หมอ ตา รพ. เมตตา ประชา รักษ์

รพ.เมตตาฯ กรมการแพทย์ เผยการฉีดยาเข้าวุ้นตา หนึ่งในวิธีการรักษาโรคที่เกี่ยวกับจอตา สามารถใช้รักษาได้หลาย อาการ เช่น ภาวะหลอดเลือดผิดปกติใต้จอตา จอตาบวม เบาหวานขึ้นตา หรือหลอดเลือดดำที่จอตาอุดตัน

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การฉีดยาเข้าวุ้นตา คือ การฉีดยาในกลุ่มที่มีชื่อว่า Anti-VEGF เข้าไปภายในวุ้นตา ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคทางจอตาหลายโรค ได้แก่ โรคจอตาเสื่อมชนิดเปียก จุดภาพชัดบวมจากเบาหวาน จุดภาพชัดบวมจากหลอดเลือดดำที่จอตาอุดตันและภาวะเส้นเลือดตางอกใหม่ที่ผิดปกติ ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ การฉีดยาเข้าวุ้นตานั้นมีหลายชนิด ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่ทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาโรคตาดีขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก สามารถใช้รักษาภาวะหลากหลายของโรคจอตา โดยยากลุ่มนี้จะไปยับยั้งการเติบโตของหลอดเลือดผิดปกติและช่วยลดการรั่วซึมของหลอดเลือด ลดการบวมของจุดภาพชัดของจอตา

พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการตามัว มองเห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นสีผิดเพี้ยนไป มีจุดมืดในบางบริเวณของภาพ อาการเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติที่จุดรับภาพชัด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ สาเหตุของโรคตาที่สามารถทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดงอกผิดปกติใต้จุดรับภาพชัด ได้แก่ ภาวะสายตาสั้นมาก จอตาเสื่อมชนิดเปียก การได้รับอุบัติเหตุที่ตา เป็นต้น ภาวะจุดรับภาพบวมสามารถพบในโรคเส้นเลือดดำของจอตาอุดตัน เบาหวานขึ้นตา เป็นต้น

พญ.สายจินต์ กล่าวอีกว่า โดยการฉีดยาเข้าวุ้นตาโดยการฉีดยาในกลุ่มที่มีชื่อว่า Anti-VEGF ช่วยรักษาได้ การเตรียมตัวก่อนและหลังการฉีดยาเข้าวุ้นตา ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาที่ทานอยู่ประจำ เช่น ยาลดความดัน ยาละลายลิ่มเลือดได้ตามปกติ ไม่ควรหยุดยา ควรนำยาที่ทานประจำมาด้วยทุกครั้งในวันที่ต้องได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตา ควรแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลให้ทราบก่อนหากมีอาการผิดปกติเช่นมีไข้ ไอ มีขี้ตาหรือตาแดง เนื่องจากมีโอกาสในการติดเชื้อได้ง่าย พยาบาลจะทำการวัดความดันโลหิต อุณหภูมิร่างกาย ชีพจร อัตราหายใจ ระดับการมองเห็นและความดันตา ซึ่งหลังจากได้รับการยืนยันว่าสามารถได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตาแล้วจักษุแพทย์จะเป็น

พญ.สายจินต์ กล่าวอีกว่า ผู้ทำการฉีดยาโดยวิธีปราศเชื้อโดยเริ่มจากหยอดยาชาให้ผู้ป่วยรวมถึงยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตาด้วยยาฆ่าเชื้อ และคลุมหน้าด้วยผ้าปราศจากเชื้อและใช้เครื่องมือช่วยเปิดเปลือกตา แล้วทำการฉีดยาเข้าวุ้นตาโดยฉีดผ่านบริเวณตาขาว ซึ่งหลังจากการฉีดยาอาจมีการประเมินการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หลังจากได้รับการฉีดยาแล้วควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำจากพยาบาลอย่างเคร่งครัดโดยหลีกเลี่ยงการขยี้ตาและไม่ให้น้ำหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตาข้างที่ฉีดยา และทำความสะอาดใบหน้าโดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดหน้าแทนการล้างหน้า สามารถอาบน้ำและแปรงฟันได้ตามปกติ

“ แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตาเป็นเวลา 3-5 วัน ตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งหลังฉีดยาเข้าวุ้นตาอาจเกิดอาการแทรกซ้อนบ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มองเห็นจุดสีดำหรือฟองอากาศลักษณะกลมลอยไปมาในลานสายตาข้างที่ฉีดยาซึ่งสามารถหายเองได้ภายใน 2-3 วัน เลือดออกที่เยื่อบุตาขาว ซึ่งสามารถหายได้เองภายใน 7-14 วัน หากมีอาการปวดตาให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละ1 เม็ดโดยควรรับประทานห่างกันประมาณ 4-6 ชม. หากรับประทานยาพาราเซตามอลแล้วประมาณ 2 ครั้ง แล้วอาการปวดไม่ทุเลา และมีอาการปวดร้าวมาที่ท้ายทอย คลื่นไส้ อาเจียน หรือหากตาข้างที่ได้รีบการฉีดยา มีขี้ตาสีเขียว บวมแดง ปวดตามาก การมองเห็นแย่ลงกว่าก่อนฉีดยา หรือมีอาการแพ้แสงควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที และควรมาตรวจตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามผลการรักษา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์จอตา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) โทร.034-388712-4 ต่อ 9014 เฉพาะในเวลาราชการ” ผอ.รพ.เมตตาฯ กล่าว

รพ.เมตตาประชารักษ์ แนะควรตรวจตาอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง เพราะระหว่างการตรวจอาจพบโรคร้ายซึ่งอาจมีผลทำให้ตาบอด หรืออันตรายถึงชีวิตได้ โดยบ่อยครั้งที่พบว่าผู้ป่วยเป็นต้อหิน ต้อกระจกซ่อนอยู่

วันนี้ (1 มิ.ย.65) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ดวงตาอาจจะไม่ใช่อวัยวะสำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิต แต่ดวงตานั้นเป็นอวัยวะสัมผัสที่สำคัญสามารถทำให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างครบถ้วน แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสนใจในดวงตา และไม่ได้นึกถึงว่าดวงตาทำงานอย่างไร 

ดวงตามีความผิดปกติอะไรได้บ้าง และดวงตามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างไร หากให้นึกถึงการตรวจสุขภาพร่างกายโดยทั่วไป จะมีน้อยคนที่นึกถึงเรื่องดวงตาก็มีความสำคัญที่จะต้องได้รับการตรวจด้วยเช่นกันจนกว่าจะมีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาเกิดขึ้นเสียก่อน 

ด้าน นพ.อภิชัย สิรกุลจิรา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า คนทั่วไปรู้จักการตรวจสุขภาพกายโดยการตรวจความดันโลหิต ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด และตรวจร่างกายทั่วไป หลายคนคิดว่าตาไม่เป็นไรตราบที่การมองเห็นยังเป็นปกติ คงไม่ต้องตรวจก็ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด 

เพราะโรคตาบางโรคมาเงียบๆ ช่วงแรกอาจไม่มีอาการเลย โดยเฉพาะโรคต้อหินชนิดเรื้อรัง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แนะนำว่าควรตรวจสุขภาพตาซึ่งสามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุไม่จำเป็นต้องตรวจตาตอนอายุมาก    

ขณะที่ พญ.วธูกานต์ รุ่งภูวภัทร กล่าวเสริมว่า การตรวจสุขภาพโดยจักษุแพทย์มีความจำเป็น เนื่องจากหลายโรคทางตา หลายโรคอาจพบความผิดปกติได้จากการมาตรวจ เช่น ภาวะต้อหินในระยะแรกอาจไม่มีอาการตามัว เนื่องจากเป็นโรคที่มีการสูญเสียลานสายตาโดยรอบก่อน 

โดยการมองเห็นตรงกลางยังเป็นปกติเว้นเป็นต้อหินระยะท้ายจึงมีการมองเห็นลดลงหรือลานสายตาแคบลง หรือผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ตาข้างใดข้างหนึ่งโดยที่ตาอีกข้างปกติดีและเพราะไม่เคยทดสอบการมองเห็นด้วยตนเองง่ายๆ ด้วยการปิดตาทีละข้างเพื่อทดสอบการมองเห็นว่าความผิดปกติหรือไม่

เกิดขึ้นจากตาข้างใดจึงมาพบแพทย์เมื่ออาการเป็นมากแล้วหรือมีความผิดปกติในตาทั้งสองข้างซึ่งในการพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจการมองเห็นนั้น จะมีขั้นตอนโดยการทดสอบการมองเห็นทีละข้าง 

ถ้าผิดปกติต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากโรคตาหรือเป็นจากสายตาผิดปกติ แต่เนื่องจากในสภาวะปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่องจึงทำให้ผู้ป่วยบางส่วนไม่อยากเดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น 


อย่างไรก็ตาม ยังมีภาวะทางจักษุบางอย่างที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อการมองเห็นได้จึงควรมาพบจักษุแพทย์ เช่น อุบัติเหตุทางตาที่ก่อให้เกิดอาการระคายตาเคืองตา ตามัว เลือดออก สารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา กระแทกตา หรืออุบัติเหตุที่ใบหน้า เปลือกตาที่อาจส่งผลต่อดวงตา เป็นต้น

หรือมีอาการปวดตามากที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อที่กระจกตา เยื่อบุตา เบ้าตา ถุงน้ำตา ม่านตาอักเสบ ต้อหินฉับพลัน หรือเห็นจุดลอยใหม่หรือไฟแฟลชในตา อาจเป็นจากภาวะน้ำวุ้นลูกตาเสื่อม ซึ่งมีการดึงรั้งจอประสาทตา อาจก่อให้เกิดจอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอก 

หรือเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หรือมีอาการตาแดงที่เกิดการติดเชื้อที่กระจกตา เยื่อบุตาอักเสบ ม่านตาอักเสบ ต้อหินฉับพลัน แผลที่กระจกตา เป็นต้น หรือการมองเห็นลดลงฉับพลันต้อหินฉับพลัน จอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตาหรือจุดรับภาพ 

เส้นเลือดที่จอประสาทตาอุดตัน เส้นประสาทตาอักเสบเป็นต้นนอกเหนือจากนั้นหาก มีโรคทางตาที่ห้ามขาดยา มีความจำเป็นจะต้องใช้อย่างต่อเนื่องและอยู่ในการดูแลของจักษุแพทย์ เช่น โรคต้อหินที่ต้องรับยาหยอดตาต่อเนื่อง หรือโรคจอประสาทตาที่ต้องฉีดยาเข้าน้ำวุ้นลูกตาต่อเนื่อง ควรไปตรวจติดตามการรักษา 

อย่างไรก็ดี หากมีตาแดงที่สงสัยว่าเกิดจากโควิด-19 เช่น พบอาการตาแดงร่วมกับอาการทางทางเดินหายใจ ไข้ ผื่น ให้ไปรักษาโควิด-19 ก่อนได้ เนื่องจากอาการทางตาพบได้น้อยกว่าอาการทางระบบทางเดินหายใจ และไม่รุนแรง หายเองได้ 

และเนื่องจากที่ระบุนั้น เป็นตัวอย่างของอาการทางตาด่วนที่พบได้บ่อย ทั้งนี้ให้ขึ้นกับวิจารณญาณของพยาบาลที่ทำการคัดกรองหรือแพทย์ที่รับปรึกษา ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้อื่นร่วมด้วย.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก