บทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโรคอ้วน

1. ภาวะโรคอ้วน (obesity) คือะไร?

คนที่มีภาวะอ้วน คือผู้ที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพในอัตราส่วนที่สูงในร่างกาย วิธีการวัดภาวะโรคอ้วนโดยมากจะคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง ที่เรียกว่า "ดัชนีมวลกาย 

หรือ body mass index (BMI)"

ค่า BMI คืออัตราส่วนระหว่าง  

บทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโรคอ้วน
      

นอกจากนี้ค่า BMI ยังแสดงถึงภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินได้แม่ยำกว่าการประเมินจากน้ำหนักอย่างเดียว แนวทางการประเมินค่า BMI ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 

หรือเท่ากับ 20 ปี มีดังนี้

  <18.5 ผอม (underweight)
  18.5-24.9 สมส่วน (healthy)
  25-29.9   น้ำหนักเกิน (overweight)
  >30   ภาวะอ้วน (obese)

แผนภูมิแสดงการวัดค่า BMI จากน้ำหนักและส่วนสูงในผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี

บทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโรคอ้วน

เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่รูปร่างสมส่วนแล้ว ผู้ที่น้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, 

โรคหัวใจหลอดเหลือด, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังทำให้อายุขัยสั้นลงด้วย

2. น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนพบบ่อยเพียงใด?

ผลจากการสำรวจในปี 1999-2000 ของสถาบัน National Health Examination Survey (NHANES) พบว่าประมาณ 64% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐ

อเมริกาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเพิ่มขึ้นประมาณ 8% เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจก่อนหน้านี้ของ NHANES III ในปี 1988-1994

เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ที่จัดอยู่ในกลุ่มอ้วน มีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ  7.6% จากในปี 1994 และจากข้อมูลพบว่า 30% ในประชากรที่อายุมากกว่าหนือเท่ากับ

20 ปี (ประมาณ 59 ล้านคน) มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 (เปรียบเทียบกับปี 1994 มีประชากรเพียง 23% ที่อยู่ในภาวะดังกล่าว)

นอกจากนี้ในเด็กพบว่าภาวะน้ำหนักเกินมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในปี 1999-2000 พบว่าประมาณ 15% ในเด็กอายุ 6-19 ปี (ประมาณ 9 ล้านคน) อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน 

ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 1980  สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล

3. สาเหตุของโรคอ้วนคืออะไร?

ผู้เชี่ยวชาญได้สรุปสาเหตุหลักของโรคอ้วนไว้ว่า เกิดจากวิถีชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ และการบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูง (high-calorie food) มากเกินไป

- วิถีชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ (sedentary lifestyle): จากงานวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างสูงระหว่างการขาดการออกกำลังกาย (physical activity) และโรคอ้วน

- อาหาร (died): การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงหรือมีไขมันเป็นส่วนประกอบ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอ้วน

4. ในทางวิทยาศาสตร์ โรคอ้วนกับโรคมะเร็งสัมพันธ์กันอย่างไร?

ในปี 2001 ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าโรคมะเร็งลำไส้, เต้านม (ในวัยหมดประจำเดือน), เยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium), ไต และหลอดอาหาร มีความสัมพันธ์กับ

โรคอ้วน นอกจากนี้ในบางการศึกษารายงานว่าโรคอ้วนสัมพันธ์กับโรคมะเร็งถุงน้ำดี, ตับอ่อน และรังไข่ด้วย

โรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย: ประมาณ 25-30% เป็นสาเหตุหลักที่สำคัญของโรคมะเร็งลำไส้, เต้านม (วัยหมดประจำเดือน), เยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium), 

ไตและหลอดอาหาร

การป้องกันน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรจะปรับพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายตั้งแต่แรก 

เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนอยู่ก่อน ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก และควรจะลดน้ำหนักโดยการบริโภคอาหารพลังงานต่ำ

และออกกำลังกายร่วมด้วย การลดน้ำหนักเพียง 5-10% จากน้ำหนักเดิมจะทำให้สุขภาพดีขึ้นได้

5. ผู้ที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน เป็นโรคมะเร็งมีจำนวนเท่าไร และมีการเสียชีวิตเท่าไร?

ในปี 2002 ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยโรคมะเร็งประมาณ 41,000 คน ที่เกิดจากโรคอ้วน (ประมาณ 3.2% ในผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด สัมพันธ์กับโรคอ้วน)

มีรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า 14% ของผู้ป่วยชายที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง และ 20% ของผู้ป่วยหญิงที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล

6. โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่?

ผลของโรคอ้วนต่อโรคมะเร็งเต้านม ขึ้นกับภาวะหมดประจำเดือนของผู้หญิง วัยก่อนหมดประจำเดือน ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงที่

น้ำหนักปกติ แต่สำหรับวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าของหญิงที่น้ำหนักปกติ

ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมในวัยหมดประจำเดือนมากกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม

ในประเทศสหรัฐอเมริกา (ในกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปี) มีประมาณ 11,000-18,000 คนต่อปี ถ้าไม่ควบคุมค่าดัชนีมวลกายให้ต่ำกว่า 25

โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเฉพาะกลุ่มผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่ไม่ใช่ยาฮอร์โมนเสริม ส่วนในกลุ่มที่ใช้ยาฮอร์โมนพบว่าอัตราการเกิดโรคไม่

ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้หญิงอ้วนและน้ำหนักปกติ

สาเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมและการเสียชีวิต เชื่อว่าเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงอ้วนก่อนวัยหมดประจำเดือน รังไข่

ทำหน้าที่หลักในการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และมีส่วนหนึ่งที่ผลิตจากเนื้อเยื่อไขมัน (fat tissue) เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมน ส่วนเนื้อเยื่อไขมัน

ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนแทน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหลังหมดประจำเดือนเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50-100% ในผู้หญิงอ้วนเทียบกับผู้หญิงผอม ดังนั้นเนื้อเยื่อที่

ตอบสนองกับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกกระตุ้นมากในผู้ป่วยอ้วน ซึ่งทำให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของก้อนเต้านมที่ตอบสนองดีกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen-

responsive breast tumor)

ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้นในผู้หญิงอ้วนคือ การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะหลัง (Later stage) มากกว่าคนน้ำหนักปกติ 

เนื่องจากการตรวจก้อนที่เต้านมทำได้ยากกว่า

การศึกษาเกี่ยวกับโรคอ้วนและมะเร็งเต้านมในสหรัฐอเมริกายังมีอยู่จำกัด มีบางรายงานที่ศึกษาในผู้หญิง Africanc American (ซึ่งมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับ

ประชากรทั้งหมด) พบว่าหญิงชาว African American ที่มีดัชนีมวลกายสูงส่วนใหญ่เป็นมะเร็งนมแบบ advanced stage ตั้งแต่วินิจฉัยครั้งแรก

การกระจายของไขมันในร่างกายมีผลกระทบต่อความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน ผู้ที่มีไขมันสะสมที่หน้าท้องมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้ที่ไขมัน

สะสมที่สะโพกและต้นขา แต่จากผลการศึกษาพบว่าผลกระทบที่เกิดจากไขมันที่หน้าท้อง น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือดัชนีมวลกาย

7. โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมดลูกหรือไม่?

โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium) ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นประมาณ 2-4 เท่า เทียบกับผู้หญิงน้ำหนักปกติ และส่วนใหญ่อยู่ใน

สังคมที่ร่ำรวย

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการกระตุ้นจากฮอร์โมน และระดับเอสโตรเจน

และอินซูลินที่สูงอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้

8. โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้หรือไม่?

โรคมะเร็งลำไส้พบมากขึ้นในคนที่อ้วนมากกว่าคนที่น้ำหนักปกติ มีรายงานการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ ในผู้ชายที่มีดัชนีมวลกายสูง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง

ค่าดัชนีมวลกายและปัจจัยเสี่ยงในผู้หญิงพบว่าน้อยหรือแทบไม่มีเลย

ซึ่งต่างจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งมดลูก เอสโตรเจนจะเป็นสิ่งป้องกันมะเร็งลำไส้ในผู้หญิง อย่างไรก็ตามหากมีทั้งโรคอ้วนและระดับเอสโตรเจนก็อาจจะมีอิทธิพลต่อ

มะเร็งลำไส้ด้วย ผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงทั้งวัยก่อนหมดประจำเดือนและหลังหมดประจำ เดือนพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้เหมือนกับผู้ชายที่มีค่าดัชนี มวลกาย

สูง สำหรับผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนและไม่ได้รับฮอร์โมน estrogen เสริม พบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้

บางการศึกษาพบว่าภาวะอ้วนลงพุงอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดมะเร็งลำไส้ ในผู้ชายค่าดัชนีมวลกายสูงมีความสัมพันธ์กับไขมันสะสมที่หน้าท้อง แต่ในผู้หญิง

ไขมันจะกระจายสะสมที่สะโพกและต้นขา ดังนั้นจึงมีวิธีการวัดไขมันหน้าท้อง 2 วิธี ได้แก่ อัตราส่วนของรอบเอวและสะโพก หรือความยาวรอบเอว ซึ่งอาจจะเป็นตัวทำนายความ

เสี่ยงของมะเร็งลำไส้ได้ดีกว่า มีหลายการศึกษาที่เปรียบเทียบระหว่างอัตราส่วนของรอบเอวและสะโพกกับความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ในผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตามมี 1 การศึกษาที่

พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ในผู้หญิงที่อัตราส่วนของรอบเองและสะโพกสูงซึ่งพบว่าอาจจะเกี่ยวกับการไม่ได้ออกกำลังกาย

กลไกของโรคอ้วนที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้มีการตั้งสมมติฐานว่าอาจจะเกิดจากระดับของอินซูลินที่สูงไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อ

9. โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งไตหรือไม่?

จากการศึกษาพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างชนิดของมะเร็งที่ไต (renal cell carcinoma) และโรคอ้วนในผู้หญิง ซึ่งในบางรายงานพบว่าเพิ่มความเสี่ยง

ประมาณ 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับคนน้ำหนักปกติ

ส่วนในผู้ชายจากผลการศึกษายังสรุปไม่แน่ชัด (ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกันน้อยหรือแทบไม่เกี่ยวข้องกัน) มีการศึกษาแบบ meta-analysis พบว่าความเสี่ยงในผู้ชายและ

ผู้หญิงเท่ากัน โดยโรคมะเร็งของไตพบประมาณ 36% ในผู้ที่น้ำหนักเกินและประมาณ 84% ในผู้ที่อ้วน

กลไกของโรคอ้วนที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ไตยังไม่แน่ชัด การถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและแอนโดนเจนอาจจะเป็นกลไกหนึ่งที่สามารถอธิบายได้

10. โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารหรือไม่?

ภาวะน้ำหนักเกินและความอ้วนต่างเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma ประมาณ 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนน้ำหนักปกติ และเพิ่ม

ความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหาร (ส่วนที่ต่อจากหลอดอาหาร) การศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับมะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น squamous cell 

carcinomaการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma เกี่ยวข้องกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, การสูบบุหรี่ และอายุน้อยกว่า 59 ปี

กลไกของโรคอ้วนที่ทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด adenocarcinoma ยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าภาวะกรดไหนย้อนกลับจากกระเพาะอาหารในผู้ป่วยโรคอ้วนอาจจะ

ทำให้เพิ่มความเสี่ยงได้ แต่มีบางการศึกษาพบว่าในผู้ที่ดัชนีมวลกายสูง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเท่า ๆ กันเมื่อเทียบในกลุ่มที่มีและไม่มีภาวะกรดไหลย้อน

11. โรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่?

มีการรายงานมากกว่า 35 การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่าไม่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน แต่ก็มีบางรายงานที่พบว่าผู้ชายอ้วนมีความเสี่ยง

สูงกว่าผู้ชายที่น้ำหนักปกติโดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดลุกลาม (aggressive tumor) มี 1 การศึกษาที่รายงานว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในผู้ชายที่อัตราส่วนของรอบเอวต่อ

สะโพกสูงจึงเชื่อว่าภาวะไขมันสะสมที่หน้าท้องสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมลูกหมาก

กลไกของโรคอ้วนที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากเชื่อว่าเกิดจากระดับของอินซูลิน, leptin และ IGF-1 (insuline-like growth factor-1)

12. มีหลักฐานบ่งชี้ว่าโรคอ้วนสัมพันธ์กับมะเร็งถุงน้ำดี, มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งตับอ่อนหรือไม่?

การเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งถุงน้ำดีสัมพันธ์กับโรคอ้วนโดยเฉพาะในผู้หญิง ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับนิ่วในถุงน้ำดีซึ่งพบบ่อยในคนอ้วน และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง

ถุงน้ำดีอย่างไรก็ตามจากงานวิจัยยังไม่สรุปแน่ชัด

ผลของโรคอ้วนต่อมะเร็งรังไข่ยังไม่ชัดเจน บางการศึกษามีรายงานว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในคนอ้วน แต่บางรายงานพบว่าไม่สัมพันธ์กัน แต่มีการศึกษาที่ผ่านมาเร็วๆ นี้พบว่า

ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในคนอ้วนกลุ่มวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ส่วนในผู้สูงอายุที่อ้วนไม่เพิ่มความเสี่ยง

มีการศึกษาที่รายงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและมะเร็งตับอ่อน มี 1 การศึกษาเร็ว ๆ นี้พบว่าโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน เฉพาะผู้ที่ไม่ได้

ออกกำลังกายและมีการศึกษาแบบ meta-analysis พบว่า คนอ้วนเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อนประมาณ 19% เมื่อเทียบกับผู้ที่น้ำหนักปกติ

13. การป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่?

จากการศึกษาส่วนใหญ่ได้ข้อสรุปว่าการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ แม้ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาแบบ control clinical trial    

เกี่ยวกับโรคมะเร็งและการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่มีการศึกษาแบบ observation พบว่าการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้, มะเร็งเต้านม

(วัยหมดประจำเดือน), มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, มะเร็งของไต และมะเร็งหลอดอาหาร แต่ข้อมูลยังจำกัดในมะเร็งไทรอยด์และมะเร็งอื่น ๆ

14. การลดน้ำหนักช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่?

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการลดน้ำหนักต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง การศึกษาแบบ observation เกี่ยวกับการลดน้ำหนักมีจำกัด และมีบางการศึกษาพบว่าความ

เสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมลดลงในคนที่น้ำหนักลดลง อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด

การศึกษาเร็ว ๆ นี้พบว่าผู้ที่ตั้งใจและลดน้ำหนักได้มากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปอนด์และไม่กลับมาอ้วนอีก มีอัตราการเกิดมะเร็งเท่ากับผู้ที่สุขภาพสมส่วนซึ่งไม่เคย

ลดน้ำหนัก อย่างไรก็ตามในการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน

15. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งหรือไม่?

ขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาแบบ control clinical trial ถึงผลของการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามมีการศึกษาแบบ 

observation เกี่ยวกับการออกกำลังกาย พบว่าลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม

มะเร็งลำไส้ : ในปี 2002 มีการทบทวนการศึกษาแบบ observational พบว่า การออกกำลังกายระดับปานกลางช่วยลดมะเร็งลำไส้ได้ประมาณ 50% เช่น การเดินเร็ว

ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

จากการศึกษาส่วนใหญ่ พบว่าทั้งคนอ้วนและคนที่น้ำหนักปกติ การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันมะเร็งได้

มะเร็งเต้านม : ความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายและมะเร็งเต้านมยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด การศึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมจะทำในกลุ่มวัยหมดประจำเดือน 

มีการรายงานจากสถาบัน woman's health initiative พบว่าการออกกำลังกายในหญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น การเดินประมาณ 30 นาทีต่อวันช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมลง

20% ส่วนในคนที่น้ำหนักปกติ การออกกำลังกายจะช่วยลดมะเร็งเต้านมถึง 37% ส่วนผลด้านการป้องกัน (protective effect) ยังไม่สามารถป้องกันมะเร็งเต้านมได้ในผู้หญิง

ที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน

16. กลไกของชีววิทยาที่อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและโรคมะเร็งคืออะไร?

กลไกทางชีววิทยาอธิบายเกี่ยวกับโรคอ้วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งซึ่งอธิบายไว้ต่าง ๆ กันตามชนิดของโรคมะเร็ง (ดังคำถามที่ 6-11) สำหรับกลไกยัง

ไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศ (เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน และแอนโดรเจน) อินซูลินและ IGF-1 ในคนอ้วนซึ่งจะเพิ่มปัจจัย

เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งลำไส้

ฮอร์โมนเพศจะจับกับ globulin ซึ่งเป็นตัวหลักในการพาโปรตีนไปกับพลาสมา (plasma) ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในคนอ้วน

17. เกี่ยวกับงานวิจัยในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยที่ทำในประชากรจำนวนมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับโรคมะเร็ง ในบางการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกาย และ

การใช้พลังงาน (การบริโภคและการเผาผลาญพลังงาน) ต่อโรคมะเร็ง โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม ผลการศึกษายังไม่สรุปแน่ชัดว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นใน

กลุ่มคนอ้วน จากการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้น, การบริโภคอาหารไขมันสูงหรืออาหารที่มีพลังงานสูง, ขาดการออกกำลังกาย หรือทั้ง 3 ปัจจัย

ในปี 2002 สถาบัน International Agency for Research on Cancer (IARC) ได้รายงานถึงการควบคุมน้ำหนัก, การออกกำลังกาย และโครมะเร็งซึ่งได้แนะนำ

ถึงงานวิจัยในอนาคตดังนี้

- การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันระยะยาวจากผลของการเปลี่ยนการบริโภคที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

- การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันระยะยาวจากผลของการออกกำลังกาย (ตามระดับชนิดและความถี่ของการออกกำลังกาย) ต่อความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นกับ

ความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

- การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันระยะยาวจากผลของการเปลี่ยนแปลงการบริโภคและการออกกำลังกายต่อโรคอ้วนและความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

- การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและส่งเสริมการออกกำลังกายในระดับสังคม

            ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายประเทศกำลังส่งเสริมเรื่องการควบคุมน้ำหนัก, การออกกำลังกายและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น

18. สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา National Cancer Institute (NCI) ได้มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและโรคมะเร็งหรือไม่?

กองทุนงานวิจัยของ NCI ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและโรคมะเร็ง รวมถึงโรคมะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่, มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, มะเร็งลำไส้ และมะเร็ง

หลอดอาหาร ดังนี้

- การศึกษาเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งมุ่งไปที่ผลกระทบจากโรคอ้วนและน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงต่อความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมและ

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยศึกษาในชาว American Hispanic และ non-Hispanic  ผิวขาว

- การศึกษาในคนผิวขาว, African American และชาวลาติน เกี่ยวกับการบริโภค phytoestrogen ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และ

ความสัมพันธ์กับความอ้วน

- การศึกษาในผู้หญิงผิวดำถึงผลของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งรวมถึงความอ้วนด้วย

- การศึกษาของ The Health, Eating, Activity and Lifestyle (HEAL) Breast Cancer ซึ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหาร, น้ำหนัก, การออกกำลังกาย

ฮอร์โมน, การทำนายอาการ (prognosis) ของโรคมะเร็งเต้านม และคุณภาพของชีวิต ในผู้ป่วยมะเร็งประมาณ 1,200 คน โดยเป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (cohort)

นอกจากนี้มีการศึกษาของ The Division of Cancer Epidemiology and Genetics (DCEG) เกี่ยวกับระบาดวิทยาและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเป็น

หนึ่งในงานวิจัยของ NCI เกี่ยวกับผลกระทบของโรคอ้วนและการขาดการออกกำลังกาย ต่อระบาดวิทยาของมะเร็งชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะรวมถึง cohort studies ใน clinical trials 

เช่น Alpha-Tocopherol Beta-Carotene Study (มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้ และมะเร็งรังไข่) นอกจากนี้ DCEG กำลังจะศึกษาเกี่ยวกับความสมดุลของ

การบริโภคและการใช้พลังงานใน cohort และ case-control studies ในประเทศสวีเดน, จีน, อังกฤษ โดยรวมถึง NIH-AARP (National Institutes of Health-American 

Association of Retired Persons) Diet and Health Study  ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ prospective cohort  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอาหาร (nutrition) และโรคมะเร็ง

NCI ได้พัฒนาและสนับสนุนงานวิจัย ปรับปรุงเกี่ยวกับวิธีการวัดการบริโภคและการออกกำลังกายในประชากร โดยเข้าใจถึงความรู้และการปฏิบติเกี่ยวกับการรักษา

โรคอ้วนสนับสนุนการให้ความรู้เรื่อง nutrition การใช้พลังงานและการออกกำลังกาย ซึ่งมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง

ส่วนงานวิจัยอื่น ๆ ของ NCI ทำการศึกษาในสัตว์ทดลอง เกี่ยวกับความอ้วนและโรคมะเร็ง มี 1 การศึกษาเกี่ยวกับมวลไขมันในร่างกายต่อการดำเนินโรคของโรคมะเร็งใน

หนูทดลองที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

The Center for Cancer Research ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ NCI ศึกษาถึงกลไกของพลังงาน, การควบคุมพลังงาน, การอดอาหาร, การออกกำลังกาย, อาหารที่ทำให้อ้วน

และปัจจัยทางกรรมพันธ์ที่ทำให้อ้วน และความถี่ของการเกิดโรคมะเร็งในสัตว์ทดลอง

NCI สนับสนุนการฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น nutrition และความอ้วนที่มหาวิทยาลัย California, Los Angeles โดยให้นักวิทยาศาสตร์แต่ละคน

ศึกษาถึงหัวข้อความรู้ต่าง ๆ เช่น Culturally Proficient Smoking และ Weight Control Treatment, Exploration และ Intervention in Weight Gain Associated

With Adjuvant Chemotherapy for Breast Cancer, และ Visceral Adipose Tissue and Colorectal Neoplasia