ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

คุณสามารถทำสำเนาต้นฉบับขนาดบัตร เช่น บัตร ID ลงบนกระดาษแผ่นเดียวอย่างต่อเนื่องกัน

ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องพิมพ์เปิดอยู่

  2. ป้อนกระดาษ

  3. กดปุ่ม ทำสำเนา(COPY)

    หน้าจอสแตนด์บายสำหรับการทำสำเนาจะแสดงขึ้น

  4. กดปุ่ม เมนู(Menu)

    หน้าจอ Copy menu จะแสดงขึ้น

  5. เลือก Special copy จากนั้นกดปุ่ม OK

  6. เลือก ID card copy จากนั้นกดปุ่ม OK

    หากเลือกการตั้งค่าขนาดหน้าหรือการตั้งค่าชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่สามารถใช้ในการทำสำเนา ID การ์ด หน้าจอ LCD จะแสดงข้อความต่อไปนี้

    ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

    1. เลือกขนาดหน้า จากนั้นกดปุ่ม OK

    2. เลือกชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ จากนั้นกดปุ่ม OK

  7. ใช้ปุ่ม

    ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง
    ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง
    หรือปุ่มตัวเลขเพื่อระบุจำนวนสำเนา

    เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าการพิมพ์ตามที่จำเป็น

    • รายการการตั้งค่าสำหรับการทำสำเนา
  8. กดปุ่ม สี(Color) สำหรับการทำสำเนาสี หรือปุ่ม สีดำ(Black) สำหรับการทำสำเนาขาวดำ

    หน้าจอด้านล่างนี้จะปรากฏขึ้น

    ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

  9. วาง ID การ์ดโดยหันด้านหน้าลงบนกระจกแท่นวาง และเว้นระยะอย่างน้อย 2 mm (0.12 in) ระหว่างขอบ (บริเวณลายทแยง (A)) ของกระจกแท่นวาง จากนั้นกดปุ่ม OK

    ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

    เมื่อด้านหน้าถูกสแกน หน้าจอด้านล่างจะแสดงขึ้น

    ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

  10. วาง ID การ์ดโดยหันด้านหลังลงบนกระจกแท่นวาง และเว้นระยะอย่างน้อย 2 mm (0.12 in) ระหว่างขอบ (บริเวณลายทแยง (A)) ของกระจกแท่นวาง จากนั้นกดปุ่ม OK

    เครื่องพิมพ์จะเริ่มการทำสำเนา

    นำบัตร ID บนกระจกแท่นวางออกหลังจากการทำสำเนาเสร็จสมบูรณ์

ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

Advertisement

ทนายเตือน ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ไม่ควรถ่ายด้านหลัง อย่าเปิดเลข Laser ID จะทำให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด แนะหน่วยงานที่ยังไม่เข้าใจ เจ้าของบัตรต้องปิดเลข

ถ่ายเอกสารบัตรประชาชนทำยังไง

เพจ  ลุงทนายใจดี ปรึกษากฎหมายฟรี เตือน สำเนาบัตรประชาชนรุ่นปัจจุบัน ไม่ควรถ่ายด้านหลังบัตรไปพร้อมกับด้านหน้า โดยระบุข้อความว่า “หลังบัตรจะมีชุดตัวเลขอยู่ เรียกว่า Laser ID ซึ่งปัจจุบันภาครัฐ เช่นสรรพากร, ตำรวจ, กระทรวงต่างๆ, กรมต่างๆ ฯ รวมถึงภาคการเงินบังคับใช้ Laser ID นี้ในการทำธุรกรรม ตรวจสอบ ยืนยันตัวตน ควบคู่กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

เรียกว่า e-KYC(Electronic – Known Your Client) App. ที่เกี่ยวข้องกับเงินหรือกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกค์(Wallet) ต้องใช้ทั้งหมด(แบงค์ชาติควบคุม)

หากข้อมูลหน้าบัตรประชาชนหลุดไปก็อันตรายมากพอแล้ว ยิ่งข้อมูล Laser ID หลุดไปด้วย ยิ่งอันตรายเป็นทวีคูณ เหมือนเลขบัตรเครดิตหลุดไปพร้อมกับ CVV หลังบัตร

หากสถานที่ไหนไม่เข้าใจ ยืนยันว่าต้องถ่ายบัตรหน้าหลัง ให้เราถ่ายจากบัตรคนละใบให้เขาครับ ด้านหน้าบัตรเรา ด้านหลังบัตรคนอื่นครับ หรืออย่างน้อยปิดเลขตอนถ่าย

ส่วนเว็ปหรือ App. ไหนให้กรอก Laser ID ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ถ้าเป็นสถานที่ที่เชื่อถือได้ เช่นหน่วยงานราชการ, สถาบันการเงิน, Wallet ของบริษัทใหญ่น่าเชื่อถือ ก็ใส่ได้ครับ ระวังเจอเว็ปปลอม App. ปลอม หรือฟิชชิ่งครับ ดูให้แน่ใจว่าใช่หน่วยงานนั้นแท้ๆ

นอกจากนี้ ยังให้ความรู้ ว่า

– สมัยก่อนวันหมดอายุบัตรประชาชนจะอยู่ด้านหลังบัตร จึงต้องถ่ายทั้งหน้าและหลัง

– สมัยนี้จริงๆไม่ควรใช้สำเนาแล้ว ควรดึงข้อมูลจากชิพการ์ดหน้าบัตร แต่ยังไม่แพร่หลาย ก็ยังใช้สำเนากันอยู่ แต่ด้านหลังไม่ควรต้องถ่ายแล้ว

– กรมการปกครองประกาศตั้งแต่ 22 มีนาคม 2556 ว่าหน่วยงานของรัฐ, รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่ยังจำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ควรถ่ายสำเนาบัตรด้านหน้าเพียงด้านเดียว (ประกาศที่ มท ๐๓๐๙.๒/ว ๖๘๕๓)

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...