จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีกี่ประเด็น

จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล และสังคม เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมประเด็นด้านจริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

  • ความเป็นส่วนตัว (Privacy) : มองในส่วนของสิทธิส่วนบุคคลที่พึงมี ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้หรืออ่านข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้
  • ความถูกต้อง (Accuracy) : มองในส่วนการจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลต้องถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องแล้วนั้น จะทำให้เมื่อนำไปประมวลผลมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ จะส่งผลต่อการตัดสินใจด้วย
  • ความเป็นเจ้าของ (Property) : มองในส่วนสิทธิความเป็นเจ้าของในซอฟต์แวร์ (ลิขสิทธิ์)
  • การเข้าใช้ข้อมูล (Access) : มองในส่วนสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลในองค์กร ใครบ้างที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล และใครบ้างที่สามารถอ่าน เขียนข้อมูลได้

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญมาตรา 78) (National Information Infrastructure Law)

  • เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
  • เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง
  • พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
  • ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสนเทศ
  • ปัญหาเด็กติดเกมส์
  • ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์
  • ปัญหาสังคมเสื่อมโทรมจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิตที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล
  • ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การนำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการเข้าใจผิด ฯลฯ

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม
    • ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
    • ตั้งใจทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
    • ทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
    • พึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
    • หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ดี ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้
    • ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
    • วัฒนธรรมที่ดีสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ เช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
    • ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น เช่น
    • การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน
    • การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม
    • การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้เช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ
    • บุคลากร
    • ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพ
    • สิ่งแวดล้อมขององค์กร
    • การควบคุมการเข้าถึง
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย ฯลฯ
  6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา
    • การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

บัญญัติ 10 ประการเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้คลอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ดังนี้

  • การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
  • การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
  • การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
  • การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมา แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์


2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ

  • ความถูกต้องของข้อมูลขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล
  • ต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
  • ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนการบันทึกหรือนำเข้าฐานข้อมูล
  • ข้อมูลต้องมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
  • ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ 

3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) อันได้แก่ ดนตรี วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปิดช่องทางให้ผลงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานด้านดนตรี วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตร์สามารถถูกจัดเก็บในรูปแบบที่เป็นข้อมูลดิจิทัล ทำให้ง่ายต่อการคัดลอกและนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน จึงเกิดเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น

โดยทั่วไปในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะพิจารณาถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การใช้ซอฟต์แวร์ที่ผู้อื่นสร้างขึ้นจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากผู้สร้าง โดยใบอนุญาต (license) เป็นสัญญาระหว่างผู้สร้างกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ ที่ให้สิทธิผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่นั้นจะมาพร้อมลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เมื่อเราซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ หมายความว่าเราได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้า แต่ลิขสิทธิ์นั้นไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินซื้อเสมอไป อันที่จริงแล้วลิขสิทธิ์มีไว้เพื่อบ่งบอกสิทธิของผู้ที่จะใช้ว่า มีสิทธิแค่ไหน ทำอะไรได้บ้างซึ่งซอฟแวร์ลิขสิทธิ์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
ประเภทของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
  • Commercial ware คือ ซอฟต์แวร์ที่เน้นในเรื่องของการทำธุรกิจ ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้ มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
  • Share ware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดให้ทดลองใช้งานก่อน เมื่อผู้ใช้ตัดสินใจซื้อ เจ้าของจะทำการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
  • Ad ware คือ โปรแกรมที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยมักมีโฆษณาขึ้นมาในหน้าเบราว์เซอร์ระหว่างการใช้ หรือมีการเก็บเงินหากต้องการใช้ในเวอร์ชั่นที่ไม่มีโฆษณา ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
  • Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี โดยที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ เลย แต่ผู้ใช้ต้องไม่นำโปรแกรมไปใช้ในเชิงธุรกิจ การคุ้มครองจะน้อย หรือมีการคุ้มครองเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
  • Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก้ไขได้อีกด้วย

4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibillty) 

แนวประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล จะต้องมีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล โดยการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลตามระดับของผู้ใช้งาน และป้องกันมิให้ผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้องเข้าดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร

ดังนั้น จริยธรรมของนักสารสนเทศ จึงสรุปความหมายได้ว่า การที่ บุคคลนั้นมีการประพฤติปฏิบัติที่ดี คิดดี ท าดีต่อการน าสารสนเทศไปใช้ รวมถึง การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลได้

คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (บัญญัติ 10 ประการ).
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการผู้อื่น.
ไม่ทำการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร.
ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ.

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศใดคือ “ความเป็นเจ้าของ”

ความเป็นเจ้าของ (Information Property) การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธิ์ในระดับใด เช่น Copyright หรือ Software License ท่านซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มา และมีสิทธิ์ใช้

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

ความหมายของจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์.
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy).
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy).
3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property).
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility).