ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมี โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556 ข้อ 29 โดยกำหนดให้นายจ้างมีการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ ของสถานที่ทำงานและส่งรายงานให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายให้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ

Show

โดยในข้อ 29 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

  1. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัดและการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย
  2. ประกาศนี้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
  3. ในประกาศนี้ “การตรวจวัด” หมายความว่า การเก็บตัวอย่างสารเคมีในบรรยากาศของสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีเพื่อนำมาวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติงาน
  4. นายจ้างต้องมีการตรวจวัดและวิเคราะห์ระกับความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศของสถานที่ทำงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

กรณีที่ความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศมีระดับเกินขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายตามข้อ 28 กำหนดให้นายจ้างใช้มาตรการกำจัดหรือควบคุมสารเคมี เพื่อลดระดับความเข้มข้นของสารเคมีมิให้เกินขีดจำกัด พร้อมทั้งตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีการปรับปรุงแก้ไขแล้วเสร็จ

กรณีผมการตรวจสุขภาพของลูกจ้างมีความผิดปกติ เนื่องจากการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ให้นายจ้างตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีภายใน 30 วัน หลังจากที่นายจ้างทราบผลความผิดปกติเนื่องจากสารเคมี

กรณีที่มีการปรับปรุงชนิดหรือปริมาณของสารเคมี เครื่องจักร อุปกรณ์กระบวนการผลิต วิธีการทำงาน หรือวิธีการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลต่อระดับความเข้มข้นของสารเคมี ในบรรยากาศของสถานที่ทำงาน ให้นายจ้างดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มของสารเคมีภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีการปรับปรุง

  1. การตรวจวัดและวิเคราะห์สารเคมีทางห้องปฏิบัติงาน นายจ้างต้องใช้วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานสากลหรือเป็นที่ยอมรับโดยอ้างอิงวิธีการจากหน่อยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ดังนี้
    (1.) สถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Institute for Occupational Safety and Health :NIOSH)
    (2.) สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA)
    (3.) สมาคมนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Conference of Governmental Industrial Hygienists : ACGIH)
    (4.) สมาคมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Japan Industrial Safety and Health Association L : JISHA)
    (5.) องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO)
    (6.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
    (7.) สมาคมการทดสอบและวัสดุอเมริกัน (American Society for Testing and Materials : ASTM)

นายจ้างต้องจัดการให้มีการสอบเทียบความถูกต้อง (Calibration) การตรวจสอบ การบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดและเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สารเคมีทางห้องปฏิบัติการตามวิธีของหน่วยงานมาตรฐานอ้างอิงตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด ทั้งนี้ ให้ใช้วิธีการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน และเก็บหลักฐานไว้ให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยตรวจสอบได้

  1. ผู้ตรวจวัดต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์สาขาเคมี สาขาเคมีเทคนิค สาขาเคมีวิเคราะห์ สาขาเคมีอินทรีย์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  2. ผู้ตรวจวิเคราะห์สารเคมีอันตรายทางห้องปฏิบัติการ ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
  3. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี สาขาเคมี สาขาเคมีเทคนิค สาขาเคมีวิเคราะห์ สาขาเคมีอินทรีย์ สาขาเคมีอนินทรีย์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือปริญญาตรีสาขาอาชีวิอนามัยหรือเทียบเท่า
  4. มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่นที่มีวิชาเรียนทางด้านเคมีไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และมีประสบการณ์วิเคราะห์สารเคมีอันตรายทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
  5. เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนักวิเคราะห์มืออาชีพสาขาเคมีของกรมวิทยาศาสตร์บริการหรือเป็นผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือเป็นผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี
  6. ให้นายจ้างมีการรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีตามเอกสารรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารเคมีของสถานที่ทำงานของสถานที่ (สอ.3) และให้ส่งรายงานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจวัดและวิเคราะห์

การดำเนินการ ต้องได้รับการรับรองรายงานผลจากผู้ดำเนินการตรวจวัดและผู้ตรวจวิเคราะห์สารเคมีอันตรายทางห้องปฏิบัติการ

การส่งรายงาน ให้นายจ้างส่งด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ หรือทางไปรษณีย์ หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

Share Post

Previous

ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง
ทำไมจึงต้องใส่รองเท้าเซฟตี้?

Next

ทำความรู้จัก! อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง

ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง

About Author

waii

ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง

More details

Uncategorized @th

รูปทรงของกรวยจราจรและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ

16 June 2022 at 10:26 am by waii / 0

รูปทรงของกรวยจราจรและอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ปัจจุบันนี้ โดยปกติ กรวยจราจรที่เราเห็นกันตามท้องถนน นั้นจะเป็นรูปทรงที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด แต่จริง ๆ แล้วกรวยจราจรนั้นมีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างออกไป อีกทั้งยังสามารถหาอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มาใช้งานร่วมกันเพื่อเพิ่มลักษณะการใช้งานที่มากขึ้น โดยรูปทรงของกรวยจราจร จะมีหลัก ๆ…

ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง

More details

Uncategorized @th

วัสดุที่ใช้ทำ “กรวยจราจร” มีอะไรบ้าง

1 June 2022 at 4:54 pm by waii / 0

วัสดุที่ใช้ทำกรวยจราจรมีอะไรบ้าง ในปัจจุบันนี้ กรวยจราจรนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และก็ยังสามารถเลือกวัสดุที่ใช้ผลิตได้ อีกทั้งยังมีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ในครั้งนี้ เราจะมาจำแนกวัสดุที่ใช้ผลิตกรวยจราจรว่า แต่ละวัสดุมีคุณสมบัติความแตกต่างอย่างไรบ้าง กรวยจราจรนั้น โดยปกติแล้ว จะใช้สำหรับแบ่งเขตถนน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย สามารถบ่งบอกพื้นที่ต่าง…

ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง

More details

Uncategorized @th

ข้อควรรู้ ก่อนซื้อหน้ากาก N95

6 April 2021 at 3:49 am by shop manager / 0

ข้อควรรู้ ก่อนซื้อหน้ากาก N95           ประเทศไทยได้เผชิญกับสถานการณ์วิกฤตทางสุขภาพด้วยกันถึง 2 สถานการณ์อย่างต่อเนื่อง สถานการณ์แรก คือ วิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ที่เรียกว่า “ฝุ่นละออง PM 2.5”…

ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง

More details

Uncategorized @th

รู้จักอันตราย และอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ

25 March 2021 at 9:57 am by shop manager / 0

รู้จักอันตราย และอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ           อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากทางน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาปกติ คือ การโดยสารผ่านการขนส่งทางเรือ หรือเกิดกับเด็ก ๆ ที่มีบ้านใกล้คลอง ใกล้แหล่งน้ำ, ช่วงปิดเทอมของเด็กนักเรียน ที่ชอบลงเล่นน้ำคลายร้อน และช่วงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น…

ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน ปีละกี่ครั้ง

More details

Uncategorized @th

เลือกรองเท้าบูทยางอย่างไร ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน รองเท้าบูทยาง มีการผลิตหลากหลายรูปแบบมากขึ้น  เพื่อให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม และตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ เราใช้รองเท้าบูทยาง เพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงาน ที่ต้องสัมผัสกับน้ำ น้ำมัน โคลน  สารเคมี หรือสิ่งสกปรกต่าง… ตรวจความร้อน แสง เสียง ปีละกี่ครั้ง

- จัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ภายในสถานประกอบกิจการที่เป็นจริงของสภาพการทำงานอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง รวมถึงกรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรอุปกรณ์ กระบวนการผลิต วิธีการทำงานหรือการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือ ...

ตรวจวัดสารเคมี ปีละกี่ครั้ง

นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศของสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

การตรวจสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานเป็นหน้าที่ใคร

นายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักเรื่องสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานที่ทำงาน ในการออกตรวจสถานที่ทำงานแต่ละแห่งเราจะตรวจสอบว่า มีการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือไม่ หากพบข้อบกพร่องนายจ้างจะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข

ทำไมต้องตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เพื่อประเมินสภาพการทำงานในลักษณะงานต่าง ๆ ทั้งงานในสำนักงาน,ในกระบวนการผลิตหรือกระบวนการทำงานที่มีท่าทางการทำงาน, การใช้ส่วนของร่างกายทำงานไม่เหมาะสมและต่อเนื่องที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ทำงาน เช่น เกิดการเมื่อยตัว, บาดเจ็บกล้ามเนื้อ, เกิดภาระบาดเจ็บสะสมจากการทำงาน เป็นต้น