ขอบข่ายการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จำแนกได้กี่ลักษณะ

ความหมายของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เพื่อผลิต บริโภค กระจาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยการจัดสรรทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจหรือสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีระเบียบ รู้จักใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีเป้าหมายต่างกันอันเนื่องจากหน่วยเศรษฐกิจต่างระดับกัน
ระดับผู้บริหารประเทศ ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์ในการพิจารณาถึงการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ที่มีอย่างจำกัดนั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ระดับประชาชน ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อ เป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกและตัดสินใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจประกอบอาชีพ หรือ ช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบ้านเมืองและวิธีแก้ไขของภาครัฐบาล
1. ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์
แบ่งเป็น 2 สาขา
1.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยหรือศึกษาเฉพาะกรณีเป็นเรื่อง ๆ เช่น การขึ้นราคาสินค้า การฟอกเงิน กฤติกรรมการบริโภค ของบุคคลในสังคม ฯลฯ
1.2 เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ปัญหาเงินเฟ้อ ฯลฯ
2. หน่วยเศรษฐกิจหรือผู้ประกอบการหมายถึง ผู้ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการโดยเป็นผู้นำปัจจัยการผลิตซึ่งประกอบด้วย
2.1 ทุน Capital ทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สินค้า เครื่องจักร หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต
2.2 ที่ดิน Land หมายถึง แหล่งผลิตหรือทรัพยากรที่อยู่บนดิน ใต้ดิน และเหนือพื้นดิน
2.3 แรงงาน Labour หมายถึง การทำงานทุกชนิดที่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ แรงงานนี้รวมถึง แรงงานด้านการใช้กำลังกายและกำลังความคิดของมนุษย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย
2.4 การประกอบการ Enterpreneurship หมายถึงผู้ผลิต ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโดยตรง เป็นผู้ให้ความริเริ่มในนโยบายต่างๆ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายในส่วนสำคัญในอันที่จะทำให้ การผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ปัญหาพื้นฐานทางการผลิต
3.1 จะผลิตอะไร
3.2 จะผลิตอย่างไร
3.3 จะผลิตเพื่อใคร
เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด และสอดคล้องกับทรัพยากรของประเทศที่มีอย่างจำกัด ประเทศใดสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาพื้นฐานดังกล่าว โดยถือการกินดี อยู่ดีของประชาชนในประเทศเป็นเกณฑ์วัด แสดงว่าประเทศนั้นประสบความสำเร็จต่อปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Posted on April 21, 2015 by A Su Jack

1) เศรษฐศาสตร์บริสุทธิ์
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์ทาง เศรษฐกิจและแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล  หรือ ระหว่างปัจจัยหรือสาเหตุกับผลลัพธ์  เช่น  ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง  ผู้ ซื้อจะตัดสินใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงถึงว่าการตัดสิน ใจอย่างไร  โดยไม่คำนึงว่าการตัดสินใจนั้นเป็นที่น่า พึงพอใจของสังคมหรือไม่  เป็นต้น
2 ) เศรษฐศาสตร์นโยบาย 
เป็นการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจ ของสังคมว่า การดำเนินกิจกรรมหรือการตัดสินใจหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่ควรกระทำหรือไม่ เช่น ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งมีราคาสูง ผู้ซื้อควรจะตัดสินใจอย่างไร หรือรัฐบาลควรจะดำเนินการอย่างไร      เป็นต้น ดังนั้น สามารถจำแนกขอบข่ายออกได้เป็น ๒ แนวทาง ดังนี้
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษาเฉพาะส่วนย่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับรวมหรือในระดับประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ อัตราการจ้างงาน การธนาคาร การคลัง

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Related

                ดังนั้น เศรษฐศาสตร์มหภาคจึงไม่ได้มุ่งเน้นที่ผู้บริโภคหรือผู้ผลิตคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการพิจารณาในภาพรวม บางครั้งจึงเรียกเศรษฐศาสตร์มหภาคว่า “ทฤษฎีรายได้ประชาชาติ”

ของข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือ อาจจะเรียกว่า ขอบเขตในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ 1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ 2) เศรษฐศาสตร์มหภาค

1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)

เป็นการศึกษาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจขนาดย่อย อาทิ การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ผลิต เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือหน่วยธุรกิจขนาดใดขนาดหนึ่ง (ธุรกิจเจ้าของคนเดียว, หจก., บริษัท)

หรือสามารถสรุปได้ง่ายๆ เลยว่า เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การผลิต การบริโภคและการแลกเปลี่ยน ซึ่งทำให้ขอบเขตเนื้อหาสาระของเศรษฐศาสตร์จุลภาคเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

  • การผลิต : หน่วยธุรกิจ, ปัจจัยการผลิต, ลำดับขั้นในการผลิต, ปัญหาพื้นฐานของการผลิต และพฤติกรรมของผู้ผลิต เป็นต้น
  • การบริโภค : พฤติกรรมของผู้บริโภค, แนวทางในการบริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุด, สิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
  • การแลกเปลี่ยน : วิวัฒนาการหรือประเภทของการแลกเปลี่ยน, ตลาดและกลไกราคาหรือกลไกตลาด เป็นต้น

2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

เป็นการศึกษาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ตรงกันข้ามกับเศรษฐศาสตร์จุลภาค คือ เป็นการศึกษาภาพรวมของเศรษฐกิจ โดยเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้แก่

  • เศรษฐกิจระหว่างประเทศ : การค้าระหว่างประเทศ ดุลการค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และการรวมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น
  • การเงิน : นิยาม ประเภทของเงิน หน้าที่ของเงิน มูลค่าของเงิน การลดค่าเงิน ปริมาณของเงิน ภาวะทางการเงิน เป็นต้น
  • การธนาคาร : ธนาคารกลางแห่งประเทศ สถาบันทางการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนนโยบายทางด้านการเงิน เป็นต้น
  • การคลัง : บทบาทและหน้าที่ของการคลังของประเทศ รายรับ รายจ่าย หนี้สาธารณะ ตลอดจนนโยบายทางด้านการคลัง เป็นต้น
  • รายได้ประชาชาติ : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(Gross National Product: GNP)
  • การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น

ถึงแม้ว่า “ขอบข่ายของวิชาเศรษฐศาสตร์” จะถูกแบ่งเป็น 2 สาขาใหญ่ ๆ ที่สามารถเห็นความแตกต่างได้ค่อนข้างชัดเจน แต่ในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจนั้น จะต้องศึกษาและใช้ทั้ง 2 สาขาควบคู่กันไป

ขอบข่ายการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จำแนกได้กี่ลักษณะอะไรบ้าง

แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ ในปัจจุบัน การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์แบ่งเป็น 2 แขนงหลัก คือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษา เฉพาะส่วนย่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ เช่น พฤติกรรมของตลาด กลไกราคา (อ่านเพิ่มเติมจากบทที่ 3) ๆ 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

เศรษฐศาสตร์ มีขอบเขตการศึกษา อย่างไร

เศรษฐศาสตร์มุ่งศึกษาพฤติกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงทางเศรษฐกิจและการทำงานของเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์จุลภาควิเคราะห์องค์ประกอบหลักในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งตัวแสดงและตลาดที่เป็นปัจเจกบุคคล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์นั้น ตัวอย่างของตัวแสดงที่เป็นปัจเจกรวมถึงครัวเรือน ภาคธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย ...

ข้อใดคือขอบข่ายของเศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (อังกฤษ: microeconomics) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในระดับบุคคลหรือองค์กรธุรกิจ และความสัมพันธ์ของการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย เศรษฐศาสตร์จุลภาคแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจในระดับมวลรวม เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน เป็นต้น

ขอบข่ายเป้าหมายของเศรษฐศาสตร์มีอะไรบ้าง

เป้าหมายของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ 1. มุ่งทำความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์เพื่อใช้ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตน ช่วยทำให้ผู้บริโภครู้จักการตัดสินใจ เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการบริโภคและใช้ในทางที่ดีที่สุด