จิตวิทยามีความสําคัญต่อมนุษย์อย่างไร

การที่หลายคนมองข้ามความสำคัญในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นเป็นเพราะว่าคนคนนั้นไม่ได้มองเห็นถึงประโยชน์ของสิ่งนั้นที่จะมีต่อตน เสมือนกับนักจิตวิทยา ที่หลายคนไม่ได้ให้ความสนใจกับด้านนี้มากนัก เพราะว่าไม่มีความรู้ว่าจริงๆ แล้วนั้น นักจิตวิทยาสามารถที่จะช่วยได้อะไรหลายๆ อย่าง รวมถึงตัวเรานั้นให้ดีขึ้นได้ หรือพูดง่ายๆ ว่ามองไม่เห็นประโยชน์ของนักจิตวิทยานั่นเอง และในบทความนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญของจิตวิทยากัน ว่าสิ่งเหล่านี้นั้นมีประโยชน์กับตัวเราและสังคมของเราอย่างไรบ้าง แล้วถ้าหากว่าเราขาดในส่วนนี้ไปชีวิต หรือสังคมของเราจะแย่ลงหรือไม่ เผื่อว่าหลายๆ คนที่ได้อ่านจะหันมาให้ความสำคัญกับจิตวิทยามากขึ้น

จิตวิทยาถือว่าเป็นศาสตร์ศาสตร์หนึ่ง ที่จะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นความรู้ทางด้านนี้จึงสามารถที่จะเอาไปประยุกต์ใช้กับมนุษย์ได้ในหลายๆด้านดังนี้

  • ช่วยให้มนุษย์เข้าใจตนเอง การที่เรารู้จักตัวเองมากขึ้นจะส่งผลให้เรานั้นสามารถที่จะพัฒนาตัวเองในทางที่ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ปัญหาของสังคมในปัจจุบันคือคนส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะจัดการกับตัวเองได้ เพราะไม่เข้าใจตัวเองนั่นเอง ดังนั้นหากว่าใครหากจะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ นักจิตวิทยาสามารถที่จะให้คำปรึกษาคุณได้
  • ช่วยให้มนุษย์เข้าใจผู้อื่น ความไม่เข้าใจกันของคนในสังคมจะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ ดังนั้นในการเข้าใจคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว คู่รัก หรือใครก็ตามจึงเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะเราจะต้องยอมรัยให้ได้ว่าโดยสภาพแวดล้อมการเติบโต การใช้ชีวิตของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นความคิด ความเชื่อของคนแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย แต่จะทำอย่างหากเราต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในสังคม ก็คือจะต้องเข้าใจกันนั่นเอง และยอมรับในความแตกต่างเหล่านี้ให้ได้ แล้วก็เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  • ช่วยวางกฏเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งหากอธิบายง่ายๆ ก็คือการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาในการร่างกฎหมายต่างๆ นั่นเอง เพราะสังคมของเรานั้นมีคนหมู่มากรวมอยู่ด้วยกัน การที่จะจัดระเบียบทางสังคมให้เรียบร้อย ให้คนอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขได้ก็คือกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญในการที่จะกำหนดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา คือการทำอย่างไรให้คนในสังคมนั้นปฏิบัติตามได้อย่างพึงพอใจ ซึ่งในจุดนี้ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจกับศาสตร์ที่เข้าใจมนุษย์ด้วยกันเองมาช่วย
  • ช่วยบรรเทาปัญหาทางสังคม สิ่งเร้าต่างๆ รอบตัวเรามีทั้งดีและร้าย บางครั้งสิ่งเร้าที่ร้ายๆ ก็มีอิทธิพลมากๆ กับตัวของคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง จนทำให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคม ดังนั้นการที่เราใช้ความรู้ทางจิตวิทยามาช่วยให้คนเหล่านั้นได้เรียนรู้ถึงสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อตัวของตนเอง คนคนนั้นก็จะไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลร้ายๆ ช่วยลดปัญหาทางสังคมได้
  • เพิ่มคุณภาพชีวิต การเจริญเติบโตของคนคนหนึ่งนั้น เริ่มต้นที่การเลี้ยงดูจากครอบครัว สภาพแวดล้อม ทั้งเพื่อน ทั้งผู้ใหญ่ สิ่งต่างๆ รอบตัวล้วนมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นการที่จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ คนที่เลี้ยงดูหรือปลูกฝังเอง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาพอสมควร ซึ่งพ่อแม่เองสามารถที่จะปรึกษาสิ่งเหล่านี้หับนักจิตวิทยาได้อย่างเช่น วิธีการเลี้ยงลูก เป็นต้น

ปัจจุบัน การศึกษาด้านจิตวิทยา ถูกนำมาเป็นหลักสูตรเสริมสำหรับคนทำงาน เรียกว่า “จิตวิทยากับการทำงาน” เพราะการศึกษาด้านจิตวิทยา มีเป้าหมายเพื่อศึกษาธรรมชาติของคน ที่มีบุคลิก มีนิสัยแตก มีความเป็นปัจเจกต่างกัน ประเด็นเรื่องการจัดการกับมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่หลาย ๆ องค์กรเริ่มตระหนักถึง เมื่อบุคลากรมีความรู้ทางจิตวิทยา ก็สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างจริงจังในองค์กร และมีประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานเองและองค์กร

จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เราสามารถใช้จิตวิทยาในการทำงาน เพื่อค้นหาความสามารถ ความถนัด บุคลิกภาพ ลักษณะต่าง ๆ ของตนเองและผู้อื่น เพราะแนวคิดหลักของจิตวิทยาคือ คนเราแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งในด้านบุคลิกภาพ ความเชื่อ ทัศนคติ แรงจูงใจ หรือความสามารถ ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้คนแต่ละคนทำงานได้แตกต่างกัน

มาดูกันว่าจิตวิทยาสำคัญต่อการทำงานอย่างไรบ้าง

จิตใจส่งผลถึงพฤติกรรม พฤติกรรมส่งผลต่อการทำงาน

พฤติกรรมของคนนั้นมีผลมาจากลักษณะจิตใจที่ต่างกัน คนเรามีพฤติกรรมบางอย่างที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการทำงาน ขณะเดียว ก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงานเช่นกัน พฤติกรรมเหล่านั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน

ดังนั้น ก่อนที่เราจะรู้จักใคร ต้องมั่นใจก่อนว่ารู้จักตัวเองดีพอแล้ว รู้ว่าอะไรคือจุดแข็ง จุดอ่อน ข้อดี ข้อด้อยของตัวเอง ซึ่งการมีความรู้ด้านจิตวิทยา จะทำให้เราวิเคราะห์ถึงลักษณะของจิตใจและบุคลิกภาพของทั้งตนเองและผู้อื่น เข้าใจตนเองและผู้อื่นให้ได้มากที่สุด มีส่วนช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

ไม่เพียงเท่านั้น การศึกษาจิตวิทยายังรวมถึงวิธีสร้างสมดุลชีวิตในการทำงาน เพราะสภาพร่างกายและจิตใจที่ไม่พร้อม ส่งผลต่อศักยภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงาน ต้องรู้จักจัดการกับภาวะจิตใจของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม บรรยากาศรอบตัวที่เป็นพิษ ไม่อาจทำให้คนทำงานได้อย่างสนุกและมีความสุขได้

Put the right man on the right job

การมอบหมายงานให้ถูกกับบุคคล เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่องค์กรใช้ดึงศักยภาพของบุคลากรออกมา การใช้ แบบประเมินบุคลิกภาพ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดกลุ่มคน จะทำให้รู้ว่าคนคนนั้นเหมาะกับงานประเภทไหน มีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร และควรมอบหมายงานอะไรให้เขาทำ เพราะงานที่ใช่จะก่อเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ตัวบุคคลเองก็จะดึงศักยภาพออกมาใช้กับงานได้อย่างเต็มที่

ซึ่งความรู้ทางจิตวิทยานี้เองที่จะช่วยให้องค์กรบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรไม่จำเป็นต้องมีคนมาก เพราะคนน้อยก็ได้งานที่ดีได้ถ้าคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถและลักษณะตรงตามที่งานต้องการ และตัวบุคลากรเองก็ได้ตระหนักถึงขีดความสามารถของตน นำมาใช้ และพัฒนาต่อ

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น หากองค์กรมอบหมายงานให้พนักงานคนหนึ่งที่ค่อนข้างขี้อาย พูดไม่เก่ง ไปทำหน้าที่ที่ต้องพบปะกับผู้คนมาก ๆ หรือต้องพูดอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พนักงานคนนั้นเกิดภาวะ “ฝืนใจทำ” ซึ่งเป็นเพียงการพยายามทำให้เสร็จ ๆ จบ ๆ ไป ไม่มีแรงจูงใจที่อยากสร้างงานที่มีคุณภาพ ในความเป็นจริง องค์กรอาจไม่ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่ให้เขาทำเลยก็ได้ เพราะงานนั้นไม่เหมาะกับบุคลิกของเขา

เพราะเราต้องทำงานร่วมกับคนอื่น

จิตวิทยา สำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ในฐานะที่ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในทีม ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อประสานงานระหว่างเพื่อนร่วมงาน การพูดคุยกับหัวหน้า การสื่อสารกับผู้บริหาร การติดต่อลูกค้า หรือผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ย่อมมีการพบปะพูดคุยและทำงานร่วมกันทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ปัญหาเรื่อง “คน” ที่ต้องทำงานร่วมกัน เราจำเป็นต้องปรับตัว ปรับแนวคิดและทัศนคติเพื่อให้ทำงานร่วมกับคนอื่นได้มีความสุขและราบรื่นที่สุด ซึ่งหลักจิตวิทยาการทำงานแบบ P-S-Y-C-H-O เป็นจิตวิทยาในการทำงานง่าย ๆ ที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของคน รวมถึงมีพลังในการขับเคลื่อนองค์กร ทั้งยังสามารถนำมาปรับใช้ในการสร้างสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

  • P (Positive Thinking) การมองโลกในแง่บวกคิดแง่บวก เพราะการมีทัศนคติที่ดีย่อมส่งผลถึงพฤติกรรมโดยรวมในการทำงาน สร้างความสุข ความสนุกในการทำงาน ไม่ได้มองว่างานเป็นเพียงภาระที่ต้องรับผิดชอบ
  • S (Smile) ยิ้มได้แม้ภัยมา รอยยิ้มที่จริงใจ สร้างความประทับใจและบรรยากาศดี ๆ ในการทำงาน การติดต่อประสานงาน เพราะมีอิทธิพลในการกำลังใจให้ตัวเอง ส่งต่อไปที่เพื่อนร่วมงาน และส่งต่อไปที่บุคคลอื่น ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมั่นใจ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  • Y (Yours) ความจริงใจ การคิดถึงใจเขาใจเรา เพราะการทำงานร่วมกับผู้อื่นต้องอาศัยความจริงใจเพื่อซื้อใจ งานถึงจะประสบความสำเร็จได้ และยังผลักดันให้องค์กรเคลื่อนไปข้างหน้า
  • C (Compromise) ประนีประนอม การทำงานกับคนอื่น การเกิดความเห็นไม่ตรงกันหรือมีเรื่องกระทบกระทั่งกับเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เพื่อไม่ให้ความบาดหมางนั้นสร้างปัญหาในการทำงาน
  • H (Human Relations) ความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ต้องรู้จักการสร้างสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่เฉพาะเจาะจงแค่คนที่เราร่วมงานด้วย การหยิบยื่นน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ การรักษามารยาท การเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
  • O (Oral Communication) เทคนิคการพูดเพื่อการสื่อสาร ต้องรู้จักการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นใจ ชัดเจน ไม่สร้างความสับสนในการทำงาน หรือการพูดคุยเรื่องอื่น ๆ ก็ต้องมีขอบเขต อย่าสร้างศัตรูเพราะคำพูดของตัวเอง

ผู้บริโภคก็คน จะขายของได้ ต้องเข้าใจผู้บริโภค

เนื่องจากจิตวิทยาเป็นการศึกษาให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ฉะนั้น การที่จะเข้าให้ถึงผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องรู้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นแบบใด ผู้บริโภคต้องการอะไร ผู้บริโภคชอบอะไร แล้วหาสิ่งที่พวกเขาต้องการไปเสนอขายให้กับเขา นั่นทำให้หลายสายงานจำเป็นต้องส่งเสริมให้พนักงานเรียนจิตวิทยาเพิ่มเติม ก็เพื่ออ่านใจผู้บริโภคนั่นเอง

อย่างสายงานบางสายมีรายได้จากช่องทางออนไลน์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ผู้บริโภค โดยเฉพาะสังคมเมืองมีตัวตนกันอยู่บนโลกออนไลน์ การทำการตลาดจึงต้องเน้นมาให้ความสำคัญตรงจุดนี้ การรู้เท่าทันพฤติกรรมหรือความต้องการของคนในสังคม มีประโยชน์ในการนำมาใช้พัฒนา ปรับปรุงแพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเอง เช่น อัลกอริทึมบนโซเชียลมีเดีย ที่พยายามเก็บรวบรวมพฤติกรรม ความชอบของคนในสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อยิงโฆษณาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษามามากที่สุด ยิ่งมีคนเห็นมากเท่าไร โอกาสที่จะขายได้ก็มีมากขึ้นเท่านั้น

หรือแม้แต่ในแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่มีช่วง ทดลองใช้ฟรี มาล่อตาล่อใจผู้คน นี่ก็เป็นการเล่นกับจิตวิทยาของคนในสังคมเช่นเดียวกัน พวกเขารู้ว่าอำนาจของคำว่า “ฟรี” มันมีพลังมากพอที่จะล่อให้คนกดเข้าไปทดลองใช้ และเวลาในช่วงใช้ฟรีก็นานพอจะทำให้คนติดใจ ในที่สุดก็นำไปสู่การตัดสินใจซื้อ

จิตวิทยามีความสําคัญอย่างไรและทําไม

หากกล่าวในเชิงปัจเจกบุคคล จิตวิทยาช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจการกระทำ ความคิด และพฤติกรรมของตนเองมากขึ้น ส่งผลให้เราสามารถตัดสินใจ หลีกเลี่ยงความเครียด และบริหารจัดการเวลาในชีวิตได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยให้ค้นพบเป้าหมายในชีวิตและบรรลุเป้าหมายนั้นได้ อันจะนำไปสู่การดำเนินชีวิตให้มีความสุขและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จิตวิทยา ความสําคัญอย่างไร

คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาทุกสาขา ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้ผู้ที่มารับบริการได้เข้าใจปัญหาของตนเองได้อย่างชัดเจน ผ่านกระบวนการสำรวจภายในตนเอง จนสามารถตระหนักรู้ในตนเอง ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่ตนมี และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคคล

จิตวิทยาการศึกษาคืออะไร มีความสําคัญอย่างไรต่อผู้เรียน

จิตวิทยาการศึกษา คือ การศึกษาพฤติกรรมต่างๆ มนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นทำความเข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ และการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน แต่ละคน แต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน รวมถึงการศึกษากรณีศึกษาพิเศษต่างๆ เช่น วิธีการเรียนรู้ของเด็กที่มีพรสวรรค์ วิธีการเรียนรู้ของเด็กพิการทางร่างกาย หรือ บกพร่อง ...

จิตวิทยามีความสําคัญต่อการทำงานอย่างไร

นอกจากจิตวิทยาจะช่วยให้พนักงานเข้าใจตนเองและพัฒนาตนเองได้แล้ว วิชาจิตวิทยายังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางบวกกับเพื่อนร่วมงาน วิธีการในการจูงใจลูกน้อง หรือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับเจ้านาย