พระพุทธเจ้าทรงวางแนวทางในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาไว้อย่างไรบ้าง

          พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักบริหารที่มีความสามารถสูง หลักธรรมของพระองค์สามารถประยุกต์ใช้กับกระบวนการปกครองทุกระบบ ทรงเน้นคุณธรรมในการปกครองทำให้ระบบการบริหารดีส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง ธำรงอยู่ได้ตราบจนปัจจุบัน ซึ่งการบริหารและการธำรงรักษาพุทธศาสนามีรายละเอียด ดังนี้           

1. ด้านการบริหารของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการบริหารดังนี้

  หลักธรรมพระวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพานได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ธรรมวินัยที่เราบัญญัติแก่เธอจะเป็นศาสดา ของเธอ เมื่อเราล่วงลับไป” พระธรรมวินัยจึงถือเป็นหัวใจของการปกครองคณะสงฆ์ตราบจนปัจจุบัน                              

– หลักธรรมาธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการปกครองไว้เรียกว่า อธิปไตย 3 คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตยทรงยกย่องธรรมาธิปไตย เป็นสำคัญ เพราะนักบริหารแบบธรรมาธิปไตยยึดธรรมหรือหลักความถูกต้องชอบธรรม ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทำให้ได้ทั้งคนและงาน ต่างจากนักบริหารแบบอัตตาธิปไตยที่ยึดตนเองเป็นสำคัญ ถือว่าตนฉลาดกว่าคนอื่นเป็นเผด็จการได้งานเสียคน และนักโลกาธิปไตย เอาใจคนอื่นไม่มีจุดยืน ไม่กล้าขัดใจใคร ได้คนแต่เสียงานหรือเสียทั้งงาน เสียทั้งคน               

หลัก ธรรมาธิปไตยมีองค์ประกอบดังนี้

– หลักเสรีภาพ ทรงเน้นเสรีภาพส่วนบุคคล โดยเฉพาะการเลือกนับถือศาสนา สอนให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนปลงใจเชื่อคำสอนใด ๆ ให้ใช้วิจารณญาณตามหลักสัมมาทิฏฐิอย่าเชื่อโดยขาดสติหรือขาดปัญญาตรึกตรอง และทรงเน้นเสรีภาพที่สูงสุด คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ที่เป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด

– หลักความเสมอภาค ทรงยืนยันว่าทั้งชายและหญิงมีความเสมอภาคด้านการ ตรัสรู้ธรรมหลักสิทธิมนุษยชนทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีมีทาสหญิงและทาสชาย และทาสที่เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุย่อมได้รับสิทธิเทียบเท่ากับภิกษุรูปอื่น ๆ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเสมอกัน                                    

– หลักภราดรภาพ ทรงเน้นเมตตาเป็นสำคัญถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นเพื่อน ร่วมเกิด แก่ เจ็บ และตาย ทรงสอนไม่ให้เบียดเบียนกันแม้แต่สัตว์ก็อย่าไปทำร้าย นับว่าหลักศีล 5 และธรรม 5 เป็นภราดรภาพในพระพุทธศาสนาหลักสังคหวัตถุธรรม 4 เป็นหลักธรรมที่ถือว่าเป็นหัวใจของมิตรภาพระหว่างบุคคลและสังคม            

2. ด้านการธำรงรักษาพระธรรมวินัย

หลักการธำรงรักษาพระธรรมวินัยทรง มอบให้เป็นภาระรับผิดชอบของพุทธบริษัท 4 โดยประทานความเป็นใหญ่ในคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องของส่วนรวม ทรงปรารภอนาคตว่า การร้อยกรองพระธรรมวินัยขึ้นเพื่อเป็นหลักช่วยมิให้สงฆ์แตกแยกกันภายในภาย ภาคหน้า

แสดงว่าพระองค์ทรงหลักปาปณิก ธรรม คือ ธรรมสำหรับนักบริหาร 3 อย่างประกอบด้วย จักษุมา หมายถึง มีสายตายาวไกลกำหนดเป้าหมายและวางแผน 3 ประการ คือ รู้ตน รู้คน และรู้งาน ตรงกับคำว่า ทักษะในการใช้ความคิด วิธุโร หมายถึง จัดการธุระได้ดีมีความชำนาญเฉพาะด้าน ตรงกับคำว่า ทักษะด้านเทคนิค และ นิสสยสัมปันโน หมายถึง อาศัยคนอื่นได้ เพราะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ตรงกับคำว่า ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

3 .ด้านเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด

          การ ฝึกตนอันประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนา คือ การ ฝึกตนตามหลักมรรค 8 ประการ พุทธเจ้าทรงได้ชื่อว่าเป็นนักเสียสละผู้ยิ่งใหญ่ ทรงสละสิ่งเล็กน้อยไปจนถึงสละกิเลสจนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าพระองค์เป็นตัวอย่างที่ดี ทรงฝึกตนเป็นนักเสียสละ                  

พระพุทธเจ้าทรงฝึกตนด้วยการ เสียสละสิ่งนอกกาย สรุปได้ดังนี้

1. ทรงเสียสละอำนาจอันยิ่งใหญ่ ทรงสละการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตมีอำนาจครอบงำทั่วโลก เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ในการพ้นจากความทุกข์                    

2. ทรงเสียสละครอบครัวอันเป็นที่รัก ทรงสละบุคคล เหล่านั้นไปบรรพชาอุปสมบท เพื่อแสวงหาสัจธรรมคือ พระสัมโพธิญาณ และเพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เมื่อทรงตรัสรู้แล้วก็เสด็จมาโปรดพระประยูญาติ และบุคคลอื่น ๆ ให้รู้ในสัจธรรม

3. ทรงเสียสละโลกียสุข  ในฐานะเป็นเจ้าชายรัชทายาทแทนที่จะทรงใช้ชีวิตอยู่ในปราสาท 3 ฤดู บำเรอด้วยสุขต่างๆแต่ทรงกลับสละออกไปโดยไม่อาลัยอาวรณ์                                            

4. ทรงเสียสละความสุขความสบายส่วนพระองค์ หลังจากตรัสรู้แล้วแทนที่พระองค์จะเสวยวิมุตติสุข หรือสุข คือ พระนิพพานเพียงลำพัง แต่ทรงช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ด้วย โดยการเสด็จเที่ยวสั่งสอนเป็นเวลา 45 พรรษา จนถึงวาระแห่งปรินิพพาน

พระพุทธเจ้าทรงฝึกตนด้วยการเสียสละกิเลสภายใน สรุปได้ดังนี้

1. ทรงเสียสละแม้ชีวิตเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา 6 ปี ยังไม่บรรลุมรรคผลแต่ทรงไม่ย่อท้อพระทัยและเปลี่ยนมาบำเพ็ญเพียรทางใจ ทรงแน่พระทัยว่าการบำเพ็ญเพียรทางจิตเป็นหนทางให้บรรลุมรรคผลได้ จึงทรงอธิษฐานว่าแม้หนัง เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไป เมื่อยังไม่บรรลุจักไม่ยอมหยุดความเพียรนั้น ซึ่งการกระทำของพระองค์แสดงถึงความเด็ดเดี่ยวเยี่ยงมหาบุรุษที่ยากจะหาผู้ใด เสมอเหมือนได้           

2. ทรงฝึกตนด้วยการอดทนต่อเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ ตลอดช่วงเวลาที่เผยแผ่คำสอน เช่น ทรงอดทนต่อการถูกนางจิญจมานวิก กล่าวร้ายว่าเป็นผู้ทำนางท้อง ทรงใช้ความอดทนเป็นเครื่องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ จนหลุดพ้นจากเหตุการณ์ร้าย

3. ทรงมุ่งเน้นหลักไตรสิกขา คือ หลักการฝึกฝนอบรมตนในพระพุทธศาสนา หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นหลักการย่อของมรรคมีองค์ 8 ทรงฝึกมาอย่างสมบูรณ์ ทำให้ได้อิสรภาพภายในคือ พระนิพพาน พระองค์ไม่เพียงแต่ฝึกตนเองเท่านั้นแต่ยังฝึกคนอื่นได้อย่างดีเยี่ยมด้วย

พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอย่างไร

การธำรงรักษาพระพุทธศาสนาต้องอาศัยการสังคายนาพระธรรมวินัย เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่สืบไป มิให้พระธรรมวินัยเกิดความผิดเพี้ยน ในสมัยหลังพุทธกาลไม่นาน การสืบทอดพระพุทธศาสนาอยู่ในรูปของการบอกเล่าสู่กันฟัง และช่วยกันจดจำในหมู่พระเถระ เรียกว่า “มุขปาฐะ”

พระพุทธเจ้า บริหารศาสนาอย่างไร

ในสมัยพุทธกาล การบริหารพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงใช้สิกขาบทเป็นเครื่องมือ ในการบริหารคณะสงฆ์ และทรงบริหารด้วยพระองค์เอง ภายในคณะสงฆ์ที่จัดแบบเรียบง่าย เมื่อพระสงฆ์มีจำนวนมากขึ้น สังฆมณฑลแพร่หลายไปในวงกว้าง ก็มีการกำหนดหน้าที่โดยใช้ วิธีการที่ผู้มีอาวุโสกว่าและบวชมานานกว่าเป็นผู้ดูแลผู้เข้ามาใหม่และผู้อ่อนอาวุโสกว่า พระ ...

วิธีทำนุบำรุงศาสนาพุทธให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างไรบ้าง

สิ่งหนึ่งที่ชาวพุทธควรทำนอกจากการดำรงชีพก็คือการบำรุงพระพุทธศาสนา หมายถึงการทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง เจริญ เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกได้จริง ปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะบำรุงศาสนาได้จริง วิธีปฏิบัติคือการที่ตัวเองปฏิบัติเองให้เป็นคนดีมีศีลธรรม หรือช่วยเหลือกิจพระศาสนา บำรุงวัดวาอาราม เลี้ยงพระเจ้าพระสงฆ์ เป็นต้น...

พระพุทธเจ้าทรงมีหลักธรรมในการเป็นนักบริหารอย่างไร

เมตตา คือ การเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา กรุณา คือ การช่วยเหลือ มุทิตา คือ รู้สึกยินดีหรือดีใจ และ อุเบกขา คือ การวางเฉยกับปัญหาที่เล็กน้อย หลักธรรมแห่งความเป็นจริง "อริยสัจ 4" ทุกข์คือ ปัญหาที่เกิด สมุหทัย คือ สาเหตุแห่งปัญหา นิโรธ คือ การดับปัญหา และมรรค คือ การแก้ไข ปัญหา