ชื่อตำแหน่งที่นิยมใช้กันคือ Cleaner

6. หัวหน้าห้องผ้า (Line Room Supervisor)

หัวหน้าห้องผ้าจะรับผิดชอบผ้าทุกชนิดที่ใช้ในห้องรับแขก (เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เป็นต้น) ผ้าของห้องอาหารและแผนกจัดเลี้ยง (ได้แก่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดปาก ผ้ารองถาด) และเครื่องแบบพนักงาน โดยการจ่ายผ้าที่ซักสะอาดแล้ว เก็บรวบรวมผ้าที่ใช้แล้ว ปะชุนผ้าที่ขาดและดูแลควบคุมการส่งผ้าไปซักที่แผนที่แผนกซักรีดและการรับคืน ผ้าที่ซักแล้ว

สถานะของห้องพัก Room Status ที่แผนกแม่บ้านใช้กัน มีดังนี้

  • หมวดห้องว่าง จะเป็น สเตตัสที่ขึ้นต้นด้วยตัว ‘V’ = Vacant
    • VC = Vacant Clean หมายถึง ห้องว่างสะอาด แม่บ้านทำความสะอาดแล้ว ฟร้อนสามารถให้แขก C/I ได้
    • VD = Vacant Dirty หมายถึง ห้องว่างสกปรก แขก C/O แล้ว แม่บ้านจะต้องทำความสะอาดห้อง เพื่อให้แขกเข้าพักต่อ
    • VCI = Vacant Clean Inspected หมายถึง ห้องว่างสะอาด Supervisor ตรวจแล้ว
    • VCP = Vacant Clean Pick Up หมายถึง ห้องว่างสะอาด แต่ของภายในห้องยังไม่ครบ เช่น ยังไม่เติมมินิบาร์ เป็นต้น
  • หมวดห้องไม่ว่าง จะเป็น สเตตัสที่ขึ้นต้นด้วยตัว ‘O’ = Occupied
    • OC = Occupied Clean ห้องมีแขกทำความสะอาดแล้ว หรือก็คือ ห้องที่แขก C/I หรือเข้าพักแล้ว
    • OD = Occupied Dirty ห้องมีแขกยังไม่ได้ทำความสะอาด หรือก็คือ มีแขกพักข้ามวันไปแล้ว
    • OCI = Occupied Clean Inspected ห้องมีแขกทำความสะอาดแล้ว Supervisor ตรวจแล้ว
  • หมวดห้องเสีย จะเป็น สเตตัสสำหรับห้องที่ใช้งานไม่ได้
    • OOO = Out of Order ห้องเสียชั่วคราว ไม่สามารถขายได้ (มีการตัดจำนวนห้องว่าง)
    • OOS = Out of Service ห้องที่เสียเล็กน้อย สามารถเปิดขายได้หรือเป็นห้องโชว์รูม เปิดให้เข้าพักได้ (ไม่มีการตัดจำนวนห้องว่าง)
    • OOI = Out of Inventory ห้องที่ไม่มีการขายเลย อาจจะเสียถาวร หรือเป็นห้องพักของเจ้าของ หรือเป็นออฟฟิศ
  • หมวดห้องที่จองแล้ว จะเป็น สเตตัสที่ขึ้นต้นด้วย ‘A’ = Assign
    • Assign Clean ห้องสะอาด และมีคนจองแล้ว รอแขกเข้าพัก (C/I)
    • Assign Dirty แม่บ้านยังไม่ทำความสะอาด แต่มีคนจองแล้ว

ระบบ Hotel Management Software ที่ดีจะสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักได้อย่างราบรื่น (SEAMLESS INTEGRATION) เช่น ระบบ ERP ดังต่อไปนี้

Tagged on: Ace Hotel System    Additional Hotel System    Amadeus    Booking Engine    Central Reservation Systems    Channel Manager    Customer Relationship Management    Financial Management System    Galileo    GDS    Hotel Official Website    Hoteliers.Guru    Human Resource Management    IDS    Mobile App    Online Distribution System    Online Travel Agent    Opera PMS    Opera S&C    OTA    Point Of Sales    Property Management System    Sabre    SiteMinder    Social media    Travel Agents    Worldspan    ระบบจัดการโรงแรม    ระบบบริหารงานโรงแรม    ออกบูทท่องเที่ยว    โปรแกรมโรงแรม

สถานะของห้องพักมีอะไรบ้าง

ตัวย่อที่แสดงในระบบ PMS หรือ ระบบบริหารจัดการโรงแรม มีอะไรบ้าง?.
ตัวย่อบอกสถานะของห้อง OC = Occupied Clean. ห้องที่มีคน C/I หรือเข้าพักแล้ว OD = Occupied Dirty. ... .
ตัวย่อบอกสถานะห้องเสีย ไม่สามารถให้แขกพักได้ OOO = Out of Order. ห้องเสียชั่วคราว 2-3 วัน นำมาคำนวณ Occupancy. ... .
ตัวย่อบอกชนิดของห้อง STD = Standard. SUP = Superior..

ข้อใดคือสถานะห้องว่าง

สถานะของห้องพัก Room Status ที่แผนกแม่บ้านใช้กัน มีดังนี้ VC = Vacant Clean หมายถึง ห้องว่างสะอาด แม่บ้านทำความสะอาดแล้ว ฟร้อนสามารถให้แขก C/I ได้ VD = Vacant Dirty หมายถึง ห้องว่างสกปรก แขก C/O แล้ว แม่บ้านจะต้องทำความสะอาดห้อง เพื่อให้แขกเข้าพักต่อ

OC คือสถานะห้องพักแบบใด

OC = Occupied Clean ห้องแขกสะอาด OD = Occupied Dirty ห้องแขกสกปรก หมวดห้องเสีย OOO = Out of Order ห้องเสียขายไม่ได้ (มีการตัดจำนวนห้องว่าง)

โปรแกรม Front Office มีอะไรบ้าง

ระบบบริการส่วนหน้า หรือ Front Office สำหรับชื่อซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งานในประเทศไทย ได้แก่ Opera PMS (ซอฟต์แวร์ต่างประเทศ) Infor HMS (ซอฟต์แวร์ต่างประเทศ).
Micros POS (ซอฟต์แวร์ต่างประเทศ).
Comanche POS (ซอฟต์แวร์คนไทย).
EasyFo POS (ซอฟต์แวร์คนไทย).