นักเรียนมีวิธีการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลตนเองอย่างไร

นักเรียนมีวิธีการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลตนเองอย่างไร
6 วิธี ปกป้องข้อมูลส่วนตัว ไม่ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ Website 1

นักเรียนมีวิธีการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลตนเองอย่างไร

ทุกวันนี้เราใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอัปเดตชีวิตผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย ซื้อสินค้าหรือบริการผ่านเว็บไซต์ จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรมผ่านแอปพลิเคชัน ทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งในการใช้งานหรือเข้าถึงบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องเปิดเผย ข้อมูลส่วนตัว หรือ ข้อมูลส่วนบุคคล บางอย่าง เช่น ชื่อ-นามสกุล เพศ อายุ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร ฯลฯ

บางครั้งเป็นการยืนยันตัวตนเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบ บางครั้งเพื่อการติดต่อรับส่งสินค้าหรือการชำระค่าสินค้า ข้อมูลที่เราให้ไปนั้น อาจไปปรากฎอยู่บนอินเทอร์เน็ตหรือถูกนำไปใช้งานอย่างอื่นที่เราไม่คาดคิด ทำให้เรากลายเป็นเหยื่อหรือผู้ประสบภัยออนไลน์ได้

เว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เราใช้ ล้วนเก็บข้อมูลที่เราให้ไป นอกจากเพื่อเป็นฐานข้อมูลผู้ใช้งานหรือลูกค้าเพื่อการให้บริการที่ดีแล้ว ยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของเราก็ถือว่าสำคัญเลยทีเดียว ซึ่งมี 6 วิธีดังนี้

1.ไม่โพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ที่สำคัญ ในอินเทอร์เน็ต รวมถึงรูปภาพหรือคลิปวิดีโอส่วนตัว

2.ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ในบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อจำกัดวงผู้อ่านหรือนำข้อมูลไปใช้

3.ตั้งค่าและดูแลพาสเวิร์ดหรือรหัสผ่าน ให้มั่นคงปลอดภัย เช่น ตั้งให้ไม่ซ้ำในทุกบริการ ไม่บอกให้ทุกคนรู้ และไม่ง่าย นอกจากนั้นอาจใช้บริการ Password Manager และ เปิดใช้งานการล็อกอินแบบหลายชั้น เช่น การใช้ร่วมกับ OTP หรือการยืนยันตัวตนหลายปัจจัย

4.ระมัดระวังอีเมลหรือลิงก์หลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ หากไม่แน่ใจให้ติดต่อสอบถามกลับไปยังสถาบันการเงินหรือเว็บไซต์ที่ส่งมาหาโดยตรง

5.ไม่ทำธุรกรรมกับเว็บไซต์หรือบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ

6.ไม่ผูกบัตรเครดิตหรือบัญชีออนไลน์เป็นการถาวร ควรให้กรอกข้อมูลใหม่หรือยืนยันตัวตนทุกครั้ง และควรขอให้มีบริการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินหรือใช้บัญชี

นักเรียนจะมีวิธีป้องกันความเป็นส่วนตัวของตัวเองในโลกออนไลน์ได้อย่างไร

1. ห้ามโพสต์ข้อมูลที่ระบุตัวตนอย่างบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ เหล่านี้เด็ดขาด 2. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลเน็ตเวิร์คและรับ add เฉพาะคนรู้จัก 3. การตั้งพาสเวิร์ดให้แข็งแรง เพราะตั้งพาสเวิร์ดง่ายๆก็มีโอกาสโดนแฮคได้ง่ายๆเช่นกัน

วิธีปกป้องข้อมูลส่วนตัว มีกี่วิธี

แนะ 10 วิธีปกปิดข้อมูลส่วนตัวไม่ทิ้งไว้บนโลกดิจิทัล.
1. ยกเลิก หรือ ปิดบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว ... .
2. ลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ที่ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ... .
3. ใช้ Stealth Mode หรือ Incognito Mode หรือแม้กระทั่งใช้ Tor ไปเลย ... .
4. ปิดการใช้งานในบัญชีอีเมลเก่า ... .
5. ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของ Account ต่าง ๆ.

นักเรียนจะมีวิธีป้องกันความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไรก่อนจากโทรศัพท์หาย

เคล็ดลับการเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวภายในมือถือ 1. ไม่บันทึก User name หรือ Password ใส่ไว้ใน Web Browser. 2. ตั้งรหัสผ่านที่ยาก เพื่อกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าระบบ หรือเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้ 3. สำรองข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud Syncing) อยู่เสมอ 4. Log out แอปพลิเคชันต่างๆ ทุกครั้งหลังใช้งาน

นักเรียนมีวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

เทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งประโยชน์และโทษ จึงต้องศึกษาเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเท่าทันและปลอดภัยซึ่งมีดังนี้.
ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว.
กำหนดรหัสผ่านให้รัดกุม เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน.
ออกจากระบบทุกครั้งหลังใช้งาน.
ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์.
ขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา.