คุณค่าด้านจริยศาสตร์

ด้านวรรณศิลป์

๑.การสรรคำ การใช้คำที่หลากหลายในการสื่อความหมายถึงตัวละครแต่ละตัว ซึ่งการสรรคำ จะทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความเบื่อหน่ายเพราะหากไม่มีการสรรคำก็จะต้องใช้สรรพนามแทนตัวละครหนึ่งๆซ้ำๆ กันอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้เรื่องราวอาจกร่อยลงได้

คำที่มีความหมายว่า พระราม, พระนารายณ์

     เมื่อนั้น พระลักษมณ์ทรงสวัสดิ์รัศมี
น้อมเศียรกราบบาทพระจักรี ชุลีกรสนองพระบัญชา
เมื่อกี้ได้ยินสำเนียง สุรเสียงสมเด็จพระเชษฐา
………………… …………………
พระพี่นางได้ยินเสียงมัน สำคัญว่าเสียงพระสี่กร
ขับน้องให้ตามเบื้องบาท พระตรีภูวนาททรงศร
ทูลว่าใช่เสียงพระภูธร อสุรีหลอกหลอนเป็นมายา

คำที่มีความหมายว่า นางสีดา

ก็เล็งทิพเนตรลงมาดู ก็รู้ว่าสมเด็จพระลักษมี
จะลุยเพลิงถวายพระจักรี ยังที่สุวรรณพลับพลา
เมื่อกี้ได้ยินสำเนียง สุรเสียงสมเด็จพระเชษฐา
………………… …………………
ครั้นเห็นซึ่งดวงประทุมมาศ โอภาสพรรณรายฉายฉัน
ผุดขึ้นกลางกองเพลิงนั้น รับองค์กัลยายุพาพาล

คำที่มีความหมายว่า ทศกัณฐ์

     เมื่อนั้น ทศเศียรสุริย์วงศ์ใจหาญ
เสด็จจากแท่นรัตน์ชัชวาล เข้าปราสาทสุรกานต์รูจี
     เมื่อนั้น ท้าวยี่สิบกรยักษา
เสียสองลูกรักคือดวงตา อสุรารำพึงคะนึงคิดฯ

๒.การเล่นคำซ้ำ ทำให้เกิดความไพเราะและเสริมความงดงามของบทประพันธ์ ซึ่งในเรื่องรามเกียรติ์นี้พบเป็นจำนวนมาก เช่น

     บัดนั้น ปักหลั่นสิทธิศักดิ์ยักษี
ถาโถมโจมจ้วงทะลวงตี ด้วยกำลังอินทรีย์กุมภัณฑ์
ต่างถอยต่างไล่สับสน ต่างตนฤทธิแรงแข็งขัน
สองหาญต่อกล้าเข้าโรมรัน ต่างตีต่างฟันไม่งดการ

คำที่มีความหมายว่า โกรธ ได้แก่ โกรธ โกรธา กริ้ว๓. การหลากคำ หรือคำไวพจน์ การเลือกใช้คำที่เขียนต่างกันแต่ความหมายเหมือนกัน เช่น

  • คำที่มีความหมายว่า ม้า ได้แก่ พาชี มโนมัย สินธพ อาชาไนย อัสดร นฤเคนทร์ สีห์
  • คำที่มีความหมายว่า ศัตรู ได้แก่ ไพรี ปัจจามิตร ปรปักษ์ อรินทร์ ไพริน อริ อัสดร เวรี
  • คำที่มีความหมายว่า ภูเขา ได้แก่ บรรพต สิงขร พนม คีรี

ด้านเนื้อหา

เนื้อหานอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว ตัวละครในเรื่องยังได้แสดงถึงคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เช่น

พระรามเป็นบุตรที่มีความกตัญญูต่อบิดามารดา โดยยินยอมออกเดินป่าเป็นเวลาถึง ๑๔ ปีเพื่อรักษาความสัตย์ของบิดา

   เมื่อนั้น พระรามสุริยวงศา
รับเอาซึ่งเครื่องจรรยา แล้วมีบัญชาตรัสไป
เอ็งจงกราบทูลเสด็จแม่ ว่าเราบังคมประนมไหว้
อันสัตย์พระปิตุรงค์ทรงชัย กูนี้มิให้เสียธรรม์
อย่าว่าแต่ไปสิบสี่ปี จะถวายชีวีจนอาสัญ
ให้เป็นที่สรรเสริญแก่เทวัญ ว่ากตัญญูต่อบิดา
ซึ่งน้องเราจะผ่านพระนคร ให้ถาวรบรมสุขา
วันนี้จะถวายบังคมลา อย่าให้พระแม่ร้อนใจฯ

นอกจากนี้ยังมีข้อคิดที่ได้อีกมากมาย เช่น

๑.ทั้งในเรื่องความยุติธรรมของท้าวมาลีวราชที่ไม่เข้าข้างฝ่ายทศกัณฐ์ซึ่งเป็นหลานของตน แต่ฟังความจากทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกคน

๒.การไม่เห็นแก้พวกพ้องจนเสียความยุติธรรม เห็นได้จากสุครีพ ที่สาบานเป็นเพื่อนตายกับพิเภก แต่เมื่อได้รับบัญชาให้สอบสวนนางเบญจกายซึ่งปลอมตัวเป็นนางสีดาตายลอยน้ำมาลวงพระราม สุครีพสอบสวนความได้ว่า นางเป็นธิดาของพิเภกจึงเชื่อคำให้การของนางเบญจกายแต่ก็ให้นางเข้าพบพระรามเพื่อตัดสินคดี ไม่ปล่อยให้นางเป็นอิสระทันที

๓.ความกล้าหาญในการรบของหนุมานและสุครีพ ที่ต่อสู้กับศัตรูอย่างกล้าหาญ

ด้านสังคม

๑.วัฒนธรรมและประเพณี ได้แก่ การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ประเพณีการจัดทัพและการตั้งค่าย ความเชื่อเรื่องโชคลาง และการบูชาบวงสรวงเทวดา เช่น พิธีปรุงข้าวทิพย์ ความเชื่อเรื่องโชคลางในการหาฤกษ์ยามที่เหมาะสมในการออกทัพ หรือระเบียบวิธีทางการทูตสมัยเก่า เช่นการปฏิสันถารสามนัด (เมื่อพระราชาพบทูต จะถามคำถามสามคำถามก่อนที่จะเจรจากัน ได้แก่ ๑.พระราชาของท่านเป็นอย่างไร ๒.เมืองของท่านเป็นอย่างไร ๓.ท่านมีจุดประสงค์อะไร ซึ่งเป็นโอกาสให้ทูตให้ปฏิภาณไหวพริบตอบ) เป็นต้น

๒.การแสดงสภาพชีวิตความเป็นอยู่และค่านิยมของบรรพบุรุษ ที่ย่อมจะสอดแทรกสภาพสังคมสมัยก่อน

๓.การเข้าในธรรมชาติของมนุษย์ ตัวละครแต่ละตัวเป็นตัวแทนของมนุษย์โดยทั่วไปที่มี รัก โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจ

๔.เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชื่อเมืองและสถานที่หลายๆแห่งในเรื่องรามเกียรติ์นั้น ร่วมสมัยกับเมืองไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่นเมืองอยุธยา เมืองบุรีรัมย์ แม่น้ำสะโตง นอกจากนั้นเทคโนโลยีก็ร่วมสมัยกัน เช่นมีการกล่าวถึงอาวุธปืน ซึ่งย่อมไม่มีในรามายณะ นอกจากนั้นระบบการปกครองในรามเกียรติ์ยังเป็นระบบการปกครองแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เก่า ที่เจ้าเมืองขึ้นยอมสยบต่อเมืองแม่เป็นทอดๆ โดยการเคารพใน ‘บุญ’ ของพระมหากษัตริย์เป็นหลัก

๕.สอดแทรกมุมมองของปราชญ์ไทยที่นอกเหนือจากรามายณะ เช่น เมื่อกุมภกรรณออกรบกับพระรามนั้น ได้ตั้งปริศนาถามพระรามไว้บอกว่าถ้าพระรามตอบได้จะยอมเลิกทัพกลับ ปริศนาถามว่า ชีโฉด หญิงโหด ช้างงารี ชายทรชน สี่อย่างนี้คืออะไร พระรามตอบไม่ได้จึงใช้องคตมาถาม กุมภกรรณจึงเฉลยว่า

หญิงโหด คือนางสำมะนักขาที่คิดเอาพระรามเป็นสามี พอไม่ได้ก็และยุยงให้พี่น้องมารบกับพระรามจนเกิดเรื่อง

ช้างงารี คือทศกัณฐ์ที่เกะกะอันธพาล ไปแย่งเมียคนอื่น

ชีโฉด คือพระรามที่เพื่อแย่งชิงนางสีดากลับ ถึงกับยกทัพใหญ่มาทำการวุ่นวาย ทำให้คนบริสุทธิ์มากมายเดือดร้อน

ชายทรชน คือพิเภกที่ไม่รู้จักบุญคุณพี่น้อง ไปบอกความลับของฝ่ายลงกาแก่ศัตรู เหมือนแกล้งฆ่าพี่น้องทุกคน

คำบริภาษนี้เป็นของปราชญ์ไทยแต่งขึ้นโดยไม่มีในรามายณะต้นฉบับ ได้เป็นคำบริภาษทุกฝ่ายอย่างยุติธรรมตามมุมมองของกุมภกรรณ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองของกวีที่สอดแทรกไว้ก็ได้

สำนวนไทยที่สอดแทรก

กล่องดวงใจ : ในเรื่อง มียักษ์สองตนคือ ทศกัณฐ์และไมยราพที่อยู่ยงคงกระพันแม้โดนฟาดฟันด้วยอาวุธต่างๆ ก็ไม่ตาย ทั้งนี้เนื่องมาจาก ทั้งสองได้ถอดดวงใจออกจากตัวแล้วนำใส่กล่องไปเก็บไว้ที่อื่น โดยที่ทศกัณฐ์นำดวงใจไปเก็บไว้ที่ภูเขานิลคีรี ส่วนไมยราพนั้นนำไปเก็บไว้ในถ้ำบนยอดเขาตรีกูฏ

กล่องดวงใจ จึงหมายถึงสิ่งหรือผู้ที่เจ้าของผู้ครอบครองเห็นว่ามีค่าสูงดังชีวิตตนและพยายามเก็บรักษาไว้ด้วยความหวงแหน

น้ำบ่อน้อย : คราวที่หนุมานรับอาสาไปเฝ้านางสีดา แล้วตอนกลับได้ฉวยโอกาสลอบเผากรุงลงกา แต่ไฟก็ได้ไหม้ที่ปลายหางของตนซึ่งพยายามดับเท่าไหร่ก็ไม่มอดจึงต้องอาศัยฤๅษีบอกใบ้ว่าให้ดับด้วยน้ำบ่อน้อย หนุมานนึกออกจึงส่งปลายหางเข้าปากอมไว้ ไฟนั้นจึงได้มอดสนิท

น้ำบ่อน้อย หมายถึงน้ำลาย คือถ้าพูดให้ดีก็สามารถดับทุกข์ได้

ลูกทรพี/วัดรอยเท้า : ทรพีเป็นลูกของทรพากันางนิลากาสร เดิมทรพานั้นชื่อนนทกาลทำหน้าที่เฝ้าทวาร ณ เขาไกรลาส ถูกสาปให้ลงมาเกิดเป็นควายและเมื่อใดที่ถูกลูกฆ่าตายจึงจะพ้นโทษ เมื่อกำเนิดเป็นควายทรพาจำคำสาปได้จึงเที่ยวฆ่าลูกให้ตายเสมอ จนนางนิลากาสรแอบไปคลอดในถ้ำ พอทรพีโตขึ้นก็มีความอาฆาตแค้นพ่อ คอยวัดรอยเท้าทรพาอยู่เป็นประจำ จนเห็ว่าขนาดรอยเท่ากันแปลว่าไม่เสียเปรียบกันแล้ว จึงไปท้าสู้และได้ฆ่าต่อของตนตาย

วัดรอยเท้า ใช้เปรียบในกรณีที่ผู้เยาว์หรือผู้น้อยแอบฝึกตัวเพื่อหาทางเอาชนะผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่