เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

หากพูดถึงงานบ้านที่แม่บ้านหลายคนต่างส่ายหน้าและไม่ชอบเป็นที่สุด หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น "การรีดผ้า" งานที่ทั้งร้อน ทั้งเหนื่อย และต้องเสียเวลาไปไม่น้อยกว่าจะจัดการกับผ้ากองโตเสร็จในแต่ละครั้ง บางคนถึงกับต้องใช้บริการร้านซักรีด แต่ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายที่ตามมาเช่นกัน แต่วันนี้เรามีตัวช่วยที่จะจัดการกับการรีดผ้าแบบเดิมๆ ให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นด้วย "เตารีดไอน้ำแบบหม้อต้ม" มาลองเปรียบเทียบกันดูว่าระหว่าง "เตารีดธรรมดาหลักร้อย" กับ "เตารีดไอน้ำราคาหลักหมื่น" จะแตกต่างกันแค่ไหน มันดียังไง? และจะช่วยคุณแม่บ้านได้อย่างไรบ้าง!

หลักการทำงาน : เมื่อเสียบปลั๊ก ไฟฟ้าก็จะเข้าเตารีดและส่งความร้อนไปยังแผ่นความร้อนหน้าเตา มีปุ่มสำหรับหมุนเพื่อควบคุมระดับความร้อน ซึ่งเตารีดแบบนี้ต้องใช้ควบคู่กับน้ำยารีดผ้าเรียบหรือน้ำเปล่า ใส่ฟอกกี้ ช่วยฉีดบนเนื้อผ้าเพื่อช่วยให้ใยผ้าเกิดการเรียงตัวและเรียบง่ายขึ้น

ข้อดี: น้ำหนักเบา, ราคาประหยัด

ข้อเสีย : ต้องคอยปรับระดับความร้อนเองให้เหมาะสมกับเนื้อผ้าเผื่อป้องกันการไหม้หรือการเสียหายของเนื้อผ้า, ต้องฉีดน้ำบ่อยๆ, ผ้าเรียบช้า ไม่เหมาะกับเนื้อผ้าที่มีความหนามากๆ ต้องใช้เวลารีดนาน, ผ้าขึ้นเงาง่าย

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

หลักการทำงานคือ ใช้แรงดันน้ำเพื่อทำให้ผ้าเรียงตัวและทำให้เรียบลื่น สำหรับเตารีดแบบไอน้ำในท้องตลาดมีหลายแบบ ตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น ซึ่งหลักๆ เตารีดไอน้ำมี 2 แบบด้วยกัน

แบบที่ 1 เตารีดไอน้ำธรรมดา : แบบที่มีช่องใส่น้ำในเครื่อง เหมือนเตารีดธรรมดา แต่ไม่ต้องพรมน้ำเอง หลักการทำงานของเตารีดชนิดนี้คือ ปล่อยหยดน้ำลงบนแผ่นความร้อนโดยตรงเพื่อให้เกิดไอน้ำ แล้วพ่นไอน้ำออกจากหน้าเตา

แบบที่ 2 เตารีดไอน้ำหม้อต้ม : หลักในการทำงานคือ ใช้หลักแรงดันน้ำพลังสูงเผื่อทำให้เนื้อผ้าเรียงตัวและเรียบง่าย มีให้เลือกทั้งแบบที่ถอดแยกหม้อต้มได้ และแบบที่แยกหม้อต้มไม่ได้ แต่ต้องดูดีๆ เพราะบางรุ่นที่สามารถถอดแยกหม้อต้มได้แต่ไม่ได้ใช้หลักการทำงานแบบหม้อต้มไอน้ำ แค่ที่แท็งก์ใส่น้ำมีขนาดใหญ่เฉยๆ อารมณ์แบบเตารีดไอน้ำปกติแต่ไม่ต้องเติมน้ำบ่อยๆ เท่านั้นเอง ส่วนราคาของเตารีดไอน้ำแบบหม้อต้มก็ขึ้นอยู่กับ กำลังไฟฟ้า วัสดุเคลือบหน้าเตา พลังไอน้ำ ขนาดแท็งก์จุน้ำ และเทคโนโลยีที่มากับตัวเครื่อง

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

ส่วนรุ่นที่นำมาทดสอบนี้ คือ เตารีดไอน้ำแบบหม้อต้มของ TEFAL ราคา 19,990 บาท

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

แบบแยกหม้อต้มได้

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

การใช้งานก็ง่าย เพียงแค่กดปุ่ม Power รุ่นนี้มีฟังก์ชัน Smart Technology Auto Control ช่วยปรับความร้อนอัตโนมัติให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า มีโหมด ECO ช่วยประหยัดพลังงานแรงดันน้ำต่ำ แต่หากต้องการแรงดันน้ำสูงๆ ก็ต้องใช้โหมด Boost

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

หลังจากเปิดปุ่ม Power รอเพียง 1-2 นาที ให้ไฟที่ตัวเครื่องหยุดกระพริบ แค่นี้ก็พร้อมรีดได้แล้ว

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

เวลาใช้งานให้กดปุ่มที่ตัวเครื่องบริเวณที่จับเบาๆ เพื่อให้แรงดันน้ำทำงาน

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

แค่นี้ก็จะมีไอน้ำพุ่งออกมาแล้ว ส่วนไอน้ำแรงแค่ไหนดูเอาจ้า ฟู่วว....ว

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

มีช่องสำหรับทำความสะอาดเวลาที่มีตะกรันด้วย

ข้อดี: รีดผ้าได้ทุกประเภทมีสารเคลือบถนอมเนื้อผ้า หมดปัญหาเรื่องของการรีดสะดุด, ช่วยประหยัดเวลาในการรีดผ้าได้เร็วขึ้น เรียบขึ้น, ไม่ต้องใช่ฟ๊อกกี้ หรือกระบอกฉีดน้ำในการฉีดน้ำบ่อยๆ, ช่วยป้องกันไม่ให้ผ้าขึ้นเงา และป้องกันผ้าไหม้

ข้อเสีย: น้ำหนักมากกว่าเตารีดธรรมดา, ใช้ไปนานๆ จะมีตะกรัน, ราคาสูง

หลังจากที่เราเตรียมเตารีดทั้ง 2 แบบพร้อมแล้วก็ถึงเวลาทดสอบ โดยเสื้อที่เรานำมาทดสอบประสิทธิภาพในการรีดวันนี้ คือเสื้อเชิ้ต ซึ่งรู้กันดีว่าเป็นเสื้อที่มีเนื้อผ้าหนา และรีดค่อนข้างยาก ไปดูผลการทดสอบกันเลย

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

สำหรับเตารีดไอน้ำแบบหม้อต้ม เพียง 3.45 นาที ก็สามารถรีดเสื้อเสร็จแล้ว เรียบด้วย เร็วด้วย

เตารีดไฟฟ้ามีการทำงานร่วมกันกี่ระบบ อะไรบ้าง

แต่สำหรับเตารีดธรรมดาต้องใช้เวลากว่า 6 นาที ถึงจะรีดเสร็จ

จากการทดสอบจะเห็นว่าการรีดเสื้อเชิ้ตด้วยเตารีดหม้อต้มไอน้ำ สามารถรีดผ้าได้เร็วกว่าการใช้เตารีดธรรมดากว่าเกือบ 3 นาที ถือเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่แม่บ้านที่ต้องรีดผ้ากองโตเป็นประจำควรมีติดบ้านไว้ เพราะการรีดผ้าแค่ 1-2 ตัวอาจช่วยประหยัดเวลาไปได้ไม่มาก แต่หากต้องรีดผ้ากองโต 20-30 ตัว จะช่วยประหยัดเวลาของคุณแม่บ้านไปได้เยอะมากๆ ทำให้คุณแม่บ้านเหลือเวลาอยู่กับครอบครัวที่เรารักได้มากยิ่งขึ้น