แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาไทย

มาตรการการแก้ปัญหาการอ่าน
การเขียน ภาษาไทย

พ.ต. ดร.กรณัฐ รัตนยรรยง

ศึกษานิเทศก์ สพป.เชียงใหม่ ๑

มาตรการที่ ๑ โรงเรียนให้ความสำคัญและสนับสนุน

การเรียนการสอนภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา

ปีที่ ๑-๖ โดยมีแนวดำเนินการดังนี้

๑) ผู้บริหารให้ความสำคัญของการสอนภาษาไทย

ทุกระดับชั้น ให้การสนับสนุนครูให้มีกาลังใจ การจัด

การเรียนการสอนโดยให้การสนับสนุนด้านวัสดุ

การเรียนการสอน การสร้างขวัญกาลังใจ

๒) ครูผู้สอน เอาใจใส่ต่อการสอนมีความรับผิดชอบและ

มีเทคนิคการสอนทางด้านภาษาไทยเป็นอย่างดี

มาตรการที่ ๒ โรงเรียนกำหนดแผนงานทางวิชาการ

เพื่อส่งเสริมการสอนภาษาไทย ร่วมกันภายในโรงเรียน

เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามแผนงานอย่างชัดเจน

เป็นรูปธรรมโดยมีแนวดำเนินการดังนี้

๑) ประชุมครูให้เข้าใจนโยบายและแนวทางปฏิบัติร่วมกัน เพื่อ

พัฒนาการเรียน การสอนภาษาไทยอย่างจริงจัง

๒) เน้นการสอนภาษาไทย โดยการเพิ่มกิจกรรมเสริมนอกเวลา

เรียน โดยกำหนดเวลาในแต่ละวันว่าเป็นช่วงใด

๓) ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จัดทำสมุดบันทึก

ความก้าวหน้าทางการเรียนภาษาไทยเป็นรายบุคคล เพื่อให้รู้

จุดบกพร่องและความก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคน

๔) คณะครู ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการสอนภาษาไทย

อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

๕) ประสานงานและขอความร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียน

ให้ความช่วยเหลือนักเรียนเรื่องการบ้าน การอ่าน

การเขียนอย่างสม่ำเสมอ

๖) ผู้บริหาร ครูวิชาการ ให้การนิเทศภายใน และสนับสนุน

ช่วยเหลือครูผู้สอน อย่างต่อเนื่อง

๗) คณะครู ร่วมกันผลิตสื่อภาษาไทย เพื่อให้ครูนาไปใช้

ให้เกิดประโยชน์ ต่อการเรียนการสอน

๘) จัดมุมหนังสือในห้องเรียน และห้องสมุดโรงเรียนให้

เป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าจัดให้มีบรรยากาศน่าอ่าน

น่าเรียน

มาตรการที่ ๓ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา

ทำการสอนและทดสอบคำพื้นฐานของแต่ระดับชั้น ให้ครบ

ทุกคำและคำที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ต้องจัด

กิจกรรมการเรียนภาษาไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ มีความตั้งใจ เอาใจใส่นักเรียนเหมือนลูก โดยมีแนวทางดำเนินการดังนี้

๑) ครูให้เวลากับการเรียนการสอนภาษาไทยในหนึ่งวัน

ให้มากที่สุด โดยเน้นการอ่านและการเขียน

๒) ครูทำสมุดบันทึกหรือทะเบียนคุมการอ่านออกเขียนได้

ของนักเรียนเป็นรายบุคคล ๔

๓) ทำแบบบันทึกความก้าวหน้าการพัฒนาทางภาษาไทย

ของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะ การอ่าน การเขียน

เพื่อการตรวจเยี่ยมของผู้บริหาร ผู้ปกครองนักเรียน

และศึกษานิเทศก์

๔) ใช้การสอนด้วยวิธีหลากหลาย นำนวัตกรรมและภูมิปัญญา

ท้องถิ่นมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน

(๔.๑) ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการ

ทางสมอง เน้นกิจกรรมการฝึกอ่าน ฝึกเขียน โดยใช้

สื่อธรรมชาติที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในและนอกโรงเรียน

ฝึกเพื่อให้เกิดทักษะการอ่านคำ เขียนคำ แต่งประโยค

และเขียนเรื่องหรือข้อความสั้นๆ ได้

(๔.๒) การสอนโดยเรียนปนเล่น โดยสอดแทรกการอ่าน

การเขียน โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่าเขากำลังเรียน

(๔.๓) สอนภาษาไทยกับเพลง เป็นเพลงที่สนุกๆ และเด็ก

สนใจชอบร้องในขณะนั้น

(๔.๔) อ่านนิทานสนุกๆ หรือ อ่านข่าว ให้นักเรียนฟังทุกวัน

ทุกชั้น และฝึกเขียนเรื่อง เล่าเรื่องสั้น ๆ

(๔.๕) ใช้เกมประกอบการสอนง่ายๆ โดยใช้บัตรคำ

(อาจเป็นคำง่าย คำพื้นฐาน คำที่ใช้ทุกวัน)

(๔.๖) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู

ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ศึกษา ดูงาน

โรงเรียนที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี

(๔.๗) จัดทำเอกสารรูปแบบการสอน นวัตกรรมที่เป็น

ผลงานเด่นๆ ของครูเผยแพร่แก่เพื่อนครู ทั้งภายใ

นและภายนอกโรงเรียน

มาตรการที่ ๔ ผู้บริหารนิเทศติดตาม กำกับดูแลและ

ให้ความช่วยเหลือครูผู้สอนอย่างใกล้ชิด เยี่ยมชั้นเรียน

ทุกระยะอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง โดยมีแนวดาเนินการดังนี้

๑) นิเทศติดตามและให้ความช่วยเหลือครูสอน ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ ๑-๖ อย่างใกล้ชิด ทุกชั้นเรียนอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง

๒) ผลิตเอกสารเสริมการเรียนการสอนภาษาไทย สนับสนุนการ

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ ๑-๖ ครบทุกชั้นเรียน

๓) ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ด้านกำลังใจและ

วัสดุการศึกษาที่จำเป็นนิเทศภายในอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ส่งเสริมการช่วยเหลือกันเองในระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียน

เกณฑ์การประเมินการอ่านการเขียน

ป.๑ อ่านและเขียนคำพื้นฐานได้ ๖๐๐ คำขึ้นไป

ป.๒ อ่านและเขียนคำพื้นฐานเพิ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ คำ และมีมารยาทในการอ่าน

ป.๓ อ่านและเขียนคำพื้นฐานเพิ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

ไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ คำ และมีมารยาทในการอ่าน

ป.๔ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรองที่มีความยากง่าย

ใกล้เคียงกับหนังสือเรียน สรุปใจความสำคัญ และ

มีมารยาทในการอ่าน

เกณฑ์การประเมินการอ่านการเขียน

ป.๕ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรองที่มีความยากง่าย

ใกล้เคียงกับหนังสือเรียน สรุปใจความสำคัญ ข้อคิด

เรื่องที่อ่าน และมีมารยาทในการอ่าน

ป.๖ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรองที่มีความยากง่าย

ใกล้เคียงกับหนังสือเรียน สรุปใจความสำคัญ แยกแยะ

ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และมีมารยาทในการอ่าน

เกณฑ์การประเมินการอ่าน

๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ อ่านถูกต้องชัดเจนและเข้าใจความหมาย

ของคำ เสียงดังฟังชัด คล่องแคล่ว และมีมารยาทในการอ่าน

และอ่านคำพื้นฐานได้ ๖๐๐ คำขึ้นไป

๒) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ อ่านข้อความ เรื่อง ที่มีความยากง่าย

ใกล้เคียงกับหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้ถูกต้อง

ชัดเจนเสียงดังฟังชัด เว้นวรรคตอน และมีมารยาทในการอ่าน

และอ่านคำพื้นฐานได้ ๘๐๐ คำขึ้นไป

เกณฑ์การประเมินการอ่าน

๓) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรอง

ที่มีความยากง่ายใกล้เคียงกับหนังสือเรียน ชั้นประถมศึกษา

ปีที่ ๓ ด้วยความเข้าใจ และมีมารยาทในการอ่าน และอ่าน

คำพื้นฐานได้ ๑,๒๐๐ คำขึ้นไป

๔) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรองที่

มีความยากง่ายเท่ากับหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ได้ถูกอักขรวิธี ฉันท์ลักษณ์ เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง มีมารยาท

ในการอ่าน สรุปใจความสำคัญและข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น

จากเรื่องที่อ่านได้ตามเวลาที่กำหนด

เกณฑ์การประเมินการอ่าน

๕) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรอง

ที่มีความยากง่ายเท่ากับหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ ๕ ได้ถูกอักขรวิธี ฉันท์ลักษณ์ เว้นวรรคตอนได้

ถูกต้อง มีมารยาทในการอ่าน สรุปใจความสำคัญและ

ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น จากเรื่องที่อ่านได้ตามเวลาที่

กำหนด

๖) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรอง

ที่มีความยากง่ายกับหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ได้ถูกอักขรวิธี ฉันท์ลักษณ์ เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง

มีมารยาทในการอ่าน สรุปใจความสำคัญแยกแยะ

ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น จากเรื่องที่อ่านได้ตามเวลาที่

กำหนด

เกณฑ์การประเมินการเขียน

๑) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เขียนคำพื้นฐานได้ ๖๐๐ คำ

ขึ้นไป ได้ถูกต้อง สะอาด อ่านง่าย มีการเว้นวรรคตอน

และเขียนประโยคง่ายๆ ที่สื่อความหมายได้ โดยใช้

คำพื้นฐาน ชั้น ป.๑ และมีมารยาทในการเขียน

๒) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เขียนคำพื้นฐานเพิ่มจาก

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ได้ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ คำ

เขียนบรรยายภาพ และมีมารยาทในการเขียน

๓) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เขียนคำพื้นฐานเพิ่มจาก

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้ไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ คำ

เขียนเรื่องจากภาพ และมีมารยาทในการเขียน

เกณฑ์การประเมินการเขียน

๔) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เขียนย่อความได้คล่องแคล่ว

รวดเร็ว เนื้อหาสาระชัดเจน การใช้ภาษาถูกต้องและ

เหมาะสม องค์ประกอบถูกต้องครบถ้วน และมีมารยาท

ในการเขียน

๕) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เขียนแสดงความรู้สึกและ

ความคิดเห็น ได้คล่องแคล่ว รวดเร็ว เนื้อหาสาระชัดเจน

การใช้ภาษาถูกต้องและเหมาะสม องค์ประกอบถูกต้อง

ครบถ้วน และมีมารยาทในการเขียน

๖) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เขียนเรียงความได้คล่องแคล่ว

รวดเร็ว เนื้อหาสาระชัดเจน การใช้ภาษาถูกต้องและ

เหมาะสม องค์ประกอบถูกต้องครบถ้วน และมีมารยาทใน

การเขียน

การบูรณาการ

ภาษาไทยกับสาระวิชาอื่นๆ

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

๑. กิจกรรมเตรียมความพร้อม

๑.๑ กิจกรรมพัฒนาสมอง โดยใช้ดนตรี การร้องเพลง การเต้นรำ การนั่งสมาธิหรือกิจกรรมที่โรงเรียนเห็นสมควร เพื่อเป็นการบริหารสมองให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ก่อนการเรียนทุกวัน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ใช้เวลาประมาณ ๑๐-๑๕ นาที

๑.๒ กิจกรรมคลายสมอง เช่น กิจกรรมขยับกายคลายสมองเป็นกิจกรรมที่จัดในช่วงเปลี่ยนชั่วโมงเรียน โดยนักเรียนทุกคนเต้นประกอบเพลงตามจังหวะที่เร้าใจ ทำให้นักเรียนผ่อนคลายสมอง ส่งผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ ในชั่วโมงต่อไป ใช้เวลาประมาณ ๕ นาที

๒. กิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการ

๒.๑ กิจกรรมพัฒนาการอ่าน การเขียน เป็นกิจกรรมที่เน้นการอ่านและเขียนคำพื้นฐานตามที่สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดในแต่ละชั้น ประโยค หรือข้อความสั้นๆ เรื่องราวในสื่อต่างๆ หรือหนังสือตามระดับชั้นของนักเรียน

แนวทางการจัดกิจกรรม มีดังนี้

ขั้นที่ ๑ ครูอ่านคำพื้นฐานให้นักเรียนเขียนตามคำบอก รวมทั้งอ่านประโยค หรือข้อความสั้นๆ เรื่องราวในสื่อต่างๆ หรือหนังสือตามระดับชั้นของนักเรียน ดังนี้

ป.๑ อ่านและเขียนคำพื้นฐานได้ ๖๐๐ คำขึ้นไป

ป.๒ อ่านและเขียนคำพื้นฐานเพิ่มจากชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ คำ และมีมารยาทในการอ่าน

ป.๓ อ่านและเขียนคำพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ คำ และมีมารยาทในการอ่าน

ป.๔ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรองที่มีความยากง่ายใกล้เคียงกับหนังสือเรียน สรุปใจความสาคัญ และมีมารยาทในการอ่าน

ป.๕ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรองที่มีความยากง่ายใกล้เคียงกับหนังสือเรียน สรุปใจความสาคัญ ข้อคิดเรื่องที่อ่าน และมีมารยาทในการอ่าน

ป.๖ อ่านข้อความ เรื่อง บทร้อยกรองที่มีความยากง่ายใกล้เคียงกับหนังสือเรียน สรุปใจความสาคัญ แยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และมีมารยาทในการอ่าน

.กิจกรรมเสียงตามสาย

กิจกรรมเสียงตามสาย เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้ฝึกอ่านข่าว นิทาน เรื่องสั้น เพื่อเป็นการฝึกทักษะด้านการอ่านออกเสียงให้มีความถูกต้องชัดเจน เนื่องจากต้องอ่านข่าว นิทาน หรือเรื่องสั้นให้ครูที่รับผิดชอบฟังก่อนออกอากาศรายการ เป็นการฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออกและเพิ่มความมั่นใจในการอ่านอีกด้วย

แนวทางการจัดกิจกรรม มีดังนี้

๑. ครูมอบหมายให้นักเรียนฝึกการค้นคว้าหาข้อมูล และทากิจกรรมเสียงตามสาย

๒. ฝึกอ่านกับครู ก่อนการอ่านออกอากาศเสียงตามสาย โดยเน้นการอ่านถูกต้องตามหลักการอ่าน

๓. อ่านออกเสียงตามสาย/ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย

๔. ครูประเมินการอ่านของนักเรียนและแนะนาการอ่านอย่างถูกต้องได้

กิจกรรมเขียนแต่งประโยคจากภาพ

กิจกรรมเขียนแต่งประโยคจากภาพเหมาะสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ เป็นกิจกรรม ที่นักเรียนได้ฝึกเขียนคำ วลี หรือประโยคสั้นๆ ตามสิ่งที่มองเห็นจากภาพ ได้จินตนาการหรือตีความหมายของภาพให้เป็นตัวหนังสือ ทำให้นักเรียนมีทักษะการเขียนเพิ่มขึ้น ทาให้จดจำคำ วลี หรือประโยคได้แม่นยำขึ้น

แนวทางการจัดกิจกรรม มีดังนี้

๑. ครูนำภาพให้นักเรียนดู หรือพานักเรียนไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน จากนั้นนักเรียนเขียนคำหรือวลีตามสิ่งที่มองเห็น

๒. นักเรียนนำเสนอผลงานที่เขียนให้ครูและเพื่อนได้ตรวจคำถูกและคำผิด

กิจกรรมการเรียนการสอนจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในโรงเรียน

กิจกรรมการเรียนการสอนจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในโรงเรียน เป็นการเรียนนอกห้องเรียนหรือเรียกว่า ห้องเรียนธรรมชาติ ซึ่งโรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายตามแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในหรือนอกโรงเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนและชุมชน ดังนี้

แหล่งเรียนรู้สนามเด็กเล่น/กระบะทราย

แนวทางการจัดกิจกรรม มีดังนี้

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับหัตถศิลป์ทรายในสนามเด็กเล่น โดยให้นักเรียนคิดปั้นทรายเป็นรูปต่างๆ ให้คิดและเขียนคำศัพท์จากรูปที่ปั้นนามาเรียงร้อยคำให้เป็นประโยค แล้วให้อ่านคำ อ่านประโยคที่แต่งของแต่ละคน แล้วนาประโยคมาแต่งเป็นเรื่องราวต่างๆ ตามรูปที่ปั้น โดยใช้ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานในการเขียนเป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม

การวัดประเมินผล

วัดผลจากการอ่าน การเขียนคำศัพท์ วัดผลจากการเขียนประโยค วัดผลจากการเขียนเรียงความ จากแบบประเมินการอ่าน การเขียนคำ การเขียนประโยค และการเขียนเรียงความ

แหล่งเรียนรู้ต้นไม้คุณธรรม

แหล่งเรียนรู้ต้นไม้คุณธรรมเป็นแนวการจัดกิจกรรม เป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ โดยให้นักเรียนอ่านป้ายข้อความที่เป็นคำขวัญ สุภาษิตคำพังเพย คติสอนใจ ที่ติดไว้ตามต้นไม้แล้วจดบันทึกคำขวัญ สุภาษิตคำพังเพย คติสอนใจ และนำไปค้นหาความหมายจากพจนานุกรม ต่อจากนั้นคัดเลือกข้อความบางส่วนนำไปผูกเป็นเรื่องราวสั้นๆได้ หรือแต่งเป็นนิทาน นักเรียนจะได้นำไปฝึกการอ่าน การเขียน คิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการ

การวัดประเมินผล

วัดผลจากการอ่าน คำขวัญ สุภาษิตคำพังเพย คติสอนใจ การเขียนคำศัพท์ วัดผลจากการเขียน ประโยค วัดผลจากการเขียนเรื่องราวสั้นๆ จากแบบประเมินการอ่าน การเขียนคำ การเขียนประโยค และการเขียนเรียงความ

แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียน

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยให้นักเรียนสำรวจสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตภายในโรงเรียน แล้วจดบันทึกลงในสมุดบันทึก นำเสนอหน้าชั้นเรียน นักเรียนช่วยกันสรุปเป็น Mind Mapping พร้อมทั้งนำคำมาแจกลูกคำ และแต่งประโยค

การวัดประเมินผล

๑. วัดผลจากการอ่าน แต่งประโยค การเขียนบันทึก การพูด และมารยาทการฟัง จากแบบประเมินการอ่าน การเขียน การเขียนประโยค และการเขียนเรียงความ

แหล่งเรียนรู้ส้วมสุขสันต์

แหล่งเรียนรู้ส้วมสุขสันต์ เป็นแนวการจัดกิจกรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ส้วมสุขสันต์ช่วยแก้ปัญหาการอ่าน การเขียน โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมดังนี้

๑. เขียนเล่าประสบการณ์ ขั้นตอน การปฏิบัติตนในการใช้ห้องส้วม

๒. เขียนชื่อวัสดุ อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องส้วม

๓. เขียนคำขวัญ คำกลอน เกี่ยวกับการใช้ห้องส้วม

๔. สร้างกฎระเบียบการใช้ห้องส้วม

๕. เขียนขั้นตอนการทำความสะอาดห้องส้วม

การวัดประเมินผล

๑. วัดผลจากการอ่าน แต่งประโยค การเขียนบันทึก การพูด และมารยาทการฟัง จากแบบประเมินการอ่าน การเขียน การเขียนประโยค และการเขียนเรียงความ

แหล่งเรียนรู้ห้องสมุดยืนอ่านหรือห้องสมุดในสวน

แหล่งเรียนรู้ห้องสมุดยืนอ่านหรือห้องสมุดในสวนเป็นการให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์หรือจากอินเทอร์เน็ต เพื่อนำความรู้นั้นมาติดไว้ที่ป้ายนิเทศห้องสมุดยืนอ่านตามบริเวณต่างๆ ภายในโรงเรียนโดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปศึกษาในห้องสมุด

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากห้องสมุดยืนอ่าน ให้นักเรียนนำเสนอเรื่องที่อ่านจากห้องสมุดยืนอ่าน และบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน เสร็จแล้วนักเรียนรวบรวมคำเขียนลงในสมุดบันทึกสะสมคำจากการอ่าน

แหล่งเรียนรู้จราจรในโรงเรียน

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎจราจร โดยให้นักเรียนอ่านคำบรรยายใต้ป้ายเครื่องหมายจราจรแต่ละป้าย แล้วให้นักเรียนวาดภาพระบายสีป้ายจราจร และเขียนคำตามป้ายจราจรที่นักเรียนศึกษา และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

การวัดประเมินผล กิจกรรมแหล่งเรียนรู้จราจรในโรงเรียน

๑. วัดผลจากการอ่าน การเขียน การพูด และมารยาทในการฟัง จากแบบประเมินการอ่าน การเขียน และมารยาทในการฟัง