การบินไทย โหลดกระเป๋า กี่ ชม

เดินทางอย่างไร้กังวลเรื่องน้ำหนักสัมภาระ พบข้อเสนอพิเศษจากการบินไทยท่านสามารถซื้อน้ำหนักสัมภาระล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยค่าบริการคิดเป็นแบบเหมาทุกๆ 5 กิโลกรัม สูงสุด 50 กิโลกรัม

ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินออนไลน์  

ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อ 1 กิโลกรัม เส้นทางภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 - ทีซี 3

ระหว่าง/ และช่องทางสกุลเงินกรุงเทพฯภายในประเทศไปโซน 1ไปโซน 2ไปโซน 3ไปโซน 4ไปโซน 5กรุงเทพฯออนไลน์USD--810262946ภายในประเทศออนไลน์USD--911273047จากโซน 1 ออนไลน์USD89911303453จากโซน 2ออนไลน์USD10111130344153จากโซน 3ออนไลน์USD26273034414553จากโซน 4ออนไลน์USD29303441455656จากโซน 5ออนไลน์USD46475353535656หมายเหตุ:ขั้นต่ำ 5 กิโลกรัม

เส้นทางในประเทศ       เชียงใหม่(CNX) , ภูเก็ต (HKT),กระบี่ ( KBV)โซน 1บังคลาเทศ, กัมพูชา, จีน(KMG), ลาว, มาเลเซีย, พม่า, สิงคโปร์, เวียดนาม, ระหว่างฮ่องกง(HKG) และไทเป(TPE), ระหว่างไทเป(TPE) and โซล(ICN), ระหว่างการาจีและ มัสกัตโซน 2จีน(BJS, SHA, CTU, CAN, XMN), ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เนปาล, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, ไต้หวัน โซน 3ออสเตรเลีย(PER), บาห์เรน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, โอมาน, ปากีสถาน, อาหรับอิมิเรต โซน 4ออสเตรเลีย(BNE, MEL,SYD), รัสเซีย(MOW)โซน 5เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร, ออสเตรีย

ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อ 1 กิโลกรัม เส้นทางภายในประเทศ

ระหว่างสกุลเงินราคากรุงเทพฯ - เชียงใหม่THB50กรุงเทพฯ - ภูเก็ตTHB60กรุงเทพฯ - กระบี่THB60หมายเหตุ: ขั้นต่ำ 5 กิโลกรัม สำหรับโซน 1 และ โซน 2

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อำนวยความสะดวกผู้โดยสารในช่วงเวลาที่มีปริมาณการเดินทางเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีวันหยุดยาวต่อเนื่องที่อาจต้องใช้เวลาในการรอรับบริการตรวจรับบัตรโดยสาร (Check-in) จากเคาน์เตอร์ตามปกติ โดยผู้โดยสารของการบินไทยสามารถเลือกใช้บริการ Check-in ได้ด้วยตนเอง 3 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 : Check-in ผ่านระบบ Internet (web-browser) คลิกที่นี่

วิธีที่ 2 : Check-in ผ่าน Thai Airways mobile application คลิกที่นี่

วิธีที่ 3 : Check-in ผ่านตู้ Check-in อัตโนมัติ (Self Check-in Kiosk) ที่จัดบริการไว้ที่ห้องโถงผู้โดยสารขาออกบริเวณ Row B, C, D, E, F, G, H, J, K และผู้โดยสารสามารถนำสัมภาระโหลดได้ที่ Self Bag Drop Counter ที่ Row C (C1-C2), Row D (D1-D4) และ Row E (E1-E19) ซึ่งจะมีพนักงานคอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในทุกจุดบริการ สำหรับผู้โดยสารที่ Check-in ล่วงหน้าผ่าน Internet หรือ Thai Airways mobile application สามารถรับ Boarding pass ตัวจริง พร้อมป้ายติดกระเป๋าสัมภาระหรือ Baggage tag (ในกรณีมีสัมภาระที่จะโหลดใต้ท้องเครื่องบิน)

ได้ที่ตู้ Check-in อัตโนมัติ สำหับขั้นตอนการใช้งาน Kiosk คลิกที่นี่

หมายเหตุ : ผู้โดยสารที่สามารถใช้บริการตู้ Check-in อัตโนมัติ ได้แก่

- ผู้โดยสารคนไทยและทุกสัญชาติ ที่เดินทางเส้นทางภายในประเทศทุกเส้นทาง และเส้นทางต่างประเทศ เฉพาะเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปสิงคโปร์ และออสเตรเลีย

- ผู้โดยสารชาวญี่ปุ่น ที่เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น

- ผู้โดยสารที่ถือ EU พาสปอร์ต เดินทางในเส้นทางยุโรป ได้แก่ ลอนดอน โคเปนเฮเกน สตอกโฮล์ม ซูริก บรัสเซลส์ แฟรงก์เฟิร์ต และ มิวนิก (ยกเว้น ปารีส)

ผู้โดยสารที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ผู้โดยสาร Meet and Assist ประเภทต่างๆ การขอรถเข็น (Wheelchair) การขอที่นั่งพิเศษ รวมทั้งผู้โดยสารที่มีสัมภาระขนาดเกินกำหนด กรุณาติดต่อ Check-in Counter

เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ขอให้ผู้โดยสารตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมจากประเทศปลายทาง และเตรียมเอกสารการเดินทาง รวมทั้งเอกสารที่จำเป็นต่างๆ ตามที่ประเทศปลายทางกำหนดมาให้ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้ง ขอให้ผู้โดยสารพิจารณาเดินทางมายังสนามบินก่อนเวลาเดินทางไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง

สิทธิ์น้ำหนักสัมภาระและค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อไปนี้ใช้กับสัมภาระที่รับฝากจากจุดที่เริ่มออกเดินทางไปจนถึงที่หมายปลายทางโดยไม่มีการแวะพัก (Stopover) ณ จุดใดจุดหนึ่งระหว่างการเดินทาง หากผู้โดยสารแวะพักที่ จุดใดระหว่างทางจะต้องมีการประเมินสิทธิ์น้ำหนักสัมภาระใหม่และจ่ายค่าบริการสัมภาระ (ถ้ามี) โดยนับตั้งแต่จุดที่เริ่มเดินทางต่อหลังจากการแวะพัก เป็นต้นไป

เกณฑ์สำหรับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ผู้โดยสารสามารถนำพาสัมภาระต่อไปนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อจำกัดของการบินไทยด้วย

เกณฑ์พิจารณาตามน้ำหนักของสัมภาระใช้กับการเดินทางในลักษณะต่อไปนี้
•    การเดินทางภายในประเทศไทยตลอดเส้นทาง
•    การเดินทางภายในทีซี 3 (เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) และ การเดินทางระหว่างทีซี 2 (ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง) และทีซี 3 (เอเชียออสเตรเลีย นิวซีแลนด์)
เกณฑ์พิจารณาตามจำนวนชิ้นของสัมภาระใช้กับการเดินทางในลักษณะต่อไปนี้
•    การเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

หากท่านเดินทางด้วยเที่ยวบินของการบินไทยตลอดทั้งการเดินทาง สิทธิ์น้ำหนักสัมภาระของท่านจะเป็นดังนี้

น้ำหนักสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางในประเทศเท่านั้น

ประเภท

น้ำหนักสัมภาระทุกชิ้นรวมกันสูงสุด

ชั้นธุรกิจ (Royal Silk Class)

40 กิโลกรัม (88 ปอนด์)

ชั้นประหยัดพิเศษ (Premium Economy Class)

30 กิโลกรัม (66 ปอนด์)

ชั้นประหยัด (Economy Class)

30 กิโลกรัม (66 ปอนด์)
*ยกเว้น รหัสสำรองที่นั่ง L: 20 กิโลกรัม (44 ปอนด์)

ทารกอายุไม่เกิน 2 ปี (ไม่มีที่นั่ง)

10 กิโลกรัม (22 ปอนด์)

น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิด
และสตาร์อัลลายแอนซ์โกลด์

20 กิโลกรัม (44 ปอนด์)

น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดแพลตินัม
(เฉพาะบนเที่ยวบิน TG เท่านั้น)

30 กิโลกรัม (66 ปอนด์)

น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดซิลเวอร์
(เฉพาะบนเที่ยวบิน TG เท่านั้น)

10 กิโลกรัม (22 ปอนด์)

หมายเหตุ
หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบรหัสร่วม (Code Share)นั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้บินจริง นั่นหมายความว่าในบางกรณีกฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่านอาจเป็นกฎของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย ท่านสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสาร/สำรองที่นั่ง

ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับช่วงของการเดินทางในประเทศเท่านั้น
สัมภาระน้ำหนักเกินทั้งหมดจะต้องถูกชั่งและเก็บค่าบริการก่อนที่ผู้โดยสารจะขึ้นเครื่อง น้ำหนักสัมภาระที่อนุญาตอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเคบิน ระดับสถานะ สถานะทางการทหาร เอกสารเดินทางและวันที่ซื้อ ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะเรียกเก็บดังต่อไปนี้โดยไม่คำนึงถึงชั้นโดยสารของบัตรโดยสาร อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินนี้ใช้เฉพาะช่วงของการเดินทางในประเทศเท่านั้นภายใต้เกณฑ์พิจารณาตามน้ำหนักและเป็นอัตราตายตัวดังนี้

บาทต่อกิโลกรัม
 (ระหว่าง……และ……)

เชียงใหม่

เชียงราย

หาดใหญ่

ขอนแก่น

กระบี่

เกาะ
สมุย

กรุงเทพ

60

70

80

55

70

95

ภูเก็ต

สุราษฎร์ธานี

อุบลราชธานี

อุดรธานี

-

-

70

65

60

55

-

-

เชียงใหม่

ภูเก็ต

-

-

-

-

-

125

-

-

-

-

-

หมายเหตุ
1.    “ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับเที่ยวบินในประเทศ” ข้างต้นนี้ให้ใช้ได้กับการเดินทางในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
2.    อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินคิดตามน้ำหนักที่เกินเป็นกิโลกรัมและเป็นสกุลเงินบาท
3.    ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อกิโลกรัมสำหรับบริการในประเทศใดๆของการบินไทยคือ 1.5% ของค่าบัตรโดยสารชั้นประหยัดแบบบินตรงเที่ยวเดียวปกติสูงสุด
4.    ไม่อนุญาตให้ใช้อัตราส่วนลดของเด็กและเด็กเล็กได้
5.    อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศจะแสดงแยกไว้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
6.    หากมีการฝากสัมภาระผ่านตั้งแต่เที่ยวบินในประเทศของการบินไทยต่อเนื่องไปยังช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศกับการบินไทย การคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะแบ่งคิดตามโซน
7.    ช่วงของการเดินทางในประเทศกับการบินไทยคือโซน 1 (โปรดดูนิยามโซนต่างๆในตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ)
8.    เงื่อนไขสำหรับข้อ 5 ในเรื่องการแปลงค่าเงิน ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินที่ประกาศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแปลงเป็นสกุลเงินท้องถิ่นโดยใช้อัตราขายของธนาคารในวันที่มีการคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังกล่าว  

น้ำหนักสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศภายในทีซี 3 และระหว่างทีซี 2 และทีซี 3 

ประเภท

น้ำหนักสัมภาระทุกชิ้นรวมกันสูงสุด

ชั้นหนึ่ง (Royal First Class)

 50 กิโลกรัม (110 ปอนด์)

ชั้นธุรกิจ (Royal Silk Class)

40 กิโลกรัม (88 ปอนด์)

ชั้นประหยัดพิเศษ (Premium Economy Class)

40 กิโลกรัม (88 ปอนด์)

ชั้นประหยัด (Economy Class)

30 กิโลกรัม (66 ปอนด์)
*ยกเว้นรหัสสำรองที่นั่ง L: 20 กิโลกรัม (44 ปอนด์)

ทารกอายุไม่เกิน 2 ปี (ไม่มีที่นั่ง)

10 กิโลกรัม (22 ปอนด์)

น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิด
และบัตรทองสตาร์อัลลายแอนซ์

20 กิโลกรัม (44 ปอนด์)

น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดแพลตินัม
(เฉพาะบนเที่ยวบิน TG เท่านั้น)

30 กิโลกรัม (66 ปอนด์)

น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรเงินรอยัลออร์คิด
(เฉพาะบนเที่ยวบิน TG เท่านั้น)

10 กิโลกรัม (22 ปอนด์)

  • หมายเหตุ
  • 1.    หากผู้โดยสารถูกเปลี่ยนไปนั่งในชั้นโดยสารที่ต่ำกว่าโดยไม่สมัครใจ ผู้โดยสารจะยังคงสิทธิ์น้ำหนักตามชั้นโดยสารเดิมที่สูงกว่าอยู่แม้ว่าจะมีการคืนเงินส่วนต่างค่าบัตรโดยสารให้แล้วก็ตาม
    2.    ผู้โดยสารซึ่งเดินทางตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างการบินไทยและภาครัฐอาจได้รับการยกเว้นค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน
    การยกเว้นค่าบริการนี้จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฏบนบัตรโดยสารของผู้โดยสารเท่านั้น ผู้โดยสารบางประเภทอาจมีสิทธิ์ในการนำพาสัมภาระโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งไม่เหมือนกับระบบปกติ ทั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งของรัฐบาลหรือข้อตกลงกับรัฐบาล ข้อกำหนดเรื่องการยกเว้นค่าบริการดังกล่าวจะระบุอยู่บนบัตรโดยสารของผู้โดยสารแล้ว
    3.    เงื่อนไขในข้อ 2 ให้ใช้ได้กับผู้โดยสารที่เดินทางออกจากประเทศไทยเท่านั้น สำหรับพื้นที่/ประเทศอื่นๆ โปรดปฏิบัติตามกฎที่ประกาศใช้โดยสารการบินระดับชาติของประเทศนั้นๆ
    4.    ในกรณีที่ผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 1 ชั้นโดยสารในการเดินทางโดยมีบางช่วงเป็นรหัสชั้นโดยสาร F และบางช่วงเป็นรหัสชั้นโดยสาร C, U หรือ Y สิทธิ์ในการนำพาสัมภาระโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในแต่ละช่วงของการเดินทางจะเป็นไปตามชั้นโดยสารของค่าบัตรโดยสารที่ได้ชำระไป
    หากผู้โดยสารได้ชำระค่าบัตรโดยสารเป็นรหัสชั้นโดยสารF แต่บินด้วยรหัสชั้นโดยสาร C, U หรือ Y สิทธิ์ในการนำพาสัมภาระโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามระดับของรหัสชั้นโดยสาร F
    5.    รถเข็นเด็กแบบพับได้สามารถนำขึ้นเก็บบนตู้เก็บของในห้องผู้โดยสารโดยไม่เสียค่าบริการเพิ่มเติม
  • หมายเหตุ

  • หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบเที่ยวบินรหัสร่วม (Code Share) นั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้บินจริง นั่นหมายความว่าในบางกรณีกฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่านอาจเป็นกฎของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย ท่านสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากตัวแทนการท่องเที่ยวหรือตัวแทนออกบัตรโดยสาร/จองบัตรโดยสารของเรา
  • ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3)

  • สัมภาระน้ำหนักเกินทั้งหมดจะต้องถูกชั่งและเก็บค่าบริการก่อนที่ผู้โดยสารจะขึ้นเครื่อง น้ำหนักสัมภาระที่อนุญาตอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเคบิน ระดับสถานะ สถานะทางการทหาร เอกสารเดินทางและวันที่ชำระค่าบัตรโดยสาร ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะเรียกเก็บดังต่อไปนี้โดยไม่คำนึงถึงชั้นโดยสารของบัตรโดยสาร

    สำหรับอัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน ก่อน/ ถึง 31 สิงหาคม 2561
    อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินนี้ใช้เฉพาะช่วงของการเดินทางภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3 ภายใต้เกณฑ์พิจารณาตามน้ำหนักและเป็นอัตราตามโซนดังนี้

    ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม

    ไปยังโซน 1

    ไปยังโซน 2

    ไปยังโซน 3

    ไปยังโซน 4

    ไปยังโซน 5

    ไปยังโซน 6

    ไปยังโซน 1

    12

    15

    40

    45

    70

    -

    ไปยังโซน 2

    15

    40

    45

    55

    70

    -

    ไปยังโซน 3

    40

    45

    55

    60

    70

    -

    ไปยังโซน 4

    45

    55

    60

    70

    70

    -

    ไปยังโซน 5

    70

    70

    70

    70

    70

    -

    ไปยังโซน 6

    -

    -

    -

    -

    -

    -

  • หมายเหตุ

  • 1.    “ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับเที่ยวบินภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3” ข้างต้นนี้ให้ใช้ได้กับการเดินทางในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
    2.    อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินคิดตามน้ำหนักที่เกินเป็นกิโลกรัมสำหรับโซน 1-5
    3.    ไม่อนุญาตให้ใช้อัตราส่วนลดของเด็กและเด็กเล็กได้
    4.    อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินไปยัง/มาจากโซน 6 หรือสหรัฐอเมริกา/แคนาดาคำนวณตามเกณฑ์พิจารณาตามจำนวนชิ้น (ข้อมูลเพิ่มเติมในหน้า “ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)”
    5.    หากมีการฝากสัมภาระผ่านตั้งแต่เที่ยวบินในประเทศของการบินไทยต่อเนื่องไปยังช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศกับการบินไทย การคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะแบ่งคิดตามโซน ช่วงของการเดินทางในประเทศกับการบินไทยคือโซน 1 (โปรดดูนิยามโซนต่างๆในตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ)
    6.    การแปลงค่าเงิน – ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินที่ประกาศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแปลงเป็นสกุลเงินท้องถิ่นโดยใช้อัตราขายของธนาคารในวันที่มีการคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังกล่าว
  • นิยามของโซนต่างๆ

  • โซน

    นิยาม

    โซน 1

    บังคลาเทศ/ กัมพูชา/ จีน (คุนหมิง)/ ลาว/ มาเลเซีย/ พม่า/ สิงคโปร์/ ไทยและเที่ยวบินในประเทศไทยของการบินไทย/ เวียดนาม/ เส้นทางระหว่างฮ่องกง และ ไทเป/ เส้นทางระหว่าง ไทเป และ เกาหลีใต้/ เส้นทางระหว่างการาจี และ มัสกัต/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ต และ สิงคโปร์/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ต และ กัวลาลัมเปอร์

    โซน 2

    บรูไนดารุสซาลาม/ จีน (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เฉิงตู กวางโจว เซี่ยเหมิน ฉงชิ่ง ฉางซา)/ ฮ่องกง/ อินเดีย/ อินโดนีเซีย/ มาเก๊า/ เนปาล/ ฟิลิปปินส์/ ศรีลังกา/ ไต้หวัน- จีน/ เส้นทางระหว่าง ฮ่องกง และ เกาหลีใต้/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ต และ ฮ่องกง/ เส้นทางระหว่างภูเก็ตและปักกิ่ง

    โซน 3

    ออสเตรเลีย (เพิร์ท)/ บาห์เรน/ ญี่ปุ่น/ เกาหลี/ โอมาน/ ปากีสถาน/ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์/ อิหร่าน/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและเกาหลีใต้/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและเพิร์ท/ เส้นทางระหว่างภูเก็ตและไทเป

    โซน 4

    ออสเตรเลีย (ซิดนีย์ บริสเบน เมลเบิร์น)/  อียิปต์/ อิสราเอล/ มาดากัสการ์/ ตุรกี/ รัสเซีย (มอสโก)

    โซน 5

    ออสเตรีย/ เบลเยียม/ เดนมาร์ค/ เชโกสโลวาเกีย/ ฟินแลนด์/  ฝรั่งเศส/ ฮังการี/ เยอรมัน/ อิตาลี/ เนเธอร์แลนด์/ นิวซีแลนด์/ นอร์เวย์/ โปแลนด์/ โปรตุเกส/ แอฟริกาใต้/ สเปน/ สวีเดน/ สวิตเซอร์แลนด์/ สหราชอาณาจักร/ เส้นทางระหว่าง สตอกโฮล์มและภูเก็ต/ เส้นทางระหว่าง โคเปนเฮเกน และ ภูเก็ต/ เส้นทางระหว่าง แฟรงก์เฟิร์ต และภูเก็ต

    โซน 6

    สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

    น้ำหนักและขนาดสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา

    ปลายทาง

    ชั้นโดยสาร

    น้ำหนักสูงสุด / ชิ้น (เพื่อไม่ให้ต้องเสียค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน)

    จำนวนสัมภาระฝากใต้เครื่องสูงสุด

    ผลรวมสูงสุดของทั้ง 3 มิติ (กว้าง+ยาว+สูง) ต่อใบ (เพื่อไม่ให้ต้องเสียค่าบริการสัมภาระขนาดเกิน)

    เข้า/ออก จากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

    ชั้นหนึ่ง (Royal First Class)

    32 กิโลกรัม (70 ปอนด์)

    2

    158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)

    ชั้นธุรกิจ (Royal Silk Class)

    32 กิโลกรัม (70 ปอนด์)

    2

    158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)

    ชั้นประหยัด (Economy Class)

    23 กิโลกรัม (50 ปอนด์)

    2

    158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)

    ทารกอายุไม่เกิน2ปี (ไม่มีที่นั่ง)

    23 กิโลกรัม (50 ปอนด์)

    1

    115 เซนติเมตร (45 นิ้ว)

  • •    ผู้โดยสารรอยัลเฟิร์สท์ชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจได้รับสิทธิ์นำพาสัมภาระสองชิ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น้ำหนักแต่ละชิ้นจะต้องไม่เกิน 32 กิโลกรัม (70 ปอนด์) และผลรวมของขนาดสัมภาระ (ยาว + กว้าง + สูง) จะต้องไม่เกิน 158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)
    •    ผู้โดยสารชั้นประหยัดได้รับสิทธิ์นำพาสัมภาระสองชิ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น้ำหนักแต่ละชิ้นจะต้องไม่เกิน 23 กิโลกรัม (50 ปอนด์) และผลรวมของขนากสัมภาระ (ยาว + กว้าง + สูง) จะต้องไม่เกิน 158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)
    •    สมาชิกบัตรรอยัลออร์คิดพลัส (ROP) โกลด์และสมาชิกบัตรรอยัลออร์คิดแพลตินัมจะได้รับสิทธิพิเศษในการนำพาสัมภาระเพิ่มเติมอีกหนึ่งชิ้นไม่ว่าจะเดินทางด้วยชั้นโดยสารใด สิทธิพิเศษนี้ใช้ควบคู่กับสถานะฟรีเควนท์ฟลายเออร์และบัตรโดยสารที่บินกับเครื่องของการบินไทยตลอดการเดินทางหรือมีการใช้บริการของสายการบินอื่นซึ่งตกลงยอมรับสิทธิพิเศษดังกล่าวนี้
    •    สัมภาระที่มีขนาดหรือน้ำหนักผิดจากปกติทั่วไปจะต้องเสียค่าบริการอัตราพิเศษ โปรดติดต่อสำนักงานของการบินไทยใกล้ท่าน ท่านสามารถตรวจสอบค่าบริการสัมภาระส่วนเกินได้ในหน้า “ค่าธรรมเนียมสัมภาระและค่าธรรมเนียมอื่นๆของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา”

  • หมายเหตุ
  • หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบเที่ยวบินรหัสร่วม(Code Share) ซึ่งมีจุดแวะในสหรัฐอเมริกา/เขตปกครองของสหรัฐอเมริกานั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้ทำการตลาด แต่ในบางกรณีกฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่านอาจเป็นกฎของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย ท่านสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากตัวแทนการท่องเที่ยวหรือตัวแทนออกบัตรโดยสาร/จองบัตรโดยสารของเรา
  • สัมภาระถือขึ้นเครื่อง

  • นอกเหนือจากสัมภาระที่ผู้โดยสารสามารถฝากเข้าใต้เครื่องแล้ว ผู้โดยสารแต่ละท่านสามารถถือสัมภาระขึ้นเครื่องได้หนึ่งชิ้น ความยาวไม่เกิน 56 เซนติเมตร (22 นิ้ว) ความกว้างไม่เกิน 45 เซนติเมตร (18 นิ้ว) ความหนาไม่เกิน 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) ซึ่งขนาดนี้รวมล้อ มือจับและกระเป๋าด้านข้างแล้ว น้ำหนักสัมภาระถือขึ้นเครื่องจะต้องไม่เกิน 7 กิโลกรัม (15 ปอนด์) ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องวางกระเป๋าไว้บนตู้เก็บเหนือศีรษะหรือใต้เบาะของตนเอง

    ผู้โดยสารสามารถนำพาสิ่งของต่อไปนี้ขึ้นเครื่องได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    •    กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่เงิน กระเป๋าของสุภาพสตรี ความยาวไม่เกิน 37.5 เซนติเมตร (15 นิ้ว) ความกว้างไม่เกิน 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) ความหนาไม่เกิน 12.5 เซนติเมตร (5 นิ้ว) ซึ่งทั้งสามมิตินี้รวมกันจะต้องไม่เกิน 75 เซนติเมตร (30 นิ้ว) และน้ำหนักไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม (3.3 ปอนด์)
    •    เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคและเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
    •    ไม้เท้า (ไม้ค้ำยัน) สำหรับผู้โดยสารสูงอายุ ผู้ป่วยและผู้ที่มีความทุพพลภาพ
    •    กล้องถ่ายภาพหรือกล้องส่องทางไกลขนาดเล็ก
    •    อาหารเด็กเล็ก

    หมายเหตุ

    เจ้าหน้าที่อาจทำการสุ่มตรวจด้วยเครื่องตรวจและ/หรือตาชั่งที่เคาน์เตอร์เช็คอิน และ/หรือที่ประตูขึ้นเครื่องเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามข้อบังคับนี้

    ประเภทสัมภาระพิเศษเพื่อการคำนวณค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก (ภายในทีซี 3 และระหว่างทีซี 2 และทีซี 3) หรือตามเกณฑ์ชิ้น (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)
  • ประเภท

    การอนุญาต

    ค่าบริการ

    หมายเหตุ

    จักรยาน

    อนุญาต**

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    • อนุญาตนำจักรยานรวมในสิทธิ์สัมภาระ 1 คัน/ท่าน
    • สำหรับจักรยานคันที่2 หรือคันอื่นๆ ต้องชำระค่าสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์ปกติ

    โบว์ลิ่ง

    อนุญาต

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น   

    อุปกรณ์ตกปลา

    อนุญาต

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    อุปกรณ์กอล์ฟ

    อนุญาต

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    • ผู้โดยสารหนึ่งท่านสามารถนำพาอุปกรณ์กอล์ฟได้หนึ่งชุดในสิทธิ์
    • สำหรับอุปกรณ์กอล์ฟชุดที่2ขึ้นไปต้องชำระค่าสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์ปกติ

    อุปกรณ์สกีหิมะ / น้ำ

    อนุญาต

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น   

    เซิร์ฟบอร์ด / วินด์เซิร์ฟ

    ไม่อนุญาต

    หมายเหตุ โปรดดูข้อยกเว้นในหมายเหตุ

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    • ในกรณีที่ผู้โดยสารเดินทางเข้าหรือออกจากประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ ผู้โดยสารสามารถนำเซิร์ฟบอร์ด หรือ/ วินด์เซิร์ฟ 1 ชิ้นรวมเข้าในสิทธิ์สัมภาระ

    • หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    • ผู้โดยสารได้รับสิทธิ์ดังกล่าว ในกรณีที่ผู้โดยสารมีการแวะพัก (Stopover) ที่กรุงเทพฯ

    •ในกรณีที่ผู้โดยสารเดินทางเข้าหรือออกจาก เดนปาซาร์  ซึ่งบัตรโดยสารจำหน่ายโดยสำนักงานการบินไทย จำกัด มหาชนประจำประเทศญี่ปุ่น ผู้โดยสารสามารถนำเซิร์ฟบอร์ด 1 ชิ้น รวมในสิทธิ์สัมภาระ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (ผู้โดยสารได้รับสิทธิดังกล่าว ในกรณีที่ผู้โดยสารแวะพักที่กรุงเทพฯ)

    ดำน้ำแบบสกูบา

    อนุญาต

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    การขนส่งสัตว์เลี้ยง

    ไม่อนุญาต   

    ชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น    

     •สามารถขนส่งได้เฉพาะ สุนัขและแมวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฏระเบียบของแต่ละประเทศจุดหมายปลายทาง


    • เครื่องบินรุ่น แอร์บัส 320 ไม่สามารถขนส่งสัตว์เลี้ยงได้ เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างเครื่องบินรุ่นดังกล่าว ไม่เหมาะสมกับการขนส่งสัตว์ที่มีชีวิต

    อาวุธปืนเพื่อการกีฬา

    อนุญาต***

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    เครื่องดนตรี

    อนุญาต
    หมายเหตุ หากมีความยาวไม่เกิน 100 เซนติเมตร (39 นิ้ว)

    หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น

    อัตราค่าสัมภาระน้ำหนักเกิน

              •    เกณฑ์พิจารณาตามน้ำหนัก: *โปรดดูค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3)
              •    เกณฑ์พิจารณาตามจำนวนชิ้น: *โปรดดูค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ไปยัง/มาจาก สหรัฐอเมริกา/แคนาดา)
  • หมายเหตุ

              ** จักรยานที่สามารถรวมในสิทธิ์สัมภาระได้ จะต้องเป็นจักรยานที่มีเบาะนั่งไม่เกิน 1 เบาะ และ ต้องไม่เป็นระบบไฟฟ้า
              *** อาวุธปืนทางการกีฬาจะต้องเป็นอาวุธที่พกพาเพื่อจุดประสงค์ทางการกีฬาเท่านั้น
  • ค่าธรรมเนียมสัมภาระและค่าธรรมเนียมอื่นๆของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

  • สิทธิ์ในการนำพาสัมภาระ

  • ผู้โดยสารสามารถนำพาสัมภาระได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายดังที่ระบุในเงื่อนไขและข้อจำกัดของการบินไทย สายการบินของเราได้มีการประกาศน้ำหนักอนุญาตสำหรับการเดินทางที่อยู่ภายในทีซี 3 (เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ตลอดการเดินทาง และสำหรับการเดินทางระหว่างทีซี 2 (ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง) และทีซี 3 (เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ส่วนเกณฑ์การพิจารณาตามจำนวนชิ้นนั้นใช้กับการเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา  ผู้โดยสารการบินไทยทั้งผู้ใหญ่และเด็กเล็กที่ต้องการเดินทางไปยังหรือมาจากสหรัฐอเมริกาจะได้รับสิทธิ์ในการนำพาสัมภาระโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังนี้

    ปลายทาง

    ชั้นโดยสาร

    น้ำหนักสูงสุด / ชิ้น (เพื่อไม่ให้ต้องเสียค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน)

    จำนวนสัมภาระฝากใต้เครื่องสูงสุด

    มิติรวมสูงสุดต่อใบ (เพื่อไม่ให้ต้องเสียค่าบริการสัมภาระขนาดเกิน)

    เข้า/ออกจาก
    สหรัฐอเมริกา
    และแคนาดา

    ชั้นหนึ่ง
    (Royal First Class)

    32 กิโลกรัม (70 ปอนด์)

    2

    158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)

    ชั้นธุรกิจ
    (Royal Silk Class)

    32 กิโลกรัม (70 ปอนด์)

    2

    158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)

    ชั้นประหยัด
    (Economy Class)

    23 กิโลกรัม (50 ปอนด์)

    2

    158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)

    ทารกอายุไม่เกิน2ปี (ไม่มีที่นั่ง)

    23 กิโลกรัม (50 ปอนด์)

    1

    115 เซนติเมตร (45 นิ้ว)

              •    ผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจได้รับสิทธิ์นำพาสัมภาระสองชิ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น้ำหนักแต่ละชิ้นจะต้องไม่เกิน 32 กิโลกรัม (70 ปอนด์) และขนาด (ยาว + กว้าง + สูง) จะต้องไม่เกิน 158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)
              •    ผู้โดยสารชั้นประหยัดได้รับสิทธิ์นำพาสัมภาระสองชิ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น้ำหนักแต่ละชิ้นจะต้องไม่เกิน 23 กิโลกรัม (50 ปอนด์) และขนาด (ยาว + กว้าง + สูง) จะต้องไม่เกิน 158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)
              •    สมาชิกบัตรทองรอยัลออร์คิดพลัส (ROP) จะได้รับสิทธิพิเศษในการนำพาสัมภาระเพิ่มเติมอีกหนึ่งชิ้นไม่ว่าจะเดินทางด้วยชั้นโดยสารใด สิทธิพิเศษนี้ใช้ควบคู่กับสถานะฟรีเควนท์ฟลายเออร์และบัตรโดยสารที่บินกับเครื่องของการบินไทยตลอดการเดินทางหรือมีการใช้บริการของสายการบินอื่นซึ่งตกลงยอมรับสิทธิพิเศษดังกล่าวนี้
              •    สัมภาระที่มีขนาดหรือน้ำหนักผิดจากปกติทั่วไปจะต้องเสียค่าบริการอัตราพิเศษ โปรดติดต่อสำนักงานของการบินไทยใกล้ท่าน ท่านสามารถตรวจสอบค่าบริการสัมภาระส่วนเกินได้ในหน้า “ค่าธรรมเนียมสัมภาระและค่าธรรมเนียมอื่นๆของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา”

    สัมภาระถือขึ้นเครื่อง

    ผู้โดยสารสามารถถือกระเป๋าขึ้นเครื่องได้หนึ่งใบและมีของใช้ส่วนตัวขนาดเล็กอีกหนึ่งชิ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผลรวมของมิติทั้งสาม (ยาว x สูง x กว้าง) ของกระเป๋าถือขึ้นเครื่องจะต้องไม่เกิน 22 x 18 x 10 นิ้ว (56 x 45 x 25 เซนติเมตร) และน้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 15 ปอนด์ (7 กิโลกรัม) หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระเป๋าถือขึ้นเครื่องที่อนุญาต โปรดดูหน้านโยบายเกี่ยวกับสัมภาระ (บริการทั่วไป – สัมภาระถือขึ้นเครื่อง)


  • ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)

  • สัมภาระน้ำหนักเกินทั้งหมดจะต้องถูกชั่งและเก็บค่าบริการก่อนที่ผู้โดยสารจะขึ้นเครื่อง น้ำหนักสัมภาระที่อนุญาตอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเคบิน ระดับสถานะ สถานะทางการทหาร เอกสารเดินทางและวันที่ซื้อ ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะเรียกเก็บดังต่อไปนี้โดยไม่คำนึงถึงชั้นโดยสารของบัตรโดยสาร อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับช่วงของการเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดาภายใต้เกณฑ์พิจารณาตามจำนวนชิ้นและเป็นอัตราตามโซนดังนี้

    ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม

    ไปยังโซน 1

    ไปยังโซน 2

    ไปยังโซน 3

    ไปยังโซน 4

    ไปยังโซน 5

    ไปยังโซน 6

    จากโซน 1

    -

    -

    -

    -

    -

    180

    จากโซน 2

    -

    -

    -

    -

    -

    180

    จากโซน 3

    -

    -

    -

    -

    -

    180

    จากโซน 4

    -

    -

    -

    -

    -

    180

    จากโซน 5

    -

    -

    -

    -

    -

    180

    จากโซน 6

    180

    180

    180

    180

    180

    180

    รายละเอียดการคำนวณ

    เส้นทาง

    ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อชิ้น

    สัมภาระขนาดเกิน แต่ละชิ้นจะต้องมีมิติเกิน 62 นิ้ว (158 เซนติเมตร) แต่ไม่เกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร)

    สัมภาระขนาดเกินและจำนวนเกินคิดค่าบริการสองเท่า
    1. แต่ละชิ้นที่เกินกำหนดอนุญาต 2 ชิ้น
    2. มีมิติเกิน 62 นิ้ว (158 เซนติเมตร) แต่ไม่เกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร)

    สัมภาระขนาดเกิน/น้ำหนักเกินจะต้องถูกชั่งและคิดค่าบริการสามเท่าสำหรับ 45 กิโลกรัมแรก เศษทุก 10 กิโลกรัมจากนั้นคิดหนึ่งเท่า

    ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

    180 ดอลลาร์สหรัฐ

    180 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อ 8)

    360 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อ 9)

    180 ดอลลาร์สหรัฐ X 3  (ข้อ 10)

    หมายเหตุ

    1.    “ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)” ข้างต้นนี้ให้ใช้ได้กับการเดินทางในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
    2.    ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินที่ประกาศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแปลงเป็นสกุลเงินท้องถิ่นโดยใช้อัตราขายของธนาคารในวันที่มีการคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังกล่าว
    3.    หากมีการฝากสัมภาระผ่านตั้งแต่เที่ยวบินในประเทศของการบินไทยต่อเนื่องไปยังช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศกับการบินไทย การคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะแบ่งคิดตามโซน ช่วงของการเดินทางในประเทศกับการบินไทยคือโซน 1 (โปรดดูนิยามโซนต่างๆในตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ)
    4.    ไม่อนุญาตให้ใช้อัตราส่วนลดของเด็กและเด็กเล็กได้
    5.    ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินข้างต้นให้ใช้กับเที่ยวบินของการบินไทยเท่านั้น
    6.    ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าบริการสำหรับสัมภาระในส่วนที่เกินกว่าที่อนุญาตไม่ว่าจะซื้อและใช้บัตรโดยสารชั้นโดยสารใดก็ตาม
    7.    นิยามของโซนต่างๆaye

    โซน

    นิยาม

    โซน 1

    บังคลาเทศ กัมพูชา จีน (คุนหมิง) ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ สิงคโปร์ ไทยและช่วงเที่ยวบินในประเทศไทยของการบินไทย เวียดนาม เส้นทางระหว่าง ฮ่องกงและไทเป เส้นทางระหว่าง ไทเปและเกาหลีใต้ เส้นทางระหว่างการาจีและมัสกัต เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและสิงคโปร์ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ต และ กัวลาลัมเปอร์

    โซน 2

    บรูไนดารุสซาลาม จีน (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เฉิงตู กวางโจว เซี่ยเหมิน ฉงชิ่ง ฉางซา) ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเก๊า เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไต้หวัน - จีน เส้นทางระหว่าง ฮ่องกงและเกาหลีใต้ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและฮ่องกง

    โซน 3

    ออสเตรเลีย (เพิร์ท) บาห์เรน ญี่ปุ่น เกาหลี โอมาน ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและเกาหลีใต้ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและเพิร์ท เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและไทเป

    โซน 4

    ออสเตรเลีย (ซิดนีย์ บริสเบน เมลเบิร์น)  อียิปต์ อิสราเอล มาดากัสการ์ ตุรกี รัสเซีย (มอสโก)

    โซน 5

    ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ค เชโกสโลวาเกีย ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส ฮังการี เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร เส้นทางระหว่างสตอกโฮล์มและภูเก็ต และเส้นทางระหว่าง โคเปนเฮเกนและภูเก็ต เส้นทางระหว่าง แฟรงก์เฟิร์ตและภูเก็ต

    โซน 6

    สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

    8.    ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินให้ใช้กับสัมภาระต่อไปนี้
    ก. สัมภาระที่เกินจำนวนชิ้นที่อนุญาต: สัมภาระแต่ละชิ้นที่เกินกว่าที่อนุญาต 2 ชิ้น
    ข. สัมภาระขนาดเกิน: สัมภาระแต่ละชิ้นที่มีมิติเกิน 62 นิ้ว (158 เซนติเมตร) แต่ไม่เกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร)
    9.    ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสองเท่าให้ใช้กับสัมภาระต่อไปนี้
    ก. สัมภาระที่ขนาดเกินและเกินจำนวนชิ้นที่อนุญาต: สัมภาระแต่ละชิ้นที่เกินกว่าที่อนุญาต 2 ชิ้นและมิติเกิน 62 นิ้ว (158 เซนติเมตร) แต่ไม่เกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร)
    10.  สัมภาระใดๆที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
    ก. มิติรวมเกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร) และ/หรือ
    ข. น้ำหนักเกิน 70 ปอนด์ (32 กิโลกรัม)
    จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  • •    สัมภาระดังกล่าวไม่อาจถือว่าเป็นสัมภาระที่มากับผู้โดยสารเว้นเสียแต่ว่าจะมีการตกลงกับการบินไทยเป็นการล่วงหน้าและได้รับการยืนยันแล้วเสียก่อน
    •    สัมภาระดังกล่าวจะต้องถูกชั่งน้ำหนักและคิดค่าบริการสามเท่าสำหรับ 45 กิโลกรัมแรก เศษทุก 10 กิโลกรัมจากนั้นคิดหนึ่งเท่า

    อุปกรณ์กีฬาและสัมภาระฝากใต้เครื่องอื่นๆ (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา)

    สัมภาระนำติดตัวอื่นๆอาจมีค่าดำเนินการ มีค่าดำเนินการพิเศษขึ้นอยู่กับเส้นทางบิน ค่าธรรมเนียมทุกรายการที่ปรากฏด้านล่างนี้เป็นค่าธรรมเนียมต่อชิ้น คำนวณตามเกณฑ์น้ำหนัก หรือ เกณฑ์จำนวนชิ้น กรุณาติดต่อสำนักงานการบินไทย จำกัด มหาชน ใกล้ท่านเพื่อแจ้งรายละเอียดอุปกรณ์การกีฬา  หรือสัมภาระพิเศษ บันทึกในข้อมูลการสำรองที่นั่งของท่านล่วงหน้าอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนเวลาเดินทาง

    จักรยาน
    ท่านสามารถใช้สิทธิ์สัมภาระของท่านครอบคลุมจักรยาน1คันได้ หากเกินกว่าสิทธิ์ จะคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินปกติ ชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ


    อุปกรณ์กอล์ฟ (ไม้กอล์ฟหนึ่งชุด)**

    ท่านสามารถใช้สิทธิ์สัมภาระของท่านครอบคลุมอุปกรณ์กอล์ฟหนึ่งชุดได้ หากเกินจากสิทธิ์ให้คิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินในอัตรา 50% ต่อชุด (60 ดอลลาร์สหรัฐ)

    **อุปกรณ์กอล์ฟหนึ่งชุดประกอบด้วยไม้กอล์ฟไม่เกิน 14 ไม้ ลูกกอล์ฟไม่เกิน 12 ลูกและรองเท้ากอล์ฟหนึ่งคู่ หากอุปกรณ์กอล์ฟใดๆที่เกินกว่าหนึ่งชุดนี้จะถูกคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินปกติ (คิดเป็นค่าธรรมเนียม ชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ)


    อุปกรณ์สกีหิมะ/น้ำ
    ท่านสามารถใช้สิทธิ์สัมภาระของท่านครอบคลุมอุปกรณ์สกีหิมะ/น้ำของท่านได้ หากเกินจากกว่าสิทธิ์ จะคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน ชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ

    เซิร์ฟบอร์ด (ที่ไม่สามารถรวมในสิทธิ์สัมภาระได้)
    ในกรณีที่มีเซิร์ฟบอร์ดเกินกว่าสิทธิ์ที่ได้รับ ให้คิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังต่อไปนี้:
    - กระดานที่มีความยาวไม่เกิน 2 เมตร คิดค่าสัมภาระส่วนเกินเป็น 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ชิ้น
    - กระดานที่มีมากกว่า 2 เมตรขึ้นไป คิดค่าสัมภาระส่วนเกินเป็นราคา 2 ชิ้น คึอ 300 ดอลลาร์สหรัฐ

    อุปกรณ์วินด์เซิร์ฟ  (ที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์สัมภาระครอบคลุมได้)
    ในกรณีที่มีเซิร์ฟบอร์ดเกินกว่าสิทธิ์ที่ได้รับ ให้คิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังต่อไปนี้:
    - กระดานที่มีความยาวไม่เกิน 2 เมตร คิดค่าสัมภาระส่วนเกินเป็น 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ชิ้น
    - กระดานที่มีมากกว่า 2 เมตรขึ้นไป คิดค่าสัมภาระส่วนเกินเป็นราคา 2 ชิ้น คึอ 300 ดอลลาร์สหรัฐ

    อุปกรณ์ดำน้ำลึก (Scubu driving) (สามารถใช้สิทธิ์สัมภาระครอบคลุมได้)
    ท่านสามารถใช้สิทธิ์สัมภาระของท่านครอบคลุมอุปกรณ์ดำน้ำแบบสกูบาของท่านได้ หากเกินกว่าสิทธิ์ จะคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน ชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ

    อาวุธปืนและเครื่องกระสุน 
    ท่านสามารถใช้สิทธิ์สัมภาระของท่านครอบคลุมอุปกรณ์ปืนและเครื่องกระสุนของท่านได้ หากเกินกว่าสิทธิ์ จะคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน ชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ

    อาวุธปืนเพื่อการกีฬา
    สามารถถือเป็นสัมภาระหนึ่งชิ้นได้ หากเกินกว่าสิทธิ์จะคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ

    เครื่องดนตรีแบบพกพาได้หนึ่งชิ้น (ความยาวไม่เกิน 39 นิ้ว / 100 เซนติเมตร)
    ท่านสามารถใช้สิทธิ์สัมภาระของท่านครอบคลุมได้ หากเกินกว่าสิทธิ์จะคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังต่อไปนี้:
    เครื่องดนตรีแบบพกพาที่มีความยาวไม่เกิน 1 เมตร คิดชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ

    สิ่งของและอุปกรณ์กีฬาอื่นๆ
    ท่านสามารถใช้สิทธิ์สัมภาระของท่านครอบคลุมได้ หากเกินกว่าสิทธิ์จะคิดค่าสัมภาระส่วนเกิน ชิ้นละ 150 ดอลลาร์สหรัฐ

    สัตว์เลี้ยงฝากใต้เครื่องเป็นสัมภาระ (ไม่รวมในสิทธิ์สัมภาระ)
    ในกรณมีสัตว์เลี้ยงเกินกว่าสิทธิ์ที่ได้รับ จะคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังต่อไปนี้:
    - ไม่เกิน 10 กิโลกรัม คิดเป็น 2 ชิ้น (300ดอลลาร์สหรัฐ)
    - ไม่เกิน 20 กิโลกรัม คิดเป็น 3 ชิ้น (450ดอลลาร์สหรัฐ)
    - ไม่เกิน 30 กิโลกรัม คิดเป็น 4 ชิ้น (600ดอลลาร์สหรัฐ)
    - ไม่เกิน 40 กิโลกรัม คิดเป็น 5 ชิ้น (750ดอลลาร์สหรัฐ)

    หมายเหตุ
    หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบเที่ยวบินรหัสร่วม(Code Share) นั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้บินจริง นั่นหมายความว่าในบางกรณีกฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่านอาจเป็นกฎของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซท์ของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้
    สายการบินออลนิปปอน (All Nippon Airways)
    สายการบินลุฟท์ฮันซ่า (Lufthansa Airline)
    สายการบินบรัสเซลส์ (Brussel Airline)
    สายการบินไทยสมายล์ (Thai Smile Airways)

  • การเดินทางแบบใช้หลายสายการบิน

    ข้อมูลทั่วไป

    สิทธิ์น้ำหนักสัมภาระและค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อไปนี้ใช้กับสัมภาระที่รับฝากจากจุดที่เริ่มออกเดินทางไปจนถึงที่หายปลายทางโดยไม่มีการแวะพัก (Stopover) ณ จุดใดจุดหนึ่งระหว่างการเดินทาง หากผู้โดยสารมีการแวะพัก(Stopover) ที่จุดใดระหว่างทางจะต้องมีการประเมินสิทธิ์น้ำหนักสัมภาระใหม่และชำระค่าสัมภาระ (ถ้ามี) โดยนับตั้งแต่จุดที่เริ่มเดินทางต่อหลังจากการแวะพัก (Stopover) เป็นต้นไป

    หากท่านเดินทางโดยมีสัมภาระน้ำหนักเกินหรือจำนวนชิ้นเกินกว่าที่อนุญาต ท่านจะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินด้วย การบินไทยมีการคิดค่าบริการดังกล่าวในอัตราที่ไม่เท่ากันตามสัมภาระที่ท่านฝากเข้าใต้เครื่องเมื่อเดินทางกับการบินไทย หากในการเดินทางของท่านและ/หรือช่วงของการเดินทางที่มีการฝากสัมภาระของท่านมีการใช้บริการของสายการบินมากกว่าหนึ่งสาย กฎเรื่องสัมภาระที่ใช้อาจเป็นของอีกสายการบินหนึ่งนั้นได้

    การเลือกใช้กฎเรื่องสัมภาระในการเดินทางแบบใช้หลายสายการบิน

    มติที่ 302 ของ IATA ในเรื่องสัมภาระสามารถใช้บังคับกับสายการบินที่เป็นสมาชิก IATA (รวมถึงการบินไทย) มตินี้เป็นการกำหนดว่าจะใช้กฎเรื่องสัมภาระของสายการบินใดในกรณีที่การเดินทางของท่านและ/หรือช่วงของการเดินทางที่มีการฝากสัมภาระของท่านมีการใช้บริการของสายการบินสองสายหรือมากกว่านั้น (บทบัญญัติเรื่องสัมภาระในการเดินทางแบบใช้หลายสายการบิน) การบังคับใช้มติที่ 302 ของ IATA นั้นจะแบ่งตามแอเรียแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์ต่างๆดังนี้

    IATA แบ่งพื้นที่โลกเป็นสามพื้นที่หลักเพื่อความสะดวกในการปรับค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ ได้แก่ แอเรียที่ 1 แอเรียที่ 2 และแอเรียที่ 3 การแบ่งแอเรียนี้ใช้เพื่อการตีความกฎค่าบริการและการคำนวณค่าโดยสารทางอาการระหว่างประเทศ บางครั้งสายการบินจะเรียกแอเรียเหล่านี้ว่าทีซี (แทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์) เช่น ทีซี 1 (หมายถึงแอเรียที่ 1) ทีซี 2 (หมายถึงแอเรียที่ 2) และ ทีซี 3 (หมายถึงแอเรียที่ 3)

    ในแต่ละแอเรียจะมีซับแอเรียหรือภูมิภาคแยกย่อยซึ่งในบริบทของ IATA นั้นอาจจะมีความหมายแตกต่างจากบริบททางภูมิศาสตร์ปกติ

    แอเรีย 1 คือ โลกตะวันตกทั้งหมด
    แอเรีย 2 คือ ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา
    แอเรีย 3 คือ เอเชียทั้งหมดและเกาะใกล้เคียง (ยกเว้นเกาะที่อยู่ในทีซี 2 แล้ว) ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และเกาะใกล้เคียง ตลอดจนหมู่เกาะแปซิฟิก (ยกเว้นเกาะที่อยู่ในทีซี 1 แล้ว)

    การพิจารณาเลือกกฎเรื่องสัมภาระของสายการบิน

    1.    สำหรับการเดินทางระหว่างแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์แอเรียสองแอเรียหรือมากกว่า สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกที่ข้ามจากแอเรียหนึ่งสู่อีกแอเรียหนึ่งเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ
    2.    สำหรับการเดินทางระหว่างแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์ซับแอเรีย สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกที่ข้ามจากซับแอเรียหนึ่งสู่อีกซับแอเรียหนึ่งเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ
    3.    สำหรับการเดินทางภายในแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์ซับแอเรียใดๆ สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกที่ข้ามระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ
    4.    สำหรับการเดินทางภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ

    หมายเหตุ
    หากการเดินทางของท่านมีการใช้เที่ยวบินแบบเที่ยวบินรหัสร่วม (Code Share)  กฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้บินจริง

    การเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา

    โดยทั่วไปแล้วสำหรับผู้โดยสารซึ่งบัตรโดยสารระบุจุดเริ่มออกเดินทางหรือจุดหมายปลายทางเป็นสหรัฐอเมริกาและ/หรือเขตปกครองของสหรัฐอเมริกาจะใช้กฎเรื่องสัมภาระซึ่งได้เลือกไว้แต่แรกตลอดทั้งการเดินทางแม้ว่าจะมีการแวะพัก (Stopover) ก็ตาม

    หากมีการใช้กฎเรื่องสัมภาระของการบินไทยในการเดินทางของท่านไปยังสหรัฐอเมริกา/เขตปกครองของสหรัฐอเมริกา สำหรับเที่ยวบินกลับของท่านก็จะใช้กฎเดียวกันนี้แม้ว่าท่านมีการแวะพัก (Stopover) ระหว่างทางก็ตาม

    ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบเที่ยวบินรหัสร่วม (Code Share) ซึ่งมีจุดแวะในสหรัฐอเมริกา/เขตปกครองของสหรัฐอเมริกานั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้ทำการตลาด

    หากในการเดินทางของท่านมีการใช้บริการของหลายสายการบิน โปรดทราบว่ากฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินนั้นอาจไม่เหมือนกัน กฎเรื่องสัมภาระที่ใช้กับการเดินทางของท่านอาจเป็นของสายการบินที่เป็นพาร์ทเนอร์ของเรา ในบางกรณีสายการบินเหล่านั้นอาจเลือกใช้กฎเรื่องสัมภาระของตนแม้ว่าจะมีกฎของเที่ยวบินรหัสร่วม (Code Share) และกฎของการเดินทางทั้งขาออกและขาเข้าแล้วก็ตาม ท่านอาจถูกคิดค่าธรรมเนียมสัมภาระฝากใต้เครื่องหากการเดินทางของท่านเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา/เขตปกครองของสหรัฐอเมริกา โปรดติดต่อตัวแทนออกบัตรโดยสาร/จองบัตรโดยสารและ/หรืออ่านนโยบายเรื่องการอนุญาตสัมภาระและค่าธรรมเนียมสัมภาระทางเว็บไซด์ของผู้ให้บริการดังกล่าวนั้น

    การบินไทย เช็คอิน กี่ ชม.

    เช็คอินเคาน์เตอร์เปิดให้บริการก่อนเวลาเครื่องออก 3 ชั่วโมง และ ปิดให้บริการก่อนเวลาเครื่องออก 40 นาที ประตูทางขึ้นเครื่องเปิดก่อนเวลาเครื่องออก 1 ชั่วโมง 15 นาที และ ปิดประตูก่อนเวลาเครื่องออก 10 นาที

    การบินไทยโหลดกระเป๋าได้กี่โล

    ประเภท
    น้ำหนักสัมภาระทุกชิ้นรวมกันสูงสุด
    ชั้นหนึ่ง (Royal First Class)
    50 กิโลกรัม (110 ปอนด์)
    ชั้นธุรกิจ (Royal Silk Class)
    40 กิโลกรัม (88 ปอนด์)
    ชั้นประหยัดพิเศษ (Premium Economy Class)
    40 กิโลกรัม (88 ปอนด์)
    ชั้นประหยัด (Economy Class)
    30 กิโลกรัม (66 ปอนด์) *ยกเว้นรหัสสำรองที่นั่ง L: 20 กิโลกรัม (44 ปอนด์)
    นโยบายเกี่ยวกับสัมภาระ | ข้อกำหนดและเงื่อนไข | การบินไทย - Thai Airwayswww.thaiairways.com › th_TH › Terms_condition › baggage_policynull

    โหลดกระเป๋า ไทยสมายล์ กี่นาที

    เที่ยวบินภายในประเทศ: เคาน์เตอร์เช็คอินเปิด 2. ชั่วโมงก่อนกำหนดเวลาเครื่องออก และจะปิดรับเช็คอิน 45. นาทีก่อนกำหนดเวลาเครื่องออก ส่วนประตูทางออกขึ้นเครื่องปิด 10.