คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มมส เรียนที่ไหน

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มมส เรียนที่ไหน

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Tourism and Hotel

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย(ชื่อเต็ม) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและโรงแรม)

(ชื่อย่อ) : ศศ.บ. (การท่องเที่ยวและโรงแรม)

ภาษาอังกฤษ(ชื่อเต็ม) : Bachelor of Arts (Tourism and Hotel)

(ชื่อย่อ) : B.A. (Tourism and Hotel)

หลักการและเหตุผล ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักการและเหตุผล

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตร-

บัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 และมีบัณฑิตจบหลักสูตรแล้ว 3 รุ่น

จากข้อมูลของผู้ประกอบการหรือผู้ใช้บัณฑิตที่คณะฯได้รับเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิต ประกอบกับความก้าวหน้า

ของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันที่เป็นไปอย่างรวดเร็วที่เรียกว่ายุคแห่งข้อมูลข่าวสาร มีผลให้อุตสาหกรรม

ท่องเที่ยวและบริการมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด บุคลากรในสายงานนี้ก็ต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์

ดังกล่าว

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรมจึงเห็นควรให้มีการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของ

ผู้ใช้บัณฑิตและความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ โดยหลักสูตรใหม่นี้จะเป็น

หลักสูตรที่มีความทันสมัย เพิ่มวิชาใหม่ๆ ที่เน้นทักษะวิชาชีพให้ตรงกับสายงานอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและการ

บริการ ความสามารถในการใช้ภาษา การกล้าแสดงออก ตลอดจนสาระด้านเทคโนโลยี สารสนเทศมาก

ขึ้น เพื่อให้นิสิตได้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งในระดับ

ภูมิภาคและระดับสากล

ปรัชญา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม มุ่งหวังเพื่อจะผลิตบัณฑิตที่มี คุณภาพ

มีความรู้ ความสามารถทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยวและการโรงแรมในทุก

ระดับ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้

ยังมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ทางจิตวิทยาการบริการ มีหัวใจการบริการ มีคุณธรรม เป็นผู้มีความรู้ ใน

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถแข่งขันกับผู้อื่นในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารได้ มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ

ไทย เอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย รักและหวงแหนในมรดกของชาติทั้งทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมและธำรง

รักษาไว้ให้คงอยู่คู่ไทยตลอดไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม เพื่อผลิตบัณฑิตที่ดี มีความรู้และ

ความสามารถดังต่อไปนี้

1. มีความรู้ความสามารถได้มาตรฐานในการประกอบอาชีพในธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม

สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

2. มีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษในธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมได้เป็นอย่างดีรวมถึงการใช้

ภาษาต่างประเทศอื่นอีกหนึ่งภาษาในการติดต่อสื่อสารได้3.สามารถนำความรู้ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรมไป

ประยุกต์ใช้ในธุรกิจอื่นๆ

4. มีความรู้เพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ

5. มีความรู้คู่คุณธรรม มีความรักความภูมิใจในความเป็นไทย มีศักดิ์ศรีของผู้ประกอบวิชาชีพการ

ท่องเที่ยวและโรงแรม และรักษามรดกทางการท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2547 หมวด

4 ข้อ 11 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2549 ดังนี้

1.สำ เร็จการศึกษาไม่ต่ำ กว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สำ หรับหลักสูตร

ปริญญาตรีปกติ หรือสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าขั้นอนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

หรือเทียบเท่า กรณีเทียบเข้าศึกษา

2.เป็นผู้มีความประพฤติดี

3.ไม่เป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

4.มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วน ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

5.ในกรณีผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตาม ข้อ 6.1 , 6.2 6.3 และ 6.4 อาจอยู่ภายใต้การพิจารณาของคณะ

กรรมการบริหารหลักสูตร

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

1. เป็นไปตามระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะ

กรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือ เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยวิธีรับตรงและตาม

ระเบียบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งจะ

ประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป

2. วิธีอื่น ๆ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นผู้กำหนด

ระบบการศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม ใช้ระบบทวิภาค โดยเป็นไปตาม

ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2547 หมวด 2 ข้อ 7 และ

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ. 2548 (รายละเอียดตามเอกสารใน

ภาคผนวก ข และ ค)

ระยะเวลาในการศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม เป็นหลักสูตรปริญญาตรี(4ปี) มีจำนวน

หน่วยกิตรวม 130 หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา และเป็นไปตามข้อบังคับของ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2547 หมวด 3 ข้อ 10 (รายละเอียดตามเอกสาร

ในภาคผนวก ค )

การลงทะเบียนเรียน

ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2547

หมวด 5 ข้อ 22-28 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.

2548 (รายละเอียดตามเอกสารในภาคผนวก ข และ ค)

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

รายวิชาในหมวดต่าง ๆ

หมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

โดยที่นิสิตทุกคนจะต้องเรียนวิชาในกลุ่มบังคับหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างน้อย 12 หน่วยกิตและเลือกตามความ

สนใจและความเหมาะสมจากวิชาที่เปิดสอนอีกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต เมื่อรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 30 หน่วย

กิต ตามกลุ่มวิชาดังนี้ (รายวิชาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดในหลักสูตร ดังรายละเอียดในภาคผนวก ก)

หมวดวิชาเฉพาะ

ไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาแกน

กำหนดให้เรียน 27 หน่วยกิต

0103 280 คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจเบื้องต้น 3(3-0-6)

Introduction to Computer in Business

1010 202 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 3(3-0-6)

Tourism Industry

1010 204 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว 3(3-0-6)

Tourist Behavior

1010 206 ศิลปะการต้อนรับและการติดต่อสื่อสาร 3(3-0-6)

Hospitality and Communication Arts

1010 207 กฎหมายอุตสาหกรรมการบริการ 3(3-0-6)

Hospitality Industry Laws

1010 309 การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 3(3-0-6)

Sustainable Tourism Development

1010 311 จิตวิทยาอุตสาหกรรมการบริการ 3(3-0-6)

Service Industry Psychology

1010 334 การขายและการตลาดท่องเที่ยวและโรงแรม 3(3-0-6)

Sales and Marketing for Tourism and Hotel

1010 361 หลักการขนส่งและธุรกิจการบิน 3(3-0-6)

Principles of Transportation and Airline Business

กลุ่มวิชาเอกบังคับ 49 หน่วยกิต

วิชาเอกบังคับหมวดวิชาชีพ 34 หน่วยกิต

1010 201 ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว 3(3-0-6)

Geography for Tourism

1010 203 ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว 3(3-0-6)

Thai History for Tourism

1010 205 ธุรกิจนำเที่ยว 3(3-0-6)

Tourism Business

1010 231 การจัดการโรงแรม 3(3-0-6)

Hotel Management

1010 232 การต้อนรับส่วนหน้า 3(2-2-5)

Front Office Operation

1010 233 งานฝ่ายแม่บ้าน 3(2-2-5)

Housekeeping

1010 308 มรดกทางภูมิปัญญาไทย 3(3-0-6)

Thai Wisdom Heritage

1010 310 มัคคุเทศก์ 3(2-2-5)

Tourist Guide

1010 346 การบริการภัตตาคารและการจัดเลี้ยง 3(2-2-5)

Restaurant and Banquet Service

1010 347 การบริการเครื่องดื่ม 3(2-2-5)

Beverage Service

1010 348 ครัวและการปรุงอาหาร 3(2-2-5)

Kitchen and Cooking

1010 418 การสัมมนาการท่องเที่ยวและการโรงแรม 1(1-0-2)

Seminar in Tourism and Hotel

วิชาเอกบังคับหมวดภาษา 15 หน่วยกิต

0105 103 การเขียนเบื้องต้น 3(3-0-6)

Basic Writing

0105 104 หลักการอ่าน 3(3-0-6)

Reading Techniques

1010 281 การฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว 3(2-2-5)

และการโรงแรม

English Speaking and Listening for Tourism and Hotel

1010 282 การเขียนภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม 3(3-0-6)

English Writing for Tourism and Hotel Business

1010 381 การสนทนาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

English Conversation for Tourism and Hotel

การฝึกงานการท่องเที่ยวและโรงแรมไม่น้อยกว่า 3 เดือน

Practicum Training

(การประเมินผลการศึกษาให้ระดับชั้นเป็น S หรือ U)

กลุ่มวิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

แบ่งออกเป็น

วิชาเอกเลือกภาษาใดภาษาหนึ่ง 9 หน่วยกิต

โดยไม่ให้นับว่าเป็นรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป

วิชาเอกเลือกภาษาฝรั่งเศส 9 หน่วยกิต

0105 106 ภาษาฝรั่งเศส 1 2(1-2-3)

Basic French 1

0105 107 ภาษาฝรั่งเศส 2 2(1-2-3)

Basic French 2

0105 215 ภาษาฝรั่งเศส 3 2(1-2-3)

Basic French 3

1010 401 ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

French for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาเยอรมัน 9 หน่วยกิต

0105 108 ภาษาเยอรมัน 1 2(1-2-3)

Basic German 1

0105 109 ภาษาเยอรมัน 2 2(1-2-3)

Basic German 2

0105 217 ภาษาเยอรมัน 3 2(1-2-3)

Basic German 3

1010 402 ภาษาเยอรมันเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

German for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาสเปน 9 หน่วยกิต

0105 110 ภาษาสเปน 1 2(1-2-3)

Basic Spanish 1

0105 111 ภาษาสเปน 2 2(1-2-3)

Basic Spanish 2

0105 219 ภาษาสเปน 3 2(1-2-3)

Basic Spanish 3

1010 403 ภาษาสเปนเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

Spanish for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาญี่ปุ่น 9 หน่วยกิต

0106 931 ภาษาญี่ปุ่น 1 2(1-2-3)

Basic Japanese 1

0106 932 ภาษาญี่ปุ่น 2 2(1-2-3)

Basic Japanese 2

0106 933 ภาษาญี่ปุ่น 3 2(1-2-3)

Basic Japanese 3

1010 404 ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

Japanese for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาจีน 9 หน่วยกิต

0106 961 ภาษาจีน 1 2(1-2-3)

Basic Chinese 1

0106 962 ภาษาจีน 2 2(1-2-3)

Basic Chinese 2

0106 963 ภาษาจีน 3 2(1-2-3)

Basic Chinese 3

1010 405 ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

Chinese for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาเวียดนาม 9 หน่วยกิต

0106 831 ภาษาเวียดนาม 1 2(1-2-3)

Basic Vietnamese 1

0106 832 ภาษาเวียดนาม 2 2(1-2-3)

Basic Vietnamese 2

0106 833 ภาษาเวียดนาม 3 2(1-2-3)

Basic Vietnamese 3

1010 406 ภาษาเวียดนามเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

Vietnamese for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาเกาหลี 9 หน่วยกิต

0106 901 ภาษาเกาหลี1 2(1-2-3)

Basic Korean 1

0106 902 ภาษาเกาหลี2 2(1-2-3)

Basic Korean 2

0106 903 ภาษาเกาหลี3 2(1-2-3)

Basic Korean 3

1010 407 ภาษาเกาหลีเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

Korean for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาลาว 9 หน่วยกิต

0106 801 ภาษาลาว 1 2(1-2-3)

Basic Lao 1

0106 802 ภาษาลาว 2 2(1-2-3)

Basic Lao 2

0106 803 ภาษาลาว 3 2(1-2-3)

Basic Lao 3

1010 408 ภาษาลาวเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

Lao for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกภาษาเขมร 9 หน่วยกิต

0106 861 ภาษาเขมร 1 2(1-2-3)

Basic Khmer 1

0106 862 ภาษาเขมร 2 2(1-2-3)

Basic Khmer 2

0106 863 ภาษาเขมร 3 2(1-2-3)

Basic Khmer 3

1010 409 ภาษาเขมรเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม 3(2-2-5)

Khmer for Tourism and Hotel

วิชาเอกเลือกหมวดวิชาชีพ 9 หน่วยกิต

เลือกรายวิชาใด ๆ จากกลุ่มวิชาเหล่านี้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาท่องเที่ยว

0001 045 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2(2-0-4)

Ecotourism

1010 315 การท่องเที่ยวในประเทศกำลังพัฒนา 2(2-0-4)

Tourism in Developing Countries

1010 411 ศิลปวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการท่องเที่ยว 2(2-0-4)

Arts and Culture for Tourism in the Neighbouring Countries

1010 412 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 2(2-0-4)

Historical and Cultural Tourism

1010 413 ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน 2(2-0-4)

Arts and Culture of Isan

1010 414 ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง 2(2-0-4)

Arts and Culture of the Central Part

1010 415 ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ 2(2-0-4)

Arts and Culture of the North

1010 416 ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ 2(2-0-4)

Arts and Culture of the South

1010 417 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการท่องเที่ยว 2(2-0-4)

Information Technology in Tourism

1010 419 การผลิตสื่อเพื่อการท่องเที่ยว 2(2-0-4)

Media Production for Tourism

1010 420 บุคคลสำคัญทางวัฒนธรรมไทย 2(2-0-4)

Noted Persons in Thai Culture

1010 421 การท่องเที่ยวต่างประเทศ 2(2-0-4)

Outbound Tourism

กลุ่มวิชาที่พัก

1010 435 การจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจโรงแรม 2(2-0-4)

Human Resource Management for Hotel Business

1010 436 การจัดการสถานที่พักตากอากาศ 2(2-0-4)

Resort Management

1010 437 การจัดการสถานสุขภาพและความงาม 2(2-0-4)

Spa Management

กลุ่มวิชาการบิน

1010 462 การสำรองที่นั่งและจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน 3(2-2-5)

Reservation and Ticketing

1010 463 การจัดการการท่าอากาศยาน 2(2-0-4)

Airports Authority Management

1010 464 คลังสินค้า 2(2-0-4)

Air Cargo

กลุ่มวิชาอาหารและเครื่องดื่ม

1010 449 การควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม 2(2-0-4)

Food and Beverage Cost Control

1010 450 อาหารไทย 2(1-2-3)

Thai Foods

1010 451 อาหารนานาชาติ 2(1-2-3)

International Foods

1010 452 ขนมอบ 2(1-2-3)

Bakery

1010 453 การแกะสลักผักผลไม้ 2(1-2-3)

Fruit and Vegetable Carving

กลุ่มวิชาการจัดประชุมและนิทรรศการ

1010 471 การจัดประชุม 2(2-0-4)

Meeting and Convention Management

1010 472 การจัดนิทรรศการและการแสดงสินค้า 2(2-0-4)

Exhibition and Trade Shows

1010 473 การจัดกิจกรรมพิเศษ 2(2-0-4)

Special Activities

1010 474 การขายและการตลาดศูนย์ประชุม 2(2-0-4)

Sales and Marketing for Convention Centers

1010 475 การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 2(2-0-4)

Incentive Tourism

หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

โดยให้เลือกรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต