โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย

           โรงไฟฟ้าในโลกเรานี้ มีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามความต้องการ หรือความจำเป็นของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะดูจากทรัพยากรพลังงาน หรือสภาพภูมิอากาศของประเทศนั้นๆ ในปัจจุบันโรงไฟฟ้าในประเทศไทยจะเป็นโรงไฟฟ้าชนิด พลังงานความร้อนร่วมเป็นส่วนใหญ่ (55%) และรองลงมาคือ โรงไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน  (25%) โดยส่วนมากกว่า 75% จะใช้ก๊ษซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงอย่างไรก็ตาม การที่ประเทศใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าประเภทใดประเภทหนึ่งมาก ถือเป็นความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ดังนั้นในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2553-2573 ซึ่งจัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงได้วางแผนที่จะเพิ่มการใช้ถ่านหินสะอาด นิวเคลียร์ และ พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เข้ามาในระบบ

ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทุกวันผลิตมาจากโรงไฟฟ้าซึ่งมีแหล่งพลังงานป้อนเข้าโรงไฟฟ้าไม่เหมือนกัน แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ

ได้แก่

  • โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงเหลว เป็นต้น
  • โรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า เช่น ใช้พลังงานหมุนเวียนจำพวก ลม น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล เป็นต้น

โรงไฟฟ้าสองประเภทนี้ผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับสายส่งไปยังสถานีย่อยต่างๆ เพื่อให้เราได้ใช้งาน ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้งสองประเภทนี้มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป

โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมีต้นทุนเชื้อเพลิงที่ราคาไม่สูงและสามารถควบคุมการผลิตไฟฟ้าได้ง่าย ส่วนโรงไฟฟ้าแบบที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าจะมีภาษีดีกว่าในด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้

โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย

รูปข้างบนเป็นสถิติการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงต่างๆของโลก จะเป็นว่าแนวโน้มที่พุ่งสูงขึ้นไปต่อจะมี ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียน

ทุกประเทศไม่สามารถเลือกใช้โรงไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่งได้เนื่องจากปัญหาความมั่นคง แต่สามารถวางนโยบายปรับเปลี่ยนการเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับการเติบโต พัฒนาประเทศ และเทคโนโลยีพลังงานที่ก้าวหน้ามากขึ้นได้

“ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ (Biomass)” สารอินทรีย์ทุกรูปแบบที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานได้ โดยไม่นับการกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลไปแล้ว โดยมากมาจาก กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร หรือ กากจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย ใบและยอดอ้อย เศษไม้ เส้นใยและกะลาปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า ขยะมูลฝอย น้ำเสียจากโรงงาน หรือแม้กระทั่งมูลสัตว์ต่างๆ ฯลฯ

โรงไฟฟ้าชีวมวล

โรงไฟฟ้าชีวมวล คือ โรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุต่างๆที่เป็นชีวมวล เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า หรือ ผลิตไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นวัสดุชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกัน เช่น โรงน้ำตาลใช้กากอ้อยที่ได้จากการหีบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าโรงสีขนาดใหญ่ที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าการใช้ก๊าซชีวภาพ(Biogas) จากการหมักน้ำเสีย(ที่ได้มาจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมหรือมูลสัตว์(จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์) มาผลิตกระแสไฟฟ้า ฯลฯ

โรงไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ นั้นสร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้า จากหลายแหล่งพลังงาน  เราสามารถแบ่งประเภทของโรงไฟฟ้าได้หลายแบบ หากแบ่งประเภทของโรงไฟฟ้าตามแหล่งที่มา จะสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

‍โรงไฟฟ้าดีเซล
‍     ใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า มักใช้กับหน่วยผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าประเภทนี้ใช้พื้นที่น้อย ในการติดตั้งมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน  โรงไฟฟ้าดีเซลมักใช้เป็นโรงไฟฟ้าหรือหน่วยผลิตไฟฟ้าสำรองในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเกิดความขัดข้อง  แต่ไม่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เพราะมีค่าบำรุงรักษาสูงและน้ำมันดีเซลมีราคาสูง

‍โรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติ
‍     ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการเผาก๊าซธรรมชาติ  ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทหนึ่ง การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงประเภทนี้ปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการเผาไหม้ถ่านหิน หรือน้ำมัน  สำหรับในประเทศไทย มีการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในปริมาณ ประมาณร้อยละ 60 – 65 ของการผลิตไฟฟ้าใช้ในประเทศ

‍โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน
‍     ใช้ถ่านหิน (Steam coal or Therman coal) ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า  เนื่องจากเชื้อเพลิงประเภทนี้ปล่อยก๊าซอันตรายในปริมาณมากออกสู่ชั้นบรรยากาศ (หากโรงไฟฟ้าไม่มีระบบกรองและดักจับฝุ่นที่ดี) ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศจึงยกเลิกการใช้โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน  ด้วยคำนึงถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักด้านกิจการไฟฟ้า ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสมดุลของแหล่งพลังงาน โดยเฉพาะการกระจายการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสมและยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ พลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวลและก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ กฟผ. ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ที่ผ่านมา กฟผ. ได้ดำเนินโครงการวิจัย พัฒนาและสาธิตเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงหลัก อาทิ การศึกษาสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในปี พ.ศ. 2521 และได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งแรกของไทย ในปี พ.ศ. 2532 สถานที่ทดลองการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 มีชื่อว่า “สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ” สถานีสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสานแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2529 โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ทั้งนี้ เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกรูปแบบใหม่ที่จะช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จากการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน ยังช่วยผลักดันให้การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานเหล่านี้มีเสถียรภาพ และมีราคาเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พลังงานหมุนเวียนคืออะไร

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือพลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หรือมูลสัตว์ ก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น พลังงานหมุนเวียนจึงถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และยังสามารถส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย

ประเภทของพลังงานหมุนเวียน
พลังงานหมุนเวียนที่ทั่วโลกนิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานชีวมวล

  • โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย
    โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย

พลังงานน้ำ
พลังงานน้ำ (Hydropower) เป็นแหล่งพลังงานธรรรมชาติที่มีให้หมุนเวียนใช้อย่างไม่มีวันหมด น้ำนับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย โดยเฉพาะมนุษย์ที่ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างมากมาย ทั้งการบริโภคและอุปโภค นอกจากนี้น้ำยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนรูปของพลังงานจากน้ำที่เก็บกักในเขื่อน (พลังงานศักย์) ไหลผ่านท่อส่งน้ำ (พลังงานจลน์) ปั่นเครื่องกังหันน้ำ (พลังงานกล) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

ประเภทของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (Reservoir), โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-ofriver), โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-storage) และโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน

  • โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย
    โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย

พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) มีอยู่มากมายมหาศาลในธรรมชาติ เป็นพลังงานสะอาดที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อย่างแพร่หลาย สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน โดยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง และไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

กฟผ. ได้ศึกษาและจัดตั้งสถานีเพื่อสาธิตและศึกษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ สถานีพลังงานแสงอาทิตย์คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และสถานีพลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ ได้แก่ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำบริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำบริเวณเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

  • โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย
    โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย

พลังงานลม
พลังงานลม (Wind Energy) เป็นพลังงานจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิและความกดอากาศในแต่ละตำแหน่ง บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศจะร้อนมีความหนาแน่นน้อย เกิดการขยายตัวและลอยตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันอากาศในบริเวณที่เย็นกว่ามีความหนาแน่นมากกว่า จะเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ทำให้เกิดการไหลของอากาศหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากระแสลม

ในปัจจุบัน มนุษย์จึงได้นำประโยชน์จากพลังงานลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น การนำลมมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าทำได้โดยใช้เทคโนโลยีกังหันลม เมื่อกระแสลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลม กังหันลมจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมที่อยู่ในรูปของพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานกล จากนั้นจึงนำพลังงานกลจากการหมุนนี้ไปใช้งาน ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยาวของใบพัด และสถานที่ติดตั้งกังหันลม

ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลมของ กฟผ. ได้แก่ กังหันลมผลิตไฟฟ้า บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต, กังหันลมผลิตไฟฟ้า บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

  • โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย
    โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในไทย

พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) เป็นพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลก เช่นเดียวกับน้ำมันปิโตรเลียม แต่เก็บอยู่ในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ปกติแล้วขนาดของแนวรอยแตกที่ผิวดินจะใหญ่และค่อย ๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิวดิน เมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้นน้ำบางส่วนจะไหลซึมลงไปสะสมใต้ผิวโลกตามแนวรอยแตกดังกล่าว และได้รับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อน จนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ น้ำร้อนและไอน้ำจะพยายามแทรกตัวมาตามแนวรอยแตกของชั้นหินขึ้นมาบนผิวดินซึ่งปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อนน้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือดและแก๊ส เป็นต้น

การนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ผลิตไฟฟ้าทำได้โดยนำน้ำร้อนที่ได้ไปถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำ จนกระทั่งเดือดเป็นไอ แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันซึ่งมีเพลาต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป

พลังงานชีวมวล
พลังงานชีวมวล (Biomass) เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่กักเก็บในรูปของสารอินทรีย์ โดยมากได้จากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรหรือกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและพืชพลังงาน เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย ใบและยอดอ้อย เศษไม้ ไม้โตเร็ว เส้นใยและกะลาปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า ขยะมูลฝอย น้ำเสียจากโรงงาน หรือแม้กระทั่งมูลสัตว์ การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
1) การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง (Direct Combustion) ซึ่งจะใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass PowerPlant)
2) กระบวนการเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion) จนได้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) เช่น การหมักน้ำเสียจากกากมันสำปะหลัง กากอ้อย หรือหญ้าเนเปีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant) ต่อไป

กฟผ. ได้ให้ความสำคัญในด้านการผลิตไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงควบคู่กับการดูแลสังคมสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน กฟผ. ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (KAPI) และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดทำ “โครงการเพาะต้นกล้าไม้โตเร็ว สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน” ด้วยการสนับสนุนให้กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่ 4 อำเภอ ในจังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ และอำเภอเซกา ดำเนินการเพาะต้นกล้าไม้โตเร็ว และนำไปส่งเสริมการปลูกในพื้นที่สวนยางพาราและพื้นที่ว่างของชุมชน ได้แก่ ต้นกระถินเทพณรงค์ และต้นกระถินเทพา ซึ่งเป็นการสร้างงานสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนในปัจจุบัน และในอนาคตเมื่อไม้โตเร็วอายุ 3 – 4 ปี สามารถนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจำหน่ายให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งในและต่างประเทศได้ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต เพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนให้กับชุมชน