โรคความดันโลหิตสูง การป้องกัน

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่อันตราย แต่กลับกลายเป็นภัยร้ายที่ทำลายสุขภาพอย่างเงียบ ๆ ว่าแล้วเราลองมาทำความรู้จักกับโรคความดันโลหิตสูง พร้อมวิธีป้องกันกันดีกว่าค่ะ
โรคความดันโลหิตสูง คืออะไร?
ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดง สูงมากกว่าปกติอยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะมิฉะนั้นแล้วจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงกำลังกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพของคนไปทั่วโลก โดยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตมากถึง 9.4 ล้านคน
อาการของความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ จะไม่แสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง โดยจะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล แต่อาการเหล่านี้ก็ไม่ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าเป็นอาการของโรคความดันโลหิตสูง
สำหรับประเทศไทยมีคนป่วยเป็นโรคนี้ค่อนข้างมาก หลายคนไม่รู้ตัวเองว่ากำลังเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ แต่ในผู้ป่วยบางรายถึงแม้จะรู้ตัวว่าเป็นโรคโลหิตสูง แต่ไม่ยอมรักษาตัวเอง ทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย และโรคหัวใจได้
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงไม่สามารถระบุได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากอะไร กับชนิดที่ทราบสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การหยุดหายในในขณะนอนหลับ โรคไต เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปกติ การใช้ยาบางชนิด และการใช้สารเสพติด
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อความต้องการ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นระบบการหมุนเวียนของโลหิตในร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแข็งแรง
3.งดการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ในบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เต็มไปด้วยสารพิษ ส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายทรุดโทรม จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
4.ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ ควรมีการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
5.ทำจิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายหลั่งความเครียด เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนัก จนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
การใส่ใจดูแลสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหวานจัดเค็มจัด และทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เพียงแค่นี้ก็ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้แล้ว

ข่าว ณ. วันที่ 28 พ.ค. 2561 เวลา 11.26 น. โดย คุณ สุกัญญา บุญประดับ

การป้องกันโรค ความดันสูง

Share:

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตมีส่วนสำคัญพอ ๆ กับการรักษาและการป้องกันโรคความดันสูง และมีประสิทธิภาพดีเช่นเดียวกับการรักษาด้วยการใช้ยา

การรับประทานอาหาร

การปรับพฤติกรรมรับประทานอาหารที่เคยชินบางอย่าง เพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว ผู้ป่วยอาจจะค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมการกินทีละน้อย เมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นจึงค่อยปรับให้มากขึ้นจนเป็นปกติ ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวในการดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • จำกัดปริมาณโซเดียมในอาหาร อาหารที่มีโซเดียมต่ำสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ โดยในแต่ละวันไม่ควรบริโภคโซเดียมมากกว่า 2,300 มิลลิกรัม การเลือกและจัดเตรียมอาหารเองโดยลดปริมาณเกลือหรือโซเดียมให้มีปริมาณน้อยลง หรือดูฉลากอาหารและเครื่องปรุงรสก่อนรับประทาน
  • การรับประทานอาหารต้านความดันสูง หรือแดช ไดเอท (Dietary Approaches to Stop Hypertension: Dash Diet) เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและหัวใจ โดยจะเน้นผัก ผลไม้ และธัญพืช เป็นส่วนใหญ่ มีไขมันและเกลือต่ำ ซึ่งผู้ป่วยหรือคนปกติสามารถรับประทานได้ เพราะจะควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นได้
  • เลือกประเภทอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ควรเลือกรับประทานอาหารที่เน้นธัญพืช ผักและผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ปลา ควรหลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำมันปาล์ม อาหารและเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยน้ำตาล

การออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยปรับระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงมากเกินไปและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัย ควรเลือกการออกกำลังกายที่แรงในระดับปานกลาง เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจให้มีการใช้งานออกซิเจนมากกว่าปกติ เช่น เต้นแอโรบิก เดินเร็ว

ควบคุมน้ำหนักตัวให้คงที่

ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน ควรมีการลดน้ำหนักลงให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งสามารถช่วยให้การควบคุมความดันโลหิตทำได้ดีขึ้น พร้อมทั้งลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ 3-5% โดยปกติจะใช้ค่าดัชนีมวลกายในการคำนวณค่า BMI เพื่อประเมินหาไขมันส่วนเกินในร่างกาย ซึ่งเท่ากับน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ทั้งนี้ค่าที่ได้ควรไม่เกิน 25

  • ค่าที่ได้ต่ำกว่า 18.5 แสดงว่ามีน้ำหนักต่ำกว่าปกติ
  • ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 แสดงว่ามีน้ำหนักตัวปกติ
  • ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 25-29.9 แสดงว่ามีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ
  • ค่าที่ได้มากกว่า 30 แสดงว่าเป็นโรคอ้วน

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มสูงขึ้นของความดันโลหิตและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันในเลือกประเภทหนึ่ง และยังเป็นการเพิ่มแคลอรี่ที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วน ดังนั้นควรมีการดื่มในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน ซึ่งผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 หน่วยมาตรฐานต่อวัน และผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 หน่วยมาตรฐานต่อวัน (ค่าประมาณของ 1 หน่วยมาตรฐานเทียบเท่าได้กับเบียร์ 355 มิลลิลิตร หรือ 12 ออนซ์, ไวน์ 148 มิลลิลิตร หรือ 5 ออนซ์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ ประมาณ 44 มิลลิลิตร หรือ 1½ ออนซ์)

จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม

การเรียนรู้ที่จะจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสมด้วยการหากิจกรรมที่ผ่อนคลายหรือการระบายออกทางด้านอารมณ์และร่างกายในทางสร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง เล่นโยคะ นั่งสมาธิ หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสงบ จะช่วยลดโอกาสของโรคความดันสูงให้น้อยลงได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก