บท ลงโทษ มี ความ สำคัญ อย่างไร กับ พนักงาน ใน องค์กร

บท ลงโทษ มี ความ สำคัญ อย่างไร กับ พนักงาน ใน องค์กร


บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน
ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง
เพียงพอ และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว
ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้ 

1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ ส่วนใหญ่เป็นพนักงานใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่เกิน 4 เดือน หรือพนักงานที่เพิ่งย้าย
จากแผนกอื่น โอกาสที่พนักงานกลุ่มนี้จะปฏิบัติงานผิดพลาดมีสูง อาจเพราะได้รับความรู้ไม่เพียงพอ หรือยังขาด
ประสบการณ์และทักษะ 
สำหรับแนวทางจัดการกับพนักงานกลุ่มนี้ คือ ให้ความรู้โดยการอบรม ให้เอกสารหรือคู่มือประกอบการปฏิบัติงาน
ให้เขาได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ นอกจากนี้ ต้องมีการทดสอบและติดตามผลการปฏิบัติงานด้วย
และถ้าจะดีมากๆ คือ พวกเราต้องจัดพี่เลี้ยงคอยประกบในช่วง 2 เดือนแรก 

2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่างเพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น หัวหน้าไว้ใจมาก
เกินไปทำให้ขาดการควบคุมอย่างใกล้ชิด ปริมาณมากกว่าความสามารถของตนเองที่จะทำได้ จึงทำให้เกิด
ความรีบเร่ง คิดเรื่องปัญหาส่วนตัว ขณะที่ปฏิบัติงาน ทำให้ใจลอย ทำงานนานๆ แล้วขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
โดยเฉพาะพนักงานที่ทำงานล่วงเวลาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ เป็นประจำ หรือพนักงานคิดว่าตนเองมีความคิด
ที่ดีกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงอยากจะทำตามความคิดของตนเอง ทั้งที่จริงๆ แล้วเราต้องศึกษาผลกระทบต่างๆ
ก่อนที่จะทำ แต่พนักงานกลับทำโดยพละการ เป็นต้น 
สำหรับแนวทางในการจัดการกับพนักงานกลุ่มนี้ ต้องเข้าไปแก้ไขให้ตรงตามแต่ละสาเหตุ เช่น หมั่นเข้าไปพูดคุย
และทำการมอบหมายงาน ต้องควบคุมการปฏิบัติงานของพวกเขาอย่างใกล้ชิดมากกว่าพนักงานปกติ ต้องประเมิน
ผลงานอย่างเหมาะสม และถ้าหากเราหาเพื่อนที่เขาสนิทคอยประกบเขาขณะปฏิบัติงาน เพื่อให้เขาได้ แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์จะดีมาก หากเขาทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ต้องกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสม และแจ้งให้พนักงานทราบ 

3.พนักงานที่เจตนาทำผิด สาเหตุที่พนักงานกลุ่มนี้มีพฤติกรรมอย่างนี้นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไม่พอใจในงาน
ไม่พอใจหัวหน้า ไม่พอใจเพื่อนร่วมงาน ไม่พอใจบริษัท เป็นต้น 
สำหรับแนวทางการจัดการกับปัญหานี้ คือ เบื้องต้นเราต้องหมั่นเข้าไปพูดคุยกับพนักงานบ่อยๆ เพื่อสังเกตความคิด
ว่าตอนนี้เขามีความรู้สึกอย่างไรกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และบริษัท ถ้าทัศนคติเขาเริ่มจะไปทางลบ คือ รู้สึก
ไม่ชอบ เกลียด ไม่พอใจ เราก็ต้องรีบพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติให้กลับมาดีขึ้น อย่าปล่อยให้พวกเขาคิดลบ หรือมี
ความรู้สึกไม่ดีต่อไปเรื่อยๆ เพราะนั่นอาจเป็นเหมือระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด จนทำให้เกิดความเสียหายก็เป็นได้ 
แต่ถ้าวันนั้นมาถึง เมื่อเราจับได้มั่น มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าพนักงานคนนั้นเจตนาทำผิด ทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น
เราก็ต้องปฏิบัติตาม 3 กฎ กฎแรก คือ ระเบียบของบริษัท กฎที่สอง คือ กฎหมายแรงงาน และกฎข้อที่สาม คือ
กฎหมายบ้านเมือง 


  บางส่วนจากบทความ  “วิธีจัดการกับพนักงานที่หน้างาน...อย่างมืออาชีพ” 
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 202 เดือนตุลาคม 2562



PSYCHOLOGY : The Effective Management : ดร.ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์  
วารสาร : HR Society Magazine ตุลาคม 2562

บท ลงโทษ มี ความ สำคัญ อย่างไร กับ พนักงาน ใน องค์กร

เมื่อกฎหมาย PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะเริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ ทำให้การเตรียมตัวและวางแนวทางเพื่อปฏิบัติตามอย่างถูกต้องครบถ้วนนั้น อาจไม่ใช่แค่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลลูกค้าเท่านั้นที่ต้องเร่งเตรียมตัว แต่ต้องบอกว่าทุกองค์กรต้องตั้งรับ ปรับตัว และเตรียมพร้อม เพราะกฎหมาย PDPA นี้ มีผลครอบคลุมไปถึงข้อมูลของพนักงาน ลูกจ้าง และบุคคลทุกคนในองค์กรด้วย แล้วนายจ้างและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง HR ควรปฏิบัติหรือต้องระวังอะไรบ้าง เพื่อไม่พลาดทำผิดกฎหมายดังกล่าว ตามไปดูกันค่ะ

 

บทบาทนายจ้าง และ HR ในกฎหมาย PDPA (พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562)

คำถามที่มักเกิดขึ้นคือเมื่อกฎหมาย PDPA บังคับใช้ นายจ้าง และ HR จะมีความเกี่ยวข้องอย่างไร และต้องปรับตัว เตรียมการมากน้อยเพียงใด

• นายจ้าง ถือเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ตามบทบัญญัติในมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีใจความว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล”

• ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ HR เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ตามคำสั่งของนายจ้าง จึงถือเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บัญญัติไว้ว่า “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”

 

ข้อมูลพนักงานที่องค์กรต้องเกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง?

การรับลูกจ้างเข้าทำงาน นายจ้าง และ HR ย่อมมีข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัคร เพื่อทำความรู้จักบุคคลนั้นๆ ให้มากที่สุด จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งระบุตัวตนของคนนั้นๆ ได้ชัดเจน เช่น

1) ประวัติส่วนตัว
2) ใบสมัครงาน และเอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา ข้อมูลทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบรับรองการฝึกอบรม
3) ผลการตรวจสุขภาพ
4) ผลการประเมินช่วงทดลองงาน และระหว่างปฏิบัติงาน
5) สลิปเงินเดือน และเงินพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับงาน
6) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครด้านพฤติกรรม ความประพฤติ ประวัติทางวินัย หนังสือตักเตือน หรือหนังสือเลิกสัญญาจ้าง
7) ใบประกาศด้านความดีความชอบ หรือรางวัลต่างๆ
8) สัญญาจ้าง ลักษณะการจ้างงานในแต่ละช่วง
9) ข้อมูลสถิติการเข้างาน – เลิกงาน การลางาน ขาดงาน หรือมาสาย
10) ประวัติทางอาชญากรและประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่างๆ ก่อนเป็นพนักงาน
11) ประวัติครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน

โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย PDPA นั้น ก่อนที่นายจ้างจะได้พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร จะต้องมีการขอความยินยอมจากผู้สมัครงานก่อน

 

ทำอย่างไรเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน?

1. ดำเนินการตามแนวทางที่สอดรับกับกฎหมาย

บริษัทควรรวบรวมข้อมูลความเกี่ยวข้องของบริษัทกับข้อมูลส่วนบุคคลในด้านต่างๆ พร้อมประเมินเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ทั้งด้านของการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลว่ามีประเด็นส่วนไหนที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และประเด็นไหนยังไม่ได้จัดการในทางที่สอดคล้องกับกฎหมาย พร้อมกำหนดนโยบาย แนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจน และเตรียมพร้อมบุคคลที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลด้วย

2. มีมาตรการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่รัดกุมปลอดภัย

บริษัทต้องประเมินผลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งจำนวนการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะการเดินทางของข้อมูลส่วนบุคคล (ได้ข้อมูลมาอย่างไร ผ่านใครมาบ้าง และถูกเก็บไว้ที่ไหนอย่างไร) การดูแลป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการลบทำลายข้อมูล และการบันทึกหลักฐานต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงปริมาณการมีอยู่ของข้อมูล และลำดับความสำคัญของข้อมูลส่วนต่างๆ โดยการจัดการข้อมูลนั้นแบ่งเป็น 2 ด้านคือ

• การจัดการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล โดยข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีระบบจัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ และดูแลอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้เห็นภาพรวมที่เชื่อมโยงและแนวทางบริหารจัดการที่ถูกต้อง ป้องกันการรั่วไหล รวมถึงการอัปเดตข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• การดำเนินการด้านความยินยอม โดยบริษัทควรมีเอกสารให้พนักงาน ลูกจ้าง ที่เป็นเจ้าของข้อมูลลงนามยินยอมต่อการใช้ จัดเก็บ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมระบุวัตถุประสงค์ ระยะเวลาของการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้อย่างชัดเจน

3. วางแผนป้องกันการละเมิดและการถูกโจมตีข้อมูล

ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานนั้นมีความสำคัญไม่ต่างจากข้อมูลของลูกค้า ดังนั้นจึงต้องป้องกันทั้งด้านระบบ และบุคคล เพราะการปกป้องข้อมูลที่ดีจากภายใน จะสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือที่บุคคลภายนอกเห็น เป็นผลดีกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอง หรือพนักงาน หรือลูกค้า

 

โทษหนักแค่ไหน?…หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA

PDPA แบ่งการกำหนดโทษออกเป็น 3 ส่วน คือ โทษทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง

1. โทษทางแพ่ง

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยต้องจ่าย 2 ส่วน คือ

1) ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง

2) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษสูงสุด 2 เท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง (ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษสูงสุด คือค่าใช้จ่ายในการกระทำความผิดนอกเหนือจากค่าสินไหมทดแทน ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ทำผิดจ่ายเพิ่มจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง)

ดังนั้นหากศาลตัดสินให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เจ้าของข้อมูล 500,000 บาท ยอดรวมที่ผู้ทำผิดต้องจ่ายคือ

ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง + (ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ × 2)

500,000 + (500,000 × 2) = 1,500,000 บาท

2. โทษทางอาญา

มีบทลงโทษทั้งโทษปรับและจำคุก คือ ปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท ไปจนถึง 5 ล้านบาท และจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนถึง 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งบทลงโทษนั้นเป็นไปตามลักษณะความผิด

3. โทษทางปกครอง

เป็นลักษณะของโทษปรับที่เป็นตัวเงิน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ล้านบาท ไปจนถึง 5 ล้านบาท ซึ่งบทลงโทษนั้นเป็นไปตามลักษณะความผิด และความผิดในโทษทางปกครองนี้จะเป็นคนละส่วนกับการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งและโทษปรับทางอาญาด้วย

 

การปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างถูกต้องครบถ้วน เจ้าของบริษัทและฝ่าย HR ควรให้เวลากับการทำความเข้าใจ เพราะหากไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ดีพอและพลาดกระทำความผิดไปแล้ว ผลที่ตามมานอกจากจะเสียค่าปรับ เสียชื่อเสียงแล้ว ยังเสียภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือจากลูกค้าอีกด้วย