การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

วัวนมพันธุ์โฮลสไตน์ (Holstein) เป็นวัวที่ให้ผลผลิตสูงเเต่เป็นวัวที่มีเขาที่ค่อนข้างอันตราย

อัลลิสัน แวน อีนเนนนัม แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ แดวิส กล่าวว่าวัวนมพันธุ์นี้ค่อนข้างอันตรายสำหรับคนงานเเละวัวตัวอื่นๆ ซึ่งปกติเเล้ว ต้องมีการจับตัดเขาทิ้ง แต่เทคโนโลยีการตัดต่อยีนเฉพาะอย่างทิ้งทำให้วัวพันธุ์นี้ไม่มีเขาอีกต่อไป

แวน อีนเนนนัม กล่าวว่าเทคโนโลยีนี้เหมือนกับกรรไกรโมเลกุลที่สามารถสั่งให้ตัดดีเอ็นเอจุดใดจุดหนึ่งออกจากโครงสร้างยีนทั้งหมดเเละสามารถใช้ยีนใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ต้องการใส่ลงไปทดแทน

ในกรณีของวัวนมพันธุ์โฮลสไตน์ นักพันธุศาสตร์ทดแทนยีนตัวที่ทำให้วัวขนิดนี้มีเขา ด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมจากวัวแองกัส (Angus) ที่ไม่มีเขา

เทคโนโลยีการตัดต่อยีนนี้จะกลายเป็นการทำพันธุวิศวกรรมสมัยใหม่เเละเริ่มมีผลต่ออุตสาหกรรมผลิตอาหารเเล้ว นอกเหนือจากการความสำเร็จในการทำให้วัวนมโฮลสไตน์ไร้เขา

นักวิทยาศาสตร์ได้ตัดต่อยีนถั่วเหลืองเพื่อให้ปลอดจากไขมันไม่อิ่มตัวเวลานำไปผลิตเป็นน้ำมันถั่วเหลือง เเละยังตัดแต่งยีนของเห็นเพื่อให้ไม่กลายเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว

บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังหวังว่าเทคโนโลยีใหม่การดัดแต่งยีนนี้อาจช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นกับการปลูกพืชอาหารและการเลี้ยงสัตว์

ยกตัวอย่างโรคกรีนนิ่ง (greening disease) ที่ทำลายผลผลิตผลไม้ตระกูลส้มของสหรัฐฯ อย่างรุนแรงเเละพบว่าระบาดในอินเดียกับจีนด้วย

เฟรก มิทเทอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้ากล่าวว่าโรคพืชชนิดนี้ทำให้ผลผลิตส้มจากราว 240 ล้านกล่องต่อปีเมื่อ 15-18 ปีที่แล้วลงมาอยู่ที่ 45 ล้านกล่องในฤดูเก็บเกี่ยวที่ผ่านมา

บรรดานักวิทยาศาสตร์เหล่านี้กำลังทดลองปรับเเต่งรหัสพันธุกรรมของพืชเพื่อพัฒนาต้นส้มที่ต่อต้านต่อโรคชนิดนี้ โดยไม่ใช้พันธุกรรมจากพืชอื่นเสริมเข้าไป แต่เป็นการกระตุ้นให้ต้นส้มวิวัฒนาการคุณสมบัติต่อต้านเชื้อโรคขึ้นเองตามธรรมชาติ

มิทเทอร์กล่าวว่าทีมนักวิจัยของเขากำลังมุ่งเปลี่ยนลำดับดีเอ็นเอของพืชซึ่งเป็นลำดับที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าสำคัญมากที่ต้องชี้ให้เห็นความเเตกต่างระหว่างพันธุวิศวกรรมกับการดัดแปลงยีน

เจนนิเฟอร์ คุซมา นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ท แคโรไลนา กล่าวว่าจีเอ็มโอเป็นเทคโนโลยีรุ่นเเรก ซึ่งเป็นการนำยีนชนิดใหม่ใส่เข้าไปในพืช โดยยีนตัวใหม่จะเข้าไปอยู่ในจุดในจุดหนึ่งก็ได้ของโคโมโซม ในขณะที่ การดัดแปลงพันธุกรรมด้วยการตัดเเต่ง คล้ายๆกับการตัดประโยคหนึ่งประโยคหรือคำหนึ่งคำออกไป ซึ่งเป็นการตัดตรงจุดและเฉพาะเจาะจง

แม้ว่าจะมีการตัดแต่งยีนตรงจุด คุซมานยังกังวลเกี่ยวกับอาหารที่ใช้เทคโนโลยีพันธุวศวกรรมเพราะการเปลี่ยนแปลงเเม้จะน้อยนิด อาจสร้างผลกระทบแบบไม่จงใจ

เธอต้องการเห็นอาหารจีเอ็มโอทุกอย่างเข้าสู่ขั้นตอนการรับรองที่เข้มข้นเป็นกรณีกรณีไปเพื่อค้นหาผลกระทบจากการปรับเเต่งยีนที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) คือกระบวนการที่ได้นำความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (molecular biology) นำมาประยุกต์ใช้ใน การปรับเปลี่ยน, ดัดแปลง, เคลื่อนย้าย, ตรวจสอบ สารพันธุกรรม[ดีเอ็นเอ (DNA)], ยีน(gene) และผลิตภัณฑ์ของสารพันธุกรรมอย่างพวกอาร์เอ็นเอ(RNA)และโปรตีนของสิ่งมีชีวิต เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
โดยปกติแล้ว พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จะเป็นการตัดต่อยีน(gene)หรือเป็นการเคลื่อนย้ายยีน (transgenesis)จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งใส่เข้าไปกับยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง นั่นคือทำให้เกิดการถ่ายทอดของยีน(gene)และลักษณะที่ยีน(gene)นั้นได้ทำการควบคุมอยู่ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)ใส่เข้าไป มียีน(gene)ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยอาจทำการเพิ่มปริมาณยีน(gene)ขึ้นอีกเพื่อให้มีปริมาณที่มากเพียงพอที่จะนำไปทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น และทำให้ได้ปริมาณของผลผลิตที่สูงขึ้นอีกด้วย โดยที่พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)อาจจะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่(novel)ที่อาจไม่เคยปรากฏในธรรมชาติมาก่อน

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
ตัวอย่างที่ทำพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เช่น การใส่ยีน(gene)ที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin)เข้าไปในแบคทีเรียหรือยีสต์ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin)ได้ แล้วทำการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้ได้ในปริมาณที่มากเพื่อจะได้ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin)ได้มากตาม โดยสามารถนำมาทำการสกัดให้บริสุทธิ์เพื่อใช้ทำการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เป็นต้น

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
สิ่งมีชีวิตที่ได้จากพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายยีน เรียกว่า สิ่งมีชีวิตเคลื่อนย้ายยีน (transgenic organisms) อย่างในกรณีของพืชก็จะถูกเรียกว่า transgenic plants (พืชเคลื่อนย้ายยีน หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม) แต่มักจะเรียกสิ่งมีชีวิตที่ได้จากพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)รวมๆโดยทั่วๆไปว่าเป็น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organisms, GMOs)

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน
โดยที่มีการกล่าวกันว่าการเกิดพันธุวิศวกรรม(genetic engineering)คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า Genomic revolution

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

http://www.thaibiotech.info/what-is-genetics-engineering.php

การตัดต่อยีนเพื่อใช้ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน