สหภาพโซเวียตแยกออกเป็นกี่ประเทศ

สหภาพโซเวียตคือหนึ่งในชาติอภิมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น

สหภาพโซเวียต (Soviet Union) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหภาพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Unions of Soviet Socialist Republic หรือชื่อย่อ USSR) เป็นอภิมหาอำนาจของโลกในช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ดำรงอยู่ยาวนานตั้งแต่ปี 1922 จนล่มสลายในปี 1991

สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็น เมื่อสหภาพโซเวียตในฐานะของตัวแทนประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ต้องเปิดศึกขับเคี่ยวกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายเสรีประชาธิปไตย

หลายคนอาจจะยังมีความเข้าใจว่า สหภาพโซเวียตก็คือประเทศรัสเซียในสมัยก่อน ซึ่งเป็นสมัยที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่แท้จริงแล้ว สหภาพโซเวียตคือการรวมตัวกันของบรรดาประเทศที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์จำนวนทั้งสิ้น 15 ประเทศด้วยกัน โดยที่มีรัสเซียเป็นผู้นำ

ในช่วงท้ายของสงครามเย็น บรรดาชาติสมาชิกต่าง ๆ ในสหภาพโซเวียต ได้เกิดการแยกตัวและประกาศเอกราช จนกระทั่งนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ในวันที่ 31 ธันวาคม 1991 ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเย็น โดยสหภาพโซเวียตประกอบไปด้วยชาติสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบไปด้วย

สหภาพโซเวียตแยกออกเป็นกี่ประเทศ

แผนที่ชาติสมาชิกทั้ง 15 ประเทศของสหภาพโซเวียต

1) สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (Russian Soviet Federative Socialist Republic)

2) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์เมเนีย

(Armenian Soviet Socialist Republic)

3) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน

(Azerbaijan Soviet Socialist Republic)

4) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

(Byelorussian Soviet Socialist Republic) ปัจจุบันคือประเทศเบราลุส (Belarus)

5) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย

(Estonian Soviet Socialist Republic)

6) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย

(Georgian Soviet Socialist Republic)

7) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค

(Kazakh Soviet Socialist Republic)

8) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีรกิซ

(Kirghiz Soviet Socialist Republic)

9) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

(Latvian Soviet Socialist Republic)

10) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย

(Lithuanian Soviet Socialist Republic)

11) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลโดวา

(Moldovian Soviet Socialist Republic)

12) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก

(Tajik Soviet Socialist Republic)

13) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน

(Turkmen Soviet Socialist Republic)

14) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

(Ukrainian Soviet Socialist Republic)

15) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก

(Uzbek Soviet Socialist Republic)

-----

อ้างอิง

• https://www.britannica.com/place/Soviet-Union

• https://www.history.com/topics/russia/history-of-the-soviet-union

• https://www.thoughtco.com/what-was-the-ussr-1434459

ประเทศกลุ่มสหภาพโซเวียตเก่าทั้ง 15 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย เบลารุส ยูเครน มอลโดวา จอร์เจีย อาเมเนีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน และคีร์กีซสถาน รวมไปถึงอลาสก้า มีน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติและแร่โลหะมูลค่ามหาศาล

ตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 เกิดเป็น 15 ประเทศ รวมกับที่ขายอลาสก้าให้เป็นอีก 1 รัฐของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1867 กลุ่มประเทศสหภาพโซเวียตเหล่านี้มีดีอะไรกันบ้าง

อย่างที่ทุกคนตอนนี้ทราบกันดีว่า สหพันธรัฐรัสเซีย ที่อยู่ภายใต้การนำของวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เปิดฉากปฏิบัติการทางทหารพิเศษในแคว้นดอนบาส (Donbas) เข้ายึดพื้นที่ขัดแย้งอย่างภูมิภาคโดเนตสก์ (Donetsk) และฮูลานสก์ (Luhansk) คืนจากยูเครน เพื่อให้สองภูมิภาคนี้สามารถประกาศตัวเป็นอิสระจากยูเครนได้ จนทำให้สหรัฐฯ รวมถึงพันธมิตรประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ทั้งการตัดกลุ่มธนาคารรัสเซียออกจาก SWIFT หรือกลุ่มบริษัทบิ๊กเทคยกเลิกการให้บริการในรัสเซีย รวมไปถึงการที่สหรัฐฯ ประกาศแบนน้ำมันจากรัสเซีย จนทำราคาน้ำมันแพงพุ่งไปไกลถึงขนาดแก๊สโซฮอล์ 95 ลิตรละครึ่งร้อย

เหตุที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะว่า รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 รองจากซาอุดิอาระเบีย แต่นอกจากน้ำมันแล้วยังส่งออกก๊าซธรรมชาติให้กับยุโรปอีกด้วย ซึ่งส่งออกมากถึง 43% ตามข้อมูลของ Statista ในปี 2020 นอกจากนั้นรัสเซียยังเป็นแหล่งแร่โลหะ จึงทำให้ประเทศรัสเซียสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการแปรรูปแล้วจากทั้งปิโตรเลียม เป็นเคมีภัณฑ์ทั้งหลาย และโลหะ เป็นจำพวกเครื่องจักรต่าง ๆ

สหภาพโซเวียตแยกออกเป็นกี่ประเทศ

เอสโตเนีย ประเทศทางตอนเหนือสุดหลังจากสหภาพโซเวียตแตก ปัจจุบันถือเป็นสมาร์ทซิตี้ พลเมืองดิจิทัลมากที่สุดในโลกด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาปรับปรุงประเทศ ทว่าสินค้าส่งออกหลักของเอสโตเนียกลับเป็น ไม้ซุง สิ่งทอ และโลหะ แม้จะมีการพยายามนำโลหะมาแปรรูปเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์บ้างก็ยังน้อยกว่าการเป็นเหล็กกล้า นอกจากนี้ยังมีการส่งออกอาหารแปรรูปอีกเล็กน้อย

ถัดลงมาจากเอสโตเนีย ได้แก่ลัตเวีย สินค้าส่งออกไม่แตกต่างจากเอสโตเนียสักเท่าไหร่ เป็น ผลิตภัณฑ์จากไม้ แร่เหล็ก รวมถึงเครื่องจักร สิ่งทอ และอาหาร

ไล่ลงมาเป็นลิทัวเนีย มีน้ำมันที่ผ่านการกลั่นแล้วเป็นสินค้าส่งออกหลัก นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ผ่านการแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์แล้ว รวมถึงข้าวสาลี ยาสูบแบบม้วน และโพลีอะซีทัล

ประเทศสุดท้ายจากกลุ่มสหภาพโซเวียตที่ตั้งอยู่ในยุโรปได้แก่ มอลโดวา ประเทศเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครน มีอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าเกษตร และเครื่องนุ่งห่ม เป็นสินค้าส่งออกหลัก

จากนั้นข้ามทะเลดำ (Black Sea) ไปก็จะกลุ่มประเทศที่ถูกขนาบด้วยแหล่งน้ำทั้งสองข้าง เริ่มต้นด้วยประเทศจอร์เจีย สินค้าส่งออกหลักของจอร์เจียได้แก่ ทองแดง ที่ส่งออกมากเป็นลำดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีน้ำแร่ และไวน์เป็นสินค้าหลัก รวมถึงเป็นสถานที่ตั้งของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

ต่อด้วยอาเมเนีย ประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดจากกลุ่มสหภาพโซเวียตตั้งอยู่ตอนใต้ของจอร์เจีย ด้วยอาเมเนียเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและไม่ได้ติดแหล่งน้ำขนาดใหญ่เหมือนจอร์เจียหรืออาเซอร์ไบจาน จึงไม่ค่อยมีความหลากหลายของสินค้าที่ส่งออกมากเท่าใดนัก แต่กลับเป็นเหมืองแร่ของโลก พร้อมเต็มไปด้วย เพชรพลอยและโลหะที่ซ่อนอยู่ใต้ดิน ในขณะที่มีการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มเล็กน้อย

อาเซอร์ไบจานประเทศที่ติดกันกับทะเลสาบแคสเปียน ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก สินค้าหลักของประเทศนี้เป็นขุมทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาลอย่าง น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 95% ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของอาเซอร์ไบจาน

เมื่อพ้นทะเลสาบแคสเปียนมาจะเป็นกลุ่มประเทศที่ลงด้วย "สถาน ๆ" ทั้งหลายแหล่ เปิดด้วยประเทศที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพโซเวียตรองจากรัสเซีย นั่นคือ คาซัคสถาน ซึ่งเศรษฐกิจที่นี้เดินด้วยกลุ่มพลังงาน จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงเคมีภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปน้ำมันดิบ คิดเป็น 80% ของมูลค่าการส่งออกเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งแร่ที่อุดมไปด้วย เหล็ก ทองแดง อลูมิเนียม สังกะสี และยูเรเนียม

อุซเบกิสถาน เป็นหนึ่งในประเทศที่ดูหรูหราที่สุดของโลก เพราะที่นี่คือแหล่งเหมืองทองโลก ทองคำ ที่อุซเบกิสถานส่งออกในแต่ละปีมีมูลค่าถึง 5.25 พันล้านดอลลาร์ (1.7 แสนล้านบาท) กันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีบ่อก๊าซปิโตรเลียมที่ส่งออกถึงปีละ 2.3 พันล้านดอลลาร์ (7.6 หมื่นล้านบาท) และมีการส่งออกเส้นด้ายฝ้ายบริสุทธิ์ที่จะส่งไปยังโรงงานผลิตเสื้อผ้าในอีกหลายประเทศ

ประเทศเติร์กเมนิสถานเป็นหนึ่งในผู้นำด้านพลังงานของโลก โดยส่งออกก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับที่ 4 ของโลก นอกนั้นยังส่งออก น้ำมัน ผลิตภัณฑ์สำคัญจากการแปรรูปอย่างเม็ดพลาสติก (โพลีเมอร์) ในขณะที่มีการส่งออก ผ้าฝ้าย สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์จากพืช เป็นการเล็กน้อย

สินค้าส่งออกที่สำคัญของคีร์กีซสถาน ได้แก่ ทอง ผ้าฝ้าย ขนสัตว์ เสื้อผ้า เนื้อสัตว์ ปรอท ยูเรเนียม ไฟฟ้า เครื่องจักร และรองเท้า

และประเทศสุดท้ายในกลุ่มสหภาพโซเวียต ได้แก่ ทาจิกิสถาน ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศนี้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมและบริการ รวมถึงการส่งออกผ้าฝ้ายและอลูมิเนียม

แต่นอกเหนือจากกลุ่มประเทศที่แตกออกหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายแล้วนั้น ยังมีอีกหนึ่งดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตด้วย นั่นคือ อลาสก้า หนึ่งในห้าสิบรัฐของสหรัฐอเมริกาที่ได้ถูกซื้อมาตั้งแต่สมัยปี 1867 ในมูลค่าที่ต้องบอกว่าถูกมาก เพียง 7.2 ล้านดอลลาร์ด้วยทองคำ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 136 ล้านดอลลาร์ (4.5 พันล้านบาท) แม้มองเป็นตัวเลขอาจจะไม่น้อยแต่เทียบกับความสวยงามของธรรมชาติที่มีเหนือที่ขนาด 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรแล้ว ถือได้ว่าถูกมาก ซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทยถึง 3 เท่า เพราะนอกจากความสวยงามทางธรรมชาติแล้ว ยังเป็นแหล่งขุมทรัพย์อีกด้วย เศรษฐกิจหลักอลาสก้าคือธุรกิจน้ำมัน เพราะสามารถส่งออกน้ำมันได้ถึงวันละ 4 แสนบาร์เรล และทำให้ครั้งหนึ่งเป็นยุคตื่นทองในสหรัฐฯ อีกด้วย