ขั้น ตอน การกำหนดคุณภาพ มี กี่ ขั้น ตอน

ความหมาย :: ความสำคัญ :: คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ::การควบคุมคุณภาพ ความหมายและความสำคัญของคุณภาพความหมายของคุณภาพ
ถูกกำหนดขึ้นตามการใช้งานหรือตามความคาดหวังของผู้กำหนด เช่น มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความทนทาน ให้ผบตอบแทนสูงสุด บริการดีและประทับใจ หรือเป็นไปตามมาตรบฐานที่ตั้งใจไว้ เป็นต้น
คุณภาพแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. คุณภาพตามหน้าที่ หมายถึง ประสิทธิภาพการทำงาน ความเหมาะสมในการใช้งาน ความทนทาน เช่น พัดลมเครื่องนี้มีมอเตอร์ที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องถึง 24 ชั่วโมง

2. คุณภาพตามลักษณะภายนอก หมายถึง รูปร่างสวยงาม สีสันสดใส เรียบร้อย เหมาะกับการใช้งาน โครงสร้างแข็งแรง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักเน้นคุณภาพภายนอก โดยเน่นที่สีสันสดใส หรือรูปลักษณ์ให้โดดเด่นเพื่อดึงดุดความสดใสของผู้ซื้อ

3. คุณภาพในการบริการ หมายถึง การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการหรือมาซื้อสินค้า
คุณภาพ หมายถึง
คุณสมบัติและลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงให้เห็นว่ามีความสามารถที่จะก่อให้เกิดความพึงพอใจได้ตรงตามต้องการที่ได้ระบุหรือแสดงเป็นนัยไว้ในอดีตคุณภาพมักจะถูกกำหนดขึ้นจากความต้องการของผู้ผลิต แต่ปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในตลาด มีมาก หากคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อหรือผู้ให้บริการ การผลิตสินค้าและบริการก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการไป ดังที่ได้เกินขึ้นมาในปัจจุบันสินค้าบางประเภทแข่งขันกันที่คุณภาพ บางประเภทแข่งขันกันที่ราคา แต่บางประเภทแข่วขันกันที่ความแปลกใหม่ ดังนั้น การผลิตหรือให้บริการใดๆ จะต้องมีการศึกษาสภาพตลาดอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดคุณภาพขั้นตอนการกำหนดคุณภาพการกำหนดคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการกำหนดคุณภาพไม่ได้กำหนดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน หรือสถาบันเท่านั้น แต่การกำหนดคุณภาพต้องคำนึงถึงคนหลายกลุ่มหลายสถาบัน


การควบคุมคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพคือ

เทคนิคในเชิงปฎิบัติการและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่จัดทำหรือนำมาใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดด้านคุณภาพ ซึ่งอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการก็ได้ QC : Quality Coutrol หรือการควบคุมคุณภาพในภาคการผลิต (โรงงานอุตสาหกรรม) จะเน้นกระบวนการตรวจสอบและคัดแยกของดีกับของเสียออกจากกัน เพื่อให้เกิดหลักประกันว่าสินค้นผ่านการตรวจสอบแล้วมีคุณภาพตามข้อกำหนดการควบคุมคุณภาพในที่นี้ หมายถึง การควบคุมกระบวนการผลิตและการให้บริการ เพื่อให้เกิดผลผลิต / งานบริการมที่มีคุณภาพ ดังแผนภูมิInput ----> Process ----> Output
วัตถุดิบ กระบวนการ ผลผลิต

การควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ .
1. คุณภาพการทำงาน หรือประสิทธิภาพของคนงาน2. คุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี3. คุณภาพของระบบบริหารงานการควบคุมคุณภาพมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการได้แก่
1. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ / ผลผลิต2. ลดการสูญเสียเวลาการทำงานเมื่อเราสามารถลดการสูญเสียวัตถุดิบและผลผลิต ลดเวลาการทำงาน เราก็สามารถลดต้นทุนได้ ขณะเดียวกันเราก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบคุณภาพ
ความหมายของระบบคุณภาพ

ระบบคุณภาพ (Quality System : QS) หมายถึง ระบบที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างขององค์การ องค์การ ขั้นตอนของการทำงาน วิธีการทำงาน รวมทั้งความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานอีกทั้งระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถรวมให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันอย่างสมเหตุสมผล
คุณภาพ (Quality) คือ การผลิตสินค้าให้ได้ตามแบบที่ออกแบบไว้ และข้อกำหนดในการใช้งานของสินค้า รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้า
คุณภาพที่ลูกค้าพึงพอใจเป็นสิ่งที่องค์การต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และการที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้า องค์การต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
1. สินค้าสามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย
2. สินค้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
3. สินค้ามีขนาด รูปแบบที่สวยงาม
4. สินค้าสามารถซ่อมแซมและบำรุงรักษาได้สะดวก
5. มีบริการหลังการขายที่ดี ไม่ทอดทิ้งลูกค้า
6. มีการรับประกันสินค้าตามระยะเวลาที่กำหนด
7. มีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้าในการให้บริการหลังการขาย
คุณภาพ ก็คือความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อองค์การผลิตโดยที่สินค้าต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า และอยู่ในมาตรฐานของทางราชการที่กำหนดด้วย

การควบคุมคุณภาพ หมายถึง กระบวนการจัดระบบการทำงาน และการปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์การสามารถดำเนินงาน และสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยการตั้งมาตรฐาน เกณฑ์ และขั้นตอนการดำเนินงานในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงาน การสร้างสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ และในปริมาณที่เหมาะสม ปกติองค์การต่าง ๆ จะมีวิธีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกัน แต่กระบวนการควบคุมคุณภาพส่วนใหญ่ มักจะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน คือ

ขั้น ตอน การกำหนดคุณภาพ มี กี่ ขั้น ตอน

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดมาตรฐานคุณภาพ
โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ และรูปแบบของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าต้องการ เช่น รูปร่าง ขนาด กลิ่น สี รสชาติ ความสามารถในการใช้งาน และความทนทาน เป็นต้น เพื่อสร้างมาตรฐานและเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เป็นไปได้ และเหมาะสมในการควบคุมคุณภาพของสินค้าหรือบริการ

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมระบบการดำเนินงาน
ในการติดตาม ตรวจสอบ วัด และประเมินคุณภาพของสินค้า หรือบริการตามความเหมาะสม และข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานโดยการกำหนดวิธีการ เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจสอบ ตลอดจนสรรหา คัดเลือก เตรียมความพร้อม และฝึกอบรมผู้ตรวจสอบ (Inspector) เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่การดำเนินงานในองค์การทั่วไป มักจะทำการตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
- การตรวจสอบวัตถุดิบ
- การตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์
- การตรวจสอบผลลัพธ์

ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการ
ผู้ควบคุมคุณภาพจะติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานตามขั้นตอนและรายละเอียดที่กำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงาน และสินค้า/บริการของตนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่กำหนด ตลอดจนรวบรวมข้อมูลความบกพร่องและปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อทำรายงานและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่อง
นำปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน หรือผลงานที่ด้อยคุณภาพมาศึกษา วิเคราะห์สาเหตุ กำหนดแนวทางแก้ไข และวางแนวทางป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก หรือถ้าปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล
การควบคุมคุณภาพ โดยอาศัยข้อมูลของอุปสรรคในการดำเนินงานและปัญหาด้านคุณภาพของสินค้าหรือบริการ เพื่อวางแผนควบคุมคุณภาพให้มีประสิทธิภาพขึ้น และกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพในระยะยาว

ในชีวิตจริง ความสำเร็จในการควบคุมคุณภาพจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของหน่วยงานควบคุมคุณภาพเท่านั้น แต่การควบคุมคุณภาพที่สมบูรณ์จะขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคุณภาพทั่วทั้งองค์การ โดยกระตุ้น ส่งเสริม และเตือนใจให้พนักงานทุกคนต้องทำงานของตนให้ ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น (Do it right the first time) และต้อง ถูกต้องทุกครั้ง (Do it right every time) เพื่อที่จะช่วยลดความสูญเสีย ความสิ้นเปลือง การเสียเวลาแก้ไข และการร้องเรียนจากลูกค้า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการดำเนินงาน อีกทั้งยังช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรต่อหน่วยที่สูงขึ้น มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นหลักประกันความก้าวหน้าและอนาคตขององค์การ

สรุป

การจัดการคุณภาพเป็นกระบวนการในการวางแผน ดำเนินงาน และควบคุมคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดยคุณภาพจะต้องเริ่มต้นจากฝ่ายบริหาร ผู้บริหารระดับสูงต้องตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของคุณภาพ ตัดสินใจนำคุณภาพมาใช้เป็นแนวทางและเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ขององค์การ และถ่ายทอดความต้องการคุณภาพต่อไปยังส่วนอื่น ๆ ขององค์การ ซึ่งเราสามารถแบ่งต้นทุนในการจัดการคุณภาพออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1) ต้นทุนคุณภาพทางตรง จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ได้แก่ ต้นทุนของการป้องกัน ต้นทุนในการประเมิน และต้นทุนของความผิดพลาด
2) ต้นทุนคุณภาพทางอ้อม จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่สำคัญ ได้แก่ ต้นทุนเมื่อผู้บริโภคได้รับความเสียหาย ต้นทุนเมื่อผู้บริโภคไม่พอใจ และต้นทุนการเสียชื่อเสียง
การสร้างคุณภาพในเชิงบูรณาการ จะต้องเริ่มต้นจากการกำหนดกลยุทธ์และแผนคุณภาพ ที่สามารถแทรกตัวเข้ากับวิสัยทัศน์ การดำเนินงานและวัฒนธรรมองค์การอย่างเหมาะสม โดยผู้บริหารเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม โดยที่การกำหนดแผนคุณภาพกลยุทธ์จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สถานะด้านคุณภาพขององค์การ
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดวิสัยทัศน์คุณภาพ
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ด้านคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 4 กำหนดแผนปฏิบัติการด้านคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพ หมายถึง กระบวนการจัดระบบการทำงาน และการปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์การสามารถดำเนินงาน และสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดมาตรฐานคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมระบบการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล