การตั้งราชธานีที่หนองโสน

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน


  • การตั้งราชธานีที่หนองโสน

    ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")

    “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เวิลด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ จำกัด จัดทัวร์ตามรอย “7 โบราณสถานกับ 5 ตำนานสุวรรณภูมิ (เรื่องเล่าหลายชาติบนแผ่นดินแหลมทอง)” ทริปที่ 3 “ตามรอยเส้นทางสายราชมรรคา” 3 วัน 2 คืน บุรีรัมย์ - นครราชสีมา ตำนานราชมรรคาเรื่องราวการชิงรักหักสวาทของท้าวพรหมทัต นางอรพิม และเจ้าชายปาจิต ชมถนนโบราณเชื่อมมหานคร ร่วมสำรวจโบราณสถาน อโรคยศาลาบนเส้นทางมหานคร

    การตั้งราชธานีที่หนองโสน

    ทัวร์ตัวตน “เจนนี่ ปาหนัน ณ หาดใหญ่แดงไก่ทอด” แห่งเทยเที่ยวไทย : แก้วไร้น้ำที่พร้อมเรียนรู้และสร้างสรรค์

        “เมื่อโสนสะพรั่งตา...ลำนำแห่งกรุงศรีอยุธยาก็เริ่มขับขาน...”    

                   ณ หนองน้ำใหญ่อันมีต้นโสนขึ้นอยู่ดารดาษอวดช่อดอกบานสะพรั่งสีเหลืองอร่ามดั่งทองคำ  ณ ที่แห่งนี้...เอกบุรุษนาม “พระเจ้าอู่ทอง” ทรงมั่นหมายให้เป็นราชธานีใหม่  ครั้นถึงวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล (พ.ศ.1893) ก็ทรงสถาปนาอาณาจักรขึ้นที่บริเวณ “หนองโสน”   พราหมณ์ได้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตรสุมเพลิง ขุดพบสังข์ทักษิณาวัฎสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอนใต้ต้นหมัน จึงโปรดให้สร้างปราสาทขึ้นใต้ต้นหมันนั้นแล้วอัญเชิญสังข์ทักษิณาวัฎประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้าภายในปราสาท

    การตั้งราชธานีที่หนองโสน

    ภาพที่ 1 ตำแหน่งของหนองโสน...จุดแรกเริ่มสถาปนากรุงศรีอยุธยา

    แหล่งที่มาภาพ: https://lek-prapai.org

                   เรื่องราวแรกเริ่มการสถาปนา “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” ที่เคยได้ร่ำเรียนมาตั้งแต่ชั้นประถมปลายต่อชั้นมัธยมต้นในวิชา “ท้องถิ่นของเรา” นั้นยังอยู่ในความจำของผู้เขียนเสมอ  แม้การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในวัยเยาว์ที่คนในรุ่นต่อ ๆ มามักจะมีมุมมองว่าเน้นหนักไปทางการท่องจำเสียมากกว่า  ทว่าการเรียนการสอนแบบนี้เองที่เป็นพื้นฐานและแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนสนใจใคร่รู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยาอันเป็นบ้านเกิดที่พักกาย  ซึ่งการเรียนรู้เรื่องราวของ “กรุงเก่า” นี้... “หนองโสน” จึงมักจะถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเสมอในฐานะชัยภูมิที่ดี เหมาะแก่การสร้างบ้านแปงเมือง และถือเป็นสถานที่สำคัญอันเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์ฉบับพระราชพงศาวดารที่เป็นทางการ

                    แม้ยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัดว่า “พระเจ้าอู่ทอง” หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นใคร? มาจากไหน?  หากแต่บริเวณที่พระองค์ทรงเลือกให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการยืนยันความมีอยู่แต่เดิมของ “หนองโสน” ...บึงน้ำขนาดใหญ่ด้านทิศเหนือของเมืองเล็กหรือเวียงเหล็กอันเป็นพลับพลาที่ประทับเดิมก่อนการอพยพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปสถาปนากรุงศรีอยุธยา  และ “เวียงเหล็ก” ก็ยังเป็นอีกหนึ่งร่องรอยที่สนับสนุนความมีอยู่ของ “กรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร” ...เมืองที่รุ่งเรืองมั่งคั่งทางด้านตะวันออกเรื่อยลงมาจรดด้านทิศใต้ของเกาะหนองโสน  และด้วยเหตุนี้เองจึงต้องวกกลับมากล่าวถึงที่มาของ “พระเจ้าอู่ทอง” ว่าความมีอยู่ของเมืองเก่าอโยธยาได้ช่วยเสริมข้อสันนิษฐานที่ว่า...แท้จริงแล้วพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยาศรีรามเทพนครที่ได้นำพาราษฎรอพยพหนีโรคห่าจนมาถึงเวียงเหล็กก่อนจะข้ามฟากไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาบริเวณหนองโสน  ซึ่งปัจจุบันข้อสันนิษฐานนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด จนกว่าจะมีหลักฐานชิ้นใหม่ที่มีน้ำหนักมากกว่ามาหักล้าง

                   เดิมที “หนองโสน” มิได้เป็นเกาะ แต่ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยา “พระเจ้าอู่ทอง” จึงโปรดให้ขุด “คูขื่อหน้า” ขึ้นทางด้านตะวันออกจาก “ทำนบรอ” ลงมายังวัดพนัญเชิง และได้ขุดขยายอีกครั้งในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาเพื่อปรับปรุงแนวป้องกันพระนคร ด้วยกระแสน้ำที่แรงจึงกัดเซาะลำคูขื่อหน้าจนกลายเป็นแม่น้ำป่าสัก กรุงศรีอยุธยาจึงมีสภาพเป็น “เกาะ”  ตามรายงานของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้กล่าวถึงบึงน้ำใจกลางเกาะเมืองอยุธยาว่าแบ่งออกเป็น 2 แห่ง คือ “บึงชีขัน” กับ “บึงพระราม” โดยแต่เดิม 2 บึงนี้เป็นบึงเดียวกัน มีลำน้ำติดต่อกัน  ในส่วนของ “บึงชีขัน” นั้นจะคิดให้สูงขึ้นไปก็อาจจะเป็นตัว “หนองโสน” ตามที่มีชื่อในพระราชพงศาวดารที่ต่อมาถูกขุดเพื่อนำดินไปถมเป็นพื้นวังและพื้นวัดทำให้ขนาดของบึงใหญ่โต

                  จากรายงานของพระยาโบราณราชธานินทร์ที่วิเคราะห์จุดตำแหน่งของ “หนองโสน” ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าแท้จริงแล้ว “หนองโสน” อยู่ตรงไหน? มีขอบเขตกว้างขวางเพียงไร?  โดยข้อมูลเท่าที่จะพอสืบค้นได้พบว่าหลักฐานอย่างตำนานและพระราชพงศาวดารกล่าวถึงการสถาปนากรุงศรีอยุธยาว่า...พระราชวังหลวงที่สถาปนาขึ้นนั้นอยู่ในพื้นที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งใกล้กับคลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ) อันเป็นเขตพระราชฐาน เมื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ถัดจากบึงพระรามไปทางทิศตะวันตก จึงสันนิษฐานได้ว่าขอบเขตด้านตะวันตกสุดของหนองโสนจรดริมคลองฉะไกรใหญ่  ส่วนขอบเขตของหนองโสนด้านตะวันออกนั้น...หากพิจารณาตามข้อมูลในพระราชพงศาวดารที่ระบุว่า “วัดมหาธาตุอยู่ตรงกลางเกาะพระนครหนองโสน”  โดยปัจจุบันวัดมหาธาตุอยู่ทางตะวันออกสุดของบึงพระราม ดังนั้นหากให้วัดมหาธาตุอยู่กึ่งกลางขอบเขตทางตะวันออกสุดของหนองโสนก็จะขยายออกไปจรดกับคลองนายก่ายหรือคลองมะขามเรียง  เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเชื่อได้ว่าพื้นที่หนองโสนในอดีตน่าจะมีขอบเขตมากกว่าพื้นที่บึงพระรามในปัจจุบัน

    การตั้งราชธานีที่หนองโสน

    ภาพที่ 2 บริเวณบึงพระราม หรือหนองโสนในอดีต

                    “บึงพระราม” เรียกชื่อตามวัดพระรามที่สมเด็จพระราเมศวรโปรดให้สร้างขึ้นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ “พระเจ้าอู่ทอง” ผู้เป็นพระราชบิดา  แล้วขุดดินจากหนองโสนมาถมพื้นเพื่อสร้างวัดพระรามจริงหรือ?  จากหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่าบริเวณที่สร้างวัดพระรามเป็นที่ดอนจากตะกอนแม่น้ำมาทับถมจนสูงจึงไม่มีเหตุผลที่ต้องถมที่อีก แต่อาจเป็นไปได้ว่าหนองโสนถูกขุดขยายเป็นบึงตามหลักการจัดสมดุลธาตุในคัมภีร์พระเวทย์ เนื่องจากพระปรางค์ตามคติความเชื่อฮินดูเป็นธาตุดินต้องมีธาตุน้ำหล่อเลี้ยง

                     “หนองโสน” อันกว้างใหญ่...ปัจจุบันถูกถมทับไปเป็นอันมาก ถนนที่ตัดผ่านด้านตะวันตกของวัดพระรามทำให้ “บึงชีขัน” และ “บึงพระราม” แยกออกจากกัน โบราณสถานมากมายที่ตั้งอยู่ในบริเวณ 2 บึงนี้คือคุณค่าของอดีตให้เราได้เรียนรู้ถึงที่มาของพระนครศรีอยุธยา  แผนการพัฒนาเกาะเมืองในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามทำให้บริเวณบึงพระรามได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นสวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งท่องเที่ยวกระทั่งปัจจุบัน

    การตั้งราชธานีที่หนองโสน

    ภาพที่ 3 ดอกโสน สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อหนองโสน

                    เพื่อนที่มาเที่ยวอยุธยาเคยถามผู้เขียนว่า “เคยเห็นต้นโสนในหนองโสนไหม?” ผู้เขียนสั่นหน้าว่า “ไม่เคย” ทว่ากลับเห็นเสียจนชินตาตามริมคลองและริมถนนสายเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่ถัดออกไปจากนอกเกาะเมือง  ต้นโสนในความจำของผู้เขียนคือต้นไม้บอบบางที่ขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ ราวกับว่าจะไม่มีวันสิ้นสุด ต้นเก่าที่เหี่ยวแห้งในฤดูหนาวจะทิ้งเมล็ดพันธุ์ไว้ใต้ดิน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนต้นกล้าจะเติบโตขึ้นออกดอกบานสะพรั่งเหลืองอร่ามละลานตาไม่หวาดหวั่นแม้กระทั่งน้ำท่วม  “ดอกโสน” คือดอกไม้หน้าฝนที่ไม่หอมแต่แสนอร่อย  ใต้ต้นโสนคือขุมทรัพย์ของชาวบ้านที่เพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เลื่องชื่อของพระนครศรีอยุธยา

                   เรื่องราวของ “โสน” ยังได้ถูกบอกเล่าผ่านผืนผ้าบาติกลายดอกโสน...ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลายเส้นพลิ้วไหวและสีสันสดใสคือฝีมือของชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันสรรค์สร้างชิ้นงานที่มีอัตลักษณ์  เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือสิ่งอื่นใดที่ตัดเย็บจากผ้าบาติกลายดอกโสน เมื่อถูกส่งไปยังที่แห่งใด...ที่แห่งนั้น “ดอกโสน” จะบานสะพรั่งมิรู้โรยรา  ในส่วนลำต้นของ “โสนหางไก่” ถูกนำมาล้างทำความสะอาดและตากแห้ง แล้วตัดเป็นท่อนใช้มีดคมกริบฝานเป็นแผ่นบาง ๆ เพื่อใช้ประดิษฐ์เป็นดอกไม้นานาชนิดอย่างเช่นดอกมะลิตูมที่ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยได้ลองฝึกทำแบบเก้ ๆ กัง ๆ จึงทราบว่าไม่ง่ายเลยกว่าจะมาเป็นดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นโสนหางไก่...งานฝีมือของชาวอยุธยาที่ประกาศไกลไปถึงต่างแดน

    การตั้งราชธานีที่หนองโสน

    ภาพที่ 4 ผีเสื้อทำจากผ้าลายบาติกดอกโสนที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                   “โสน” มิใช่วัชพืชตามท้องทุ่ง หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นของกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา  “หนองโสน” ไม่เคยเหือดแห้งฉันใด... “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยุธยา” ก็ยังคงดำเนินต่อไปฉันนั้น เพียงแต่แปรเปลี่ยนวิธีการบอกเล่าจากตัวอักษรในตำรามาเป็นการถ่ายทอดผ่านงานฝีมือเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์   และแม้แต่เนื้อเพลงบางช่วงยังชวนให้คิดเลยว่า “ดอกโสนบานเช้า”...หรือ “พระเจ้าอู่ทอง” จะทอดพระเนตรเห็นดอกโสนบานสะพรั่งในยามอรุณรุ่ง?

    แหล่งอ้างอิง

    กำพล  จำปาพันธ์. (2561).  บึงพระราม (หนองโสน):พื้นที่ประวัติศาสตร์กับสวนสาธารณะกลางเมือง

               เก่าอยุธยา. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2565,

    มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เรื่องการทำดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นโสนหางไก่. (2564).  พระนคร

               ศรีอยุธยา: สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

    โรม  บุนนาค. (2562).  พระเจ้าอู่ทองเป็นใคร มาจากไหนกันแน่ โอรสพระเจ้ากรุงจีน กษัตริย์ขอมหนี

               ตาย หรือลูกท้าวแสนปม. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2565,  จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000006982

    วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

               (พิมพ์ครั้งที่1). (2544).  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

    วัดพระราม วัดโบราณศิลปะอยุธยาตอนต้นที่หาชมได้ยากยิ่ง. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2565, จาก                                  https://www.talontiew.com/wat-phra-ram

    บริเวณที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคือที่ใด

    ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีคนไทยตั้งบ้านเมืองมาก่อน เช่น เมืองละโว้ เมืองสุพรรณบุรี เมืองอโยธยา เมืองเพชรบุรี และเมืองอื่น ๆ อีกมาก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีของไทย ในพ.ศ. 1893 “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” ตั้งอยู่บริเวณ หนองโสน ( ...

    เพราะเหตุใดพระเจ้าอู่ทองจึงเลือกตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

    2. เพราะเหตุใดพระเจ้าอู่ทองจึงเลือกตังกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะมีชัยภูมิทีเอืออํานวยทังในด้านความมันคงปลอดภัยจากข้าศึกและความอยู่ดีกินดีของ ประชาชน คือตังอยู่บนดินดอนสามเหลียมทีมีแม่นําล้อมรอบ ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเกาะ สะดวกในการป้องกันตัวเมืองจากผู้เข้ามารุกราน และพืนทีเหมาะแก่การเกษตรกรรม อีกทัง เป็นศูนย์กลาง ...

    ปัจจัยสําคัญในการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีอะไรบ้าง

    1.2 ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยา 1. ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ 2. การเป็นศูนย์กลางการคมนาคม 3. ความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ 4. ช่องว่างทางการเมือง

    กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่ทั้งหมดกี่ปี

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ...