พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

ตามโบราณราชประเพณีตั้งแต่ยุคสุโขทัย เมื่อเฉลิมรัชกาลใหม่ พระมหากษัตริย์จักต้องทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งโดยการรดน้ำ การถวายน้ำสรงแด่พระเจ้าแผ่นดิน จึงจะนับได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่
พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

ในการเตรียมพระราชพิธีแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน สำหรับขั้นตอนแรกคือการเตรียมพระราชพิธี ได้แก่การทำพิธีตักน้ำอภิเษกและน้ำสรงพระมุรธาภิเษก การจารึกพระสุพรรณบัฎ ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะตราพระราชลัญจกร การเตรียมตั้งเครื่องบรมราชาภิเษก และเตรียมสถานที่จัดพระราชพิธี

ในการนี้ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้สถาปนา ‘พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา’ เป็น ‘สมเด็จพระราชินีสุทิดา‘ ต่อมาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ศกนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีสุทิดาและพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (พระนามเดิม) ไปทรงวางพานพุ่มดอกไม้และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ พระลานพระราชวังดุสิต และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า จากนั้นจึงเสด็จไปยังศาลหลักเมือง และพระที่นั่งต่างๆในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงสักการะพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

สำหรับพระราชพิธีฯในวันที่ 3 พฤษภาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีสุทิดาเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อทรงนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์โดยเสด็จด้วย

จากนั้นทรงบูชาพระรัตนตรัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงถวายเทียนชนวนแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกเพื่อบริกรรมคาถา แล้วทรงจุดเทียนชัยในตู้เทียนชัย การจุดเทียนนี้ถือเป็นการเริ่มพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีที่ต้องจารึก

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

พระราชพิธีแห่งประวัติศาสตร์เริ่มขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทรงเข้าพิธีสรงพระมุรธาภิเษก อันเป็นขั้นตอนสำคัญ เพราะเป็นการเปลี่ยนสถานะจากพระอินทร์เป็นพระราชา จากนั้นจึงทรงครุยมหาจักรีและทรงพระดำเนินไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะบุคคลสำคัญทั้ง 8 ท่านเป็นผู้ทูลเกล้าฯถวายน้ำอภิเษก ดังนี้ พล.ร.อ.ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัตน์ ม.จ.มงคลเฉลิม ยุคล พล.ท.ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา และนายจรัส สุวรรณเวลา ราชบัณฑิต  ในการนี้ใช้น้ำจาก 108 แหล่ง โดยน้ำอภิเษกตักจากแหล่งน้ำทั้ง 76 จังหวัด ขณะที่น้ำสรงพระมุรธาภิเษกจาก 9 แหล่งน้ำ

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

จากนั้นทรงประทับบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ประธานพระครูพราหมณ์กล่าวเวทและกราบบังคมทูลถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชวราภรณ์ และเครื่องขัตติยราชูปโภค ตามลำดับ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินถูกต้องสมบูรณ์ โดยมีพระปฐมบรมราชโองการความว่า

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม

เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จากนั้นทรงโปรยดอกพิกุลทองแท้และดอกพิกุลเงินแท้ เพื่อพระราชทานแก่ผู้มาเฝ้าฯ เสมือนเป็นการพระราชทานพร เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นดั่งของที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีดังกล่าว

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

จากนั้นทรงเสด็จออกมหาสมาคม ทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

เย็นวันที่ 5 พฤษภาคม ศกนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ตามโบราณพระราชประเพณี ทรงประทับเหนือพระราชยานพุดตานทองเพื่อเสด็จฯ เลียบพระนคร ให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมีทั่วทุกคน เป็นเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง โดยที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ที่ทรงร่วมขบวนกระหนาบในฐานะพระราชองครักษ์

เย็นวันที่ 6 พฤษภาคม ศกนี้ อันเป็นวันสุดท้ายของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ในการพระราชพิธีเสด็จออกสีหบัญชรให้ประชาชนเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ที่พระที่นั่งสุทไธยสวรรย์ปราสาท ดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2493

นับเป็นการเริ่มต้นรัชกาลใหม่ที่สร้างความประทับให้กับพสกนิกรของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

ความงดงามของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ตามที่มีประกาศสำนักพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในวันที่ 12 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ ถือเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลาย และนับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นหน่วยงานหลัก เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสง่างามสมพระเกียรติ ในการนี้ได้มีการจัดเตรียมเรือพระราชพิธีจำนวน 52 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งชั้นสูงสุดประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือทรงผ้าไตร เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งทรงสำรอง เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งลำลองของพระมหากษัตริย์

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

นอกจากนี้ยังมีเรือพระราชพิธีอื่นด้วย เช่นเรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เป็นต้น โดยใช้กำลังพลประจำเรือพระราชพิธีจำนวน 2,200 นาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นกำลังพลประจำเรือพระราชพิธีมาก่อน จึงต้องเริ่มฝึกตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ในการจัดรูปขบวนเป็นไปตามแบบโบราณราชประเพณีทุกประการ โดยแบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย และใช้บทเห่เรือที่ประพันธ์โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย

พระ ราช พิธี บรม ราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จัดขึ้น วันที่

เรียกได้ว่าเป็นบุญของพสกนิกรไทยที่จะได้ชมริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารค อันเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ด้วยดวงใจที่อิ่มเอม