ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย

องค์การบริหารส่วนตำบลวังขอนขว้าง ได้ลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนด้านการดำรงชีพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้ต้องกักตัวเป็นสิ่งของข้าวสารอาหารแห้ง ตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 เพื่อป้องกันโรคและระงับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบสาธารณภัย

ระยะเวลาดำเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2564

ข่าว ณ. วันที่ 7 มิ.ย. 2564 เวลา 16.16 น. โดย คุณ สุนิษา เผ่าน้อย

ผู้เข้าชม 1091 ท่าน

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แจ้งกำหนดการปิดระบบ e-Plan วันที่ 30 กันยายน 2561 เวลา 24.00 น. วันที่ 1 - 2 ตุลาคม 2561 ดำเนินการนำระบบใหม่ขึ้น พร้อมทำการทดสอบ

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย

มติที่ประชุมของก.จังหวัดตากNews Informationข่าวประชาสัมพันธ์ สถ.จ.
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
นายสุรินทร์ ปัญญาจันทร์ท้องถิ่นจังหวัดตาก
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
Purchaseข่าวจัดซื้อจัดจ้าง สถ.จ.
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
e-GPประกาศจากระบบ e-GP สถ.จ.

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย

e-GPประกาศจากระบบ e-GP
อปท.ในเครือข่าย

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
Our Webboardกระดานสนทนา สถ.จ.ตาก

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย

Network Newsข่าวในเครือข่าย อปท.
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
ที่นอน หมอน นุ่น -กลุ่มผลิตภัณฑ์ตำบลไม้งาม-
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
หมูส้ม - กลุ่มแม่บ้านตำบลไม้งาม-
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
หนองน้ำสาธารณะ (หนองหลวง)
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
หนังสือสั่งการ สถ.
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย
สำรวจความคิดเห็นสำรวจความพึงพอใจของผู้มารับบริการ ณ สถจ.ตาก กรณีการปรับปรุงภูมิทัศน์ สถานที่ ของ สถจ. ที่ปรับปรุงใหม่ต้องปรับปรุงน้อยพอใช้ได้ดีดีมากดีเยี่ยมคู่มือประชาชนเอกสาร แบบฟอร์ม
สำหรับติดต่อราชการ

ตัวอย่าง โครงการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณภัย

จำนวนผู้เข้าชมเริ่มนับ วันที่ 3 ก.ย. 2551

แนวคิด เป็นการกล่าวสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งใช้ความเชื่อ ความรู้สึก ทัศนคติ แง่คิด ความรู้และประสบการณ์เข้าร่วมอาจจะเป็น บทความ เป็นข่าว เป็นข้อเสนอแนะ หรือความคิดจากใครที่เชี่ยวชาญก็ได้  แนวคิดอาจจะถูกหรือผิดก็ได้

ทฤษฎี ( theory)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมาย "ทฤษฎี" ว่าหมายถึง ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยลักษณะที่คาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฎการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมีระเบียบ นอกจากนี้ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมาย ดังนี้

1.      Good : ทฤษฎี คือ ข้อสมมติต่าง ๆ(Assumption) หรือข้อสรุปเป็นกฎเกณฑ์ (Generalization) ซึ่งได้รับ

การสนับสนุนจากข้อสมมติทางปรัชญาและหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเสมือนพื้นฐานของการปฏิบัติ ข้อสมมติซึ่งมาจากการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบต่าง ๆ จะได้รับการประเมินผล เพื่อให้มีความเที่ยงตรงตามหลักวิทยาศาสตร์  และข้อสมมติทางปรัชญา อันถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสร้าง (Construction)

2.    Kneller : ได้ให้ความหมายของทฤษฎีไว้ 2  ความหมาย คือ

2.1 ข้อสมมติฐานต่าง ๆ (Hypothesis) ซึ่งได้กลั่นกรองแล้ว จากการสังเกตหรือทดลอง เช่น ในเรื่องความ

โน้มถ่วงของโลก
        2.2 ระบบขอความคิดต่าง ๆ ที่นำมาปะติดปะต่อกัน (Coherent)

3.   Feigl : ทฤษฎีเป็นข้อสมมติต่าง ๆ ซึ่งมาจากกระบวนการทางตรรกวิทยา และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิด  กฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกตและการทดลอง
  4.   ธงชัย สันติวงษ์ : ทฤษฎี หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมแนวความคิดและหลักการต่าง ๆ ให้เป็นกลุ่มก้อนและสร้างเป็นทฤษฎีขึ้น ทฤษฎีใด ๆ ก็ตามที่ตั้งขึ้นมานั้น เพื่อรวบรวมหลักการและแนวความคิดประเภทเดียวกันเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่

5.   เมธี ปิลันธนานนท์ : ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักของทฤษฎี มี 3 ประการ คือ การพรรณนา (Description) การอธิบาย (Explanation) และการพยากรณ์ (Prediction)

https://sites.google.com/site/managementmeaningwebsite/_/rsrc/1469250044718/bth-thi-3-khwam-pen-ma-laea-naewkhid-ni-kar-cadkar/3-1-naewkhid-ni-kar-cadkar/images%20%2814%29.jpg?height=137&width=200

ทฤษฎีองค์กร (Organization Theory)

การวิเคราะห์ถึงความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติรอบตัว อย่างมีระบบและแบบแผนในเชิงวิทยาศาสตร์

1. ทฤษฎีองค์กรสมัยดั้งเดิม (Classical Theory) - Frederick Taylor แนวคิดการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์ - Max weber แนวคิดระบบราชการ เป็นสังคมในยุคสังคมอุตสาหกรรม มีโครงสร้างที่แน่นอน มีระเบียบแบบแผน มุ่งให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพ (efficient and effective Productivity) มองมนุษย์เหมือนเครื่องจักร (Mechanistic) ในองค์การ

2. ทฤษฎีองค์กรสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) - Hugo Munsterberg ผู้เริ่มต้น วิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เน้นสภาพสังคมที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน มองมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีความรู้สึก มีจิตใจ (Organic) นำความรู้ด้าน มนุษย์สัมพันธ์มาใช้

3. ทฤษฎีองค์กรสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) เน้นสังคมเศรษฐศาสตร์ (Socioeconomic) มองมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก มีจิตใจ นำความรู้ด้านมนุษย์สัมพันธ์มาใช้ นำสิ่งแวดล้อมมาพิจารณา ใช้แนวความคิด .นเชิงระบบ คำนึงถึงความเป็นอิสระ และสิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอก

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น ทฤษฎี จึงหมายถึง การกำหนดข้อสันนิษฐาน ซึ่งได้รับมาจากวิธีการทางตรรกวิทยา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการสังเกต ค้นคว้า และการทดลอง โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐานเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นจริงและนำผลที่เกิดขึ้นนั้นมาใช้เป็นหลักเกณฑ์

แนวคิดในหลักการจัดการ สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ แนวคิดคลาสสิก แนวคิดพฤติกรรมมนุษย์ และแนวคิดการจัดการสมัยใหม่

กลุ่มคลาสสิกมีแนวคิดหลักในการจัดการที่เน้นการแยกการบริหารออกจากการเมือง โดยมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ การจัดการเชิงบริหาร และการจัดการตามแนวคิดของระบบราชการ

หลักสำคัญของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ มี หลักเรื่องเวลา หลักการกำหนดหน่วยการจ้าง  หลักการแยกงานวางแผนออกจาการปฏิบัติ หลักการทำงานแบบวิทยาศาสตร์ หลักการควบคุมโดย ฝ่ายจัดการ หลักการจัดระเบียบในการปฏิบัติงาน

การจัดการเชิงบริหาร มีหลักการสำคัญคือ การวางแผน การจัดหน่วยงาน การบังคับบัญชา การประสานงานและการควบคุม

การจัดการตามแนวคิดของระบบราชการ มีหลักการสำคัญ คือ การแบ่งแผนกในองค์กรไว้ อย่างชัดเจนแน่นอน การจัดหน่วยงานเป็นลำดับชั้น การกำหนดกฎระเบียบเพื่อใช้ในการควบคุมดูแล การจำแนกสิทธิและทรัพย์สินส่วนบุคคลออกจากองค์กร การกำหนดวิธีการคัดเลือกหรือสรรหาบุคลา กรการทำงานในองค์กรสามารถยึดเป็นอาชีพได้

กลุ่มพฤติกรรมมนุษย์เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์ กลุ่มนี้มองว่ามนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นทรัพยากรที่มีความรู้สึกนึกคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่ แนวคิดจิตวิทยาอุตสาหกรรม พฤติกรรมมนุษย์ เป็นต้น

การจัดการจิตวิทยาอุตสาหกรรมเป็นแนวคิดของนักวิชาการชาวปรัสเซียชื่อ ฮิวโก เมาน์ส เตอร์เบิร์ก (Hugo  Mounsterberg) โดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เพราะมีความเชื่อที่ว่ามนุษย์จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีทักษะทางร่างกายและมี ใจรักที่จะทำงานดังกล่าว แนวคิดนี้จึงพยายามศึกษาและทดสอบ เพื่อคัดเลือกคนงานเข้าทำงาน ด้วยการทดสอบทางจิตวิทยาด้วย

การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne  Studies) เป็นการศึกษาของเอลตัน เมโยล์ ได้ทำการ                ศึกษาทดลองทัศนคติและจิตวิทยาของคนงานในการทำงานในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยได้                    เน้น ความสนใจในเรื่องบรรยากาศการจัดการและภาวะผู้นำ ทำให้พบว่า

1.      คนเป็นสิ่งมีชีวิตมีจิตใจ การสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญของการทำงาน

2.      การให้รางวัลทางใจ เช่น การยกย่องชมเชย การให้เกียรติ มีผลต่อการทำงานไม่น้อยไปกว่าการจูงใจด้วยเงิน

3.      ความสามารถในการทำงานของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมของหน่วยงานด้วย เช่น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนงาน เป็นต้น

4.      อิทธิพลของกลุ่มมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน จึงมุ่งเน้นที่จะให้มีการทำงานเป็นทีม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

กลุ่มการจัดการสมัยใหม่เน้นการสร้างระบบการจัดการทำงานโดยนำความรู้ในทางคณิตศาสตร์ สถิติ วิศวกรรม การบัญชี เข้ามาช่วยในการจัดการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แนวคิดวิทยาการจัดการ ารบริหารศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ แนวคิดเชิงสถานการณ์ และแนวคิดเชิงระบบ

แนวคิดเชิงสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่แวดล้อมองค์กร ดังนั้นผู้จัดการจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการของตนเองให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพที่เกิดขึ้นได้ แนวคิดนี้มีจุดเด่นคือ ไม่เชื่อในหลักการสากล แต่มุ่งเน้นความเป็นสากลของสถานการณ์ เพราะเชื่อว่าไม่มีหลักการใดที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการองค์กรได้ทุกองค์กร ดังนั้นการจัดการแต่ละองค์กรจึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมขององค์กรนั้น ๆ

แนวคิดนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพียงกรอบปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่ทฤษฎีหรือแนวคิดที่นำมาใช้ในการจัดการได้