แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจกลับมาฟื้นตัว ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า ในสภาวะเช่นนี้ธุรกิจต่าง ๆ พากันทยอยกลับมาดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเปิดตัวธุรกิจหรือกิจการใหม่ ๆ ดังนั้นสำนักงานประกันสังคมจึงขอ

แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน

เน้นย้ำสำหรับนายจ้างที่มีธุรกิจ สถานประกอบการหรือเปิดกิจการใหม่ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปจะต้องยื่นแบบขึ้นทะเบียนประกันสังคม โดยลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ในวันที่เข้าทำงาน

นายบุญสงค์  ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า การขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่มีธุรกิจ สถานประกอบการ หรือเปิดกิจการใหม่จะต้องยื่นแบบขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน หากสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นายจ้างสามารถยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ณ สถานประกอบการตั้งอยู่ ส่วนภูมิภาคสามารถยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด ณ สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยกรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) ทั้งกรณีลูกจ้างที่ยังไม่เคยเข้าสู่ระบบประกันสังคมและลูกจ้างที่เคยขึ้นทะเบียนแล้ว ถ้ากรณีผู้ประกันตนเป็นคนต่างด้าว ใช้สำเนาใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง หรือสำเนาใบอนุญาตทำงานและสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือสำเนาบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน แต่หากเป็นกรณีที่กิจการเป็นเจ้าของคนเดียว เจ้าของกิจการคือนายจ้างจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้ ทั้งนี้การทำให้ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมอย่างถูกต้องตามกฎหมายแรงงานนั้น ถือเป็นการช่วยสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตให้กับผู้ประกันตนด้วยสิทธิประโยชน์  

แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน

7 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพและกรณีว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

หลังจากขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว นายจ้างจะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือนให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นเงินสมทบที่นายจ้างหักจากเงินเดือนลูกจ้างและเงินสมทบที่นายจ้างนำมาสมทบด้วยในอัตราที่เท่ากัน เพื่อนำเงินเข้ากองทุนประกันสังคม โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในอัตรา

ร้อยละ 5 ซึ่งฐานค่าจ้างที่นำมาคำนวณต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท (83 บาท) และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (750 บาท) และรัฐออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง

หากนายจ้างส่งเงินสมทบไม่ทันกำหนด นายจ้างจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง โดยนายจ้างสามารถชำระเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มได้ที่ธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

ทั้งนี้ นายจ้างสามารถยื่นแบบ สปส.1-03 (ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน) สปส.6-09 (แจ้งความสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน) และสปส.6-10 (แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน) ผ่านบริการ e-Service สำหรับนายจ้างได้ที่ www.sso.go.th หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ หรือสายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และทาง Line : @ssothai

บทความงาน > บทความผู้ประกอบการ > กฎหมายแรงงาน > ประกันสังคมน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่

ประกันสังคมน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่

  • 5 April 2018

แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน
แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน
แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน
แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน
แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน
แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน
แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน

          สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่แล้ว นอกเหนือจากกฏหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจยังมีเรื่องเกี่ยวกับประกันสังคมอีกหนึ่งเรื่องที่คุณต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ดำเนินเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกจ้างให้ถูกต้องดังนี้ค่ะ

 

แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน

ประกันสังคมคืออะไร

          ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม  เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ  ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

เมื่อเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องทำอย่างไร

          แม้ว่าระบบประกันสังคมจะมีผลคุ้มครองสำหรับลูกจ้าง แต่ผู้ประกอบการมือใหม่ที่ถือว่าเป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฏหมายนายจ้างจะต้องยื่นแบบ และมีหน้าที่ดังนี้

1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)

          นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน

          กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)

  • แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
  • สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
  • สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
  • แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

          กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)

  • สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
  • สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
  • สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
  • แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03)

          สำหรับผู้ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อนหรือแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) นายจ้างสามารถส่งข้อมูลผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) แก่ประกันสังคม ได้ 3 วิธีดังนี้

  • ยื่นตามแบบฟอร์มแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) แบบขึ้้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับผู้ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส. 1-03 (สปส. 1-03/1) หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10)
  • ยื่นข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Diskette)
  • หรือยื่นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)

          หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน

  • กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตนได้
  • ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาติทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
  • ลูกจ้าง ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

นายจ้างสามารถยื่นเรื่องขอเป็นผู้ประกันตนเองได้หรือไม่

          ทั้งนี้ผู้ประกอบการหน้าใหม่บางรายอาจจะยังไม่ทราบว่า หากคุณอยู่ในสถานะของนายจ้าง คุณไม่สามารถยื่นเรื่องให้ตนเองเป็นผู้ประกันตนได้

3. นำส่งเงินสมทบแก่ประกันสังคม (ทำได้ 2 วิธี)

          นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยคำนวณเงินสมทบค่าจ้างหากได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท  แต่ถ้าได้รับค่าจ้างเกิน 15,000 บาท  โดยคูณกับอัตราเงินสมทบที่ต้องนำส่ง สำหรับเศษของเงินสมทบที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าสิบสตางค์ขึ้นไปให้ปัดเป็หนึ่งบาท ถ้าน้อยกว่าให้ปัดทิ้ง

 และนำส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมดถูกหักรวมกัน พร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต หรือส่งทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้อง

  • นำส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ เป็นเงินสดหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต สาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

หากนายจ้างไม่ส่งเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างจะเป็นอย่างไร

          ถ้านายจ้างส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่งหรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่โดยต้องนำส่งด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น แต่หากนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง หากยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องอีกจะมีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

4. กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงานต้องทำอย่างไร

          เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานโดยใช้หน้งสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

5. กรณีที่ลูกจ้างมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต้องทำอย่างไร

          หากลูกจ้างมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเช่น เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุลหรือข้อมูลสถานพยาบาลครอบครัวและข้อมูลจำนวนบุตรให้ใช้หน้งสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เช่นเดียวกันกับนายจ้างหากมีรายละเอียดอย่างเช่น เปลี่ยนชื่อกิจการ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ของลำดับที่สาขา ย้ายสถานประกอบการ หรือยกเลิกกิจการ เป็นต้น นายจ้างต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงโดยใช้หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง (สปส. 6-15) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปด้วยเช่นกัน

          จะเห็นได้ว่าในการที่นายจ้างไม่ดำเนินเรื่องตามพระราชบัญญัติประกันสังคมนั้นจะมีความผิดทั้งจำและปรับ แถมปัจจุบันนี้ระบบการทำงานของประกันสังคมมีความทันสมัยขึ้นมากใช้เวลาในการดำเนินเรื่องไม่นาน ฉะนั้นเหล่าบรรดานายจ้างหน้าใหม่อย่าลืมไปยื่นเรื่องให้ถูกต้องกันนะคะ

 

⚡ ค้นหาคนที่ใช่ด้วยโซลูชันการสรรหาบุคลากรแบบครบวงจรกับ JobsDB ⚡

★ เข้าถึงโปรไฟล์ผู้สมัครงานคุณภาพมากกว่า 2.6 ล้านคนในประเทศไทย

★ ผู้สมัครงานพบงานที่ใช่มากขึ้น 6 เท่า ผู้ประกอบการได้ใบสมัครตรงใจมากขึ้น

★ ที่เว็บไซต์หางานอันดับ 1 ครองใจผู้สมัครงานคุณภาพ ลงทะเบียนเพื่อสรรหาผู้สมัครงาน ที่นี่ ★

แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน

 

Loading…

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กรณีย้ายสถานประกอบการ ใบกำกับภาษีเดิมจะยังใช้ได้อยู่หรือไม่

ขั้นตอนการขอยกเลิกกิจการให้ชอบด้วยกฎหมาย

นายจ้างยื่นเรื่องผู้ประกันตนอย่างไร  ประกันสังคมสำหรับผู้ประกอบการ  ยื่นเรื่องประกันสังคม  ยื่นเรื่องประกันสังคมอย่างไร  ยื่นเรื่องผู้ประกันตน  ยื่นเรื่องผู้ประกันตนอย่างไร  เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

บทความยอดนิยม

Term Paper Writing Services

The need for an expert to do term essay...

Can Be Term Paper Writing Services worth the Price?

Students have many choices available to them when they’re...

แจ้งเข้าประกันสังคมต่างด้าว ภายในกี่วัน

10 เช็คลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว

ช่วงปลายปีถือเป็นถือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ที่ถือเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤ...