รูปแบบของธุรกิจแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำธุรกิจส่วนตัว ทางผู้ประกอบการเองจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาระบบธุรกิจที่ตัวเองต้องการจะทำเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น องค์กรธุรกิจ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ก็ล้วนแต่จะต้องมีการวางแผนระบบการทำงานกันทั้งนั้น การจัดการองค์กรธุรกิจของตัวเองเรื่องของวิสัยทัศน์ในการทำงานนั้นสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจของคุณเองให้เติบโตได้ดียิ่งขึ้น

แต่ทั้งนี้.. ก็ต้องยอมรับว่าองค์กรธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีหลายรูปแบบ เราลองไปดูกันค่ะว่าองค์กรธุรกิจมีกี่ประเภท ระบบธุรกิจขององค์กรทางธุรกิจมีอะไรบ้าง

สำหรับความหมายของ องค์กรธุรกิจ คือ องค์กรที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ โดยมักประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยกิจกรรมต่าง ๆ ในระบบธุรกิจ เกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภค และหวังซึ่งผลกำไร ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมการผลิตสินค้าหรือการบริการต่าง ๆ 

องค์ประกอบขององค์กรธุรกิจ

ธุรกิจ SME ก็ถือว่าเป็นองค์กรธุรกิจรูปแบบนึง จำเป็นที่จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กรธุรกิจเช่นกัน ได้แก่

1. ทรัพยากรบุคคล 

2. แหล่งเงินทุน

3. วัตถุดิบและวัตถุที่ต้องจัดหามาเพื่อใช้ในการผลิตหรือสร้างบริการ

4. กิจกรรมด้านการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจให้ดำเนินไป

อ่านเพิ่มเติม : ธุรกิจ sme คืออะไร พร้อมวิธีเขียนแผนธุรกิจ sme ให้ผ่านฉลุยสำหรับผู้ประกอบการ

รูปแบบองค์กรธุรกิจ

รูปแบบขององค์กรธุรกิจ สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ได้แก่ 

1. กิจการเจ้าของคนเดียว 

กิจการเจ้าของคนเดียว คือ องค์กรธุรกิจที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว หรือมีผู้ลงทุนในกิจการเพียงคนเดียว ยกตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น ร้านค้าปลีก-ส่ง ร้านค้าแผงลอย ธุรกิจส่วนตัวอื่น ๆ 

2. ห้างหุ้นส่วน 

ห้างหุ้นส่วน คือ กิจการที่มีบุคคลั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน 

โดยองค์กรธุรกิจแบบห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ

– ห้างหุ้นส่วนสามัญ

– ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ ผู้ที่ลงทุนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดจำนวน ในขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย คือ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนอันมีหน้าที่รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น

3. บริษัทจำกัด 

บริษัทจำกัดเป็นองค์กรธุรกิจที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีการจัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น โดยแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่รับผิดอย่างจำกัด โดยการรับผิดจะไม่เกินจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนประสงค์จะถือนั่นเอง

4. บริษัทมหาชนจำกัด 

บริษัทมหาชนจำกัด คือ องค์กรธุรกิจในรูปแแบบบริษัทอีกแบบหนึ่ง แตกต่างจากบริษัทจำกัดตรงที่ บริษัทมหาชนจำกัดตั้งขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นให้กับบุคคลทั่วไป หรือประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทมหาชนจำกัดที่มีการซื้อขายกันในตลาดหุ้น

5. สหกรณ์

เรียกได้ว่าเป็น องค์กรธุรกิจอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยการจัดตั้งสหกรณ์มักจัดตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มคนที่มีความประสงค์ และเป้าหมายเดียวกัน และร่วมกันจัดตั้ง ลงทุน ดำเนินการและเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยความสมัครใจ ยกตัวอย่างสหกรณ์ที่หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินเช่น สหกรณ์เกษตร สหกรณ์โคนม สหกรณ์ร้านค้า

6. รัฐวิสาหกิจ

เป็นองค์กรภาครัฐ หรือรัฐบาล หมายถึงธุรกิจที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือมีทุนรวมอยู่ด้วย เกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่างระบบราชการและระบบองค์กรธุรกิจ โดยวัตถุประสงค์ขององค์กรธุรกิจลักษณะนี้คือ เพื่อหารายได้เข้าภาครัฐ เพิ่มเติมจากการเก็บภาษี เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เป็นการป้องกันการผูกขาดของผู้ประกอบการเอกชน

7. กิจการแฟรนไชส์ 

กิจการแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไป (Franchisee และ Franchisor) หรือมากกว่า ในการมีส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจ มีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างระบบธุรกิจแบบแฟรนไชน์ คือ KFC, Swensen, Mcdonald  

ในการจัดตั้ง องค์กรธุรกิจ แต่ละประเภท จะเห็นได้ว่าในแต่ละระบบธุรกิจ มักมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการที่แตกต่างกัน องค์ประกอบของธุรกิจมีความต้องการในอัตราที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากสนใจที่จะจัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง อาจลองศึกษาถึงวัตถุประสงในการจัดตั้ง และหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดี-ข้อเสียของการจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบที่แตกต่างกันด้วยเพื่อเป็นการเปรีบเทียบนั่นเองค่ะ

การรู้จักประเภทธุรกิจของตนเองเป็นอย่างดี จะทำให้การบริหารดำเนินงานเป็นไปได้ดีขึ้น มีความเป็นมืออาชีพและดูน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่านั่นเอง

หัวข้อเนื้อหา ซ่อน

ประเภทของธุรกิจ

1. ประเภทของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

2. ประเภทของธุรกิจแบบนิติบุคคล

ประเภทของธุรกิจ

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้หลักๆ คือ แบบบุคคลธรรมดา ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ แบบนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

1. ประเภทของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว

ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก มีการจดทะเบียนการค้าแบบบุคคลธรรมดา การตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งเรื่องกำไรหรือขาดทุนก็มีผลต่อเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ตัวอย่างเช่น เจ้าของร้านชำที่เราเห็นได้ทั่วๆ ไป

1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว เพียงแต่มีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ผลจากกำไร และการขาดทุนเท่าๆ กันซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตรงที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้มีสถานะเป็นคณะบุคคลนั่นเอง

รูปแบบของธุรกิจแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

2. ประเภทของธุรกิจแบบนิติบุคคล

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญ คือมีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพียงแต่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ความแตกต่างคือ หุ้นส่วนมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน คือ แบบรับผิดชอบในหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบไม่เกินเงินที่ได้ลงทุน แต่ไม่มีการสิทธิการตัดสินใจในกิจการ ส่วนแบบรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด โดยรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิในการตัดสินใจต่างๆ

2.2 บริษัทจำกัด

ธุรกิจที่มีผู้ร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือหุ้นในจำนวนเท่าๆ กัน ซึ่งเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน บริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ธุรกิจประเภทนี้เหมาะกับกิจการที่มีรายได้หรือมูลค่าสูง มีความเป็นสากลเพราะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจการดำเนินงานต่างๆ

2.3 บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทจำกัดที่นำหุ้นออกจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปซื้อ และร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัทได้ตามสัดส่วนที่ซื้อ ซึ่งหุ้นดังกล่าวสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่เดิมบริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน แต่ปัจจุบันต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน

2.4 องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

องค์กรธุรกิจจัดตั้ง มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน การชำระค่าหุ้นคือชำระครั้งเดียวเต็มจำนวน และกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน โดยลักษณะของธุรกิจมีดังนี้ ธุรกิจการเกษตร คือ การทำไร่ ทำสวน ปศุสัตว์ ธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจการพาณิชย์ ธุรกิจการก่อสร้าง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น

การทำธุรกิจไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตาม การจดทะเบียนการค้าจะทำให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือ คู่ค้าสนใจลงทุนมากขึ้นเพราะดูมีหลักประกันมากกว่าธุรกิจที่ได้ไม่ได้จดทะเบียนทางการค้าใดๆ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนการค้า)

ความสําคัญของธุรกิจมีอะไรบ้าง

ความสำึคัญของธุรกิจ 1. การดำเนินงานของธุรกิจก่อให้เกิดการนำทรัพยากรของประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2. ช่วยให้ผู้บริโภคหรือประชาชนได้ใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น 3. ธุรกิจต่าง ๆ ช่วยขจัดปัญหาการว่างงาน และช่วยกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน 4. ช่วยเพิ่มพูนรยได้ให้กับประเทศในรูปแบบของภาษีอากร

รูปแบบของกิจการห้างหุ้นส่วนมีลักษณะอย่างไรบ้าง

ลักษณะของกิจการห้างหุ้นส่วน 1. มีผู้ร่วมเป็นหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำสัญญาร่วมกันดำเนินงาน 2.มีการร่วมกันลงทุนโดยนำเงินสด ทรัพย์สินหรือแรงงานมาลงทุนตามข้อตกลง 3. มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน