สถิติแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย 2564

หลังการรัฐประหารในเมียนมาเมื่อ ก.พ. 2564 การสู้รบระหว่างชนกลุ่มน้อยติดอาวุธทีผนึกกำลังกับผู้ต่อต้านการรัฐประหารกับรัฐบาลทหารก็รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดผู้อพยพเข้ามาชายแดนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาความปลอดภัยและโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า

การรัฐประหารปีที่แล้วนำมาสู่การเข่นฆ่าปราบปรามผู้ประท้วง ผู้บริสุทธิ์ถูกจับกุมมากกว่า 14,500 คน และมีผู้เสียชีวิตอีกกว่า 2,000 ราย ตามสถิติของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (Assistance Association for Political Prisoners - AAPP)

ผู้เห็นต่างที่เป็นปัญญาชน นักวิชาชีพต่าง ๆ ออกเดินทางสู่ป่า เข้าร่วมกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยติดอาวุธเพื่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร เกิดการปะทะระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยหลัก ได้แก่ กะเหรียงเคเอ็นยู ที่ปะทะกับทหารของรัฐบาลจนเกิดการตอบโต้ ทำให้พลเรือนต้องอพยพเข้ามาไทยอยู่บ่อยครั้งในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยทางไทยพยายามควบคุมไม่ให้เข้ามาก หรือใกล้พรมแดนไทยมากเกินไป

นายสมจิต รุ่งจำรัสรัศมี ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย ซึ่งประจำอยู่ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวเมื่อ 3 ส.ค. ว่า ปัจจุบันมีชาวเมียนมาลีเภัยสงครามเข้ามาอยู่บริเสณชายแดนประเทศไทยราว 228 คน "แต่เป็นตัวเลขไม่นิ่ง มีการเข้าออกตลอดเวลา" เมื่อสถานการณ์ฝั่งเมียนมาสงบลง ทางการไทยจะเข้าไปถามความสัมครใจของผู้ลี้ภัยให้เดินทางกลับประเทศ ทว่าชาวเมียนมาจำนวนไม่น้อยไม่ต้องการเดินทางกลับประเทศ

นอกจากชาวบ้านตามแนวชายแดนแล้ว คนจำนวนมากที่ไม่มีงานทำ เพราะการเมืองทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก รวมทั้ง ปัญญาชนและนักวิชาชีพที่ถูกคุกคามและปราบปรามจากรัฐ ก็มุ่งหน้าหาโอกาสที่ดีกว่ามาประเทศไทยเช่นกัน

คำบรรยายภาพ,

ชายชาวเมียนมาร้องไห้ระหว่างการรวมตัวบริเวณหน้าองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

นายสมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายคุณภาพชีวิตแรงงาน บอกว่าคนเหล่านี้ "หนีร้อนมาพึ่งเย็น หนีร้อนเศรษฐกิจ หนีร้อนการเมือง" จากวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้น ไทยจะเห็นคลื่นแรงงานฝีมือจากฝั่งเมียนมาทะลักเข้ามาเช่นเดียวกัน อาทิ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพครู-อาจารย์

"มีคุณครูอยู่ที่นั่นก็เริ่มสอนได้ไม่ปกติแล้ว หนีมาอยู่ไทย มาหางานทำ"

เขาอธิบายเพิ่มว่าทางเลือกแรกของผู้ลี้ภัยเหล่านี้คือการอยู่ที่ อ.แม่สอด ไปก่อน "ต้องอยู่ให้ได้ ก็มีระบบใต้ดินคอยช่วยเหลือ" ขณะที่เป้าหมายสำคัญยังเป็นการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ และปริมณฑล

ทำไมยังเลือกช่องทางผิดกฎหมาย

ชาวเมียนมาต้องการมาหางานทำในไทย ขณะที่ภาคเอกชนเองก็มีความต้องการเดียวกัน

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายพจน์​ อร่ามวัฒนานนท์​ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย​ กล่าวในงานเสวนาออนไลน์หัวข้อ​ ปัญหาแรงงานข้ามชาติซับซ้อนหรือซ้ำซาก​ว่าไทยมีสิทธิ "ขาดแคลนแรงงานถึง 1 ล้านคน" จากปัจจุบันที่ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวทั้งหมด 2.2 ล้านคน ที่เดินทางเข้าราชอาณาจักรอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา

ด้านหนึ่งรัฐบาลไทย มีนโยบายหลายเรื่องในความพยายามแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวขาดแคลน เช่น

เหตุใดการเข้ามาอย่างถูกกฎหมายถึงยังไม่ใช่เรื่องทั่วไป

นายสมพงษ์อธิบายว่า การเดินทางเข้ามาตามกฎหมาย MOU หมายความว่าแรงงานเหล่านี้ต้องผ่านการจ้างงานจากนายหน้าหรือบริษัทระหว่างประเทศ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ราว 40,000-50,000 ต่อคน

"เมื่อราคาสูง เขายอมเสี่ยงมาตายเอาดาบหน้าดีกว่า"

ราคาประเมินของการลักลอบเดินทางเข้าไทยอยู่ที่ราว 8,000-10,000 บาท/คน

และเมื่อแรงงานเหล่านี้ลักลอบเข้ามาในไทยได้แล้ว หากพวกเขาสามารถหานายจ้างได้ และนายจ้างพาไปจดทะเบียน พวกเขาก็จะสามารถอยู่ในประเทศไทยเพื่อทำงานได้

ขณะที่ภาครัฐของไทยพยายามดึงแรงงานใต้ดินเหล่านี้ขึ้นมาอยู่บนดิน ด้วยการเปิดโอกาสให้แรงงานผิดกฎหมายมาลงทะเบียนอย่างถูกต้อง กระบวนการนายหน้าหรือผลประโยชน์ทับซ้อนที่มีอยู่มานานแล้วก็อาจทำให้แรงงานเมียนมาจำนวนไม่น้อยเสมือน "หนีเสือปะจระเข้" ได้เช่นกัน

มติ ครม.ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 ก.ค. อนุญาตให้ "กลุ่มคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามที่มี "สถานะไม่ถูกต้อง" ที่ประสงค์จะทำงานและมีนายจ้าง" สามารถมาลงทะเบียนได้

นายสมพงษ์ ชี้ว่าจากมติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แรงงานเหล่านี้จำเป็นต้องมีนายจ้างก่อน จึงมีบรรยากาศเป็นสุญญากาศอยู่ และกลายเป็นช่องว่างให้แรงงานถูกเอาเปรียบได้ "เหมือนหนีเสือปะจระเข้"

"ช่วงที่บริษัทมีการเปิดรับสมัครคนงานใหม่ คนก็ไปออกันตั้งแต่ตีสี่ตีห้า ปัญหาก็คือว่า รัฐเปิดนโยบายนให้เขาขึ้นมาบนดิน แต่ตำรวจไปดักจับอยู่หน้าโรงงาน มันไม่ตอบโจทย์"

นายสมพงษ์ ยังเสริมว่าแรงงานต่างด้าวยังต้องเจอปัญหาเรื่องการจดทะเบียนแรงงานที่ต้องทำผ่านนายหน้าหรือบริษัทผู้ว่าจ้าง ซึ่งนำไปสู่การเอาเปรียบเรื่องราคา จนแรงงานจำนวนไม่น้อยตัดสินใจลงใต้ดินอีกครั้งเพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายเหล่านี้

ตัวนายสมพงษ์มองว่า แท้จริงแล้ว นอกจากจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ในแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่มีนายจ้าหานายจ้า รัฐบาลควรจัดระบบ "ให้เขาลงทะเบียนเองได้ด้วยซ้ำ"

"ทำงานทั้งปี ต้องมาเก็บเงินอันนี้มาต่อทะเบียน เงินก็ไม่มีเก็บละ กลับเมียนมาก็เศรษฐกิจฝืดเคือง ต้องยอมอยู่เมืองไทยต่อ"

บีบีซีไทยสอบถามไปยัง นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนได้รับคำตอบว่าแท้จริงแล้วตามพระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นั้นคนต่างด้าวเองไม่เพียงมีสิทธิ "แต่มีหน้าที่" ต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงาน หรือต่ออายุการทำงานเอง

"ที่จริงแล้วประเด็นนี้คนต่างด้าวเองควรจะรู้ เป็นหน้าที่ของคนต่างด้าว"

ที่มาของภาพ, กรมการจัดหางาน

คำบรรยายภาพ,

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน

ทว่าในความพยายามดึงคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ไทยอย่างปิดกฎหมายให้เข้ามาอยู่ในระบบครั้งนี้ ตาม มติ ครม.วันที่ 5 ก.ค. กรมการจัดหางานเปิดให้มีการลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงเป็นเหตุผลให้ผู้ที่สามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ได้เป็นเพียงนายจ้างและบริษัทนายหน้าสัญชาติไทย "ที่เงินวางประกันกับกรมจัดหางาน จำนวน 5 ล้านบาท" เท่านั้น

อย่างไรก็ดี นายไพโรจน์อธิบายเพิ่มว่าหากตัวแรงงานต่าวด้าวเองต้องการเป็นผู้ยื่นเรื่องด้วยตัวเอง สามารถทำได้ด้วยการไปสำนักงานจัดหางานจังหวัดได้เช่นเดียวกัน โดยต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนทั้ง เอกสารของตัวแรงงานต่าวด้าวเอง และเอกสารของนายจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "รูปถ่าย ฉากหลังสีขาว"

นายไพโรจน์เสริมว่า ก่อนที่จะมีมติ ครม.ล่าสุดนี้ กรม ได้จัดการสำรวจความต้องการขึ้นทะเบียนแรงงานจากภาคเอกชนและพบว่า มีภาคธุรกิจส่งตัวเลขรวมเข้ามาสูงถึง 120,000 ราย เป็นแรงงานผิดกฎหมายที่ต้องการแปลงเป็นแรงงานถูกกฎหมาย

สำหรับประเด็นช่องโหว่เรื่องสถานะของแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าไทยอย่างผิดกฎหมาย นายไพโรจน์ย้ำว่าไม่ว่าจะเป็นการยื่นด้วยตัวเองหรือยื่นผ่านตัวเอง แรงงานต่างด้าวจำเป็นต้องมีนายจ้างทั้งสิ้น แรงงานต่างด้าวคนใดก็ตามที่ไม่มีนายจ้างหรือมีผู้ต้องการว่าจ้างภายในะระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะถือเป็นการผิดกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

เมื่อถามว่าจะทำอย่างไรกับแรงงานที่ลักลอบเข้ามาแล้วหานายจ้างไม่ได้ นายไพโรจน์ตอบว่า "แรงงานส่วนใหญ่มีนายจ้างอยู่แล้ว เขามีเป้าหมายชัดเจนจะมากับใคร อยู่ที่ไหน"

แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีกี่คน

สถิติจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ณ ตุลาคม 2563 ระบุว่า แรงงานต่างด้าวทั่วราชอาณาจักรมีจำนวน 2,482,256 คน ครึ่งหนึ่งของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดนั้นนำเข้าตามมติ ครม.20 ส.ค.62 และอีกร้อยละ 34 นำเข้าตาม MOU (รูปที่ 1)

แรงงานต่างด้าวในไทยมาจากประเทศใดมากที่สุด

ปีนี้แรงงานอันดับหนึ่งในประเทศไทยยังคงเป็นแรงงานจากประเทศเมียนมา ที่มีแรงงานรวมกันมากถึง 1,560,718 คน รองลงมาได้แก่ กัมพูชา 501,401 คน และ ลาว 225,742 คน ส่วนจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวสูงสุดยังคงเป็น กรุงเทพมหานคร ด้วยจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งสิ้น 585,433 คน สมุทรสาคร 233,071 คน และสมุทรปราการ 157,003 คน

แรงงานกัมพูชาในไทย มีกี่คน

สัญชาติ เมียนมา 96,437 คน กัมพูชา 44,374 คน ลาว10,058 คน

ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2564 ที่ไหน

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400. ช่องทางการติดต่อกรมการจัดหางาน หมายเลข 1506 กด 2.