นักเรียนมีวิธีดูแลสมบัติส่วนตัวได้อย่างไร

       3. การช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางอากาศ  โดยการลดมลพิษในอากาศ  เช่น  การไม่เผาขยะ  หรือการกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ  ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้อยู่ในสภาพปกติ  ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรของโรงงานต่างๆ เพื่อไม่ให้ปล่อยควันพิษสู่อากาศ  หรือการลดใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพีช  เป็นต้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น โรงพยาบาลเวชธานี บอก ว่า โดยธรรมชาติของเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาล เขายังห่วงเล่น และมักจะเพลิดเพลินกับการเล่นจนอาจหลงลืมกับของใช้ส่วนตัวก็เป็นได้

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงความรับผิดชอบ และการจัดการเพื่อดูแลรักษาสิ่งของของเด็กวัยดังกล่าว ยังไม่สามารถรับผิดชอบ และจัดการได้ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ควรสอน และปลูกฝังให้ลูกมีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปี เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าสังคมเพื่อน

"ก่อนที่พ่อแม่จะลงโทษเด็กว่าไม่รักษาของให้ดี ควรมองปัญหาออกเป็น 2 ด้าน ซึ่งจริงอยู่ เด็กบางคนอาจไม่ดูแลรักษาของให้ดี แต่ในบางคนอาจถูกเพื่อนร่วมชั้นขโมยสิ่งของไปก็เป็นได้ ซึ่งในส่วนหลังนี้ หากหายบ่อยจนผิดสังเกต คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปคุยกับครูประจำชั้นเพื่อหามาตรการป้องกันต่อไป" จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นรายนี้กล่าว

อย่างไรก็ดี ในการปรับแก้พฤติกรรม และปลูกฝังให้ลูกมีนิสัยรักษาสมบัติส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องเรียน หรือสิ่งของอื่น ๆ จิตแพทย์เด็กท่านนี้ได้ให้แนวทางง่าย ๆ สำหรับพ่อแม่ ดังต่อไปนี้

- คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกเห็นก่อน ด้วยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ เก็บของให้เป็นที่เป็นทาง ไม่วางระเกะระกะขวางทางเดิน

- ก่อนลูกไปโรงเรียนทุกวันควรมีการคุยกับลูกว่า วันนี้นำอุปกรณ์เครื่องเรียนอะไรไปโรงเรียนบ้าง เมื่อกลับถึงบ้านพ่อแม่ต้องคอยตรวจดูด้วยว่า ลูกนำกลับมาบ้านครบหรือไม่ เป็นการฝึกลูกให้รู้จักตรวจสอบความเรียบร้อยของสิ่งของทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ

หากลูกนำกลับมาไม่ครบ ควรจะสื่อสารกับคุณครูเพื่อไปถามหาของคืนในวันต่อไป แต่ถ้าลูกหยิบของเพื่อนติดมาด้วย ควรบอกให้ลูกนำไปคืนเพื่อนที่โรงเรียน

- ไม่ควรให้ลูกนำอุปกรณ์เครื่องเรียนไปโรงเรียนมากจนเกินความจำเป็น และสอนจัดเก็บให้เป็นสัดส่วนเพื่อง่ายต่อการเก็บ และการค้นหา

- ฝึกลูกรู้จักเก็บผ่านการเล่นของเล่น โดยมีพ่อแม่คอยบอก หรือลงไปช่วยเก็บใส่กล่องร่วมกับลูกหลังเล่นเสร็จ หากลูกเก็บเข้าที่เรียบร้อย ควรให้คำชื่นชมทันที เพื่อเสริมแรงให้ลูกรู้สึกอยากที่จะเก็บของให้เป็นระเบียบในครั้งต่อไป ช่วยลดพฤติกรรมเล่นทิ้งเล่นขว้างได้ไม่น้อย

- ในกรณีที่เด็กโตขึ้นมาหน่อย หากมีนิสัยขี้ลืม หรือชอบทำของหายอยู่บ่อยครั้ง อาจต้องใช้วิธีหักเงินค่าขนมในบางส่วน เพื่อให้เด็กไม่เคยชินกับการทำของหาย และได้ของใหม่ในทันที เป็นวิธีช่วยให้เด็กรู้จักหวง และรักษาของวิธีหนึ่ง

"หากแก้พฤติกรรมลูกไม่ได้ผล เด็กอาจมีภาวะอื่นแทรกซ้อนอยู่ก็เป็นได้ เช่น สมาธิสั้น สมองบกพร่อง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาประเมินกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และหาทางแก้ไขกันต่อไป" จิตแพทย์เด็กฝากทิ้งท้าย

รักษาสมบัติส่วนรวม

กรกฎาคม 06, 2560

       รักษาสมบัติส่วนรวม

ชาย โพธิสิตา (2540: 14 – 15) แบ่งองค์ประกอบของจิตสาธารณะจากงานวิจัยของลัดดาวัลย์  เกษมเนตร (2546: 2 – 3) ที่ศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพราะองค์ประกอบดังกล่าวสอดคล้องกับพัฒนาการทางด้านต่างๆ ของเด็กวัยที่ผู้วิจัยศึกษาและสมบัติของส่วนรวมที่ผู้วิจัยศึกษาในครั้งนี้ เป็นสมบัติส่วนรวมที่อยู่ในโรงเรียน ทั้งสมบัติส่วนรวมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งแบ่งองค์ประกอบของจิตสาธารณะเป็น 3 องค์ประกอบ 6 ตัวชี้วัด คือ

1. การหลีกเลี่ยงการใช้ หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสมบัติของส่วนรวมในโรงเรียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม หมายถึง การกระทำของนักเรียนในการรักษาทรัพย์สินการดูแลรักษาความสะอาด การไม่ทำลายทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติในโรงเรียน ทั้งในห้องเรียนเช่น โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ ชั้นวางหนังสือ ถังขยะ ไม้กวาด เป็นต้น และสมบัตินอกห้องเรียน เช่น ห้องอาหาร ห้องสุขา ห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องสมุด สวนหย่อมในบริเวณโรงเรียน สนามเด็กเล่น เป็นต้น โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัดคือ

     1.1 การดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมในโรงเรียน คือ เมื่อมีการใช้แล้ว มีการเก็บรักษา ใช้แล้วเก็บเข้าที่เดิม การไม่ทิ้งเศษขยะในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน การไม่ขีดเขียนหรือทำลายวัสดุและอุปกรณ์ในห้องเรียนและในโรงเรียน เพื่อให้ของส่วนรวมอยู่ในสภาพดี เช่น การใช้ไม้กวาดแล้วเก็บเข้าที่เดิม การใช้หนังสือในห้องสมุดแล้วเก็บเข้าที่ การใช้อุปกรณ์กีฬาแล้วนำส่งคืน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วปิดเครื่องและจัดเข้าที่เดิม

     1.2 ลักษณะของการใช้ คือ การใช้ของส่วนรวมในโรงเรียนอย่างประหยัด ใช้อย่างทะนุถนอม ใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ของส่วนรวมมีความคงทนใช้ได้นาน เช่น การเปิดอ่านหนังสือเบาๆ การใช้แก้วน้ำรองน้ำดื่ม การปิดไฟและพัดลมก่อนออกจากห้อง การใช้แป้นเครื่องคอมพิวเตอร์เบาๆ

2. การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึง การมุ่งปฏิบัติเพื่อส่วนรวมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในโรงเรียน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่ตนสามารถทำได้ โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัด คือ

     2.1 การปฏิบัติตามหน้าที่ ที่ถูกกำหนดในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวม ในโรงเรียน คือ การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการให้ดูแลรักษาสมบัติของโรงเรียน เช่น การทำหน้าที่เวรทำความสะอาดห้องเรียน การทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนการดูแลห้องสมุด และการดูแลห้องปฏิบัติการอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย

     2.2 การอาสาปฏิบัติหน้าที่บางอย่างเพื่อส่วนรวมในโรงเรียน คือ การช่วยทำหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ เช่น การอาสานำขยะไปทิ้ง การอาสาช่วยเก็บสิ่งของ การอาสากวาดห้องเรียนหรือบริเวณโรงเรียน

3. การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมในโรงเรียนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นมาเป็นของตนเอง ตลอดจนไม่ปิดกั้นโอกาสของบุคคลอื่นที่จะใช้ของส่วนรวมนั้น หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึง การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวม โดยวัดได้จาก 2 ตัวชี้วัด คือ

     3.1 การไม่ยึดครองของส่วนรวมในโรงเรียนมาเป็นสมบัติของตนเองคือ การไม่นำสมบัติของโรงเรียนมาเก็บไว้ที่ตน เช่น การไม่นำสีของโรงเรียนไประบายภาพที่บ้านการไม่นำอุปกรณ์กีฬาไปเล่นที่บ้าน

     3.2 การแบ่งปัน หรือการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ของส่วนรวมในโรงเรียน คือ การแบ่งปันสิ่งของกับผู้อื่น การไม่แสดงอาการหึงหวงสมบัติของส่วนรวม เช่น การไม่นำหนังสือห้องสมุดมาเก็บไว้ที่ตนหลายๆ เล่ม การเปลี่ยนให้เพื่อนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อตนใช้เสร็จๆ