พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

    ต่อมา เทวดาดลใจให้ชูชกหลงทางมาถึงกรุงเชตุดร ทำให้พระเจ้าสัญชัยทรงไถ่ตัวพระนัดดา (หลาน) ทั้งสองไว้ได้ ขณะนั้นแคว้นกาลิงครัฐส่งช้างปัจจัยนาคกลับคืนมา ทำให้ชาวสีพีเริ่มระลึกถึงคุณความดีของพระเวสสันดร ต่อมาพระเจ้าสัญชัยทรงรับสั่งให้จัดขบวนอิสริยยศเสด็จไปเขาวงกต เพื่ออัญเชิญพระเวสสันดรกลับมา ครั้นเมื่อได้พบกัน กษัตริย์ทั้งหกและเหล่าข้าราชบริพารต่างก็หมดสติล้มลง ด้วยความรู้สึกตื้นตันอย่างสุดซึ้ง จนกระทั่งโดนหยาดฝนโบกขรพรรษา ที่ท้าวสักกะทรงเนรมิตขึ้น ทั้งหมดจึงฟื้นคืนสติ จากนั้น พระเวสสันดรเสด็จกลับไปครองราชย์ที่กรุงสีพี และทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความผาสุกจนตลอดพระชนม์ชีพ

Show

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี (ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ลักษณะคำประพัน ร่ายยาว ยกคาถาบาลีขึ้นเป็นหลักก่อน สลับกับร่าย มีคาถาบาลีแทรกสลับเป็นระยะ (ลักษณะร่าย บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ วรรคหนึ่งๆจะมีคำตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป มีบังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรคเท่านั้น ร่ายยาวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดกนี้แต่งเป็นร่ายยาวสำหรับใช้เทศน์ “ชาดก” หมายถึง เรื่องราวของพระโพธิสัตว์(พระโพธิสัตย์ หมายถึง ผู้ซึ่งบำเพ็ญบารมี เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อไป) ชาดกจึงหมายถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้านั่นเอง เรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอนที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นั้นมีมากมาย แต่ชาติที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนั้น มี ๑๐ ชาติ เรียกว่า ทศชาติชาดก โดยในแต่ละชาติทรงบำเพ็ญบารมี ยิ่งใหญ่ ๑๐ ประการ ดังนี้

ทศชาติชาดก

หัวใจ

ทศบารมี

ความหมาย

๑.เตมียชาดก

เต.

เนกขัมมบารมี

การออกบวช

๒.มหาชนกชาดก

ช.

วิริยบารมี

การมีความเพียร

๓.สุวรรณสามชาดก

สุ.

เมตตาบารมี

การมีความเมตตา

๔.เนมิราชชาดก

เน.

อธิษฐานบารมี

การมีความตั้งใจมั่น

๕.มโหสถชาดก

ม.

ปัญญาบารมี

การมีปัญญา

๖.ภูริทัตชาดก

ภู.

ศีลบารมี

การมีศีล

๗.จันทกุมารชาดก

จ.

ขันติบารมี

การมีความอดทน

๘.นารทชาดก

นา.

อุเบกขาบารมี

การรู้จักทำใจวางเฉย

๙.วิทูรชาดก

วิ.

สัจจบารมี

การมีสัจจะ

๑๐.มหาเวสสันดรชาดก

เว.

ทานบารมี

การให้,การเสียสละ

พระชาติสุดท้าย คือ เวสสันดรชาดก ซึ่งเรียกว่าเป็น มหาชาติ เพราะ ๑.เป็นชาติที่สำคัญยิ่งเพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ๒.เป็นชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ โดยเฉพาะ บำเพ็ญทานบารมีคือ บริจาคบุตรและภรรยาอันเป็นอุดมคติสูงสุด ยากที่ปุถุชนทั่วไปจะกระทำได้ ๓.เป็นชาติที่แสดงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมพุทธศาสนิกชนจึงเลื่อมใสศรัทธามากกว่าชาติอื่นๆ การเทศมหาชาติมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย การเทศน์มหาชาตินิยมเทศน์ระหว่างเดือนสิบสองกับเดือนอ้าย พุทธศาสนิกชนนิยมฟังเทศน์มหาชาติเพราะเชื่อว่าจะได้อานิสงส์ให้พบกับพระศรีอาริย์ ทานบารมีนับเป็นบารมีสูงสุดในทศบารมี กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่ ๘ ใน ๑๓ กัณฑ์ มีจำนวนคาถา ๙๐คาถา (จาก ๑,๐๐๐ คาถา) ชี้ให้เห็นความรักที่แม่มีต่อลูก การให้บุตรทาน พระเวสสันดรทรงชนะใจตนเองได้เพราะอาศัยปัญญาบารมีและอุเบกขาบารมี

การกลับชาติมาเกิด พระเวสสันดร > เจ้าชายสิทธัตถะ พระนางมัทรี > พระนางยโสธรา พระชาลี >พระราหุลชิโนรส พระกัณหา > นางอุบลวรรณาเถรี พระเจ้ากรุงสญชัย > พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางผุสดี > พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ชูชก > พระเทวทัตยโสธรราชอนุชา อมิตตดา > นางจิญจมาณวิกา พรานเจตบุตร > พระฉันนะเถระ พระอัจจุตฤษี > พระสารีบุตร พระวิสสุกรรม > พระโมคคัลลานะ พระอินทร์ > พระอนุรุทธ์มหาเถระ อำมาตย์ผู้เป็นนายนักการนำข่าวไปทูลพระเวสสันดร > พระอานนท์เถระ

ปัญจมหาบริจาค คือ การบริจาคที่ยิ่งใหญ่ ๕ ประการ คือ ๑.ธนบริจาค(การสละทรัพย์สมบัติเป็นทาน)๒.อังคบริจาค(การสละร่างกายเป็นทาน) ๓.ชีวิตบริจาค(การสละชีวิตให้เป็นทาน) ๔.บุตรบริจาค(การสละลูกให้เป็นทาน) ๕.ภริยาบริจาค(การสละภรรยาให้เป็นทาน)

ศัพท์ที่ควรรู้ กัมปนาท=เสียงสนั่นหวั่นไหว กระลี=เหตุร้าย กัลยาณี=นางงาม คนธรรพ์=ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง ชำนาญการดนตรีและขับร้อง ครรไล=ไป คลาไคล=เดินไป จรลี=เดินเยื้องกราย ชัฏ=ป่ารก ทิพากร=พระอาทิตย์ บรรจถรณ์=ที่นอน ประภาษ=พูด บอก ประพาส=ไปเที่ยว ปักษิน=นก ปิยบุตร=บุตรอันเป็นที่รัก เรไร=จักจั่นสีน้ำตาลหลายชนิด ลองไน=จักจั่นขนาดใหญ่มีปีกสีฉูดฉาด วิทยาธร=อมนุษย์พวกหนึ่ง เชื่อว่ามีวิชากายสิทธิ์เหาะได้ วิสัญญี=สลบ ศศิธร=พระจันทร์ ศิขริน=ภูเขา ศิโรเพฐน์=ศีรษะ สนธยา=เวลาโพล้เพล้พลบค่ำ สัตพิธรัตน์=แก้วเจ็ดประการ โสมนัส=ความปลาบปลื้มใจ อังสา=บ่า ไหล่ อัสสุชล=น้ำตา อรไท=นางผู้เป็นใหญ่ อุฏฐาการ=ลุกขึ้น อุระ=อก ไอศวรรย์=สมบัติแห่งพระราชาธิบดี ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่

พระเวสสันดรกำหนดค่าตัวสองกุมารไว้ดังนี้

๑.พระชาลี มีค่าตัว ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง

๒.พระกัณหา มีค่าตัวสูงกว่า(เนื่องจากเป็นหญิง) คือ

๑,๐๐๐ ตำลึงทอง โคผู้ ๑๐๐ โคนม ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ ทาสชาย ๑๐๐ ทาสหญิง ๑๐๐ รถ ๑๐๐ 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/wrrnkhdi-laea-wrrnkrrm/mha-wessandr-chadk

มหาชาติ แปลว่า ชาติที่ยิ่งใหญ่, การเกิดครั้งยิ่งใหญ่ หมายถึงการเกิดของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ซึ่งเป็นการเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมี ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา

มหาชาติ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะการเกิดครั้งสุดท้ายนี้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมี สำคัญคือทานบารมีซึ่งเป็นการทำให้บารมีอื่นสมบูรณ์ไปด้วย เปรียบเหมือนการประทับตราในหนังสือสำคัญทำให้เกิดความสมบูรณ์ใช้บังคับตาม กฎหมายได้ และในชาติสุดท้ายนี้ พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอื่น ๆ ครบทั้งสิบประการ จึงถือได้ว่าเป็นการเกิดครั้งสำคัญยิ่งใหญ่กว่าทุกชาติที่ผ่านมา

มหาชาติ ได้รับการประพันธ์เป็นบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองแล้วนำไปเทศน์เป็นทำนองมา ตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกการเทศน์เช่นนี้ว่า เทศน์มหาชาติ เรียกเต็มว่าเทศน์มหาชาติเรื่องเวสสันดรชาดก

กัณฑ์ที่ ๑: กัณฑ์ทศพรกัณฑ์ที่ ๒: กัณฑ์ทานกัณฑ์กัณฑ์ที่ ๓: กัณฑ์ทานกัณฑ์กัณฑ์ที่ ๔: กัณฑ์วนประเวศน์กัณฑ์ที่ ๕: กัณฑ์ชูชกกัณฑ์ที่ ๖: กัณฑ์จุลพนกัณฑ์ที่ ๗: กัณฑ์มหาพนกัณฑ์ที่ ๘: กัณฑ์กุมารกัณฑ์ที่ ๙: กัณฑ์มัทรีกัณฑ์ที่ ๑๐: กัณฑ์สักกบรรพกัณฑ์ที่ ๑๑: กัณฑ์มหาราชกัณฑ์ที่ ๑๒: กัณฑ์ฉกษัตริย์กัณฑ์ที่ ๑๓: กัณฑ์นครกัณฑ์

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๑: กัณฑ์ทศพรมี ๑๙ พระคาถา

กัณฑ์ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญท้าวสักกะเทวราช สวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร 10 ประการ คือ

  1. ให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี
  2. ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ
  3. ขอให้มีคิ้วดำสนิท
  4. ขอให้พระนามว่าผุสดี
  5. ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือ กษัตริย์ทังหลายและมีใจบุญ
  6. ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญ คือแบนราบในเวลาทรงครรภ์
  7. ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน
  8. ขอให้มีเกศาดำสนิท
  9. ขอให้มีผิวงาม
  10. และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๒: กัณฑ์ทานกัณฑ์มี ๒๐๙ พระคาถา

กัณฑ์ หิมพานต์ เป็น กัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ 700

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๓: กัณฑ์ทานกัณฑ์มี ๒๐๙ พระคาถา

กัณฑ์ หิมพานต์ เป็น กัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ 700

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๔: กัณฑ์วนประเวศน์มี ๕๗ พระคาถา

กัณฑ์ วนประเวศน์ เป็น กัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายพระพักตร์สู่เขาวงกต เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหน้าศาลาพระนคร กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่พระเวสสันดรทรงปฎิเสธ และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรมซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชา ของท้าวสักกะเทวราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๕: กัณฑ์ชูชกมี ๗๙ พระคาถา

กัณฑ์ ชูชก เป็น กัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตดามาเป็นภรรยา และหมายจะได้โอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พำนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยวขอทานตามเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว เมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชก ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตี นางอมิตดา ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรามเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๖: กัณฑ์จุลพนมี ๓๕ พระคาถา

กัณฑ์ จุลพน เป็น กัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงกลชูชก และชี้ทางสู่อาศรมจุตดาบส ชูชกได้ชูกลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญ ชัย จึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๗: กัณฑ์มหาพนมี ๘๐ พระคาถา

กัณฑ์ มหาพน เป็น กัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกล่ออจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับอจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤๅษีจึงให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรม พระเวสสันดร

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๘: กัณฑ์กุมารมี ๑๐๑ พระคาถา

กัณฑ์ กุมาร เป็น กัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก รุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ พระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๙: กัณฑ์มัทรีมี ๙๐ พระคาถา

กัณฑ์ มัทรี เป็น กัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึก จนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทาง จนค่ำเมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบ นางจึงได้ทรงอนุโมทนา

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๑๐: กัณฑ์สักกบรรพมี ๔๓ พระคาถา

กัณฑ์ สักกบรรพ เป็น กัณฑ์ที่พระอินทร์จำแลงกายเป็น พราหมณ์มาขอพระนางมัทรี แล้วถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการท้าว สักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรี พระเวสสันดรจึงพระราชทานให้ พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๑๑: กัณฑ์มหาราชมี ๖๙ พระคาถา”

กัณฑ์ มหาราช เป็น กัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์ทำนุบำรุง ขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานคร สีพี เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้ เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึงกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสององค์ ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย ชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๑๒: กัณฑ์ฉกษัตริย์มี ๓๖ พระคาถา

กัณฑ์ ฉกษัตริย์ เป็น กัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญี ภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกตพระ เจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหก กษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหก กษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก

พระชาติ พระเวสสันดร บําเพ็ญบารมีใด

กัณฑ์ที่ ๑๓: กัณฑ์นครกัณฑ์มี ๔๘ พระคาถา

กัณฑ์ นครกัณฑ์ เป็น กัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร พระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาพระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี และเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชน ท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาไปตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมือง ร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

พระเวสสันดรชาดกบำเพ็ญบารมีในด้านใด

ทานบารมี = ทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี ศีลบารมี = ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต เนกขัมมบารมี = ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต ปัญญาบารมี = ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช

พระเวสสันดรบําเพ็ญบารมีเพื่ออะไร

มหาชาติ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะการเกิดครั้งสุดท้ายนี้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมี สำคัญคือทานบารมีซึ่งเป็นการทำให้บารมีอื่นสมบูรณ์ไปด้วย เปรียบเหมือนการประทับตราในหนังสือสำคัญทำให้เกิดความสมบูรณ์ใช้บังคับตาม กฎหมายได้ และในชาติสุดท้ายนี้ พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอื่น ๆ ครบทั้งสิบประการ จึงถือได้ว่าเป็นการเกิดครั้งสำคัญ ...

ข้อใดเป็นการบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ของพระเวสสันดร

ปัญจมหาบริจาค คือ การบริจาคที่ยิ่งใหญ่ ๕ ประการ คือ ๑.ธนบริจาค(การสละทรัพย์สมบัติเป็นทาน)๒.อังคบริจาค(การสละร่างกายเป็นทาน) ๓.ชีวิตบริจาค(การสละชีวิตให้เป็นทาน) ๔.บุตรบริจาค(การสละลูกให้เป็นทาน) ๕.ภริยาบริจาค(การสละภรรยาให้เป็นทาน)

พระเวสสันดรบำเพ็ญทานในกัณฑ์ใด

กัณฑ์ที่ 3 คือทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรได้ถวายทานราชรถจนพระองค์และนางมัทรีต้องอุ้มพระชาลีพระกัณหาขึ้นบ่าแทน กัณฑ์ที่ 4 คือกัณฑ์วนประเทศน์ เสด็จไปยังเมืองเจตราษฎร์ ซึ่งกษัตริย์เมืองเจตราษฎร์จะยกราชสมบัติให้แต่พระองค์ปฏิเสธ กษัตริย์เมืองเจตราษฎร์จึงให้พรานเจตบุตรทำหน้าที่เป็นคนเฝ้าทางเข้าป่าแทน เมื่อทั้ง 4 พระองค์ ...