การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลดีอย่างไร

เมื่อพูดถึงการลงทุนทางการเงิน การตัดสินใจที่ดีกว่านั้นขึ้นอยู่กับโอกาสเท่านั้น นอกจากการเล่นการพนันจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อโชคดีอยู่ข้างคุณ โชคดีที่การลงทุนระหว่างประเทศเป็นรูปแบบการลงทุนทางการเงินที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ตราบใดที่ทราบข้อจำกัด ใครก็ตามที่ลงทุนก็ย่อมหวังที่จะได้รับผลตอบแทน แต่การลงทุนระหว่างประเทศเป็นการลงทุนในสเกลที่ใหญ่กว่า ซึ่งมีผลกระทบกับอะไรหลายๆ อย่าง

อะไรคือการลงทุนระหว่างประเทศ

การลงทุนระหว่างประเทศ คือการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งได้นำเงินของตนไปลงทุนในอีกประเทศ เพื่อหวังว่าจะสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งแบ่งออกเป็นการลงทุนได้ 2 ประเภท ได้แก่

  1. การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หมายถึงการลงทุนในองค์กรธุรกิจต่างประเทศ ที่ออกแบบมาเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการควบคุมองค์กรนี้ การลงทุนโดยตรงให้เงินทุนกับบริษัทเพื่อแลกเปลี่ยนกับส่วนของผู้ถือหุ้น โดยไม่ต้องซื้อหุ้นสามัญของหุ้นของ บริษัท วัตถุประสงค์ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คือการได้รับส่วนได้เสียเพียงพอที่จะควบคุมบริษัท ในบางกรณีอาจเกี่ยวข้องกับบริษัทในประเทศหนึ่งที่เปิดธุรกิจในประเทศอื่น ในขณะที่ในบางกรณีอาจเป็นการได้มาซึ่งการควบคุมสินทรัพย์ที่มีอยู่ของธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ
  2. การลงทุนโดยอ้อม เป็นการลงทุนในรูปแบบของกลุ่ม (พอร์ตโฟลิโอ) ของสินทรัพย์ รวมถึงการทำธุรกรรมในส่วนของหลักทรัพย์หลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ และตราสารหนี้ เช่น ธนบัตรพันธบัตร และหุ้นกู้ เป็นการลงทุนในแบบพาสซีฟเนื่องจากไม่มีการบริหารจัดการหรือควบคุมบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ นักลงทุนต่างชาติอาจมีความสนใจในระยะสั้นในการเป็นเจ้าของการลงทุนแบบพาสซีฟ เช่นพันธบัตร หรือ หุ้น แต่วัตถุประสงค์ของการลงทุนนั้นเป็นเพียงผลประโยชน์ทางการเงินเท่า นั้นตรงกันข้ามกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งอนุญาตให้นักลงทุนได้รับส่วนในการควบคุมระดับบริหารของบริษัท สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศการลงทุนในตราสารทุนที่เจ้าของถือหุ้นน้อยกว่า 10% ของบริษัทจะถูกจัดประเภทเป็นพอร์ตการลงทุน ธุรกรรมเหล่านี้เรียกว่า ‘โฟลว์พอร์ตโฟลิโอ’

การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลดีอย่างไร

ความเสี่ยงในการลงทุนระหว่างประเทศ

ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนรูปแบบใดก็ย่อมมีความเสี่ยง ประโยชน์ของประเทศผู้รับทุนคือ ‘มีเงินทุนมาใช้ในการพัฒนาประเทศ’ ซึ่งหลายคนก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่ามันได้ประโยชน์จริงหรือ เราลองมาดูประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในต่างประเทศกันดีกว่า

1.มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อมีเงินทุนเข้ามาในประเทศ จะทำให้มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ มีการสร้างโรงงานใหม่และรับแรงงานเพิ่มขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนักลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้เครื่องจักรอัตโนมัติมากกว่าแรงงานคนที่มีค่าใช้จ่ายสูง

2.เมื่อลงทุนในประเทศอื่น หากเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ประเทศจะมีกำลังซื้อมากขึ้น สิ่งนี้จะช่วยให้นักลงทุนต่างชาติสามารถควบคุมหุ้นพันธบัตร และการถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนเงินจำนวนเดียวกัน

3.เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ การพึงพาทุนจากต่างชาติมากเกินไป อาจเป็นภัยที่อันตรายอย่างคาดไม่ถึง เมื่อเจ้าของทุนได้ถอนทุนออกจากประเทศ อาจทำให้เศรษฐกิจหยุดการเติบโต หรือร้ายสุดอาจมีการถดถอยลงด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้ามีการลงทุนมากเกินไปจากต่างประเทศ ก็อาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เช่นกัน

4.ส่งผลกระทบกับนักลงทุนในประเทศ ทุนส่วนใหญ่ที่มาจากต่างประเทศ ล้วนมาจากบริษัทใหญ่ที่มีอำนาจมากกว่านักลงทุนท้องถิ่น ซึ่งอาจเข้ามาผูกขาดตลาดในประเทศ ยกตัวอย่างห้างสรรสินค้าชื่อดังหลายแห่งที่เปิดในประเทศไทย ซึ่งล้วนแต่มีนายทุนต่างชาติเป็นผู้มีผลประโยชน์หลักแทบทั้งสิ้น

5.การแชร์เทคโนโลยี หลายคนคิดว่าต่างชาติจะมาลงทุนพร้อมกับแชร์นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพวกเก็บรักษาเทคโนโลยีของตัวเองไว้ที่ประเทศของตน แต่จะมาเน้นในเรื่องแรงงานการผลิตแทนมากกว่า

แม้การลงทุนระหว่างประเทศจะเป็นเรื่องดีในมุมมองของคนไมน้อย อาทิ ได้มีโอกาสกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ได้รู้จักพร้อมช่วยเหลือในส่วนต่างๆ เพื่อประโยชน์ในภายหน้า รวมถึงประเทศด้อยพัฒนา หรือประเทศที่ยังไม่มีความพร้อมในหลายภาคส่วนก็ได้รับการช่วยเหลือเพื่อให้มีสิ่งต่างๆ ครบครันด้วย ทว่าการลงทุนระหว่างประเทศมันก็ยังมีผลกระทบที่หลายคนอาจคาดไม่ถึงอยู่เหมือนกัน เป็นผลกระทบที่ถือว่าหากมองให้ลึกลงไปก็สร้างปัญหาอยู่ไม่น้อย

  1. ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการจ้างงาน – แม้ในอดีตจะมองว่าการลงทุนระหว่างประเทศเป็นเรื่องดีเพราะคนในประเทศนั้นๆ จะได้มีงานทำ ทว่าในปัจจุบันเองการลงทุนเหล่านี้ผู้ลงทุนต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงเลือกนำเทคโนโลยีมาใช้แทนที่ของแรงงานคน เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อชนชั้นแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไมได้
  2. เกิดการแย่งแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนท้องถิ่น – สิ่งที่เห็นกันบ่อยคือบรรษัทต่างชาติเมื่อมีการเข้ามาลงทุนเงินส่วนหนึ่งย่อมมาจากการกู้ยืม ส่งผลให้บางครั้งเกิดปัญหาด้านการแย่งลงทุนกับนักลงทุนในท้องถิ่นที่ก็อยากลงทุนบ้างเหมือนกัน
  3. การแข่งขันกับนักลงทุนท้องถิ่น – ส่วนมากหากมีบรรษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศใดจะต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่ในระดับหนึ่ง มีเงินหมุนเวียนในระบบบัญชีเยอะ เทคโนโลยีต่างๆ มีความทันสมัยจนกลายเป็นปัญหาให้กับบรรดานักลงทุนในประเทศนั้นไปโดยปริยาย ยกตัวอย่างชัดเจนมากคือบรรดาร้านสะดวกซื้อทั้งหลาย
  4. ปัญหาเรื่องเทคโนโลยี – ปกติแล้วเวลาประเทศผู้รับทุนมักคิดกันอยู่เสมอว่าเมื่อประเทศที่ลงทุนเข้ามาทำสิ่งต่างๆ พวกเขาจะได้เรื่องเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาประเทศด้วย แต่ในความเป็นจริงคือหากประเทศเหล่านั้นต้องใช้แรงงานคนจริงเพื่อควบคุมเทคโนโลยีต่างๆ เขาจะเลือกใช้คนของเขาที่มีความรู้ตรงนี้มากกว่า สรุปว่าบรรดาคนท้องถิ่นก็ยังไม่ได้รับรู้เรื่องเทคโนโลยีให้มากขึ้นกว่าเดิมเลย
  5. มีปัญหาในเรื่องดุลการค้า – ส่วนมากประเทศรับทุนจะคิดว่าเวลาเกิดการลงทุนจากประเทศอื่นจะทำให้แก้ปัญหาดุลการค้าได้ ทว่าเรื่องจริงคือไม่ได้หมายถึงแบบนั้นเต็มๆ เพราะเหมือนแค่เปลี่ยนจากการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปเป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตเฉย ๆ
  6. เกิดความผันผวนต่อระบบเศรษฐกิจ – กรณีประเทศลงทุนถอนทุนออกไปส่งผลให้เกิดภาวะต่างๆ เพียบ ทั้งว่างงาน บางประเทศเงินเฟ้อหากอุปทานสินค้าไม่ได้เยอะ สิ่งที่เห็นบ่อยๆ คือบริษัทต่างชาติลอยแพคนงาน

การทำทุกอย่างย่อมมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไปเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นก่อนเลือกทำสิ่งใดก็ตามควรพิจารณาถึงประโยชน์และผลกระทบที่จะได้รับด้วย เมื่อคิดทบทวนดีแล้วค่อยตัดสินใจว่าทำดีหรือไม่

การลงทุนระหว่างประเทศมีผลดีอย่างไร

ช่วยให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนมีความสมดุลมากขึ้น อันจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงินของประเทศมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และประเทศสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น โอกาสทางการค้า หรือการมีส่วนช่วยในการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศ​​

ผลดีของการค้าระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง

-สามารถสร้างการค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น -ช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยของการผลิต -ช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และ การเมืองของประเทศสมาชิกในกลุ่ม -ทำให้ประเทศเล็กที่รวมกลุ่มกัน มีอำนาจในการเจรจาต่อรองเพิ่มขึ้นในเวทีตลาดโลก

การลงทุนหว่างประเทศมีผลดีอย่างไร จงบอกมา 2 ข้อ

มีเงินตราจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น ลดปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล ได้รับเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี เข้ามาใช้ผลิตในประเทศ ช่วยให้เกิดการจ้างงานได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ่ายทอดวิธีการในการบริหารจัดการ มีโอกาสส่งออกสินค้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นและได้รับการยอมรับมากขึ้น

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนระหว่างประเทศคืออะไร

ประชาชนในประเทศ มีส่วนให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ เช่นกัน สุดท้ายสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดการค้าระหว่าง ประเทศ คือประเทศต่างๆ มีต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกัน ประเทศสามารถผลิตสินค้าด้วยตนเอง แต่กระบวนการ ผลิตสินค้าบางชนิดอาจมีต้นทุนสูง บางชนิดอาจมีต้นทุนต่ำ ประเทศจะทำการผลิตสินค้าเองบางชนิดที่มีต้นทุนต่ำ