โลกาภิวัตน์มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร

เนื่องจากระบบสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้เกิดการครอบโลกทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลกครอบงำทางความคิด การมองโลก การแต่งกาย การบริโภคนิยม แพร่หลายเข้าครอบคลุมเหนือวัฒนธรรมประจำชาติของแต่ละประเทศ เช่น การบริโภค อาหารแบบ FAST FOOD ตามวิถีแบบอเมริกันชน ความเป็นอยู่ การศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ในการดำเนินชีวิต

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยน แปลงด้านการผลิตสินค้า จากการผลิตที่เหมือนกันในปริมาณที่เป็นจำนวนมาก มาเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการผลิต โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอัตราเร็วนี้คือความสามารถที่จะก้าวล้ำหน้า ทำให้มีผลต่อการกระจายอำนาจ และผลกำไรอย่างมากมาย

ผลกระทบด้านการเมือง

เกิดความรู้สึกท้องถิ่นนิยม กระแสโลกาภิวัฒน์สร้างความรู้สึกท้องถิ่นนิยม แทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัฒน์เป็นยุคแห่งข่าวสาร ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วจากสื่อต่างๆ อาจเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

การเมือง - การเมืองโลกาภิวัตน์หมายถึงการสร้างสรรค์รัฐบาลโลก  ที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างชาติ  และให้หลักประกันสิทธิ์ที่เกิดจากสังคมและเศรษฐกิจของโลกาภิวัตน์ในทางการเมือง สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการครองอำนาจในโลกในหมู่ชาติมหาอำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความั่งคั่งของประเทศ ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์และจากการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ประเทศจีนได้เจริญเติบโตอย่างมหาศาลในช่วงเพียงทศวรรษที่ผ่านมา หากจีนมีความเจริญเติบโตในอัตราตามแนวโน้มนี้ต่อไป เป็นไปได้ที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจในระหว่างประเทศผู้นำภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศจีนจะมีความมั่งคั่ง มีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สามรถท้าทายสหรัฐฯ ในการเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำ

                        2.5 เผชิญกับข้อกีดกันทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและที่มิใช่ภาษี (Nontariff Barriers : NTB) มากขึ้น เนื่องจาก การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างช้า ในขณะที่ การเพิ่มขึ้นของการรวมขั้วอำ นาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในระดับต่างๆ รวมทั้ง ปัญหาการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมที่ทำ ให้ประเทศส่วนใหญ่ต้องปกป้องประชากรและอุตสาหกรรมในประเทศเพิ่มขึ้น

-ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก

27.     ยกตัวอย่างอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อวัฒนธรรมของไทย พร้อมอธิบายมาพอสังเขป

เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น

28.     ค่านิยมในเรื่องใดบ้างที่เกิดจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์

ค่านิยมทางการเมือง
ทุกประเทศในโลกต้องเป็นแนวประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งประเทศต่างๆ หากจะต้องมีรูปแบบการเมืองการปกครองในแบบเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หรือใช้กำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยให้เป็นประชาธิปไตย โดยไม่สนใจต่อความพร้อมหรือวิถีชีวิตของคนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งการเมืองในระบบประชาธิปไตย เมื่อถูกผ่านการครอบงำผ่านทางข้อมูลข่าวสารจากโลกตะวันตก ก็จะทำให้ประชาชนมีค่านิยมที่จะเลือกผู้นำที่มีแนวความคิดแบบการค้าเสรีหรือเป็นนายทุนเศรษฐกิจแบบตะวันตกไปเป็นรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทข้ามชาติสามารถเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีความอ่อนแอกว่า ซึ่งจะมีผลต่อจะต้องมีการพึ่งพาโลกตะวันตก

ค่านิยมทางเศรษฐกิจ
โลกจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) โดยถือหลักการว่าที่ไหนถูกก็ผลิตหรือซื้อที่นั่น โดยต่างฝ่ายจะใช้มาตรการทางภาษีให้มีน้อยที่สุด โดยโลกตะวันตกก็จะมีการปกป้องธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกันได้ในรูปแบบของการกีดกันทางการค้า ในแบบที่เรียกว่า Non Tariff Barrier (NTB) การค้าของโลกจะตกอยู่ภายใต้กติกาขององค์กรการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) ที่โลกตะวันตกไม่กี่ประเทศเป็นผู้บงการ และข้อตกลงในลักษณะที่เป็นทวิภาคี ได้แก่ ที่มาในรูปแบบของเขตการค้าเสรี (Free Trade Area –FTA) ซึ่งหาก WTO ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ก็จะมีการทำข้อตกลงความร่วมมือในระดับภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asian Free Trade Area - AFTA ), ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation - APEC) เป็นต้นดังนั้น การค้าเสรีของ Globalization นั้นจึงเป็นความเสรีบนความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งไม่ใช่ความยุติธรรมทางการค้า

ค่านิยมทางสังคม
โดยการครอบงำทางสังคมวัฒนธรรม โดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าของโลกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) การบริโภคนิยม (Consumerism) การนิยมวัตถุ (Materialism) รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะอนุรักษ์เฉพาะในสิ่งที่ประเทศด้อยพัฒนาไม่พร้อม แต่โลกตะวันตกพร้อม

ค่านิยมการปกป้องทางการค้า (Protectionism)
การค้าโลกาภิวัตน์ จะเกิดขึ้นพร้อมกับการปกป้องทางการค้าในรูปแบบของลิขสิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะมาจากโลกตะวันตก ซึ่งจะใช้ลิขสิทธิ์เป็นเครื่องมือในการปกป้องสินค้าและบริการ นอกเหนือจากนี้การใช้มาตรการทางด้านการเงิน ผ่านกองทุนต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) หรือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank - ADB )และฯลฯ ซึ่งองค์กรทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกเหล่านี้มักจะมีเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจข้ามชาติ ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้อง รวมทั้งการใช้มาตรการที่ป้องกันผู้ก่อการร้ายของก็อยู่ในกระแสของโลกาภิวัตน์เช่นกัน