การสร้าง และ รักษา สัมพันธภาพกับ บุคคลอื่น มีความสำคัญ อย่างไร

การสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบครัว

ครอบครัว เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมที่มีส่วนเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับบุคคล กล่าวคือ ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจซึ่งกันละกัน เอื้ออาทร ห่วงใยดูแล   ซึ่งกันและกัน ก็จะส่งผลให้ครอบครัวมีความสุขและปลูกฝังบุคลิกภาพที่ดีให้กับสมาชิกในครอบครัวได้ แต่ในขณะเดียวกันถ้าสมาชิกในครอบครัวทะละวิวาทกัน มีความขัดแย้ง ไม่เข้าใจกัน ครอบครัวก็จะไม่มีความสุข และอาจส่งผลให้เด็กก้าวร้าว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและไม่สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นได้

ลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่น

ครอบครัวที่อบอุ่นเป็นครอบครัวที่มีความสุขมีความพอใจในครอบครัวตนเอง ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1.หัวหน้าครอบครัวมีความรักความเข้าใจในสมาชิก มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ เสียสละให้อภัยและเอื้ออาทรต่อสมาชิกในครอบครัวทุกคน ไม่ลงโทษต่อสมาชิกในครอบครัวโดยวิธีที่รุนแรงไม่แสดงกิริยาข่มขู่ หรือทำให้บุคคลในครอบครัวอับอาย

2.หัวหน้าครอบครัวไม่ลำเอียงในการเลี้ยงดู ให้ความรักความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ไม่ลำเอียงรักลูกคนเล็กมากที่สุดไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงกิริยารักเฉพาะบุตรตนเองกับผู้อื่น รักษาดูแลสมาชิกในครอบครัวเมื่อเจ็บป่วย

3.ระบบการปกครองมีความเป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพ โดยรู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เช่น ไม่รื้อค้นสิ่งของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต ไม่เปิดจดหมายผู้อื่น เป็นต้น

4.สมาชิกในครอบครัวมีความรักใคร่สามัคคี ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง  หรืออาฆาตพยาบาทต่อกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

5.สมาชิกในครอบครัวรู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง มีสัมมาคารวะมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง ไม่ลักขโมย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว

วิธีสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว

สัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบครัวก่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยทางจิตใจที่คนในครอบครัวรู้สึกเมื่ออยู้ร่วมกัน บรรยากาศแห่งการมีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวนั้น ทุกครอบครัวสามารถสร้างขึ้นได้โดยปฏิบัติ ดังนี้

1. ยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคนในบ้าน

2. รักและห่วงใยรู้จักเอื้ออาทรและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

3. รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

4. ช่วยงานบ้านทุกอย่างด้วยความเต็มใจ

5. รู้จักฟังผู้อื่นพูดและยอมรับในความคิดของผู้อื่น

6. ไม่ทะเลาะวิวาทกับพี่น้องหรือบุคคลอื่นในครอบครัว รู้จักให้อภัยต่อกัน

7. ไม่เอาแต่ใจตนเอง มีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์

8. ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าวเมื่อไม่พอใจ ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพกับทุกคน

9. เคารพนับถือ มีสัมมาคารวะต่อพ่อแม่ผู้มีอาวุโส และญาติผู้ใหญ่ทุกคน

10. เอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของทุกคนในครอบครัว

11. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เสียสละ และให้อภัย

12. สมาชิกในครอบครัวร่วมรับผิดชอบการวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของครอบครัว

การช่วยเหลือและให้บริการบุคคลในครอบครัว

การดูแลช่วยเหลือและให้บริการกับบุคคลในครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัวได้ สมาชิกทุกคนต้องการปัจจัยสี่และต้องการมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขและเป็นที่รักของทุกคน ดังนั้นเราควรช่วยกันดูแลบุคคลในครอบครัวเพื่อชีวิตที่เป็นสุข ดังนี้

การสร้าง และ รักษา สัมพันธภาพกับ บุคคลอื่น มีความสำคัญ อย่างไร
1.การดูแลสุขภาพกาย การดูแลสุขภาพกายของสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

ควรจัดอาหารหรือการประกอบอาหารที่เป็นประโยชน์ครบถ้วนตามอาหารหลัก  5  หมู่ ให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายให้แก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง

ดูแลเรื่องที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหมั่นทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถู

ดูแลเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง ให้สะอาดและมีเพียงพอกับการใช้สอย

ดูแลช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวเมื่อเจ็บป่วย เช่น พาไปพบแพทย์ จัดหายาให้รับประทาน เป็นต้น

2.การดูแลสุขภาพจิต ในการดูแลสุขภาพจิจของสมาชิกในครอบครัวควรปฏิบัติ ดังนี้

ให้ความรักต่อบุคคลในตรอบครัวทุกคน เพราะความรักเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกัน ผู้ที่ขาดความรักจะรู้สึกเหงงาว้าเหว่ และจิตใจไม่มั่นคง

ให้ความร่วมมือและส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวได้ปฏิบัติกิจกรรมอันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ประสบความสำเร็จ เช่น การประดิษฐ์สิ่งของ การทำขนม การหยิบจับสิ่งของต่างๆ ของเด็กเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดี สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เกิดขึ้น และเกิดความภาคภูมิใจ

รับฟังปัญหาต่างๆของคนในครอบครัว ทั้งปัญหาจากเพื่อนที่โรงเรียน ปัญหาจากครู รวมทั้งปัญหาส่วนตัวอื่นๆ และช่วยกันแก้ไขหรือให้แนวทางปฏิบัติที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวคลายจากความกังวลในปัญหานั้น สมาชิกในครอบครัวที่มีสุขภาพจิตไม่ปกติ จะสังเกตได้ เช่น เหมอลอย เศร้าซึม เก็บตัว ก้าวร้าว เป็นต้น

3.การดูแลช่วยเหลือเด็ก ในบางครอบครัวจะมีน้อง หรือมีหลานที่เป็นทารกและ เด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งโดยปกติในบ้านของเราถ้ามีเด็กจะมีผู้ที่เป็นหลักคอยดูแลเลี้ยงดูอยู่แล้ว ส่วนตัวเราควรมีความรู้ ความเข้าใจ และช่วยดูแลตามโอกาสตามควร เพื่อแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูและส่งผลให้เกิดความสัพันต่อกัน เกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัวเราควรดูแลช่วยเหลือ ดังนี้

ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กทารกที่เปียกชื้น เปลี่ยเสื้อกางเกงหรืออุ้มในบางโอกาส และไม่ควรจูบบริเวณปากและจมูกทารก เพื่อความปลอดภัยแก่ทารก

ช่วยดูแลไม่ให้ร้องเป็นเวลานาน ถ้าเป็นเด็กทารกควรสังเกตว่าร้องไห้เพราะหิวนมหรือเปียกชื้น หรือไม่สบาย ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือได้ ควรบอกกล่าวแก่ผู้ใหญ่ในบ้าน

พูดจาด้วยความไพเราะ อ่อนโยน ไม่เสียงดังเพราะเด็กจะรับรู้และมีความรู้สึกเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

ในกรณีที่มีน้องหรือหลานวัยก่อนเรียนเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ควรฟังอย่างตั้งใจ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น และควรยกย่องชมเชยเมื่อเด็กช่วยทำงานบ้านหรืองานอื่นๆ ได้สำเร็จ

4.การดูแลช่วยเหลือคนวัยชรา คนชราในบ้านโดยทั่วไป ได้แก่ ปู่ย่า ตายาย ความชราของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนอายุมากแต่ร่างกายแข็งแรง สามารถทำกิจกรรมในบ้านได้อย่างคล่องแคล่ว แต่บางคนเฉื่อยชา หรือ เจ้าอารมณ์ จู้จี้ ขี้บ่น ต้องการลูกหลานเอาอกเอาใจ ดังนั้น เราควรดูแลช่วยเหลือ ดังนี้

ให้ความสำคัญและความสนใจ พูดคุยอย่างสมำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง คอยดูแลโดยไม่ใช้อารมณ์หรือแสดงกิริยาเกรี้ยงกราดเมื่อไม่พอใจ ดูแลเรื่องเสื้อผ้าเตรื่องนุ่งห่มให้สะอาดอยู่เสมอ จัดอาหารที่มีประโยชน์ให้รับประทานครบ 5 หมู่ เป็นอาหารที่ย่อยง่ายและไขมันต่ำ และน้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอ ดูแลเรื่องที่พักผ่อนหลับนอนให้ถูกสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทได้สะดวก หาโอกาสหรือวิธีการให้ท่านได้เดิน หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง

การสร้าง และ รักษา สัมพันธภาพกับ บุคคลอื่น มีความสำคัญ อย่างไร
5.การดูแลผู้ป่วยในบ้าน เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วย เราต้องช่วยกันดูแลและหาทางรักษาให้หายเร็วที่สุด ดังนี้

ในกรณีที่เจ็บป่วยและช่วยเหลือตัวเองได้ จัดหาเครื่องใช้หรือสิ่งจำเป็นให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบาย เช่น เก้าอี้ ผ้าห่ม ยาดม น้ำดื่ม เป็นต้น

สอบถามอาการหรือพูดคุยกับผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกอบอุ่นไม่ถูกทอดทิ้ง

หาวิธีให้ผู้ป่วยเกิดความเพลิดเพลิน เช่น จัดหาหนังสือไว้ให้อ่าน หรือมีวิทยุ โทรทัศน์ ไว้ดู เป็นต้น

พาไปพบแพทย์ในกรณีที่เจ็บป่วยมากต้องให้แพทย์ช่วยเหลือ

ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง

จัดอาหารให้ผู้ป่วยได้รับประทานตามที่แพทย์อนุญาตหรือให้เหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

จัดที่พักผ่อนให้ผู้ป่วยได้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ถูกรบกวนจากเสียงเด็ก หรือเสียงอื่นๆที่ทำให้รำคาญใจ

6 หลักการอยู่ร่วมกันในครอบครัว

ครอบครัวจะอยู่อย่างสงบสุข สมาชิกในครอบครัวจะต้องรู้จักหน้าที่ ปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมและยึดหลักในการอยู่ร่วมกันดังต่อไปนี้

1. มีความรัก ความห่วงใย เมตตากรุณาต่อกันด้วยความจริงใจ และคอยดูแลทุกข์สุขของคนในครอบครัว

2. มีน้ำใจต่อกัน รู้จักช่วยเหลือกัน มีการให้การรับตามความเหมาะสม

3. มีความเกรงใจกัน เคารพในสิทธิส่วนบุคคล รู้จักกาลเทศะ

4. รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในบ้าน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันเสนอแนะแนวทางแก้ไขด้วยความจริงใจ

5. มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ต้องปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

6. มีสัมมาคารวะแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ที่มีอายุมากกว่า มีความรู้สูงกว่าควรเคารพอย่างเหมาะสมตามฐานะของบุคคลนั้นๆ

7. รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งหน้าที่ภายในครอบครัวและหน้าที่การงาน ด้วยความขยัน ซื่อสัตย์ และอดทน

การสร้างสัมพันธภาพที่มีความสำคัญอย่างไร

ทักษะในสร้างสัมพันธภาพมีเพื่อให้เกิด ความมั่นคงต้องเปิดเผยตนเอง และไว้ใจซึ่งกัน ประกอบด้วย การถาม การฟัง การทวนเนื้อหา และการสะท้อนความรู้สึกเป็นไปอย่างเหมาะสม พร้อมกับเปิดเผยตนเอง (self-disclosure) ช่วย ให้ผู้อื่นรู้ถึงความรู้สึกและเข้าใจปฏิกิริยาที่บ่ง บอกถึงความพอใจ ไม่พอใจที่ตนเองมีต่อ เหตุการณ์นั้นๆ และท าให้ผู้ ...

ข้อใดเป็นการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว

4 วิธี การสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว.
1. เอาใจใส่กันเสมอ หากคุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอ ไม่ปล่อยปละละเลยกัน เวลาไม่เข้าใจกันก็คุยกันด้วยเหตุผล ยอมรับข้อเสีย และยอมปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็จะช่วยให้ความมั่นคงด่านแรกของครอบครัวแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ... .
2. ความเข้าใจ ... .
3. การพูด ... .
4. ใช้เวลาร่วมกัน.

การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นมีอะไรบ้าง

พัฒนาสัมพันธภาพ.
ใส่ใจและเอาใจใส่ ... .
นับถือตนเอง นับถือผู้อื่น ... .
ต้องไว้ใจกัน ... .
มีความยืดหยุ่น ... .
รู้จักร่วมรู้จักแบ่ง ... .
เห็นอกเห็นใจ.

การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไปมีประโยชน์อย่างไร

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็น สัมพันธภาพ ที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันะภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน