ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีกี่ลักษณะ

เทคโนโลยีบล็อกเชน มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร?

ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีกี่ลักษณะ

บล็อกเชนคืออะไร?

บล็อกเชนคือเทคโนโลยีบัญชีแบบกระจายศูนย์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของระบบแบบรวมศูนย์ที่มีอำนาจการควบคุมและตัดสินใจเพียงคนกลุ่มเดียว ซึ่งการเก็บข้อมูลของบล็อกเชนจะเป็นในรูปแบบของบล็อก (ฺBlock) และเชื่อมโยงกันในเครือข่ายเหมือนห่วงโซ่ (Chain) ทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลชุดเดียวกัน เชื่อมต่อกันแบบผู้คนสู่ผู้คน (Peer-to-Peer) กล่าวคือ ทุกคนสามารถตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายได้ และใช้ Consensus Algorithm ในการหาฉันทามติเมื่อมีธุรกรรมใหม่เกิดขึ้น

ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีกี่ลักษณะ

ข้อดีของบล็อกเชน

การกระจายศูนย์ (Decentralization)

หนึ่งในข้อดีหลักของเทคโนโลยีบล็อกเชน คือความจำเป็นของตัวกลางหรือบุคคลที่สามจะถูกกำจัดออกไป และถูกแทนที่ด้วยการตรวจสอบของคนในระบบด้วยกลไกการทำงานของบล็อกเชนที่สามารถจัดการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมได้

โดยทั่วไปแล้ว การป้องกันระบบถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการเก็บข้อมูล ยิ่งเป็นระบบที่ต้องทำงานร่วมกับบุคคลที่สามหรือองค์กรก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการถูกแทรกแซง การรักษาความปลอดภัยต้องใช้ทั้งเงินและเวลาเป็นอย่างมากสำหรับระบบการเก็บข้อมูลแบบทั่วไป

การทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถช่วยลดเวลาและต้นทุนในการป้องกันระบบ เนื่องจากทุกธุรกรรมที่อยู่บนบล็อกเชนมีหลักฐาน โดยจะถูกคัดลอกไปยังคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายบนบล็อกเชน หมายความว่าทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนได้อย่างอิสระ

ความน่าเชื่อถือ

บัญชีแบบกระจายศูนย์ของบล็อกเชนสามารถบันทึกการกระทำ ข้อมูล และธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ ธุรกรรมทั้งหมดจะถูกเปิดเผยแบบสาธารณะ ความน่าเชื่อถือเหล่านี้เกิดขึ้นจากผู้ที่มีส่วนร่วมในระบบที่ไม่มีใครรู้จักกัน ไม่จำเป็นต้องไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่จะตรวจสอบความถูกต้องของกันและกันตามข้อตกลงของบล็อกเชน จึงทำให้มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก

ความเร็ว

ตามปกติการแลกเปลี่ยนหรือทำสัญญาจะต้องผ่านหลายกระบวนการก่อนที่จะถึงปลายทาง ในบางอุตสาหกรรมอาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมากอาจไม่กี่นาทีหรือบางทีบล็อกเชนอาจไม่ถึงนาที

ข้อจำกัดของบล็อกเชน

ไม่สามารถแก้ไขได้

ถือว่าเป็นข้อเสียในข้อดีที่ระบบไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกบรรจุลงในบล็อกเชนแล้วจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะย้อนกลับไปแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการทำธุรกรรมทุกครั้งควรจะตรวจสอบให้ดีก่อน

จากกรณีตัวอย่างเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ.2020 มีใครบางคนโอนบิตคอยน์ 0.01088549 BTC หรือมูลค่า 5,893 บาท ด้วยค่าธรรมเนียม 2.66 BTC หรือ 1,428,377 บาท (ราคา ณ ขณะนั้น) จากกรณีดังกล่าวคาดว่าผู้โอนน่าจะใส่จำนวนเหรียญที่จะทำการโอนสลับกับช่องค่าธรรมเนียม ด้วยกระเป๋าที่สามารถระบุค่าทำเนียมเองได้ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากที่ต้องตรวจสอบทุกครั้งก่อนทำธุรกรรม

การใช้พลังงาน

บล็อกเชนนั้นเปลืองพลังงานอย่างมาก โดยพลังงานมีความจำเป็นต่อการเก็บรักษาบัญชีแบบเรียลไทม์ ทุกครั้งที่เกิดธุรกรรม นักขุดในเครือข่ายจะต้องใช้พลังงานในการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ พลังงานจะถูกใช้เพื่อการตรวจสอบ แก้ไขสมการ และจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ อย่างถาวร ทุกการกระทำเหล่านี้จะผลาญพลังงานไฟฟ้าไปอย่างมาก

ในทางทฤษฎีบล็อกเชนสามารถถูกแทรกเซงได้

การจะเข้าแทรกแซงบล็อกเชนได้จำเป็นต้องใช้พลังงานมากกว่า 51% ของทั้งระบบ เพื่อทำให้เสียงส่วนใหญ่บนบล็อกเชนเห็นชอบกับข้อมูล บล็อกเชนที่มีจำนวนโหนดหรือผู้ใช้น้อย จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีได้ง่าย อย่างไรก็ตาม แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในทางปฎิบัติ โดยเฉพาะเครือข่ายที่มีการกระจายตัวสูงอย่างบิตคอยน์ ยิ่งมีผู้มีส่วนร่วมมากยิ่งทำให้เครือข่ายมีความแข็งแกร่ง ปลอดภัย และโปร่งใสมากเท่านั้น

การขยายระบบเป็นเรื่องยาก

บล็อกเชนไม่สามารถปรับแก้ไขระบบได้ง่ายดายเหมือนระบบรวมศูนย์ที่สามารถปรับระบบได้ตลอดเวลา ปัญหาของเครือข่ายที่พบได้มากก็คือเรื่องของการขยายระบบ ในบางเครือข่าย เช่น บิตคอยน์ บางครั้งผู้ใช้อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการยืนยันธุรกรรม

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนาแก้ไขเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ระบบสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ลดปัญหาคอขวด และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในอนาคตได้

การเก็บรักษา Private key

ปัจจุบัน การเก็บรักษา Private key สามารถทำได้ง่ายขึ้นหากเทียบกับเมื่อก่อน แต่ก็ยังพูดได้ว่ายังเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ เนื่องจากผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีอยู่ระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถเก็บรักษา Private key ได้อย่างปลอดภัย

การเก็บรักษานั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หากผู้ใช้ไม่มีวิธีเก็บที่ปลอดภัยและรัดกุมมากพอ อาจทำให้สูญเสียบัญชีไปตลอดกาลได้

ส่งท้าย

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีประโยชน์อย่างมากในรูปแบบของการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ แต่ก็ยังคงมีข้อเสียอยู่บ้าง จึงอาจทำให้มันไม่เหมาะสำหรับบางอุตสาหกรรม

เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถตัดตัวกลางในการดำเนินการต่าง ๆ ทำให้ระบบมีความโปร่งใส ปัจจุบัน นักพัฒนากำลังพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อให้สามารถตอบรับกับความต้องการของผู้ใช้ได้ในอนาคตได้

ลักษณะการทํางานของเทคโนโลยี Blockchain มีกี่ลักษณะ และมีความสําคัญอยางไร

ลักษณะการทำงานของ Blockchain.
1. A ต้องการโอนเงิน (ส่งข้อมูล) ไปให้ B ผ่านเลขบัญชี โดยใช้ Private key+Password และ Public Key: ... .
2. เก็บ Transaction ไว้ใน Public Ledger : ... .
3. ยืนยันความถูกต้องโดย Miner และต้องไม่ถูกคัดค้านจากผู้ใช้ : ... .
4. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain: ... .
5. เงินถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้.

หลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มีลักษณะอย่างไร

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง

Blockchain มีลักษณะอย่างไร

Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำ ...

หลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีกี่ขั้นตอน

บล็อกเชนทำงานอย่างไร.
ขั้นตอนที่ 1 – บันทึกธุรกรรม ธุรกรรมในบล็อกเชนจะแสดงการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ที่จับต้องได้หรือดิจิทัลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชน โดยจะบันทึกเป็นบล็อกข้อมูลและอาจมีรายละเอียดต่างๆ เช่น ... .
ขั้นตอนที่ 2 – รับฉันทามติ ... .
ขั้นตอนที่ 3 – เชื่อมโยงบล็อก ... .
ขั้นตอนที่ 4 – แบ่งปันบัญชีแยกประเภท.