ประวัติดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน

คือ แคนที่นำมาบรรเลงพร้อมๆกัน หลายๆเต้า โดยเป่าเป็นคณะ หรือเป็นวงร่วมกัน มีเครื่องให้จังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ ฯลฯ เข้าร่วนบรรเลงด้วย แคนวง วงหนึ่ง จะใช้แคนตั้งแต่ 6 เต้าขึ้นไป จนถึง 12 เต้า คือ

  • แคนวงขนาดเล็ก ใช้แคน 6 เต้า
  • แคนวงขนาดกลาง ใช้แคน 8 – 10 เต้า
  • แคนวงขนาดใหญ่ ใช้แคน 12 เต้า

จำนวนแคนต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นวงขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ เป็นจำนวนโดยอนุโลม ไม่ได้ถือตายตัวเคร่งครัดมากนัก เช่น อาจจะเพิ่มจำนวนแคนให้มากกว่านี้เพียงใดก็ถือว่าเป็นแคนวงขนาดใหญ่ทั้งนั้น โดยมีเครื่องดนตรีอื่นๆ และเครื่องประกอบจังหวะร่วมผสมเข้ากับวงด้วยเช่น ขลุ่ย หรือ ปี่ ซอด้วง ซออู้ กลอง หรือโทนรำมะนา แคนวงมักบรรเลงเพลงไทย เพลงไทยสากล ทั้งเพลงไทยลูกกรุง เพลงไทยลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ

ประวัติดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน

แคนวงประยุกต์

มีพัฒนาการมาจากแคนวง โดยมีการนำเครื่องดนตรีสากลต่างๆ เข้ามาบรรเลงร่วมกับแคนวง เช่น กลองชุด เบส กีตาร์ คีบอร์ด ฯลฯ นอกจากนี้ บางครั้งก็นำเครื่องดนตรีไทย เช่น ซอ จะเข้ ฯลฯ เข้ามาประกอบ จึงไม่มีการกำหนดประเภท ขนาด และจำนวน

วงแคน

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอีสานที่มีแคนเป็นหลัก จะมีจำนวนสักกี่เต้าก็ได้ นอกจากนี้ก็มีเครื่องดนตรีอื่นๆ มาร่วมบรรเลงตามที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น พิณ ซอ ฉิ่ง และ กลอง ฯลฯ

วงลำเพลิน

เป็นวงดนตรีคล้ายกับวงโปงลาง แต่มีการนำกลองชุดเข้ามาร่วมบรรเลง โดยมีจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ จังหวะลำเพลิน

วงพิณ

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่มีพิณเป็นหลัก จะมีจำนวนสักกี่เครื่องก็ได้ นอกจากนี้ก็มีเครื่องดนตรีอื่นๆ มาร่วมบรรเลงตามที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น แคน ซอ ฉิ่ง ฉาบ ฯลฯ

วงกลองยาว

ประกอบด้วยกลองยาวประมาณ 3 ใบ และกลองรำมะนาใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองตุ้ม หรือกลองตึ้ง 1 ใบ และฉาบ 1 คู่ ตีเป็นทำนองและจังหวะแบบอีสาน ซึ่งชาวบ้านมักร้องเป็นทำนองว่า

“เป็ด เป่ง เฮ็ม เป่ง เป็ด เป่ง เป่ง

เป็ด เป่ง เป่ง เป่ง เป็ด เป่ง ฮึ้ม”
กลองยาว นิยมบรรเลงประกอบขบวนแห่ ตามงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแห่กัณฑ์หลอนในงานบุญพระเวสฯ

วงโปงลาง

คณะโปงลาง หรือนิยมเรียกว่า วงโปงลาง นั้น คาดว่าได้ชื่อนี้มาจาก… เครื่องดนตรีที่ดังที่สุดในวงคือ โปงลาง (กรณีไม่ใช้เครื่องขยายเสียง) ดังนั้น เลยเรียกวงดนตรีนั้นว่า วงโปงลาง หรืออีกที่มาหนึ่ง คือ โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีเด่น กำลังมาแรง เป็นจุดขายของวง จึงตั้งชื่อว่า วงโปงลาง ซึ่งบางแห่ง อาจจะไม่ใช้ชื่อว่าวงโปงลาง แต่ใช้ชื่อว่าวงแคน หรือวงพิณ ก็มี

วงโปงลาง แม้จะใช้ชื่อว่า วงโปงลาง ก็ไม่ได้หมายความว่า มีเฉพาะโปงลางอย่างเดียว แต่มีเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด ร่วมบรรเลง

วงโปงลาง ในสมัยก่อน เป็นแบบพื้นบ้านจริงๆ ไม่มีเครื่องขยายเสียง ใช้เสียงสดๆ ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเลยทีเดียว ซึ่งเครื่องดนตรีหลักๆ แบบเต็มวง ประกอบด้วย

  • โปงลาง
  • พิณโปร่ง (ชนิดที่มีกล่องเสียงใหญ่ๆ)
  • แคน
  • โหวด
  • ไหซอง (ยังไม่มีพิณเบส)
  • กลองหาง (กลองยาวอีสาน)
  • รำมะนา หรือกลองตุ้ม
  • หมากกะโหล่ง (หมากป็อกๆ) หรือใช้หมากกั๊บแก๊บ
  • ฉาบเล็ก
  • ฉาบใหญ่

เสียงดนตรีที่ได้ จะให้ความรู้สึกคลาสิคแบบพื้นบ้านจริงๆต่อมาเมื่อ เมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยน ประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเครื่องดนตรีวงโปงลางยุคปัจจุบัน แบบเต็มวง ประกอบด้วย

ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เริ่มจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาทำเลียนสียงจากธรรมชาติ ป่าเขา เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงน้ำตก เสียงฝนตก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง ในระยะต่อมาได้ใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติมาเป่า เช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้าปล้องไม้ไผ่ ทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น จนในระยะที่ 3 ได้นำหนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง โหวด ปี พิณ โปงลาง แคน เป็นต้น โดยนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่มีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ และอีสานกลางจะนิยมดนตรีหมอลำที่มีการเป่าแคนและดีดพิณประสานเสียงร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีบรรเลงที่ไพเราะของชาวอีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากนี้ยังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลงดนตรีเหล่านี้กันเพื่อ ความสนุกสนานครื้นเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่าง ๆเช่น ลำผีฟ้า ที่ใช้แคนเป่าในการรักษาโรค และงามศพแบบอีสานที่ใช้วงตุ้มโมงบรรเลง นับเป็นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านอีสานที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ

     เพลงโคราชใช้แสดงในงานบุญต่าง ๆ แทบทุกชนิด เช่น งานตัดผมไฟ งานโกนจุก งานบวชนาค งานขึ้นบ้านใหม่ งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า งานศพ และงานบุญแจกข้าว ยกเว้นงานแต่งงาน เพราะมีความเชื่อว่าแพ้คู่บ่าวสาว ไม่ตายจากันโดยเร็วก็อาจเลิกร้างจากกัน ในปัจจุบันงานที่แสดงเป็นประจำมิได้ขาดคืองานแก้บนที่อนุสาวรีย์ท่านท้าวสุรนารี หรือที่ชาวบ้านเรีกกันทั่วไปว่า งานแก้บนท่านย่าโม ปัจจุบันเพลงโคราชได้รับอิทธิพลเพลงลูกทุ่งและหมอลำเข้าไปด้วยแต่ยังแยกส่วนกันอยู่