ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้คู่มือสำหรับใช้ในการออกแบบและปรับปรุงอาคารรวมถึงแบบอาคารต้นแบบในการจัดการคุณภาพแสงภายในอาคารแต่ละประเภทของการเคหะแห่งชาติ สำหรับนำไปใช้ประยุกต์การก่อสร้างอาคารในอนาคต
2.ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของการเคหะแห่งชาติ
3.ได้องค์ความรู้ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการอยู่อาศัยระหว่างหน่วยงานวิจัยในประเทศ อันจะทำให้เกิดการขยายผล ต่อยอด และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมที่อยู่อาศัยเพี่อการอนุรักษ์พลังงาน และช่วยรักษาสภาวะแวดล้อมตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายของชาติ
4.ประชาชนในโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในด้านคุณภาพแสงภายในอาคารและประหยัดพลังงาน
5.เกิดการกระตุ้นทางสังคมในการตระหนักถึงความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
6.ได้องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับแนวทางและมาตรฐานในการออกแบบแสงสว่างสำหรับอาคารพักอาศัยสำหรับคนไทย

ลักษณะของโครงการที่ดี

แผนปฏิบัติราชการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ

ลักษณะของโครงการที่ดี

          โครงการเป็นการจัดกิจกรรมที่มีการดำเนินงานที่เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติงานให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการที่ดีย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ประสิทธิผลและผลลัพธ์ที่องค์กรหรือหน่วยงานจะได้รับอย่างคุ้มค่า อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งโครงการที่ดี มีลักษณะดังนี้ 

1. มีความชัดเจน

มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับหลักการและเหตุผล และวิธีดำเนินงานก็ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความชัดเจนทั้งด้านเนื้อหาและภาษา มีการระบุระยะเวลาในการดำเนินงานวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ มีรายละเอียดครบถ้วน สามารถตอบคำถามของผู้ที่อ่านโครงการได้ โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้

ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ

2. มีความเป็นไปได้

เป็นโครงการที่กำหนดขึ้นจากข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบและอยู่บนความเป็นจริง ต้องมีวิธีการดำเนินงานโครงการที่เป็นลำดับขั้น สามารถปฏิบัติได้ และมีความเป็นไปได้ว่าโครงการที่เกิดขึ้นจะประสบความสำเร็จ หรือสามารถบ่งบอกได้ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวังมากน้อยเพียงใด

3. มีความประหยัด

เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร แต่เมื่อการแก้ปัญหามีหลายวิธีที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ซึ่งแต่ละวิธีจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ระยะเวลาที่ใช้ และทรัพยากรที่ใช้ ดังนั้นแล้ว การตอบโจทย์เพื่อแก้ปัญหาเดียวกัน จึงควรเลือกการดำเนินการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ประหยัดเวลาและทรัพยากรมากที่สุด

4. มีประสิทธิภาพ

มีการดำเนินโครงการและการบริหารอย่างเหมาะสมทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นโครงการที่สามารถสนองตอบความต้องการ สร้างประโยชน์หรือแก้ปัญหาขององค์กรหรือหน่วยงานได้ หรือ โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลที่ได้อย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้    

ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ

5. มีความเชื่อมั่นสูง

เป็นโครงการที่มีความเชื่อมั่นว่าจะมีความเป็นไปได้และจะประสบผลสำเร็จ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดำเนินโครงการก็สามารถดำเนินการได้ประสบผลสำเร็จได้ใกล้เคียงกัน หรือเกิดผลลัพธ์เท่าเดิม ดังนั้น รายละเอียดของโครงการจะต้องเป็นแนวทางที่ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจและสามารถดำเนินการตามโครงการนั้นๆ ได้

6. มีการประเมินผล

เป็นโครงการที่ต้องสามารถติดตามและจะประเมินผลได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนั้น มีความเหมือนหรือแตกต่างกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น ในแต่ละโครงการควรกำหนดผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้จริง ซึ่งจะเป็นสิ่งบ่งบอกผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

วรรณวิภา วีระพงศ์

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

องค์ประกอบของโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ

ชื่อโครงการ: เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้ทราบในเบื้องต้นถึงโครงการที่จะดำเนินการ ชื่อโครงการควรเป็นชื่อที่ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย

ผู้รับผิดชอบโครงการ: เป็นการบ่งบอกหัวหน้าโครงการหรือผู้ที่รับผิดชอบโครงการ ควรจะระบุชื่อบุคคล รวมทั้งตำแหน่งและหน้าที่ ไม่ควรระบุเป็นชื่อของหน่วยงานเพียงอย่างเดียวเพราะอาจเกิดความยากลำบากในการติดตามหาผู้รับผิดชอบโครงการ

หลักการและเหตุผล: เป็นการอธิบายถึงที่มา ปัญหา และเหตุจำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำโครงการ โดยมีข้อมูลมาสนับสนุน นอกจากนั้นควรชี้แจงถึงผลที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการด้วย

วัตถุประสงค์: คือ สิ่งที่ต้องการจะได้รับหรือผลงานที่ได้จากการดำเนินโครงการ โดยวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่มีความเฉพาะเจาะจงซึ่งควรประกอบไปด้วย SMART คือ

S = Specific หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีความชัดเจน เป็นรูปธรรม จับต้องได้

M = Measurable คือ วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องสามารถวัดและประเมินผลงานได้

A = Attainable คือ วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องสามารถทำให้บรรลุได้

R = Realistic คือ วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

T = Timely คือ วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีการกำหนดกรอบเวลาที่แน่นอน

เป้าหมาย: คือ ผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการซึ่งเป็นการกำหนดในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ และอาจจะเป็นจำนวนผู้ที่เข้าร่วมโครงการหรือจำนวนผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการก็ได้

วิธีดำเนินการ: เป็นสิ่งที่ระบุถึงลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมย่อยต่างๆ ของโครงการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

ระยะเวลาดำเนินการ: เป็นการบ่งบอกถึงระยะเวลาการดำเนินโครงการที่ตั้งไว้ โดยมีจุดบอกเวลาตั้งแต่เริ่มต้นและสิ้นสุด

งบประมาณ: เป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการ โดยอาจจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าดำเนินโครงการ ค่าบริหารจัดการโครงการ ค่าติดตามและประเมินผลเป็นต้น นอกจากนั้นยังต้องระบุแหล่งที่มาของงบประมาณที่ได้รับด้วยว่ามาจากแหล่งใด

สถานที่: เป็นการระบุสถานที่หรือพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ โดยจำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนและเจาะจง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ: คือสิ่งที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมถ้าดำเนินโครงการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยต้องระบุให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

การประเมินผล: เป็นการระบุวิธีการประเมินหรือประเด็นที่ควรประเมิน เพื่อจะได้ทราบว่าโครงการที่จัดทำนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่