การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

การจัดการขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียกในครัวเรือน

sureemart.m Mon, 26/04/2021 - 10:19

ความรู้ทั่วไป

การจัดการขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียกในครัวเรือน

​​​​​​​

การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ภาพประกอบข้อ 1

  1. จัดเตรียมภาชนะ หรือเศษวัสดุภาชนะเหลือใช้เช่น ถังสีถัง พลาสติกใช้แล้ว ขนาดของ ภาชนะขึ้นอยู่กับปริมาณขยะใน ครัวเรือน หากมีมากก็ใช้ภาชนะ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามความ เหมาะสม (ภาชนะที่ใช้อาจเป็น ถังพลาสติกหรือภาชนะอื่นๆ ที่มี ฝาปิด)
     
    การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
    การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
                                      ​​​​​​​                         ภาพประกอบข้อ 2
     
  2.  เจาะรูหรือตัดภาชนะดังกล่าว ที่ก้นถังแล้วขุดหลุมขนาดความลึก 2 ใน 3 ส่วนของความสูงของ ภาชนะนำภาชนะที่เตรียมไว้ไปใส่ ในหลุมที่ขุด ทั้งนี้หากมีปริมาณขยะ อินทรีย์เกิดขึ้นมากและมีพื้นที่เหลือ สามารถทำได้มากกว่า 1 จุด

    ​​​​​​​
    การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
         ภาพประกอบข้อ 3
     
  3. นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ใบไม้ และเศษหญ้าที่ เหลือมาเทใส่ในถังที่ฝังไว้ และ ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด
     
    การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
                                                             ​​​​​​​ภาพประกอบข้อ 4
     
  4.  จุลินทรีย์ในดิน, ไส้เดือนใน ดินจะทำการย่อยเศษอาหารในภาชนะใ ห้กลายเป็นปุ๋ย (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปริมาณ ขยะเปียก) หากมีกลิ่นเหม็น สามารถเติมน้ำหมัก EM หรือ เอาเศษหญ้าและใบไม้ขนาดเล็ก มากลบผิวชั้นบน
     
    การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน
                                     ​​​​​​​                              ภาพประกอบข้อ 5
     
  5. เมื่อปริมาณเศษอาหารถึง ระดับเดียวกับพื้นดินที่ขุดไว้ ให้ เอาดินกลบ แล้วย้ายถังไปทำตามขั้นตอนเดิมที่จุดอื่นต่อไป

​​​​​​​

Rating

No votes yet

  • Log in to post comments
  • 2686 views

ขยะอินทรีย์ที่แท้จริง สามารถเป็นได้ทุกอย่างที่มาจากสวนของคุณโดยตรง เช่น พืช ดอกไม้ การตัดหญ้า วัชพืช และใบไม้ต่าง ๆ

การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

2. ขยะจากห้องครัว

ขยะอินทรีย์จากห้องครัว อย่างเช่น เปลือกไข่ เปลือกผัก และผลไม้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเปลือกส้ม เปลือกแอปเปิล เปลือกมะเขือเทศ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นขยะอิทรีย์ ที่นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ทั้งสิ้น

3. เศษอาหาร

อาหารที่เหลือใช้ และเนื้อสัตว์ที่เราทิ้ง เช่น เศษไก่ เศษหมู ต่าง ๆ ล้วนเป็นขยะอินทรีย์ทั้งสิ้น

การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

4. ผลิตภัณฑ์กระดาษ

ผ้าเช็ดตัวกระดาษ กระดาษแข็ง และกระดาษเขียนทุกชิ้น ถือว่าย่อยสลายได้ และปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม เมื่อถูกทำลาย กระดาษเหล่านี้มักถูกพิจารณาว่าเป็นวัสดุที่ดีในการทำปุ๋ยหมัก เพราะมันแตกตัวลงอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

5. ขยะจากมูลสัตว์

ขยะมูลฝอย มูลสัตว์ สิ่งปฏิกูล และแม้กระทั่ง ของเสียจากการฆ่าสัตว์ เป็นวัสดุเหลือใช้ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ทั้งหมด 

รู้ไหม? ขยะอินทรีย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ขยะอินทรีย์อุตสาหกรรม, ขยะเกษตรอินทรีย์  และ ขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ครัวเรือนมีสัดส่วนประมาณ 10% อุตสาหกรรม และการเกษตรคิดเป็น 40% และ 50% ตามลำดับ

การใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ หรือ ขยะย่อยสลาย

วิธีการจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน

การจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการจัดการขยะที่ต้นทาง สามารถนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ และลดปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนเข้าสู่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งการจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนสามารถดำเนินการด้วยวิธีการนำมาเลี้ยงสัตว์ การทำปุ๋ยหมัก หรือน้ำหมักชีวภาพ และการทำก๊าซชีวภาพ เป็นต้น

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร

ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร จะต้องมีเฉพาะเศษอาหารที่เป็นพืช ซึ่งจะไม่มีปัญหากลิ่นเหม็น สามารถนำไปคลุกกับปุ๋ยคอกในรางทำปุ๋ยหมักได้ แต่หากมีเนื้อสัตว์ จะส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นรุนแรง สำหรับบางครัวเรือนที่มีข้อจำกัดปริมาณเศษอาหารที่เกิดน้อย หากต้องการทำปุ๋ยหมัก จำเป็นต้องทำรางหมัก หรือหลุมหมัก แต่หากจะหมักในถังจะมีข้อจำกัดที่เต็มเร็ว

การทำรางหมัก ควรหาพื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้าน ขนาดพื้นที่ประมาณ 1×1 เมตร ลึกประมาณ 20-40 เซนติเมตร อาจน้อยกว่า หรืออาจมากกว่าตามความต้องการ แต่ควรให้รองรับเศษอาหารให้ได้ประมาณ 1 เดือน และควรทำ 2 ชุด พร้อมฉาบด้านข้างด้วยปูนซีเมนต์ แต่หากไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝน หรือน้ำไหลเข้า ก็อาจขุดเป็นบ่อดินก็เพียงพอ ทั้งนี้ ควรทำร่องด้านข้าง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้า และควรเตรียมผ้าใบคลุมเมื่อฝนตก

วิธีทำ

  • หลังจากที่เตรียมรางหมักแล้ว ให้เทปุ๋ยคอก และแกลบดำรองในรางไว้
  • เมื่อมีเศษอาหาร ให้นำมาใส่ในราง พร้อมใช้จอบคลุกผสมกับปุ๋ยคอก
  • รดด้วยน้ำหัวเชื้อชีวภาพ และกากน้ำตาลบริเวณที่ใส่เศษอาหารเล็กน้อย
  • หากมีเศษอาหารเกิดขึ้นอีก ก็นำมาคลุก และใส่น้ำหัวเชื้อ ตามด้วยกากน้ำตาลเรื่อย ๆ จนเต็มบ่อ
  • หากเต็มบ่อแล้ว ให้นำผ้าคลุกมาปิดไว้ และทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ก่อนตักออกนำไปใช้ประโยชน์
  • ระหว่างที่หมักทิ้ง ให้นำเศษอาหารที่เกิดในแต่ละวันมาหมักในอีกบ่อ ซึ่งจะเวียนกันพอดีในรอบเดือน
  • ทั้งนี้ บางครัวเรือนอาจไม่สะดวกในการหาซื้อหัวเชื้อหรือกากน้ำตาล ดังนั้น จึงไม่ต้องใช้ก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีปุ๋ยคอก หรือใช้ปุ๋ยอื่น เช่น ปุ๋ยมูลไก่
    ซึ่งส่วนนี้จำเป็นต้องใช้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีทำปุ๋ยหมัก แบบง่ายๆ เปลี่ยนขยะให้มีประโยชน์!

ขยะอินทรีย์ นอกจากทำเป็นปุ๋ย ยังสามารถทำอะไรได้อีก?

การกำจัดขยะอินทรีย์ในบ้านเรือน เทศบาล หรือโรงงานอุตสาหกรรมนั้นนอกจากจะนำมาหมักผลิตเป็นปุ๋ยแล้ว ยังสามารถที่จะกำจัด หรือใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ได้อีกหลายอย่าง ดังนี้

  1. ใช้เลี้ยงไส้เดือน
  2. เป็นถังข้าวหมู
  • การกำจัดขยะอินทรีย์โดยการเลี้ยงไส้เดือน

ไส้เดือนดินบางชนิดที่อยู่ในกลุ่มที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือเศษซากอินทรีย์วัตถุ สามารถนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์ และใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ต่าง ๆ มีหลายหน่วยงานที่ให้ความสนใจในการใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ โดยมีการประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายในการนำไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่เหมาะสมมาใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ในบ้านเรือน เทศบาล โรงงานอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน

แต่ขยะอินทรีย์บางชนิด ไม่เหมาะสมในการนำมาให้ไส้เดือนดินย่อยสลายในขั้นแรกจำเป็นต้องผ่านกระบวนการทำให้เหมาะสมก่อน เช่น การลดปริมาณน้ำที่มากเกินไป หรือการหมักเพื่อลดปริมาณความร้อน หรือเพื่อให้วัสดุเหล่านั้น มีความอ่อนนุ่มลงเหมาะแก่การย่อยสลายโดยไส้เดือนดิน

การเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ชุมชน

ภายในบ้านเรือน มักมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดขยะอินทรีย์จำนวนมาก เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหารเป็นประจำทุกวัน ขยะอินทรีย์ต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถเลี้ยงไส้เดือนดินไว้กำจัดภายในบริเวณบ้านได้ ด้วยชุดเลี้ยงที่สามารถทำเองได้ง่าย เช่น ถังน้ำ อ่างน้ำพลาสติก ลิ้นชักพลาสติก บ่อวงซีเมนต์ หรือสร้างโรงเรือนขนาดเล็ก โดยสามารถใส่เศษขยะอินทรีย์ได้ทุกวัน เมื่อไส้เดือนดินย่อยสลายขยะอินทรีย์เหล่านั้น จะได้น้ำหมัก และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินคุณภาพสูงไว้ใช้ปลูกพืชต่าง ๆ ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดภาระการจัดเก็บขยะของเทศบาลลงได้จำนวนมาก

การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

วิธีเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

  1. เตรียมบ่อวงซีเมนต์ที่เทพื้น และต่อท่อระบายน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน
  2. นำบ่อวงไปตั้งไว้ในบริเวณที่ไม่มีแสงแดด ไม่โดนฝน และอากาศถ่ายเทสะดวก
  3. ล้างบ่อวงซีเมนต์และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เพื่อลดความเค็มของปูน ซึ่งเป็นอันตรายต่อไส้เดือนดิน
  4. ใส่พื้นเลี้ยงในบ่อหนา 3 นิ้ว ใส่ไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม/พื้นที่บ่อ 1 ตร.ม.
  5. ทาสบู่รอบ ๆ ปากบ่อป้องกันไส้เดือนดินหนี
  6. ใส่เศษอาหาร เศษผัก หรือผลไม้เหลือทิ้งในบ้านลงไปในบ่อ เพื่อให้ไส้เดือนย่อยสลายต่อไป

พื้นเลี้ยงเตรียมจากดินร่วน 4 ส่วน ผสมกับมูลวัว 1 ส่วน หมักไว้ที่ความชื้น 80-90 % นาน 7 วัน หรือใช้น้ำ หมักมูลไส้เดือนเข้มข้น 10% รดน้ำทิ้งไว้ 1 วัน

วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ชุมชน

  1. สร้างโรงเรือนที่ป้องกันน้ำฝนได้ และมีการพรางแสงมีตาข่ายปิดโดยรอบ เพื่อป้องกันศัตรูไส้เดือน
  2. สร้างบ่อเลี้ยงกว้างประมาณ 1-2 เมตร สูง 0.8-1 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดโรงเรือน และต่อท่อระบายน้ำหมักออกจากพื้นบ่อ ไปยังบ่อเก็บน้ำหมัก ในจุดต่ำสุดของพื้นที่
  3. ใส่ดินที่พื้นบ่อเลี้ยงหนา 3 นิ้ว และใส่ไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม/พื้นที่บ่อ 1 ตารางเมตร
  4. ใส่ขยะอินทรีย์ให้ไส้เดือนดินย่อยสลายหนา 3 นิ้ว

  • โครงการถังข้าวหมู

โครงการถังข้าวหมูเป็นโครงการส่งเสริม ให้มีการคัดแยกขยะอินทรีย์และใบไม้มาทำปุ๋ย จากการศึกษาด้านองค์ประกอบของขยะมูลฝอย พบว่าขยะประเภทเศษอาหารและอินทรีย์สาร ล้วนอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และสัตว์ แต่ไม่ได้รับการจัดการที่ดีพอ ดังนั้น หากส่งเสริมให้ชุมชน โรงเรียน โรงแรม วัด ร้านอาหารและห้างสรรพสินค้า ทำการคัดแยกขยะประเภทนี้ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ถังข้าวหมู”

การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

เนื่องจาก สามารถนำไปเลี้ยงหมูได้ทั้งหมด เทลงในภาชนะที่ทางเทศบาลจัดหาให้ เพื่อนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ตามหลักวิชาการ แล้วนำไปแจกจ่ายเกษตรกรใช้บำรุงดิน และพืชผักผลไม้ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของเกษตรกร รวมทั้งลดอัตราเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ใช้ปลูกผัก ที่สำคัญพืชผักที่ปลอดภัย และอุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้ ในที่สุดแล้วปัญหาขยะล้นเมือง ก็จะได้รับการแก้ไขควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ อย่างลงตัว และยังได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน เป็นการลดจำนวนขยะในครัวเรือน ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือน และมีการจัดการขยะที่ต้นกำเนิด ลดปริมาณขยะที่ประชาชนนำมาทิ้งให้เทศบาลนำไปกำจัด

สินค้าแนะนำจาก SGE

เครื่องสับย่อย อเนกประสงค์ คุณภาพสูง สำหรับใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์เห็ด และอื่น ๆ ตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้มีขนาดพอเหมาะ ระบบการทำงานไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน กำลังการผลิตคุ้มทุน ช่วยลดต้นทุนค่าแรง นอกจากจะใช้สับหญ้าสด ยังสามารถใช้สับและบดวัสดุชนิดอื่น ๆ ได้ดีเยี่ยม