เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน ออมสิน

17 ก.ย. 2564 เวลา 22:05 น. 4.8k

Show

สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารออมสิน “กู้ปีนี้ ผ่อนปีหน้า” ปลอดเงินต้น-ดอกเบี้ยนาน 6- 9 เดือน เช็คเลยเกณฑ์เงื่อนไขการขอกู้

18 ก.ย.64 ธนาคารออมสิน ออกแคมเปญสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกู้ปีนี้ ผ่อนปีหน้า”ปลอดเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 9 เดือน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการผ่อนบ้านและหนี้ให้กับผู้กู้ที่ต้องแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่สูง ในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อรายได้ 

สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารออมสิน มีให้เลือก 2 แบบ เงื่อนไขดอกเบี้ย ดังนี้

1.แบบปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 0% นาน 9 เดือน 

  • เดือนที่ 10-12 ผ่อนล้านละ 2,000 บาท ( เฉลี่ยดอกเบี้ย 1.80%ต่อปี )
  • ปีที่ 2  ดอกเบี้ย 3.525% ต่อปี
  • ปีที่ 3  ดอกเบี้ย MRR- 2.72% เท่ากับ 3.525%ต่อปี ( ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.50%ต่อปี )
  • ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% เท่ากับ 4.995% ต่อปี 
  • ฟรีค่าธรรมเนียมบริการสินเชื่อและจัดทำนิติกรรมสัญ

หมายเหตุ : อนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาภายในวันที่ 29 ต.ค.64

2.แบบปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน  

  • เดือนที่ 7-12 ผ่อนล้านละ 1,500 บาท (ดอกเบี้ย 1% ต่อปี)
  • ปีที่ 2 - ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3.525% ต่อปี  (ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เท่ากับ 2.50% ต่อปี)
  • ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-1.25% เท่ากับ 4.995% ต่อปี 
  • ฟรีค่าธรรมเนียมบริการสินเชื่อและจัดทำนิติกรรมสัญญา

หมายเหตุ : อนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธ.ค.64

 : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือ MRR ของธนาคารออมสิน ปัจจุบันอยู่ที่ 6.245% 
 

เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน ออมสิน

ทั้งนี้ลูกค้าที่รีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารออมสิน ยังได้สิทธิในการกู้เพิ่มเติม"เพื่ออุปโภคบริโภค" รวมวงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท มีทั้งเงินกู้ระยะยาว (LT) ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก จากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษเริ่มต้นที่ 3.90% ต่อปี และวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (OD) อัตราดอกเบี้ยปีแรก 3.75% หลังจากนั้นคิด MOR+1.00% ต่อปี (MOR ธนาคารออมสินปัจจุบัน = 5.995%) 

เงื่อนไขระยะเวลาชำระเงินกู้

กรณีกู้เพื่อไถ่ถอนจำนองสัญญากู้เพื่อที่อยู่อาศัย 

- ไม่เกิน 40 ปี นับตั้งแต่เดือนที่ต้องชำระเงินกู้และดอกเบี้ยงวดแรกตามที่กำหนดในสัญญา และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี ยกเว้นเจ้าของกิจการที่สามารถพิสูจน์รายได้ที่แน่นอน เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

กรณีสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค

ไม่เกิน 15 ปี นับตั้งแต่เดือนที่ต้องชำระเงินกู้และดอกเบี้ยงวดแรกตามที่กำหนดในสัญญาและเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 65 ปี

คุณสมบัติผู้กู้

  • เป็นผู้ฝากเงินประเภทเผื่อเรียกของธนาคาร
  • เป็นลูกค้าที่มีสัญญากู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยกับสถาบันการเงินอื่น
  • มีประวัติการชำระนี้ดี โดยในระยะเวลาย้อนหลัง 1 ปี ไม่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้
  • มีอาชีพและรายได้แน่นอน

เอกสารประกอบการกู้ยืม

เอกสารสำหรับผู้กู้หลัก / ผู้กู้ร่วม

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สลิปเงินเดือน (เดือนล่าสุด) กรณีไม่มีสลิปเงินเดือนใช้หนังสือรับรองเงินเดือน อายุไม่เกิน 2 เดือน
  • สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนล่าสุด

เอกสารหลักประกัน

  • สำเนาโฉนดที่ดินทุกหน้า หรือสำเนา นส. 3 ก ทุกหน้า หรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด หรือ อ.ช.2 ทุกหน้า
  • สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง หรือสำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างบ้านหรือสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน ทด.13 หรือสำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุด อ.ช.23
  • สำเนาใบเสร็จการชำระค่างวดสินเชื่อบ้านที่ต้องการรีไฟแนนซ์ฉบับล่าสุด (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
  • สำเนาสัญญาเงินกู้จากธนาคารเดิม

ที่มา : ธนาคารออมสิน

การรีไฟแนนซ์บ้านก็เหมือนการขอสินเชื่ออีกครั้งหนึ่งกับธนาคารใหม่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ธนาคารใหม่เขาก็อยากจะตรวจสอบตัวตนของเราว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ธนาคารกำหนดหรือไม่ ด้วยการขอเอกสารต่างๆ ไปพิจารณา ซึ่งโดยปกติแล้วแต่ละธนาคารจะขอเอกสารที่คล้ายกัน แต่ก็ไม่ถึงกับเหมือนกันทั้งหมด

ดังนั้น ในบทความนี้จะพูดถึงเอกสารรีไฟแนนซ์บ้านหลักๆ ที่ต้องเตรียมซึ่งใช้ได้เกือบทุกธนาคาร แต่ถ้าหากมีธนาคารไหนที่ต้องการมากกว่านี้จริงๆ ค่อยไปเตรียมเพิ่มเอาตามที่ธนาคารขอได้เลยครับ

เอกสารรีไฟแนซ์บ้าน ที่ต้องเตรียมทั้งหมด 3 ประเภท

เอกสารรีไฟแนนซ์จะมีทั้งหมด 3 ประเภทครับ ซึ่งประกอบไปด้วย เอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคล, เอกสารแสดงรายได้, เอกสารด้านหลักประกัน โดยในเอกสารรีไฟแนนซ์แต่ละประเภทก็จะมีเอกสารย่อย ๆ อีกมากมาย แต่ไม่ต้องห่วงไปครับ เราไปดูกันทีละตัวกันดีกว่า

เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน ออมสิน

1. เอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคล

เอกสารรีไฟแนนซ์ประเภทนี้จะเป็นเอกสารเกี่ยวกับผู้กู้ เพื่อให้ธนาคารสามารถยืนยันตัวตนได้ว่า เป็นตัวผู้กู้จริงๆ ไม่ใช่บุคคลอื่นมาแอบอ้าง โดยส่วนใหญ่เอกสารประเภทนี้จะประกอบด้วย

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  4. สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส (ถ้ามี)
  5. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี) / หย่า (ถ้ามี)
  6. สำเนาใบมรณบัตร และทะเบียนสมรสของคู่สมรส (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)

*ถ้ามีผู้กู้ร่วม ต้องให้ผู้กู้ร่วมเตรียมเอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคล เช่นเดียวกันนะครับ

2. เอกสารแสดงรายได้

ในส่วนนี้จะเป็นส่วนหลักที่ธนาคารใช้พิจารณาว่าเราเข้าเงื่อนไขของธนาคารหรือไม่ เพราะสามารถแสดงสถานะการเงิน รายได้ และประวัติการเดินบัญชี ซึ่งเอกสารประเภทนี้จะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

2.1 กรณีบุคคลมีรายได้ประจำ

  1. สลิปเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน หรือหนังสือรับรองการทำงาน
  2. สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
  3. หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ (ถ้ามี)
  4. สำเนารับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) (สำหรับบางธนาคารเท่านั้น)

2.2 กรณีบุคคลที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว

  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน/ใบทะเบียนการค้า
  2. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้/ผู้กู้ร่วม
  3. สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 12 เดือน (ทั้งในนามบุคคล และกิจการ)
  4. สำเนา ภ.พ. 30 (ถ้ามี) หรือ ภงด. 50/51 ย้อนหลัง 5 เดือน (ถ้ามี)

*ถ้ามีผู้กู้ร่วม ต้องให้ผู้กู้ร่วมเตรียมเอกสารแสดงรายได้ เช่นเดียวกันนะครับ

**สำหรับเอกสารประเภทนี้ บางธนาคารที่เข้มงวดอาจจะขอไม่เท่ากันนะครับ เช่น สำเนาบัญชีย้อนหลัง ขอนานถึง 12 เดือน

3. เอกสารด้านหลักประกัน

จะเป็นเอกสารที่ยืนยันความเป็นเจ้าของหลักประกันที่จะนำมารีไฟแนนซ์ ซึ่งมีทั้งเอกสารจากธนาคารเดิม และเอกสารจากกรมที่ดิน ประกอบด้วย

  1. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2)
  2. สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน ทด.13 หรือ สัญญาให้ที่ดิน ทด.14 หรือ สัญญาซื้อขายห้องชุด
  3. สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน หรือ สำเนาสัญญาจำนองห้องชุด
  4. สำเนาสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินเดิม
  5. สำเนาใบเสร็จผ่อนชำระค่างวดบ้าน หรือ ถ้าผ่อนชำระแบบตัดค่างวดอัตโนมัติ ให้ใช้ รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 12 เดือน

จะเห็นว่าเอกสารที่ใช้นั้นไม่ได้แตกต่างไปกับการยื่นกู้บ้านใหม่เท่าไหร่นัก จะมีเพิ่มเติมก็คือเอกสารด้านหลักประกันที่ได้มาหลังจากจำนองกับกรมที่ดินตอนซื้อบ้านหรือคอนโดแล้ว และสัญญาเงินกู้กับธนาคารเดิมนั่นเอง

เรื่องอื่น ๆ ที่ควรรู้นอกเหนือจากเอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน คือ อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรเข้าใจและให้ความสำคัญ เพราะว่า ถ้าเราเข้าใจและเตรียมตัวตามขั้นตอนเหล่านี้ มันจะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราผ่อนบ้านหมดไวขึ้น แถมยังประหยัดเงินถึงหลักเเสนเลยล่ะครับ โดยขั้นตอนต่าง ๆ มีตามนี้เลยครับ

  1. ตรวจสอบสัญญากู้ของตัวเอง ว่ารีไฟแนนซ์ได้เมื่อไหร่ (โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 3 ปี)
  2. เลือกธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง ถ้าเลือกดีๆ ได้ตัวที่ดอกเบี้ยถูกที่สุด จะประหยัดดอกเบี้ยได้หลักแสน
  3. เตรียมเอกสารประกอบการยื่นรีไฟแนนซ์ ประกอบด้วย เอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคล, เอกสารแสดงรายได้, เอกสารด้านหลักประกัน (ตามหัวข้อข้างต้น)
  4. ยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ ซึ่งใช้เวลาพิจารณาอนุมัติประมาณ 2-4 สัปดาห์ 
  5. สอบถามยอดหนี้คงเหลือ และนัดวันไถ่ถอนจากธนาคารเก่า
  6. ไปทำสัญญาและจำนองที่กรมที่ดิน

และหากเพื่อน ๆ คนไหนต้องการทราบข้อมูลแบบละเอียดสามารถอ่านได้ที่ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน 

ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน

ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ไม่แพ้เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน เลยล่ะครับ ซึ่งเจ้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ คือ ค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านของเราครับ ซึ่งถ้าเราทำความเข้าใจเงื่อนไขของค่าใช้จ่ายส่วนนี้แล้ว มันจะทำให้เราสามารถวางแผนจัดเตรียมเงินได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้หลายเท่าตัวเลยล่ะครับ โดยค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านจะมีตามนี้เลยครับ

ค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนด

โดยส่วนมากจะอยู่ที่ประมาณ 3 ปีแรกของการกู้ โดยจ่ายประมาณ 2-3%ของยอดหนี้คงเหลือ นั่นหมายความว่า ถ้าเรารีไฟแนนซ์ในช่วง 3 ปีแรกของสัญญา เราต้องจ่ายค่าปรับตัวนี้ด้วยครับ แต่ถ้าเรารีไฟแนนซ์ในปีที่ 4 เป็นต้นไป เราก็ไม่ต้องจ่ายค่าปรับครับ ถือได้ว่าประหยัดเงินไปได้เยอะพอสมควรเลยล่ะ (แต่ทีนี้ก็เราก็ต้องเช็คเงื่อนไขของธนาคารที่เราขอสินเชื่อให้ดีก่อนนะครับ ว่าเขามีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง  เราจะได้ไม่พลาดครับ)  

ค่าใช้จ่ายจากการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์

คือค่าสินเชื่อที่เราจ่ายให้กับธนาคารแห่งใหม่นั่นเองครับ  เพราะการรีไฟแนนซ์ คือการที่เราไปขอสินเชื่อกู้บ้านจากธนาคารใหม่ ดังนั้นเราก็ต้องเตรียมเงินไปจ่ายค่าขอสินเชื่อให้กับธนาคารใหม่ด้วยนะครับ 

ค่าใช้จ่ายกับกรมที่ดิน

โดยมีอีกชื่อว่า ค่าจดจำนอง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้คล้ายกับค่าขอสินเชื่อจากธนาคารใหม่ในข้อ 2 เลยครับ แต่เราจะจ่ายให้กรมที่ดินแทน ซึ่งราคาค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่อัตรา 1% ของวงเงินกู้ และมีค่าอากรแสตมป์อีก 0.05% ของวงเงินกู้ด้วย เตรียมเงินไว้ให้พร้อมนะครับ

แต่เพื่อนคนไหนที่อยากทราบข้อมูลแบบเจาะลึก ผมแนะนำให้อ่านค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน

สรุป

สุดท้ายนี้จะฝากไว้ว่า รายการเอกสารที่เขียนมาเป็นรายการเอกสารที่หลายธนาคารให้เตรียมในเบื้องต้นเท่านั้น ธนาคารแต่ละแห่งอาจจะมีเอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม และถ้าคุณอยากรู้ว่าธนาคารไหนที่อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านดีที่สุด และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง สามารถสอบถามได้ตลอดครับ และยังสามารถลองใช้บริการของ www.refinn.com ดูได้นะครับ บริการฟรี ไม่คิดค่าบริการใดๆ ครับ :)

เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2565

รีไฟแนนซ์บ้าน ออมสิน ใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน (เดือนล่าสุด) กรณีไม่มีสลิปเงินเดือนใช้หนังสือรับรองเงินเดือน อายุไม่เกิน 2 เดือน สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนล่าสุด

การรีไฟแนนซ์บ้านต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้รีไฟแนนซ์บ้าน.
1. เอกสารประจำตัวบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ... .
2. เอกสารทางการเงิน สำหรับบุคคลที่มีรายได้ประจำ (มีเงินเดือน) สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน ... .
3. เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน สำเนาโฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องที่บ่งชี้ถึงหลักประกัน.

รีไฟแนนซ์บ้าน ธอส ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

2.1 เตรียมเอกสารในการขอรีไฟแนนซ์บ้าน.
หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน เช่น สำเนาใบคำขอเลขหมายบ้าน เป็นต้น.
สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน.
สำเนาโฉนดที่ดิน / น.ส.3ก. / หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า.
ใบเสร็จประวัติการผ่อนชำระย้อนหลัง 12 เดือน.
สำเนาสัญญากู้เงิน / สัญญาจำนอง.

รีไฟแนนซ์บ้านกรุงไทยใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำเนาหนังสือสัญญากู้ สำเนาหนังสือสัญญาจำนองหลักทรัพย์ สำเนาใบเสร็จการชำระเงินเดือนล่าสุด หรือ Bank Statement การชำระบัญชีเงินกู้จากสถาบันการเงิน (กรณีปลูกสร้างบ้าน หรือเพื่อไถ่ถอนจำนองที่ดินจากสถาบันการเงินอื่นและปลูกสร้างบ้านในคราวเดียวกัน) สำเนาสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและแบบแปลน (พิมพ์เขียว) ที่จะปลูกบ้าน