จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง

ความรู้

เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง เรียนต่อ “วิศวะ” ได้ไหม?

จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง

เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง เรียนต่อ วิศวะ ได้ไหม?

สวัสดีครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆ ท่าน เป็นยังไงกันบ้างครับ ช่วงนี้อากาศร้อนมากๆ แต่บางทีก็หนาว อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ ยังไงก็ขอให้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆ ท่าน มีสุขภาพแข็งแรง กันทุกๆ ท่าน เลยนะครับผม ขอบคุณมากครับ

หากเราจะคุยกันเรื่องการเรียนต่อ ของน้องๆ คนที่เรียนสายอาชีพ หรือ เรียนจบ ปวช. หรือ ปวส. มานั้น ก็สามารถศึกษาเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปได้ ในหลายๆ ช่องทางกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยเอกชน

ในส่วนตัวผมมองว่า สำหรับช่องทางการเรียนต่อของน้องๆ สายอาชีพนั้น ยังไม่ค่อยเปิดกว้าง มากพอ หากเรานำไปเปรียบเทียบกับน้องๆ ที่เรียนจบสายสามัญ หรือ ชั้น ม. 6 มานั้นเอง เพราะว่า มหาวิทยาลัยที่เปิดรับน้องๆ ที่เรียนจบสายอาชีพมานั้น มีจำนวนจำกัด ไม่ได้เปิดรับในทุกๆ มหาวิทยาลัยนั้นเอง

จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง

ก่อนอื่นผมต้องขออธิบายก่อนนะครับว่า ปวช. และ ปวส. นั้นคืออะไร

ปวช. ย่อมาจาก “ประกาศนียบัตรวิชาชีพ” รับคนที่จบวุฒิ ม.3 หรือเทียบเท่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมดตามหลักสูตร 3 ปี เรียนจบมาแล้วจะได้รับวุฒิ “ประกาศนียบัตรวิชาชีพ” หรือ เทียบเท่าวุฒิ ม.6 นะครับผม

ปวส. ย่อมาจาก “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง” รับคนที่จบวุฒิ ปวช., ม.6 หรือ เทียบเท่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมดตามหลักสูตร 2 ปี เรียนจบมาแล้วจะได้รับวุฒิ “ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง” หรือ เทียบเท่าวุฒิ “อนุปริญญา” นะครับผม

สำหรับน้องๆ หลายคนที่กำลังเรียน ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง อยู่ หรือ น้องๆ ที่เรียนจบแล้วก็ตาม ที่อยากจะรู้ว่า ตัวเองจะมีโอกาสที่จะศึกษาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้หรือไหมนั้น เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดกันได้เลยนะครับ

จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง

หลังจากที่ผมได้ทำการศึกษาหาข้อมูลมาพอสมควรแล้วนั้น ก็ได้คำตอบมาว่า สำหรับน้องๆ ที่เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง นั้น สามารถศึกษาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นะครับ เพียงแค่มีเงื่อนไขบ้างอย่างที่ไม่เหมือนน้องๆ ที่เรียนจบมาจากสายสามัญ หรือ ม.6 นั้นเอง ครับผม

น้องๆ ที่เรียนจบ ปวช. / ปวส. สายอาชีพ สาขาช่าง สามารถเข้าไปศึกษาหารายละเอียดเพิ่มเติมที่ชัดเจนมากขึ้น ได้ตาม เว็บไซต์ หรือช่องทางการติดต่อ ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้เลยนะครับผม เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวน้องๆ เองด้วยนะครับ

สำหรับ น้องๆ ที่เรียนจบ. ปวช. มานั้นก็สามารถสอบโควต้า หรือ สอบเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษาได้ตามระเบียบของแต่ละแห่งได้เหมือนน้องๆ ที่เรียนจบ ม. 6 มาเลยนะครับ

ส่วนน้องๆ ที่เรียนจบ ปวส. มานั้น อาจจะมีทางเลือกน้อยกว่า เพราะมีเพียงมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่เปิดรับ วุฒิ ปวส. เข้าหลักสูตรเทียบโอน ในระดับปริญญาตรี ใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 3 ปี ต่อเนื่อง นั้นเองครับผม

จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง

ผมจะขอยกตัวอย่าง สถาบันการศึกษาที่เปิดรับน้องๆ สายอาชีพ ปวช. และ ปวส. นั้น มีดังนี้นะครับ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ, สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา, มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ ทั่วประเทศ

นี่ก็เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ เบื้องต้นเท่านั้น หากน้องๆ มีความสนใจในการศึกษาเรียนต่อ ก็สามารถเข้าไปหารายละเอียดต่างๆ ได้ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้เลยนะครับ ขอบคุณมากๆ ครับผม

จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง

สุดท้ายนี้อยากจะฝากน้องๆ ไว้ว่า...

โอกาสไม่ได้มาหาใครง่ายๆ หากมีโอกาสมาหาแล้ว ก็จงคว้ามันมาให้ได้ แต่หากโอกาสยังไม่มาหาเรา ก็อย่านั่งรอโอกาส จงวิ่งไปตามหาโอกาส แล้วเราก็จะได้โอกาสมาเอง

ภาพหน้าปกจาก: Pixabay / Gillian Callison

ภาพจากลำดับที่ 1 จาก: Pixabay / Stefan Gebhard

ภาพจากลำดับที่ 2 จาก: Pixabay / graphiclinegroup

ภาพจากลำดับที่ 3 จาก: Pixabay / RAEng_Publications

ภาพจากลำดับที่ 4 จาก: Pixabay /  RAEng_Publications

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

ความคิดเห็น

จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

ปวส. ย่อมาจาก อะไร ?

ปวส. ย่อมาจาก อะไร คำว่า ปวส. ย่อมาจาก ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยผู้ที่เรียนจบ ปวส. นั้นจะเทียบเท่าวุฒิ อนุปริญญา โดยหากไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยอีก 2 ปีในสาขาที่เกี่ยวข้องก็จะได้รับวุฒิปริญญาตรี ซึ่ง ปวส. นั้นส่วนมากจะเรียนกัน 2 ปีก็จะจบการศึกษาและไปทำงานได้ทันที โดยการเรียนสายอาชีพนั้นจะเน้นในการปฏิบัติงานเป็นหลัก และเน้นความรู้เฉพาะด้าน เช่น ปวส. ช่างยนต์ ปวส. ก่อสร้าง อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม บริหารธุรกิจ และอื่น ๆ

จบ ป. ว ส ต่อ คณะอะไรได้บ้าง


ซึ่งการเข้าศึกษาในระดับ ปวส. นั้นผู้เรียนนั้นจะต้องสำเร็จการศึกษาจากการศึกษาระดับปวช.ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ มัธยมศึกษา ปีที่ 6 ในสาขาที่เกี่ยวข้องเสียก่อน หรือใกล้เคียงถึงจะสามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. ได้

ปวช. นั้นเป็นการศึกษาสายอาชีพที่สามารถทำงานเฉพาะทางได้เลย เมื่อสำเร็จการศึกษาออกไป ซึ่งเมื่อเทียบกับการศึกษาในสายสามัญนั้น มัธยมปลายนั้นแทบจะทำอะไรไม่ได้ในสายงานดังกล่าว ผู้ที่จบ ปวช. และ ม.6 นั้นมี วุฒิเท่ากัน แต่ว่าถ้าเอาวุฒิ ม. 6 กับ ปวช. ไปสมัครงาน ปวช. จะได้งาน และมีความก้าวหน้ากว่า เพราะว่าทำงานได้เลยทันที และมีโอกาสได้งานทำมากกว่าการใช้วุฒิ ม.6 ไปสมัครงาน แต่ไม่สามารถเอาวุฒิ ปวช. ไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยทั่วไปได้ เพราะว่าการเรียนในหลักสูตรนั้นแตกต่างกันนั่นเอง

ผู้ที่เรียนจบ ปวช. นั้นจะต้องไปเรียนต่อในสาขาที่เกี่ยวข้อง ในระดับ ปวส. 2 ปีก่อนถึงจะสามารถใช้วุฒิ ปวส. นั้นไปสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่เปิดรับวุฒิ ปวส. ซึ่งสามารถเทียบได้กับ วุฒิอนุปริญญา นั่นเองแต่ก็จะมีตัวเลือกมหาวิทยาลัยน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งจะรับเทียบวุฒิ ปวส. เรียนต่ออีก 2 ปีก็จะได้วุฒิปริญญาตรี

  • สายอาชีพ จบ ม.3 > ปวช.  > ปวส.  > เรียน 2 ปี ปริญญาตรี
  • สายสามัญ จบ ม.3  > ต่อ ม.4-ม.6   > ปริญญาตรี 

ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันง่ายๆ แบบเห็นภาพจริงก็คือ

  • ปวช. วุฒิเทียบเท่า มัธยมปลาย
  • ปวช.1 คือ ม.4
  • ปวช.2 คือ ม.5
  • ปวช.3 คือ ม.6
  • ปวส. เทียบเท่า มหาวิทยาลัย ปี 2 สำเร็จการศึกษา ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย 2 ปี ก็จะได้วุฒิปริญญาตรีนั่นเอง


เปรียบเทียบ ข้อดีข้อเสีย ของสายสามัญ และ สายอาชีพ

สายสามัญ

ข้อดี : เรียนสายสามัญนั้นจะดีกว่า ตรงที่สามารถเรียนต่อ ป.ตรี ได้ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ ทุกสาขา โดยเฉพาะ ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต ที่สามารถเลือกสมัคร สอบ เรียนต่อได้ทุกสาขาวิชา ทุกคณะ โดยนักเรียนกลุ่มนี้ จะสามารถสมัครสอบเข้า มหาวิทยาลัยของรัฐชื่อดังต่าง ๆ เช่น จุฬา, ธรรมศาสตร์, เกษตร, มหิดล ฯลฯ ได้เลยถ้าสอบติด หรือผ่านการคัดเลือก หรือสามารถนำวุฒิไปสอบเป็นพนักงานราชการ สมัครงานหน่วยงานรัฐ ทหาร ตำรวจ นายสิบ
ข้อด้อย : ถ้าเรียนจบสายสามัญ ม.ปลาย แล้วไม่เรียนต่อ ป.ตรี ที่มหาวิทยาลัยนั้นหาตำแหน่งงานยากพอสมควรเพราะว่าไม่มีความรู้เฉพาะทางเหมือนอย่างสายอาชีพที่จบ ปวช. ที่จบออกมาแล้วสามารถทำงานได้เลย ซึ่งงานที่ได้ก็จะเงินเดือนไม่ค่อยดีเท่าที่ควรเช่นเป็นพนักงานเซเว่น พนักงานบริการ
ถ้าจบมัธยมปลายแล้วนั้นแนะนำให้ไปเรียนต่อปริญญาตรีต่ออีก 4 ปีในมหาวิทยาลัยรัฐหรือเอกชน จะช่วยให้ได้งานและได้เงินเดือนมากกว่า ม.6 และ วุฒิ ปวส. แน่นอน และมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากกว่าวุฒิปวส. อยู่พอสมควร

สายอาชีพ

ข้อดี : ในสายอาชีพนั้น ในวุฒิ ปวช. นั้นเมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาในสาขาต่าง ๆจะสามารถทำงานได้เลยทันที โดยจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ที่สามารถใช้ความรู้ในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือประกอบอาชีพส่วนตัวได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นและความสามารถที่มากขึ้น รวมทั้งเงินเดือนที่เยอะขึ้นนั้นแนะนำว่าให้เรียนต่อในระดับ ปวส. จะดีกว่า และก็จะได้เงินเดือนดีกว่าจบ ม.ปลาย และหางานได้ง่ายกว่านั่นเอง
ข้อด้อย : แต่สำหรับ กลุ่มที่จบ ปวส.นั้นหากต้องการที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีนั้น จะมีมหาวิทยาลัยที่เป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างจำกัด โดยจะมีพวก ราชมงคล, ม.ราม, มสธ., ม.เอกชน, สายช่าง 3 พระจอม, สายเกษตร แม่โจ้ ซึ่งมีตัวเลือกน้อยกว่าสายสามัญพอสมควร และข้อเสียของสายอาชีพที่จบ ปวส. นั่นก็คือ พอทำงานไปถึงจุดจุดหนึ่ง ทั้งตำแหน่งงาน และเงินเดือน จะตันในช่วงปลายเพราะว่าวุฒิการศึกษา มันปรับระดับให้เงินเดือนได้สูงสุดแค่นั้น ซึ่งแตกต่างจากจบปริญญาตรี ตรงที่ตำแหน่งถึงจะตันเหมือนกัน แต่ตันช้ากว่า และตันที่เงินเดือนสูงกว่า นั่นเอง ดังนั้นสำหรับคนที่จบ ปวส.แนะนำให้เรียนต่อ อีก 2 ปีให้ได้ปริญญาตรีจะช่วยให้อาชีพมีความก้าวหน้ามากขึ้น

คุณอาจจะได้ยินคนบอกว่า คนทำงานสายอาชีพนั้น หางานง่ายกว่าคนที่จบบปริญญาตรี ถูกต้องเพราะว่าคนจบ ปวส. นั้นเงินเดือนน้อยกว่าคนจบปริญญาตรี แต่อย่างลืมว่า ในสายงานเดียวกัน ตำแหน่งเดียวกัน เริ่มต้นพร้อมกัน เงินเดือน ป.ตรีสตาร์ทสูงกว่า ปวส. แน่นอน เพราะว่ามีวุฒิสูงกว่าและมีความก้าวหน้ามากกว่า ปวส.

ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ

ปวส.ช่างไฟฟ้า กับ ป.ตรี วิศวกรไฟฟ้า วิศวกร วุฒิ ป.ตรี ย่อมได้เงินเดือนสตาร์ทสูงกว่านายช่าง ปวส. และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากกว่า

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

http://statstd.nso.go.th/definition/projectdetail.aspx?periodId=45&defprodefId=538