ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

การประดิษฐ์
1. เป็นการประดิษฐ์ใหม่ (ทั่วโลก)
2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
3. สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

การออกแบบผลิตภัณฑ์
1. เป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ (ทั่วโลก)
2. เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม

ระยะเวลาคุ้มครอง

การประดิษฐ์
20 ปีนับจากวันยื่นคำขอ หรือเท่าระยะเวลาที่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี

การออกแบบผลิตภัณฑ์
10 ปีนับจากวันยื่นคำขอ หรือเท่าระยะเวลาที่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.2 อนุสิทธิบัตร (Petty Patent)

กฎหมาย

พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542

ความหมาย

หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) เป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่สูงพอที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี ใช้งานได้จริง ซึ่งเหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศไทย

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

1. เป็นการประดิษฐ์ใหม่ (ทั่วโลก)
2. สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

ระยะเวลาคุ้มครอง

6 ปี และขอขยายเวลาคุ้มครองได้ 2 ครั้งๆละ 2 ปี (รวม 10 ปี)

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.3 เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)

กฎหมาย

พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2543 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2559

ความหมาย

เครื่องหมาย (ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คํา ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้ อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน) ที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง  และเครื่องหมายร่วม

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่
1. มีลักษณะเฉพาะ
2. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายนี้
3. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว

ระยะเวลาคุ้มครอง

10 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียน และอาจต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.4 คุ้มครองการคุ้มครองพันธุ์พืช (Plants Varieties)

กฎหมาย

พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

ความหมาย

การส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืชขึ้นใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม  การส่งเสริมเกษตรกรรม การอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษา และจัดตั้งกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและครบวงจร

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

1. พันธุ์พืชใหม่
2. พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น
3. พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป
4. พันธุ์พืชป่า

ระยะเวลาคุ้มครอง

พันธุ์พืชใหม่และพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น
– พืชล้มลุก 12 ปี
– พืชยืนต้น 17 ปี
– พืชที่ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ 27 ปี
(เฉพาะพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่ขอโดยชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกร ขยายเวลาการคุ้มครองได้อีกครั้งละ 10 ปี)
พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า รัฐเป็นผู้มีสิทธิ

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2.5 แบบผังภูมิวงจรรวม (Layout-Designs, Topography, Integrated Circuit)

กฎหมาย

พ.ร.บ. คุ้มครองแบบผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543

ความหมาย

แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้นในรูปแบบหรือวิธีใดๆ ที่จัดวางให้เป็นวงจรรวม เป็นแบบของวงจรไฟฟ้าที่ได้ออกแบบขึ้นมา (Layout Design) และตัวชุดหน้ากากหรือแผ่นบัง (Mask Work) ซึ่งเป็นตัวต้นแบบที่ใช้ในการสร้างให้เกิดแบบผังภูมิ

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

1. เป็นแบบผังภูมิที่สร้างสรรค์ขึ้นเองและไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมวงจรรวม
2. เป็นแบบผังภูมิที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยนำเอาชิ้นส่วน ส่วนเชื่อมต่อแบบผังภูมิหรือวงจรรวมอันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาจัดวางใหม่ ทำให้เกิดเป็นแบบผังภูมิใหม่

ระยะเวลาคุ้มครอง

10 ปีนับตั้งแต่ยื่นคำขอจดทะเบียน

การขอรับความคุ้มครอง

จดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.6 ความลับทางการค้า (Trade Secret)

กฎหมาย

พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558

ความหมาย

ข้อมูลทางการค้าที่เป็นความลับ

ลักษณะงานที่ได้รับความคุ้มครอง

เป็นข้อมูลทางการค้าที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับนั้น และได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ

ระยะเวลาคุ้มครอง

ไม่มีกำหนดระยะเวลาตราบเท่าที่ยังเป็นความลับอยู่

การขอรับความคุ้มครอง

ไม่ต้องจดทะเบียน

2.7 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications)

กฎหมาย

พ.ร.บ. คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546

ความหมาย

ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ป้องกันความหลงผิดหรือสับสนของสาธารณชน และเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับความคุ้มครอง

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร

ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ลิขสิทธิ์(Copyright) และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึงอะไร

1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม: ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้มาจากการประดิษฐ์ การวิจัย จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า เช่น - สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Patent)

ประเภทของสิทธิบัตรมีอะไรบ้าง

สิทธิบัตร คือเอกสารสิทธิ์ที่รัฐออกให้เพื่อเป็นหลักฐานในความเป็นเจ้าของให้กับผู้ประดิษฐ์ ในสิทธิความเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ในระยะเวลาที่จำกัด โดยแลกกับการเปิดเผยสาระสำคัญของงานประดิษฐ์ โดยสิทธิบัตรแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ ...

ตัวอย่างทรัพย์สินทางปัญญามีอะไรบ้าง

ตัวอย่างทรัพย์สินทางปัญญาของ สวพส..
ชุมชนบ้านป่าเกี๊ยะ (พื้นที่เขตอนุรักษ์สมุนไพรและถิ่นกำเนิด).
ตำรับยาสมุนไพรสูตรรักษาอาการกระดูกเเตก (ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย).
สูตรตำรับผลิตภัณฑ์บำรุงผมและหนังศีรษะ (Hair tonic) (อนุสิทธิบัตร).
หนังสือสมุนไพรและพืชท้องถิ่นปวาเก่อญอ (ลิขสิทธิ์).
กาแฟ PMO. ... .
หนังสือการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผัก.