ภาษามีผลต่อความรู้สึกอย่างไร

ภาษามีผลต่อความรู้สึกอย่างไร

❝ การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ❞

ภาษามีผลต่อความรู้สึกอย่างไร

การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

สาระสำคัญ
              ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าในฐานะของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร ดังนั้นในการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและมารยาทที่ดีในการสื่อสารเป็นสำคัญ

เนื้อหา
             การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

ความสำคัญของการสื่อสาร

 ๑) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีใครที่ดำรงชีวิตได้ โดยปราศจาก การสื่อสาร โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
 ๒) การสื่อสารช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ ประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคมและความรู้ต่างๆ จำเป็นต้องรับการถ่ายทอดเพื่อให้เป็นมรดกทางสังคมตกลงใช้ร่วมกันอย่างสันติ
 ๓) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งในการสื่อสารจำเป็นต้อง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การใช้สื่อโสตฯ หรือสื่อ  อิเล็คทรอนิกส์ในงานสาธารณสุข เป็นต้น

ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
         ๑.  ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  ผู้ส่งสารใช้ภาษาถ่ายทอดเรื่องราว  ความรู้  ความคิด  ความรู้สึกไปยังผู้ส่งสาร  ภาษาแบ่งออกได้  เป็น  ๒ ชนิด  คือ
               ๑.๑  วัจนภาษา  (verbal  languaye)  เป็นภาษาถ้อยคำ  อาจเป็นคำพูดหรือตัวอักษรก็ได้  การใช้วัจนภาษาจะต้องชัดเจนและถูกต้องทั้งการเขียน  การออกเสียงคำ  และการเรียงเรื่องประโยค  นอกจากนี้ยังต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของการสื่อสาร  ลักษณะงาน   สื่อ  และผู้รับสารด้วย
               ๑.๒  อวัจนภาษา  (non-verbal  languaye)  คือภาษาที่ไใม่ใช้ถ้อยคำ  แต่แฝงอยู่ในถ้อยคำ  ได้แก่  สีหน้า  สายตา  ท่าทาง  น้ำเสียง  วัตถุ  ช่องว่าง  เวลา การสัมผัส  กลิ่น  รส  ภาพและลักษณะของอักษร  เป็นต้น เราอาจใช้อวัจนภาษาเพื่อเสริม   เน้นหรือแทนคำพูดก็ได้  ผู้ใช้ภาษาต้องเลือกใช้อวัจนภาษาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ระดับภาษาในการสื่อสาร
               การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงระดับของภาษา  ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส  สถานการณ์และบุคคล  ระดับภาษามี  ๓  ระดับ  คือ
               ๑.  ระดับพิธีการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์  เช่น   ภาษาในศาล  การประชุมรัฐสภา  และในพิธีการต่าง ๆ
ตัวอย่าง  ข้าพระพุทธเจ้าของพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลอัญเชิญใต้ผ่าละอองธุลีพระบาทพระราชทาน    ปริญญาบัตร
               ๒.   ระดับทางการ
เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในโอกาสหรือเรื่องสำคัญ  ได้แก่ภาษาในบทความวิชาการ  เอกสารทางราชการ  สุนทรพจน์  การประชุมทางการ  ตัวอย่าง  ประธานขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
               ๓.  ระดับกึ่งทางการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้ปรึกษาหารือกิจธุระ  การประชุมไม่เป็นทางการ  บทความแสดงความคิดเห็น  สารคดีกึ่งวิชาการ 


ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ

1. ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด
มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน
การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะ
“การที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา
และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดให้เป็นระบบระเบียบ” เช่น
การบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวของคนรุ่นเก่าได้

2. ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความคิดให้ปรากฏ
ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น
จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร
“ภาษาย่อมเป็นเครื่องสะท้อนความคิดอ่านของคนเรา ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียนเราย่อม

ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อบอกสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นได้เข้าใจหรือได้รับทราบสิ่งที่ต้องการนี้”
แต่ใน

บางครั้งการใช้ภาษาของมนุษย์ก็อาจไม่ได้สะท้อนความคิดที่แท้จริงออกมาก็ได้
ทั้งนี้เพราะมนุษย์รู้จักปกปิดบิดเบือนความคิดที่แท้จริงของตนเอง

3. ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความคิดก็มีอิทธิพลต่อภาษา
แม้ว่าภาษาจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มนุษย์กำหนดขึ้นใช้
แต่ส่วนหนึ่งมนุษย์ก็เข้าใจว่าภาษาคือสิ่งที่แทนนั้น
ทำให้การใช้ภาษามีส่วนช่วยกำหนดความคิดของมนุษย์ได้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีอิทธิพลต่อความคิด เช่น
การตั้งชื่อของคนไทยจะต้องเลือกชื่อที่มีความหมายดีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในทางตรงข้ามความคิดก็เป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
เมื่อมนุษย์ต้องการถ่ายทอดความต้องการของตนให้ผู้อื่นรับรู้
ก็จะต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำที่มีความหมายสื่อความให้ตรงกับความคิดของตน

4. ภาษาช่วยพัฒนาความคิดและความคิดก็ช่วยพัฒนาภาษา
สมรรถภาพในการคิดและสมรรถภาพในการใช้ภาษาของบุคคลจะมีผลต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ขณะที่มนุษย์คิดนั้นจะต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดและจะต้องเลือกถ้อยคำนำมาเรียบเรียงถ่ายทอด
ซึ่งการทำเช่นนี้ความคิดจะถูกขัดเกลาให้ชัดเจนเหมาะสม
ความคิดก็จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยและขณะที่มีความคิดกว้างไกลก็จะรู้จักใช้ภาษาได้กว้างขวางขึ้น
ความคิดจึงช่วยพัฒนาภาษาเช่นกันเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่าภาษาสัมพันธ์กับความคิด

แนวทางปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อช่วยสร้างเสริมความคิด อาจทำได้ดังนี้

1. ใฝ่ใจค้นคว้า ในเวลาที่คิดนั้นปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้น คือ คิดไม่ออก
ไม่รู้จะคิดว่าอย่างไร สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดีพอ
ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความคิดจะต้องเป็นผู้ใฝ่ใจศึกษา ค้นคว้าหาความรู้
เก็บข้อมูลต่างๆ สะสมไว้ในสมอง ความรู้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราว
เกิดความคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ได้
ซึ่งการค้นคว้าหาความรู้อาจทำได้โดยการฟังหรือการอ่าน

2. หมั่นหาประสบการณ์ ประสบการณ์เป็นวัตถุดิบเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้เกิดความ
คิดการได้สัมผัสกับสภาพความจริงจะช่วยก่อกำเนิดความคิดได้ดี
การมีความรู้คู่ประสบการณ์จะทำให้คิดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงควรสนใจหมั่นหาประสบการณ์อยู่เสมอเพื่อจะได้รู้จริง
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคิดอย่างมาก

3. มีความสามารถทางภาษา การรู้จักจัดลำดับความคิดให้เป็นระเบียบ
เลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสมถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
ก็จะช่วยพัฒนาความคิดขึ้นโดยลำดับและขณะเดียวกันก็พัฒนาความคิดของผู้รับสารด้วย

4. ใช้ปัญญาสร้างภาพ วิธีที่จะช่วยสร้างความคิดอีกวิธีหนึ่ง คือ
การนึกเห็นภาพในใจก่อนภาพนี้ไม่ใช่ภาพประเภทเพ้อฝันไร้สาระ
แต่เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลมาประกอบการสร้างความคิดจะทำให้สายตากว้างไกล
การสร้างภาพจะช่วยทำให้ความคิดแจ่มแจ้งชัดเจน เช่น
ในการแก้ไขปัญหาถ้าสร้างภาพนึกเห็นไว้ก่อนว่าสถานการณ์อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร
วิธีใด ความคิดก็จะบังเกิดควบคู่ไปกับการเห็นภาพ

ภาษามีผลต่อความรู้อย่างไร

1. ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาใช้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สังคมธำรงอยู่ได้ 2. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล การใช้สำนวนภาษาของแต่ละคนแสดงถึงลักษณะเฉพาะตน 3. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความคิด ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ 4. ภาษาช่วยกำหนดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความรู้สึกอย่างไร จงอธิบาย *

ภาษาช่วยให้มนุษย์รู้จักคิดโดยแสดงออกผ่านทางการพูด การเขียน และการกระทำ ซึ่งเป็นผลจากการคิด ถ้าไม่มีภาษามนุษย์จะคิดไม่ได้ ถ้ามนุษย์มีภาษาน้อย มีคำศัพท์น้อยความคิดของมนุษย์ย่อมแคบไม่กว้างไกล ผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีจะมีความคิดดีด้วย ส่งผลให้การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆดีขึ้นตามไปด้วย ผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีจะมีความคิดดีด้วย เมื่ออ่านแล้ว ...

ภาษามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร

1.มนุษย์สามารถใช้ภาษาในการติดต่อทำความเข้าใจกันได้ กล่าวคือ สามารถใช้ภาษาแสดงความต้องการทางร่างกายและจิตใจด้วย 2. มนุษย์ใช้ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต 3. ภาษาเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน โดยเน้นการฝึกฝนที่ถูกวิธีเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในประจำวัน

พลังของภาษามีความสำคัญอย่างไร

พลังภาษา คือ อำนาจของภาษา ภาษาทำให้คนเราสื่อสารกันได้ บอก เรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดให้กันได้ คนจึงเรียนรู้สิ่งต่างๆ จนสามารถพัฒนาตน และสังคม สามารถประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งสวยงามต่างๆ ภาษา เป็นวัฒนธรรมที่คนเรียนรู้จากสังคม มีพ่อแม่สอน มีครูสอน มีสื่อมวลชนและ สังคมสอน คนเรียนรู้ภาษาจากทุกคนและจากทุกสิ่งรอบตัว ...