เศรษฐศาสตร์ ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร

เมื่อชีวิตเต็มไปด้วยตัวเลือก! มาฟังวิธีตัดสินใจเลือกให้ไม่พลาดแบบนักเศรษฐศาสตร์ กับ ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ที่ทำให้ทุกคนสามารถนำหลักเศรษฐศาสตร์มาปรับมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เป็นกลยุทธ์การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาประยุกต์ในการวางแผนการเงินช่วงโควิด หรือในภาวะปกติได้

ในช่วงที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก การปรับตัวยุค New Normal เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องสุขอนามัย แต่เป็นเรื่องของการเงิน ที่ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ และเลือกอย่างชาญฉลาด ซึ่งเราสามารถนำแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์มาใช้ได้ นั่นก็คือ การคำนวณต้นทุนค่าเสียโอกาสเพื่อพิจารณาตัวเลือกที่มีอยู่ เป็นหลักการนำทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Show

ตัวอย่างเช่น หากว่าเราจะเลือกรับประทานระหว่างสลัดกับข้าวขาหมู ถ้าเราเลือกข้าวขาหมู เราอาจจะต้องไปออกกำลังกายเพิ่มเติม เพื่อเผาผลาญปริมาณแคลอรีให้เท่ากับที่ได้รับมา ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ทางเลือกไม่มีถูกหรือผิด เพียงแต่จะก่อให้เกิดผลที่ตามมาแตกต่างกันออกไป หรือในกรณีที่เราเลือกซื้อสิ่งของชิ้นที่มีราคาแพงกว่า อาจจะทำให้เราต้องประหยัดอดออมมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้คือเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การวางแผนการเงินในช่วงโควิด หรือในช่วงวิกฤตต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้และเตรียมตัวอยู่เสมอ เพราะแม้วิกฤตการณ์นี้จะผ่านไป แต่อีกไม่นานก็จะมีวิกฤตใหม่ ๆ เข้ามาอีกเป็นวัฏจักร เราต้องต้องเรียนรู้ และเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งด้านการเงิน สุขภาพ และการงาน

ในอนาคตโลกกำลังเปลี่ยนไป เป็นโลกที่มีความยืดหยุ่น ทุกคนจึงต้องมีทักษะในหลาย ๆ ด้าน และต้องสามารถปรับตัวที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงที่สำคัญ เพราะทุกอย่างมีความไม่แน่นอนซ่อนอยู่เสมอ เราจึงไม่ควรประมาทเป็นอันขาด

นอกจากนี้ เราต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การออมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะวิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้เราทราบว่า การมีเงินสำรองมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ถ้าเราไม่มีเงินออมสำรองเก็บไว้เมื่อยามฉุกเฉินอาจจะทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้

การรู้จักเตรียมตัว และเรียนรู้ที่จะปรับตัว จะช่วยให้ทุกคนอยู่รอด เพราะจากประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะในช่วงยุคไหนก็ตาม ผู้ที่อยู่รอด ไม่ใช่ผูู้ที่แข็งแกร่งที่สุด แต่หมายถึงผู้ที่มีการเตรียมพร้อม และมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

และนี่คือประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ที่ ดร.สมประวิณ แนะนำ และอยากให้ทุกคนนำมาปรับใช้ ไม่เพียงแค่ในเรื่องของการวางแผนการเงินในช่วงโควิด แต่เป็นทุกช่วงของชีวิต ใครสนใจสามารถติดตามได้ใน Krungsri Plearn เพลิน Episode นี้


ติดตาม Krungsri Plearn เพลิน Podcast เรื่องชีวิตคิดให้ง่าย ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้  

เศรษฐศาสตร์ ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
เศรษฐศาสตร์ ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
เศรษฐศาสตร์ ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
เศรษฐศาสตร์ ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร

ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

1. ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้ รู้จักออม
2. เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุด
3. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
4. ใช้ความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน การค้ากับต่างประเทศได้

กล่าวโดยสรุปวิชาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มบุคคล
อย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ

(1) ในฐานะนักศึกษา : ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทและเป็นความหวังของสังคม
โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา วิชาเศรษฐศาสตร์ย่อมช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในปัญหาและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ มีความรู้ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ทั้งของตนเองและประเทศชาติ
(2) ในฐานะผู้ใช้วิชาชีพ : นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความรู้จากวิชาเศรษฐศาสตร์ย่อม
สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการวิเคราะห์ คาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานทั้งของภาคธุรกิจและภาครัฐ สามารถนำข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
(3) ในฐานะผู้บริหารงาน : ทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐ การได้รับข้อมูล ข่าวสาร
ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้อง สามารถที่จะนำใช้ประกอบในการกำหนดเป้ าหมาย แผนงานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจการมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง

อ้างอิง : ธนพัต จันดาโชติ, “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ,” ใน เอกสารประกอบการสอน
วิชาเศรษฐกิจกับการดำเนินชีวิต (Economy and Living) บทที่ 1 คณะการบัญชีและการจัดการ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2558.
เข้าถึงได้จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0001065/admin/learn.html

งานนำเสนอเรื่อง: "เศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน
รายวิชา : week 01

2 พูดถึงเศรษฐศาสตร์ นึกถึงอะไรดี ???
พูดถึงเศรษฐศาสตร์ นึกถึงอะไรดี ???

3 บทที่ 1 เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ชีวิตประจำวันของคนเรา แต่ละคนนั้น เริ่มต้นและจบลง ด้วยปัญหาเศรษฐกิจ เช่น เช้ากินอะไรดี /ต้องทำอะไร /วันนี้ไป ไหน /ไปโดยรถอะไร /ใส่ชุดไหน /

4 บทที่ 1 เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
เราต้องคิดและตัดสินใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง มากที่สุด ดังนั้นเศรษฐศาสตร์ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ของมนุษย์

5 ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) คือ “วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด”

6 ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
การตัดสินใจบางครั้งต้องใช้เวลาสั้นและเร่งรีบ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยคำนึงว่า “คุ้ม” หรือไม่

7 2. ความสำคัญ ของวิชาเศรษฐศาสตร์
2.1 เป็นเครื่องมือใช้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ

8 2. ความสำคัญ ของวิชาเศรษฐศาสตร์
2.2 นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น 1) เลือกซื้อสินค้า ช่วยตัดสินใจ 2) ควบคุมค่าใช้จ่าย ภายในครอบครัว

9 2. ความสำคัญ ของวิชาเศรษฐศาสตร์
2.3 เกิดความรู้และเข้าใจในปัญหา 2.4 ทำนายหรือคาดคะเน เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2.5 กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ทั้งใน ระดับภาครัฐบาล และธุรกิจเอกชน 2.6 ประชาชนทำความเข้าใจต่อเรื่องราว เศรษฐกิจของประเทศ 2.7 นักธุรกิจและนักบริหาร ใช้ความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องราวทาง เศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้องและมากพอ ทำให้สามารถตัดสินใจและ ดำเนินธุรกิจไปในแนวทางที่ถูกต้อง

10 3. มูลฐานที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์
เพราะทรัพยากรที่มีอยู่มีจำนวนน้อย หรือ ขาดแคลน เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการของมนุษย์ แนวคิดเพื่อ ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์จึงเกิดขึ้น หลักการ คือ ทางเศรษฐศาสตร์ จะเลือกแนวทางในการใช้ ทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัด ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ Process Output/Outcome Input = Resource น้อยที่สุด มากที่สุด เรียกว่าใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

11 4. ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์
1. ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ 2. แรงงาน (Labor) แรงงานสัตว์ทุกชนิด ไม่ถือว่าเป็น แรงงานในความหมายนี้ แต่จะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการผลิต โดยถือว่าเป็นปัจจัยทุน ในข้อถัดไป 3. ทุน (Capital) หมายถึงปัจจัยที่เกื้อกูลหรือช่วยเหลือในการผลิต 4. ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เป็นผู้ที่รวบรวมปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เพื่อทำการผลิต

12 5. ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์
ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ อาจอยู่ในรูปของตัวเงิน หรือไม่ก็ได้ ผลตอบแทนของปัจจัยการผลิตแต่ละประเภทมีดังนี้ ที่ดิน = ค่าเช่า แรงงาน = ค่าจ้าง ทุน = ดอกเบี้ย ผู้ประกอบการ = กำไร

13 6. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (The Basic Economic Problems)
“จะจัดสรรทรัพยากรอย่างไร จึงตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุด” นี่คือปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย ปัญหาจะผลิตอะไร (What goods to be produced) ปัญหาจะผลิตอย่างไร (How to produced) ปัญหาว่าจะผลิตเพื่อใคร (For Whom)

14 7. แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. เศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม กลไกราคาเป็นผู้กำหนด 2. เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ กลไกรัฐจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ 3. เศรษฐกิจแบบผสม ใช้ทั้งกลไกราคา และกลไกรัฐร่วมกันไป

15 8. ประเภทของระบบเศรษฐกิจ
แบ่งได้ 3 ประเภท 1. แบบทุนนิยม 2. แบบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ 3. แบบผสม ทั้งสามระบบเศรษฐกิจ ต่างประสบปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ เหมือนกัน (ผลิตอะไร อย่างไร เพื่อใคร) แล้วแต่ละระบบจะ แก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร

16 9.ระดับของการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์
สามารถแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) ศึกษาลักษณะและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วย เศรษฐกิจย่อย ในระบบเศรษฐกิจใหญ่ เช่น หน่วยผลิต ,หน่วยธุรกิจ , ผู้ผลิต , ผู้บริโภค ,ปัจจัยการผลิต ตัวอย่างทฤษฎี เช่น ทฤษฎีผู้บริโภค ,ทฤษฎีผู้ผลิต ,ทฤษฎีราคา

17 9.ระดับของการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ ได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม การลงทุนของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินการคลัง ของประเทศ ตัวอย่างหัวข้อที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค เช่น รายได้ประชาชาติ , ระดับราคาสินค้า , ระดับการจ้างงาน , การหารายได้และรายจ่ายของรัฐบาล ฯลฯ

18 10. ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการที่เราต้องเสียสละกิจกรรมหรือ สิ่งบางอย่างออกไป เมื่อเราต้องเลือกทำ กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแทน เราเรียกว่า การเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส Unlimited Wants Limited Resources Scarcity Choice Opportunity Cost

19 Dr.A Dr.B

20 เราใช้เศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจ มากมายหลายอย่างในชีวิตประจำวัน

21 แบบฝึกหัด เศรษฐศาสตร์หมายถึงอะไร
เศรษฐศาสตร์มีความสำคัญอย่างไรต่อ นักศึกษา ครอบครัว ประเทศชาติ สาเหตุที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์มีอะไรบ้าง ประเภทของระบบเศรษฐกิจมีกี่ประเภทอะไรบ้าง เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคแตกต่างกันอย่างไร จากบทเรียนนักศึกษาใช้ความรู้ประกอบการตัดสินใจเรื่อง อะไรบ้างบอกมา 5 เรื่อง พร้อมอธิบายเรื่องละ 5 บรรทัด

22 แบ่งกลุ่ม เตรียมนำเสนอกิจกรรม เพื่อเด็ก และสังคม
จัดทำโครงการช่วยเหลือสังคม โดยฝึกให้นักศึกษาตระหนักถึงการ ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า การดูแลสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิต ประจำวันโดยมีการใช้จ่ายอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี คุณธรรมจริยธรรม โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ ใช้ เน้นกิจกรรมที่ลงแรงเยอะๆ ลงเงินน้อยๆ เช่น โครงการสอนน้องออม อ่านหนังสือให้คนตาบอด

23 อ้างอิง ภาณุมาศ สนโศรก และคณะ. เอกสารการสอนเศรษฐศาสตร์สำหรับนักธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม , สมพงษ์ อรพินท์ และคณะ. เศรษฐศาสตร์สำหรับชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , วันที่ 31 พ.ค วันที่ 27 พ.ค.2553.

เศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีกิจกรรมอะไรบ้าง

ได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม การลงทุนของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินการคลัง ของประเทศ ตัวอย่างหัวข้อที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค เช่น รายได้ประชาชาติ, ระดับราคาสินค้า , ระดับการจ้างงาน , การหารายได้และรายจ่ายของรัฐบาล ฯลฯ

เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร

เศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของบุคคลในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารประเทศไปจนถึงประชาชนทั่วๆไป การศึกษาเศรษฐศาสตร์ จะช่วยฝึกวิธีคิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับปัญหา การตัดสินใจ เลือกใช้ทรัพยากรก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ ด้านต่างๆ อาจจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคล แต่ละคน หรือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ...

การศึกษาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมอย่างไร

เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึงวิธีการนาเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดมาผลิตสินค้า และบริการจาแนกแจกจ่ายไปบาบัดความต้องการของทุกคนในสังคม เป็นความรู้ที่แทรกอยู่ใน ชีวิตประจาวันของทุกคน ดังนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสาคัญต่อบุคคลทุกกลุ่ม ดังนี้ 1. เศรษฐศาสตร์จะช่วยให้การจัดทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุดและยุติธรรมเพื่อสนอง ...

ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ได้จําแนกวิชาเศรษฐศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง

แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ ในปัจจุบัน การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์แบ่งเป็น 2 แขนงหลัก คือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล ครัวเรือน เป็นการศึกษา เฉพาะส่วนย่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง ๆ เช่น พฤติกรรมของตลาด กลไกราคา (อ่านเพิ่มเติมจากบทที่ 3) 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)