ใบรับรองแพทย์ใช้เวลากี่นาที

ใบรับรองแพทย์ออนไลน์ เป็นบริการจากกระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสถานพยาบาลที่เข้าร่วมการออกใบรับรองแพทย์ออนไลน์ จะต้องลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม

ใบรับรองแพทย์ผ่านหมอพร้อมไม่ได้มีเพียงการรับรองการติดเชื้อโควิดเท่านั้น ปัจจุบันยังครอบคลุมการนำไปใช้หลายด้าน อาทิ

1. ตรวจสุขภาพทั่วไป
2. ขอใบขับขี่ (ขอใบอนุญาตขับรถ)
3. ยืนยันการติดเชื้อโควิด-19
4. ตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
5. อื่นๆ เช่น บริการที่รองรับในอนาคต

การพิมพ์ใบรับรองแพทย์ออนไลน์ หมอพร้อม มีวิธีดังนี้

  1. เข้าแอปหมอพร้อม
  2. ไปที่เมนูใบรับรอง (หากไม่มีเมนูให้อัปเดตแอปก่อน)
  3. ไปที่เมนูใบรับรองแพทย์ดิจิทัล
  4. เลือกรายการตรวจรักษาของท่าน
  5. กดดาวน์โหลด PDF

ใบรับรองแพทย์โควิด ATK มีวิธีขออย่างไร

ใบรับรองแพทย์ใช้เวลากี่นาที

ใบรับรองแพทย์โควิด ATK เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องนำไปใช้เบิกประกัน หรือเบิกค่ารักษา ค่าชดเชยหยุดงานจากประกันสังคม ม.33 และ ม.39 โดยมีแพทย์ยืนยันการรักษาตัวแบบ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) โดยมีวิธีการขอดังนี้

  • ผู้ป่วยที่ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ต้องรีบเข้าสู่กระบวนการรักษาตามสิทธิ สปสช. เพื่อเข้ารับกระบวนการรักษา หรือ
  • เข้าสู่กระบวนการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน สถานที่รองรับการรักษาภายใต้การจัดการของสถานพยาบาล
  • ขอใบรับรองแพทย์ โดยแพทย์สรุปความเห็น ต้องเป็นแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพ

ในรายละเอียดของใบรับรองแพทย์ จะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ป่วย ว่าได้ตรวจ ATK ด้วยตัวเอง หรือตรวจ ณ สถานพยาบาล ว่าได้รับการกักตัวแบบ HI หรือ CI ระหว่างวันที่เท่าไร รวมระยะเวลาทั้งสิ้นกี่วัน ลงชื่อผู้ป่วย

ใบรับรองแพทย์โควิด ATK ที่นำไปใช้เบิกเคลมประกัน หรือใช้อ้างอิงกับหน่วยงานต่างๆ นั้นจะต้องออกภายใต้สถานพยาบาล คลินิก โรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชน ที่สามารถตรวจสอบต้นขั้วได้ย้อนหลังอย่างน้อย 5 ปี กรณีที่เด็ก ผู้เยาว์ และผู้เสมือนไร้ความสามารถติดเชื้อ ผู้ลงนามคือผู้ปกครองที่สามารถลงนามรับรองแทนได้ เพราะการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ จะได้รับโทษตามกฎหมาย

ใบรับรองแพทย์โควิด เบิกประกันสังคมได้อย่างไร

ใบรับรองแพทย์โควิด เบิกประกันสังคมได้เฉพาะ 1) ค่าบริการทางการแพทย์ และ 2) ค่าทดแทนการขาดรายได้ ม.33, ม.39 และ ม.40 ดังนี้

ค่ารักษาของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 จะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้

  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ
  • ค่ายาที่ใช้รักษา
  • ค่าพาหนะเพื่อรับ หรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
  • ค่าบริการ X-ray
  • ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

โดย สปส.จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33

  • กรณีลาป่วย 30 วันแรก จะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  • กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทนไม่เกิน 365 วัน
  • ต้องมีการส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40

ได้รับเงินทดแทนตามทางเลือก ดังนี้

1. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีรับการรักษาประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

2. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้านตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)

3. เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

ใบรับรองแพทย์ใช้เวลากี่นาที

กรณีที่ติดเชื้อโควิด ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด แต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาตัวตามระบบของ สปสช. ก็จะไม่สามารถเบิกเคลมประกัน ขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้ และนายจ้างมีสิทธิขอตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซ้ำเพื่อขอใบรับรองแพทย์ยืนยันกับที่ทำงาน เพื่อใช้สิทธิหยุดงาน และสิทธิอื่นๆ

 

 

การขอใบรับรองแพทย์ COVID19

!! สำคัญและโปรดอ่านทำความเข้าใจ !!

  • ตั้งแต่ 1 กรกฎคม 2565 ทางคลินิกจะให้ปิดบริการตรวจ COVID-19 ก่อนการเดินทางในวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • ท่านสามารถมาตรวจโดยไม่ได้นัดหมายได้ (Walk-in) แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความสะดวกรวดเร็ว แนะนำให้ทำนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ LINK นี้ 
  • หลังจากตรวจแล้ว ถ้าผลการตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ COVID-19 (Positive) แปลว่า ท่านจะไม่สามารถเดินทางตามกำหนดการเดิมของท่านได้
  • หากพบว่ามีการติดเชื้อ COVID-19 (positive) ท่านจะต้องเข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาตามนโยบายของโรงพยาบาล และแนวทางการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข 
  • กรณีที่ท่านตรวจด้วยวิธี rapid antigen test หากพบว่ามีการติดเชื้อ (positive) ท่านอาจจะต้องได้รับการตรวจยืนยันด้วยวิธี real time RT-PCR ด้วย โดยท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
  • กรณีที่ท่านมีอาการไข้ รวมถึงอาการสงสัยการติดเชื้อโควิด-19 หรือมีประวัติเสี่ยง ท่านจะไม่สามารถเข้ารับการตรวจที่คลินิกนักท่องเที่ยวฯ ได้

 

หมายเหตุ

  • ข้อมูลในหน้านี้ใช้สำหรับผู้ที่สบายดี แต่มาขอตรวจ COVID19 เพื่อใช้ในการเดินทาง หรือก่อนการทำหัตถการเท่านั้น
  • ถ้าท่านมีอาการไม่สบาย หรือได้ใกล้ชิดกับคนที่เป็น COVID19 หรือสงสัยว่าติดเชื้อ COVID ท่านสามารถเข้ารับการตรวจที่คลินิกไข้/คลินิก ARI ดูรายละเอียดได้ที่ Link นี้ https://www.tropmedhospital.com/covid19/request-testing.html
  • ในวันที่ท่านมาโรงพยาบาล ท่านจะถูกคัดกรองที่ประตูทางเข้าของโรงพยาบาล ถ้าท่านมีไข้หรือมีอาการของ COVID19 หรือเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง ท่านจะถูกแนะนำให้ไปตรวจที่ fever/ARI clinic ท่านจะไม่สามารถใช้บริการของ Travel clinic ได้

 

                คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง ให้บริการโดยแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์แพทย์ นักท่องเที่ยวแต่ละคนอาจจะได้รับคำแนะนำหรือการตรวจรักษาที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากปัจจัยต่างๆมากมาย รวมถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อม ภาวะการณ์ รวมถึงวิจารณญานของแพทย์แต่ละท่าน ซึ่งทุกอย่างจะดำเนินไปตามมาตรฐานทางการแพทย์