ประจำเดือน ผู้หญิง มา กี่วัน

  • หน้าหลัก
  • ออกกำลังกาย
  • สุขภาพดี
  • อาหารสุขภาพ
  • สุขภาพจิต
  • สุภาพสตรี
  • ตรวจสุขภาพ
  • การแปรผลเลือด
  • โรคผิวหนัง
  • แพทย์ทางเลือก
  • โรคต่างๆ
  • วัคซีน
  • health calculator
  • อาการของโรค

การมีประจำเดือน อาการผิดปกติที่พบบ่อย

สิ่งที่คุณผู้หญิงต้องประสบทุกเดือนคือการมีประจำเดือนนั้นเอง แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีความรู้ เรามาทบทวนกันว่าประจำเดือนมาได้อย่างไร

อวัยวะสืบพันธ์

ประจำเดือน ผู้หญิง มา กี่วัน

อวัยวะสืบพันธ์ของคุณผู้หญิงประกอบไปด้วยมดลูก [uterus] มดลูกจะอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่ ภายในมดลูกจะมีเยื่อบุมดลูกซึ่งจะหนาตัวเพื่อให้ทารกฝังตัว แต่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเยื่อบุจะสลายออกมาซึ่งมีส่วนประกอบคือเลือด และเมือกเป็นประจำเดือนออกทางส่วนปลายของมดลูกเรียกปากมดลูก [cervix ] ซึ่งจะเปิดสู่ช่องคลอด [vagina] มดลูกจะมีท่อที่เรียกว่าท่อรังไข่[fallopian tube] โดยมีรังไข่ [ovary] อยู่ปลายท่อรังไข่การมีประจำเดือนจะแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

  1. Follicular (Proliferative) Phase เมื่อประจำเดือนมาเราเรียกวันแรกหรือวันที่หนึ่งของรอบเดือน ปกติประจำเดือนจะมาเฉลี่ย 6 วัน ระยะนี้จะเริ่มตั้งแต่มีประจำเดือนจนกระทั้งวันที่ 14 ของรอบเดือน ระยะที่ประจำเดือนกำลังมาเป็นช่วงที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตเจน และโปรเจสเตอโรน ต่ำสุด จะมีฮอร์โมน Follicular stimulating hormone [FSH] สูงขึ้นทำให้ไข่ในรังไข่สุก ขณะเดียวกันเยื่อบุก็จะหนาตัวเพื่อเตรียมการฝังตัว
  2. Ovulation and Secretory (Luteal) Phase ระยะเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เป็นต้นไปเมื่อระดับ FSH สูงขึ้นทำให้มีการสร้างฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) ฮอร์โมน LH จะทำให้เกิดการตกไข่ Ovulation เนื่อเยื่อรอบๆไข่ที่ตกเรียก corpus luteum จะสร้างฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน ระยะนี้เยื่อบุจะหนาตัวขึ้นอีกเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น เนื่องจากระยะนี้มีระดับฮอร์โมนของโปรเจสเตอโรนสูงทำให้เกิดอาการของ premenstrual period ถ้าไข่ไม่มีการปฏิสนธิเลือดและเมือกในมดลูกก็ถูกขับออกมาเป็นประจำเดือน

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อใด

ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนอายุ 12-13 ปีแต่ก็มีรายงานว่าเด็กมีประจำเดือนเร็วขึ้นบางรายงานอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนและมีขนที่อวัยวะเพศ ปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาเร็วคือโรคอ้วน

หนึ่งรอบเดือนมีกี่วัน

ประจำเดือนในช่วงสองปีแรกจะไม่สม่ำเสมอหลังจากนั้นประจำเดือนก็จะสม่ำเสมอ หนึ่งรอบเดือนจะมีประมาณ 20-40 วัน โดยเฉลี่ยของคนปกติรอบเดือนจะมี 28 วัน จำนวนวันขึ้นกับอายุของผู้ที่มีประจำเดือนกล่าวคือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีจะมีรอบเดือนประมาณ 33 วัน หลังจากอายุ 21 ปีจะมี 28 วัน อายุ 40 ปีจะมีประมาณ 26 วัน

ประจำเดือนจะมากี่วัน

คนปกติจะมีประจำเดือน 6 วันจนกระทั่งเข้าสู่วัยทอง แต่ก็มีผู้หญิงร้อยละ5ที่ประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน ร้อยละ4 มีประจำเดือนมากกว่า 8 วัน

 ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน

  1. ไม่มีประจำเดือน Amenorrhea
  2. ประจำเดือนมามาก Menorrhagia

ร้อยละ 9-14 ของผู้หญิงจะมีประจำเดือนมามากบางคนอาจจะมามากกว่า 7วันหรือเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 8 ชั่วโมงและมีลิ่มเลือดที่ผ้าอนามัย หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์

สาเหตุ

อย่างน้อยคุณผู้หญิงคงเคยมีประจำเดือนมากอย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต การมีประจำเดือนมากอาจจะไม่มีโรคหรืออาจจะมีโรคก็ได้ ผู้ที่มีเนื้องอกในมดลูก ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่ใกล้วัยทอง อาจจะมีประจำเดือนมามาก สำหรับผู้ประจำเดือนขาดไป2-3เดือนแล้วมีเลือดออกก็อย่าลืมการแท้งด้วย โรคทางอายุรกรรมบางโรคก็สามารถทำให้เลือดออกมาก เช่นการติดเชื้ออุ้งเชิงกราน โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน เกล็ดเลือดต่ำ ผู้ที่กินยาป้องกันเลือดแข็ง

  1. ปวดประจำเดือน Dysmenorrhea

มดลูกของคุณผู้หญิงเป็นกล้ามเนื้อการทำงานมีทั้งบีบตัวและคลายตัว มดลูกจะบีบตัวเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกส่วนมากไม่มีอาการ บางคนอาจจะเกิดอาการเหมือนคนปวดท้องถ่าย แต่บางคนปวดท้องประจำเดือนมาก และปวดถี่สาเหตุอาจจะเป็นเพราะมดลูกบีบตัวแรง เกิดจากกระตุ้นของ prostaglandin หรือมีโรคอื่น เช่น endometriosis อาการปวดอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวันเมื่อประจำเดือนมาอาการปวดจะดีขึ้น ส่วนใหญ่อาการปวดไม่มาก พบร้อยละ10-15 ที่ปวดมากจนต้องหยุดงานผู้ที่มีอาการปวดมากอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

สาเหตุ

  1. สาเหตุจากตัวมดลูกเองเรียก primary dysmenorrhea มักจะร่วมกับประจำเดือนมามากเกิดจาก prostaglandinmeทำให้มดลูกบีบตัวมาก การรักษาให้พัก กระเปาะน้ำร้อนวางที่ท้องน้อยหรือหลัง การออกกำลังกาย และการใช้ยาแก้ปวด aspirin,ibuprofen,  naproxen นอกจากนั้นอาจจะใช้ยาคุมกำเนิดรักษาอาการปวดประจำเดือน
  2. ส่วนสาเหตุปวดประจำเดือนที่มาจากสาเหตุอื่นเรียก secondary dysmenorrhea เช่นโรค 
  • premenstrual syndrome (PMS) กลุมอาการก่อนมีประจำเดือน
  • intrauterine devices (IUDs) used for birth controlการใส่ห่วง
  • discontinuation of birth control pills การหยุดยาคุมกำเนิด
  • stress and poor healthความเครียด
  • pelvic inflammatory diseaseการติดเชื้ออุ้งเชิงกราน
  • endometriosis คือมีเนื้อเยื่อมดลูกไปอยู่ที่อื่น

และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้

  1. กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Syndrome

ปัญหาของการมีประจำเดือนผิดปกติต่อสุขภาพ

  • อาการปวดท้อง ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดจนกระทั่งทำงานไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะซื้อยารับประทานเอง ยาที่นิยมใช้ได้แก aspirin ,ibuprofen บางคนอาการไม่หายจนต้องไปพึ่งกลุ่มยาแก้ปวดที่เสพติด ถ้าหากมีอาการปวดบ่อยหรือมากควรไปพบแพทย์ตรวจภายใน บางรายอาจจะทำ ultrasound หรือส่องกล้องเข้าไปดูในช่องเชิงกรานเรียก laparoscope
  • เป็นหมัน ผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาผิดปกติอาจจะมีโรคที่ทำให้เกิดเป็นหมัน เช่นendometriosis เนื้องอก
  • โลหิตจาง ผุ้ที่ประจำเดือนมามากและต่อเนื่องอาจจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางซึ่งจะมีอาการเพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
  • กระดูกพรุน ผู้ป่วยที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมี estrogen ต่ำซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต หากวินิจฉัยได้ควรจะได้รับฮอร์โมน
  • Toxic Shock Syndrome ผู้ป่วยที่ประจำเดือนมามากอาจจะใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดทีเดียวสองชิ้นทำให้บางชิ้นค้างไว้ในช่องคลอด ซึ่งหากทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมงสารพิษที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะทำให้เกิดอาการไข้สูง ท้องร่วง เจ็บคอ อ่อนเพลีย ผิวหนังลอก

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการประจำเดือนผิดปกติ

  1. อาหาร แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารมันและอาหารสำเร็จรูป การปรับอาหารควรกระทำก่อนมีประจำเดือน 14 วันอาจจะทำให้อาการก่อนมีประจำเดือนดีขึ้น การหลีกเลี่ยงเนื้อแดง นม และอาหารเค็มจะช่วยลดอาการ premenstrual syndrome และอาการปวดประจำเดือน การเพิ่มเนื้อปลาจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนและมีบางรายงานการได้รับ omega 3 จะลดอาการประจำเดือนมามาก มีรายงานว่าวิตามิน บี1ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
  2. การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะทำให้สุขภาพดีขึ้น การออกกำลังมากเกินไปอาจจะทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แต่ยังไม่มีรายงานว่าการออกกำลังกายจะลดอาการปวดท้อง
  3. สมุนไพรยังไม่มีรายงานว่ามีสมุนไพรชนิดใดจะช่วยลดอาการผิดปกติของประจำเดือน มีรายงานไม่มากที่พูดถึงผลประโยชน์ของ primrose oil ซึ่งช่วยลดอาการปวดประจำเดือน น้ำขิงจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  4. การฝังเข็มและการใช้โยคะสามารถลดอาการปวดประจำเดือนได้
  5. การดูแลสุขอนามัย ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ควรใช้น้ำหอมบริเวณดังกล่าว เนื่องจากจะระคายต่ออวัยวะเพศไม่ควรสวนล้างช่องคลอดเนื่องจากจะทำลายสภาพแวดล้อมของช่องคลอด

การใช้ยาเพื่อรักษา

  1. ยาแก้ปวด ยาที่นิยมใช้คือกลุ่ม NSAID ซึ่งมียาที่ใช้ลดอาการปวดประจำเดือนอย่างได้ผลคือ aspirin ibuprofen mefenamic acid ยากลุ่มนี้ลดการสร้าง prostaglandins เพือ่ลดอาการปวดท้องและประจำเดือนมามากการให้ยากลุ่มนี้ควรให้ก่อนมีอาการ 7-10 วัน ยาตัวที่สองคือ paracetamol
  2. การใช้ฮอร์โมนเพื่อการรักษาความผิดปกติของประจำเดือน
  • ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีส่วนประกอบคือ estrogen และ progesterone ยาคุมกำเนิดสามารถนำมารักษาความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมามากเกินไป ปวดประจำเดือน หรือประจำเดือนไม่มา ผลข้างเคียงและข้อห้ามใช้อ่านในเรื่องยาคุมกำเนิด
  • Progesterone นอกจากนำมาใช้ในคุมกำเนิดแล้วยังนำมาใช้รักษาผู้ที่ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมากระปริดกะปอย
  • gonadotropin-releasing hormone (GnRH) เป็นฮอร์โมนที่ยับยั้งการสร้าง estrogen ใช้ในการรักษา endometriosis, fibroids, และประจำเดือนมามาก( menorrhagia)ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้ยานี้ติดต่อกันเกิน 6 เดือนอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินยา steroid
  • Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis


ประจำเดือนมากี่วันถึงจะดี

ประจำเดือนปกติเป็นอย่างไร? ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ประจำเดือนมาน้อยเป็นอะไรมั้ย

แม้ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ แต่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากพบสัญญาณที่อาจเป็นปัญหาสุขภาพได้ เช่น ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 3 เดือน โดยไม่ได้ตั้งครรภ์ คาดว่าอาจกำลังตั้งครรภ์อยู่ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ก่อนมีประจำเดือน มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือมีอาการปวดระหว่างรอบเดือน

ทำไมประจำเดือนมาแค่3วัน

ดังนั้น หากประจำเดือนมา 2-3 วัน ก็ยังถือว่าปกติดี และหากไม่ได้มีอาการอะไรผิดปกติอื่นๆ เช่น ปวดท้องประจำเดือนมาก มีเลือดออกกะปริดกะปรอย หรืออาการอื่นๆ ของภาวะโลหิตจาง เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตัวซีด เป็นต้น ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรค่ะ แต่หากมีอาการผิดปกติ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจค่ะ

ประจำเดือนมา2วันคืออะไร

ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแต่ละคนค่ะ หากปกติประจำเดือนมา 2 วันอยู่แล้วโดยที่ลักษณะของสี กลิ่น ปริมาณประจำเดือนไม่เปลี่ยนแปลงก็ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ หากประจำเดือนปกติเคยมา 3-5 วันแล้วจู่ๆมาน้อยลงเหลือแค่ 2 วันร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่นเช่น มีตกขาวผิดปกติ สี กลิ่นของประจำเดือนเปลี่ยนไป อาการปวดท้อง อันนี้ถือว่าไม่ปกติค่ะ