ส่งประกันสังคมกี่เดือนถึงจะใช้สิทธิทำฟันได้

เปิดสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน "ประกันสังคม" กรณี "ทันตกรรม" สามารถเบิกค่าทำฟันได้ ทั้งอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ใส่ฟันเทียม โดยไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน ยกเว้น "รักษารากฟัน" ไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้

สำนักประกันสังคม ได้ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนกรณี "ทันตกรรม" ในสถานพยาบาลที่เข้าร่วมกับประกันสังคม โดยจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ไม่นับมาตรา 40 ผู้ประกันตนต้องส่งเงินครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน หากลาออกจากงานแล้วยังใช้สิทธิ์ได้อีก 6 เดือน โดยผู้ประกันตนสามารถรับบริการทางการแพทย์ได้ดังนี้

1. อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกิน 900 บาท/ปี กรณี "ขูดหินปูน" แต่ละครั้งต้องเว้นระยะห่าง 6 เดือนก่อน จึงจะมีสิทธิการขูดหินปูนเพื่อเบิกในครั้งต่อไปได้


ส่งประกันสังคมกี่เดือนถึงจะใช้สิทธิทำฟันได้


2. การใส่ "ฟันเทียม" ชนิดถอดได้บางส่วน มีสิทธิเบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวงเงิน 1,300 – 4,400 บาทต่อ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

   2.1 กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน

   - 1 - 5 ซี่เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เงิน 1,300 บาท

   - มากกว่า 5 ซี่เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท

   2.2 กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก

   - ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท

   - ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท


อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณี "การรักษารากฟัน" นั้น ไม่ครอบคลุมการเบิกจ่ายของประกันสังคม

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานพยาบาลที่ติดสติกเกอร์ ระบุว่า "สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตน กรณีทันตกรรม ทำฟันไม่ต้องสำรองจ่าย"

ส่งประกันสังคมกี่เดือนถึงจะใช้สิทธิทำฟันได้

สำหรับกรณีที่เข้ารับการรักษากับสถานพยาบาล ที่ไม่ได้ทำความตกลงเรื่องการเบิกจ่ายกับประกันสังคม ผู้ประกันตนจะต้องเตรียมหลักฐานไปยื่นรับเงินที่สำนักงานประกันสังคม ดังนี้

ประกันสังคมมอบสิทธิการทำฟันประกันสังคมให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ซึ่งรวมถึงผู้ประกันที่ว่างงาน ประกันสังคมยังคุ้มครองค่าทำฟันต่ออีก 6 เดือน

สำนักงานประกันสังคม มอบสิทธิการทำฟันประกันสังคมให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่จะเข้ารับบริการทำฟันประกันสังคม ซึ่งรวมถึงผู้ประกันที่ว่างงาน ประกันสังคมยังคุ้มครองค่าทำฟันต่ออีก 6 เดือน และหากไม่อยากเสียสิทธิผู้ประกันตนจะต้องสมัครมาตรา 39 ซึ่งเป็นผู้ประกันตนแบบสมัครใจในการรับสิทธิต่าง ๆ ของสำนักงานประกันสังคม


ทำฟันประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง

ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมได้ทั้งการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาท/ปี แต่หากค่ารักษาสูงกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินส่วนเกินเอง โดยมีรายละเอียดการทำฟันดังนี้


ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด

ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 900 บาทต่อปี *ในกรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานให้ผู้ประกันตนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาล เฉพาะส่วนเกินจากสิทธิที่ได้รับ


นอกจากนี้ ประกันสังคมจะให้สิทธิในการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุดแล้ว หากผู้ประกันตนมีการใส่ฟันปลอมจะมีสิทธิ์ได้รับค่าฟันปลอมและค่ารักษาพยาบาลภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม แยกเป็น 2 กรณีดังนี้

  1. ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
    - จำนวน 1-5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
    - มากกว่า 5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
  2. ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
    - ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
    - ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
  3. ส่งประกันสังคมกี่เดือนถึงจะใช้สิทธิทำฟันได้

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

ประกันสังคมทำฟันที่คลินิกได้ไหม

ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมทำฟันได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกทันตกรรมได้ แต่ต้องเป็นสถานพยาบาลที่ได้ระบุไว้กับสำนักงานประกันสังคม


ทำฟันประกันสังคมต้องสำรองจ่ายไหม

กรณีใช้สิทธิทำฟันประกันสังคมทั้งการอุด ถอน ผ่า หรือขูดหินปูน หากเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย และหากสถานพยาบาลที่เข้าใช้บริการมีสติกเกอร์ "สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทำฟัน" ผู้ประกันตนสามารถทำได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย แต่หากเป็นสถานพยาบาลเอกชนหรือคลินิกที่เข้ารับบริการทำฟันปลอมอาจต้องสำรองจ่ายและนำเอกสารไปยื่นเบิกเงินกับประกันสังคมในภายหลัง


การเบิกค่าทำฟันประกันสังคม ทำอย่างไร

เอกสารเพื่อยื่นขอเบิกเงินทำฟัน ประกันสังคม มีดังนี้

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)

2. ใบรับรองแพทย์

3. ใบเสร็จรับเงิน

4. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอะคริลิก)

5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี


จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์

ประกันสังคมมาตราไหนทำฟันได้

แต่คนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทำฟันจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้นนะคะ 😀 ไม่ว่าจะขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด ก็สามารถทำได้หมดในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาท/ปี นอกจากนี้ สำหรับใครที่ใส่ฟันปลอมยังได้สิทธิรับค่าฟันปลอมอีกด้วย โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 🦷 ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน

ประกันสังคมทำฟันได้กี่ครั้งต่อปี

Q ประกันสังคมสามารถเบิกค่าทำฟันได้กี่ครั้งต่อปี? A ประกันสังคมไม่ได้จำกัดว่าให้เบิกได้กี่ครั้งต่อปี แต่หากค่าใช้จ่ายการทำฟันของเรายังไม่ถึง 900 บาท เราก็ยังมีสิทธิยื่นเบิกได้เรื่อย ๆ จนกว่าวงเงินจะครบ 900 บาท แต่ต้องต่อปีเท่านั้นนะ (ถ้าปีนั้นเราไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมจะไม่ทบปีถัดไปให้)

ใช้สิทธิประกันสังคมทำฟันยังไง

ทำฟันใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ 900 บาทต่อปี.
ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล (ค่าปลอดเชื้อ) 150 บาท ค่าถ่ายภาพทางรังสี ค่ายาและเวชภัณฑ์ต่างๆ.
กรุณานำบัตรประชาชนยื่นกับแผนกเวชระเบียน เพื่อตรวจสอบสิทธิการใช้บริการจากสำนักงานประกันสังคม.
เพื่อสะดวกกรุณาโทรนัดหมายล่วงหน้า และมาก่อนเวลานัด 20-30 นาที.

ประกันสังคม ม.40 เบิกค่าทำฟันได้ไหม

กรณีทันตกรรม จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง? กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริง ตามความจ าเป็น ในอัตราไม่เกิน 900 บาทต่อปี