คณะมนุษยศาสตร์ มช สาขาภาษาจีน เรียนอะไรบ้าง

  • ปีการศึกษา 64

    การรับนักเรียนโควตาภาคเหนือฯ (รหัส 00420112201010-ภาษาจีน)

    จำนวนที่รับ 32 ที่นั่ง

    วันที่อัพเดตล่าสุด 17 พ.ค. 2564

    คุณสมบัติผู้สมัคร รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรอาชีวะ รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)

    หมายเหตุ -

  • ปีการศึกษา 64

    การรับนักเรียนโควตาภาคเหนือฯ (รหัส 00420112201010-ภาษาจีน)

    จำนวนที่รับ 30 ที่นั่ง

    วันที่อัพเดตล่าสุด 18 ม.ค. 2564

    คุณสมบัติผู้สมัคร รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรอาชีวะ รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)

    หมายเหตุ -

ปี 66 เปิดรับสมัคร 7 พ.ค. - 15 พ.ค. 2564
  • รูปแบบการรับ :

    การรับตรงร่วมกัน (รหัส 00430112301010-ภาษาจีน)

    ข้อมูลปีการศึกษา 64

    วันที่อัพเดตล่าสุด

    13 ต.ค. 2565

    คะแนนขั้นต่ำ/สัดส่วนคะแนนที่ใช้*

    PAT 7.4 วามถนัดทางภาษาจีน 180

    ภาษาไทย 30

    ภาษาอังกฤษ 30

    *อาจมีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ mytcas.com

    คุณสมบัติผู้สมัคร รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ


  • รูปแบบการรับ :

    การรับตรงร่วมกัน (รหัส 00430112301010-ภาษาจีน)

    ข้อมูลปีการศึกษา 64

    วันที่อัพเดตล่าสุด

    13 ต.ค. 2565

    คะแนนขั้นต่ำ/สัดส่วนคะแนนที่ใช้*

    PAT 7.4 วามถนัดทางภาษาจีน 180

    ภาษาไทย 30

    ภาษาอังกฤษ 30

    *อาจมีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ mytcas.com

    คุณสมบัติผู้สมัคร รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ


ปี 66 เปิดรับสมัคร 7 พ.ค. - 15 พ.ค. 2564
  • รูปแบบการรับ :

    การรับกลางร่วมกัน (รหัส 00440112401010-ภาษาจีน)

    ข้อมูลปีการศึกษา 64

    วันที่อัพเดตล่าสุด

    17 พ.ค. 2564

    คะแนนขั้นต่ำ/สัดส่วนคะแนนที่ใช้*

    GPAX 20 %

    ONET 30 %

    GAT ความถนัดทั่วไป 30 %

    PAT 7 (เลือก 1 วิชา) 20 %

    *อาจมีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ mytcas.com

    คุณสมบัติผู้สมัคร รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรอาชีวะ รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.)


  • ปีการศึกษา 2564

    อดใจรอข้อมูลอัพเดตเร็วๆนี้

มนุษย์ศาสตร์ เอกภาษาจีนเรียนยากมั้ยค่ะ??

ตามหัวข้อเลยค่ะ อยากรู้จากพี่ๆที่เรียนภาษาจีนว่าเป็นยังไง??
-เรียนยากมั้ยค่ะ??
-หากมีพื้นฐานแค่ 2% ถ้าไปเรียนจะเข้าใจมั้ยจะเรียนได้มั้ยค่ะ??
-แล้วต้องเรียนพิเศษภาษาจีนเพิ่มมั้ยค่ะ??
#รวมๆแล้วช่วยเล่าประสบการณ์เลยก็ได้ค่ะว่าเป็นยังไงตั้งแต่แรกเริ่มเรียน
#ขอบคุณค่ะ

0

คณะมนุษยศาสตร์ มช สาขาภาษาจีน เรียนอะไรบ้าง


คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

คณะมนุษยศาสตร์ มช สาขาภาษาจีน เรียนอะไรบ้าง

คณะมนุษยศาสตร์

14สาขาวิชา

1.ไทย : ภาษาอังกฤษ

อังกฤษ : English

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก โดยใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง จึงมีการกำหนดให้วิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาเลือกหรือบังคับเรียน สำหรับนักศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไปจนถึงระดับอุดมศึกษาในระบบการศึกษาของไทย

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา และความเข้าใจด้านวัฒนธรรมในตำแหน่งที่หลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ครู อาจารย์ ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วย มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ ผู้ช่วยวิจัย ผู้แทนฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานฝ่ายต่างประเทศ พนักงานต้อนรับอาคันตุกะต่างประเทศ ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เจ้าหน้าที่แปลเอกสาร เจ้าหน้าที่การศึกษา เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ประชาสัมพันธ์ พนักงานประจำมูลนิธิโครงการหลวง หรือสามารถทำงานที่เป็นกิจการส่วนตัวได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เช่น เปิดกิจการนำเข้าและส่งออก เป็นต้น

2.ไทย : ภาษาฝรั่งเศส

อังกฤษ : French

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2561 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส มีความมุ่งหมายที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. ภาษาและวัฒนธรรม เพื่อให้ใช้ภาษาได้ถูกต้องและคล่องแคล่ว ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้ อีกทั้งมีความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ชีวิตความเป็นอยู่และแนวความคิดของชาวฝรั่งเศส
  2. ภาษาศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของภาษาฝรั่งเศสและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการค้นคว้าวิจัยเปรียบเทียบภาษาและเพื่อศึกษาต่อขั้นสูงในด้านนี้ต่อไป
  3. วรรณคดี

3.1 เพื่อให้มีความรู้เรื่องประวัติวรรณคดี ผลงานชิ้นสำคัญของนักเขียน ความคิดและปรัชญาของชนชาติฝรั่งเศสในแต่ละยุค

3.2 เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการใช้เหตุผล มีความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่ได้เรียนไป

3.3 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อในชั้นสูงต่อไป

  1. การใช้ภาษาฝรั่งเศสเฉพาะด้าน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับงานอาชีพของผู้เรียนในอนาคต เช่น ด้านการแปล การเขียนจดหมายโต้ตอบ ภาษาฝรั่งเศสการท่องเที่ยว ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการโรงแรมและอาหาร และภาษาฝรั่งเศสเพื่อธุรกิจ เป็นต้น

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตของสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสสามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง เช่น

  1. นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักวิจัย
  2. มัคคุเทศก์ อาชีพในธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  3. พนักงานบริษัท ประชาสัมพันธ์ เลขานุการ
  4. นักแปล
  5. งานในองค์กรระหว่างประเทศและหน่วยงานที่ติดต่อกับต่างประเทศ

3.ไทย : ภาษาเยอรมัน

อังกฤษ : German

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

สาขาวิชาภาษาเยอรมันมีวัตถุประสงค์จะพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าในสาขาภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมเยอรมันให้เทียบเคียงได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับชาติ และมุ่งที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

  1. มีความรู้เชิงวิชาการในสาขาภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมเยอรมัน และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
  2. มีทักษะในการใช้ภาษาเยอรมันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการสื่อสาร การประกอบอาชีพ และในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
  3. มีความใฝ่รู้ รู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รู้จักคิดวิพากษ์วิจารณ์ และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

แนวทางในการประกอบอาชีพ

การทำงานนักศึกษาที่เรียนภาษาเยอรมันเป็นวิชาเอกมีโอกาสในการทำงานที่หลากหลาย ได้แก่

  1. ผู้สอนภาษาเยอรมันในระดับโรงเรียนหรือสถานศึกษาลักษณะอื่น
  2. งานด้านการแปลและล่าม
  3. งานเลขานุการและงานในสำนักงานที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ทั้งในส่วนราชการและภาคธุรกิจ เช่น บริษัท สายการบิน รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ
  4. งานในสายงานการท่องเที่ยวและโรงแรม

4.ไทย : ประวัติศาสตร์

อังกฤษ : History

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยจนถึงแผน 11 และกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีคิดที่สามารถเข้าใจและเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีคิดเชิงประวัติศาสตร์เป็นวิธีคิดหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยจะต้องมีการเรียนการสอนและการพัฒนาวิชาประวัติศาสตร์โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิธีคิด ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก และเนื่องจากวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ สิ่งที่เรียกว่าวิภาษวิธีทางประวัติศาสตร์นั้น เป็นการสอนให้มีความสามารถในการจัดการข้อมูลเพื่อให้เข้าถึงความจริงมากที่สุด และให้มีทัศนะวิพากษ์ ซึ่งสอดคล้องกับสังคมข้อมูลข่าวสารดังเช่นปัจจุบัน

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาทางประวัติศาสตร์สามารถออกไปทำงานด้านการวิจัย อาจารย์/ครู งานด้านหนังสือ งานพัฒนาชุมชน งานเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และงานในกระทรวงต่าง ๆ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงต่างประเทศ กรมศิลปากร เจ้าหน้าที่โครงการล้านนาคดีศึกษา เป็นต้น รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาในกิจการส่วนตัวด้วย เนื่องจากประวัติศาสตร์สามารถใช้เป็นพื้นฐานของทุกๆ อาชีพได้อย่างดี หากผู้ใช้รู้จักนำไปประยุกต์ได้อย่างถูกต้อง

5.ไทย : บ้านและชุมชน

อังกฤษ : Home and Community

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะหลากหลายประการ อาทิเช่น เป็นบัณฑิตที่มีความรู้เชิงวิชาการมีทักษะในการปฏิบัติ สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต มีประสบการณ์ด้านวิชาชีพและเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นบัณฑิตจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ในการปรับประยุกต์ใช้วิชาการในการทำงาน ตลอดจนดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข รวมทั้งต้องมีความสามารถในการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความมั่นใจและมีจิตสำนึกที่ดีในสัมมาชีพ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตสาขาวิชาบ้านและชุมชนสามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้

  1. งานด้านการพัฒนา เช่น กรมพัฒนาชุมชน, สถาบันลูกโลกสีเขียว ปตท., กลุ่มละครชุมชนกั๊บไฟ เชียงใหม่
  2. งานด้านอาหารและโภชนาการ เช่น กรมอนามัย, โรงแรมเลอเมอริเดียน เชียงใหม่
  3. งานด้านศิลปะสัมพันธ์ เช่น ดิสนีย์แลนด์ ประเทศอเมริกา, โมเดิร์นไนน์ทีวี อสมท.
  4. อื่นๆ เช่น สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารต่างๆ, เจ้าของกิจการ SME, ครู อาจารย์ สถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชน

6.ไทย : การท่องเที่ยว

อังกฤษ : Tourism

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆ และยังคงเป็นหนึ่งในหลายนโยบายที่รัฐบาลส่งเสริม และให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านกายภาพและศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตการท่องเที่ยวเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ ในด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมอย่างมืออาชีพ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศรวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) และในตลาดระดับ World Class ขณะเดียวกันบัณฑิตจะพัฒนาตนในลักษณะของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะนำเอาความรู้ไปสู่ความสมดุลกับการเปลี่ยนแปลง

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว สามารถประกอบอาชีพได้โดยตรงคือ พนักงานออฟฟิตบริษัทนำเที่ยว, แอร์โฮสเตส, เจ้าหน้าที่ต้อนรับบนเครื่องบิน, เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินบริษัทสายการบิน, พนักงานส่วนหน้า และแผนกบุคคลในโรงแรมระดับ 3 – 5 ดาว

7.ไทย : สารสนเทศศึกษา

อังกฤษ : Information Studies

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา แบ่งออกเป็น 2 แขนงวิชา คือ

  1. การจัดการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการจัดการและบริการสารสนเทศเพื่อสนองต่อ องค์กรด้านห้องสมุด
  2. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถประยุกต์ใน การจัดการ และบริการสารสนเทศเพื่อสนองต่อองค์กรด้านศูนย์สารสนเทศ

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ 1 แขนงวิชาในชั้นปีที่ 3 และเมื่อจบการศึกษาชื่อปริญญาที่ได้รับ คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต (สารสนเทศศึกษา) กระบวนวิชาที่เรียน อาทิ การบริหารงานสถาบันสารสนเทศ การจัดการและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ และการวิจัย ตลอดจนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการและบริการสารสนเทศ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เครือข่ายสารสนเทศ การสร้างและการสืบค้นฐานข้อมูล การจัดการและพัฒนาเว็บไซต์สำหรับงานด้านการบริการสารสนเทศ

คุณสมบัติของผู้ที่เรียนในสาขาวิชานี้ ควรเป็นผู้มีความรับผิดชอบ รักการอ่าน ใฝ่รู้ ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ มีการคิดที่เป็นระบบเชื่อมโยงและสร้างสรรค์ มีความรู้ภาษาอังกฤษดี รวมทั้งมีความสามารถและทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตสารสนเทศศึกษา สามารถประกอบวิชาชีพนี้โดยตรง คือเป็นบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักสารสนเทศ นักจดหมายเหตุ ครู/อาจารย์ หรือนำความรู้ไปประยุกต์ ในตำแหน่งงานอื่นๆ อาทิ ผู้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในศูนย์ข้อมูลหรือศูนย์สารสนเทศ ในองค์กรภาครัฐ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ นักวิจัย นักประชาสัมพันธ์ เลขานุการ นักเขียน นอกจากนี้ยังสามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสารสนเทศ เช่น การรวบรวมและวิเคราะห์สารสนเทศเฉพาะเรื่องตามความต้องการของผู้ใช้ การบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดระบบสารสนเทศ การทำฐานข้อมูล การทำเว็บไซต์ เป็นต้น

8.ไทย : ภาษาจีน

อังกฤษ : Chinese

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2560 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับภาษาจีน วรรณกรรมจีน และจีนศึกษา เสริมสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

– ครู อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักเขียน ฯลฯ อาชีพในด้านการศึกษา

– อาชีพในธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม

– พนักงานบริษัท ประชาสัมพันธ์ เลขานุการ

– งานในองค์กรระหว่างประเทศและหน่วยงานที่ติดต่อกับต่างประเทศ

– ผู้ประกอบการด้านธุรกิจกับชาวจีน (เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กของตนเอง)

9.ไทย : ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

อังกฤษ : Thai as a Foreign Language (International Program )

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2557 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

มุ่งให้ภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการศึกษา การประกอบอาชีพและการพัฒนาความสัมพันธ์อันดี ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ  โดยเน้นผลิตบัณฑิตให้มีทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างดี  เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ  รวมถึงการผลิตบัณฑิตให้มีทักษะในการบูรณาการความรู้ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  ทักษะชีวิต  และทักษะทางสังคม  เพื่อนำไปพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรได้อย่างดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม และจริยธรรม

แนวทางในการประกอบอาชีพ

-เป็นมัคคุเทศก์สำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้

-ทำงานกับองค์กร บริษัท ร้านค้าที่ใช้ภาษาจีน (หรือภาษาแม่) ภาษาอังกฤษ และภาษาไทยได้อย่างดี

-เป็นล่ามแปลได้อย่างน้อย 2 ภาษา สามารถแปลเอกสารและแปลโดยฉับพลันได้

-เป็นครู อาจารย์สอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศได้อย่างดี

-ประกอบอาชีพอิสระที่สามารถติดต่อสื่อสารได้กับนานาประเทศทั่วโลก

10.ไทย : ปรัชญา

อังกฤษ : Philosophy

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2555 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มุ่งสร้างองค์ความรู้ทางปรัชญาที่ลุ่มลึก สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และอธิบายปัญหาและปรากฎการณ์ต่างๆ ได้อย่างสมเหตุสมผลและมีระบบ รู้จักตนเอง เข้าใจสังคม กอปรด้วยวิสัยทัศน์ที่ก่อให้เกิดความรู้อย่างถ่องแท้ มีคุณธรรม เห็นคุณค่าของการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาทางปรัชญาสามารถประกอบอาชีพได้กว้างขวาง เช่น การเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย พัฒนากร นักบริหารงานบุคคล นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน นักสังคมสงเคราะห์ นักการเมือง นักการธนาคาร แอร์โฮสเตส ตลอดจนการประกอบอาชีพอิสระส่วนตัว บัณฑิตที่จบจากปรัชญาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเชิงทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับยุคสมัยและกับทุกสภาพการทำงาน นอกจากนั้น ยังสามารถอาศัยวิชาโทหรือวิชาเลือกเสรีที่ได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคลเป็นฐานของการประกอบอาชีพ

11.ไทย : จิตวิทยา

อังกฤษ : Psychology

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2561 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตใจมนุษย์ ทฤษฎีต่าง ๆ ทางจิตวิทยาจะช่วยเข้าใจการแสดงออก การกระทำ และอารมณ์ ตลอดจนทัศนคติและค่านิยมของกลุ่มบุคคลที่เราสนใจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิต และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข และมีประสิทธิภาพ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

สาขาจิตวิทยาคลินิก

– สามารถตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ให้คำปรึกษาแก่บุคคลทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพจิต รวมทั้งให้การบำบัดรักษาแก่บุคคลที่มีปัญหาทางจิตโดยสามารถทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เวชศาสตร์การบิน โรงพยาบาลในสังกัดทหารเรือ ทหารบก ทหารอากาศ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมตำรวจ ศาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชน หรือทำงานในคลินิกส่วนตัวได้ หากได้รับใบประกอบโรคศิลปะ องค์การที่มีชื่อเสียงที่บัณฑิตได้เข้าทำงาน เช่น กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลตำรวจ กองพิสูจน์หลักฐาน (จับเท็จ) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

– สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในองค์การต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานอาจมีชื่อแตกต่างกันไป เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์องค์การหรือธุรกิจชั้นนำที่บัณฑิตได้เข้าทำงาน เช่น ปตท. SCG ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทเครือของซีพี

12.ไทย : ภาษาไทย

อังกฤษ : Thai

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2556 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

ภาควิชาภาษาไทยมีความมุ่งมั่นที่พัฒนาคุณภาพวิชาการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีความรู้คู่คุณธรรม และคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ ดังนั้นจึงมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพทั้งด้านทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และความรู้ความสามารถด้านวรรณกรรมไทย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานทางภาษาไทย มีความภาคภูมิใจในภาษาไทยและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ตลอดจนมีความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีการประกอบอาชีพหลากหลาย ดังนี้ งานด้านวิชาการและการเรียนการสอน เช่น นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัยเอกสารโบราณ ตัวอย่างเช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง วิทยาลัยอาชีวะศึกษามหาสารคาม สถาบันภาษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนมงฟอร์ต โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง เป็นต้น งานสื่อสารมวลชน เช่น นักประชาสัมพันธ์ ธุรกิจโฆษณา งานเอกสารและงานด้านการเขียนทั้งบันเทิงคดีและสารคดี เช่น บริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ช่อง 9 งานด้านธุรกิจ เช่น เจ้าของกิจการ พนักงานขาย งานพัฒนาบุคคล เช่น งานธุรการ สารบรรณ และเลขานุการ

13.ไทย : ภาษาญี่ปุ่น

อังกฤษ : Japanese

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2559 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเปิดสอนกระบวนวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้านคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ในกระบวนวิชาพื้นฐานมีการจัดการเรียนการสอนโดยให้อาจารย์ชาวไทยกับชาวญี่ปุ่นสอนร่วมกันในลักษณะของ Team Teaching ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาด้านไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง และได้มีโอกาสฝึกฝนการสนทนากับอาจารย์เจ้าของภาษาโดยตรง สำหรับกระบวนวิชาในชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 จะแยกตามเนื้อหาวิชาที่มุ่งเน้นด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกเรียนกระบวนวิชาที่ตนเองถนัด เช่น สายภาษาศาสตร์ ญี่ปุ่นศึกษา หรือวรรณคดี นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเรียนกระบวนวิชาสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ซึ่งเป็นกระบวนวิชาฝึกปฏิบัติงานตามบริษัทหรือหน่วยงานที่นักศึกษาสนใจเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตของสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง เช่น ครู อาจารย์ เลขานุการ มัคคุเทศก์ นักแปล ล่าม สายการบิน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เช่น บริษัทโตโยต้า มิตซูบิชิ โซนี่ นิคอน ฮอนด้า โตชิบา เจแปนแอร์ไลน์ส สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น สถานทูตญี่ปุ่น รวมทั้งบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เช่น โฮย่า อาซาฮี มูราตะ ทีเอสเทค ซูมิโตโม เป็นต้น

14.ไทย : ภาษาและวัฒนธรรมพม่า

อังกฤษ : Myanmar Language and Culture

หลักสูตรปรับปรุงตาม พ.ศ : 2559 ระยะเวลาในการศึกษา : 4 ปี

รายละเอียดสาขาวิชา

เพื่อเป็นศูนย์กลางทางวิชาการด้านเมียนมาร์ศึกษารวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าด้านเมียนมาร์ศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา รวมทั้งผู้สนใจใฝ่รู้จากหน่วยงาน หรือองค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การดำเนินงานของศูนย์ฯถือเป็นพันธกิจที่ตอบสนองสังคมท้องถิ่นด้วยการเป็นศูนย์บริการวิชาการด้านเมียนมาร์ อีกทั้งนำสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยในอนาคตได้

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตของสาขาสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง เช่น ครู อาจารย์ เลขานุการ มัคคุเทศก์ นักแปล ล่าม สายการบิน เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ

คณะมนุษยศาสตร์ มช สาขาภาษาจีน เรียนอะไรบ้าง
คณะมนุษยศาสตร์ มช สาขาภาษาจีน เรียนอะไรบ้าง
คณะมนุษยศาสตร์ มช สาขาภาษาจีน เรียนอะไรบ้าง

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.human.cmu.ac.th/curriculum.php