เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดวิธีประหยัดไฟง่ายๆ กับเครื่องใช้ไฟฟ้า 10 อย่างที่อยู่ในทุกๆ บ้าน เริ่มต้นจาก

ธปท.ไฟเขียวแบงก์ปันผลได้ปกติ ส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯอัตราเดิมปี 66

“ปุ๋ยแพง” กดดันผลผลิต ข้าวไทยในประเทศอาจเข้าสู่ภาวะตึงตัว

1.เครื่องปรับอากาศ 

  • เพิ่มอุณหภูมิ 1 องศา
  • ตั้งเวลาปิดก่อนตื่น 15-30 นาที
  • ล้างเครื่องปรับอากาศ 2 ครั้งต่อปี
ประหยัดได้ 290 บาท คิดเป็น 6%

คำนวณจาก 3 เครื่องขนาด 9,000 13,000 18,000 BTU

2.เครื่องทำน้ำอุ่น

  • ปิดน้ำร้อนตอนฟอกสบู่
  • เปิดใช้เท่าที่จำเป็น
ประหยัดได้ 119 บาท คิดเป็น 2.5%

คำนวณจาก เครื่องทำน้ำอุ่น 3 เครื่อง เครื่องละ 3,500 วัตต์

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน

3.กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า

  • ต้มน้ำเท่าที่ใช้
  • ถอดปลั๊กหลังใช้เสร็จ

ประหยัดได้ 25 บาท คิดเป็น 0.5%

4.หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์

  • ถอดปลั๊กหลังใช้เสร็จ

ประหยัดได้ 11 บาท คิดเป็น 0.2%

5.ตู้เย็น

  • ไม่เปิดประตูตู้เย็นนานหรือบ่อยเกินไป
  • ไม่แช่ของในตู้จนแน่น

ประหยัดได้ 19 บาท คิดเป็น 0.4%

คำนวณจากตู้เย็น 7.7 คิว (217.2 ลิตร)

6.พัดลมไฟฟ้า

  • ปรับลดระดับ speed  1 ระดับ
  • ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน

ประหยัดได้ 18 บาท คิดเป็น 0.4%

คำนวณจากพัดลมไฟฟ้า 3 เครื่องขนาด 16-18 นิ้ว

7.หลอดไฟฟ้าสว่าง LED 

  • ปิดดวงที่ไม่จำเป็น 5%

ประหยัดได้ 11 บาท คิดเป็น 0.2%

คำนวณจากหลอดกลม E27 จำนวน 37 หลอด

และอีก 3 อย่างจะสามารถประหยัดได้ 11 บาท คิดเป็น 0.2%

8.เตารีดไฟฟ้า

  • ถอดปลั้กก่อนรีดเสร็จ 2 นาที
  • ใช้ความร้อนที่เหลืออยู่
9.ปั๊มน้ำ
  • ใช้น้ำอย่างประหยัดอย่างน้อย 10%
  •  ลดการใช้งานปั๊มน้ำ
10.เครื่องซักผ้า
  • รวมซักครั้งละมากๆ ตามขนาดของเครื่อง

ซึ่งหากครัวเรือนประหยัดไฟฟ้าได้ 10% ประเทศจะประหยัดไฟได้ 40,000 ล้านบาทต่อปี รวมภาคอุตสาหกรรมภาคธุรกิจ ประเทศจะประหยัดไฟได้ 150,000 ล้านบาทต่อปี

 

ด้าน นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมฯ ระบุว่า ตอนนี้ประเทศไทยใช้ไฟฟ้ากันมากจนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและที่มีสัญญานำเข้าระยะยาว (LNG Long Term) ไม่พอผลิต  ขณะที่รัฐบาลพยายามใช้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่อย่างเต็มที่ แต่ก็ยังไม่พอ รัฐบาลจึงมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวนมากเข้ามาใหม่ ทั้ง solar farm / wind farm แต่ก็ยังต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง

ในเหตุการณ์เฉพาะหน้านี้ เราจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวแบบระยะสั้น หรือ LNGSpot ซึ่งราคาแพงมากมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า คิดเป็นต้นทุนต่อหน่วยมากกว่า 7 บาทต่อหน่วย ซึ่ง LNGSpot เป็นสาเหตุหลักทำให้ ไฟฟ้าบ้านเรือนแพง

          10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะที่สุด พร้อมวิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพงช่วงสิ้นเดือน รีบเข้ามาเช็กและปฏิบัติตามกันด่วน !!


          ถึงแม้อากาศจะร้อนตับแล่บ และคนส่วนใหญ่จะทำงานที่บ้าน แต่หลายคนก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมค่าไฟในช่วงนี้ถึงแพงขึ้นมากขนาดนี้ ฉะนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยถือโอกาสรวบรวมข้อมูล 10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเยอะที่สุด โดยคิดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณ 3.9 บาทต่อหน่วย ส่วนตอนนี้ไปดูกันว่าหากเราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด 1 ชั่วโมง จะกินไฟกี่วัตต์ แล้วเสียสตางค์ไปกี่บาท พร้อมวิธีใช้ไฟฟ้าประหยัด ว่าจะลดค่าไฟแต่ละเดือนได้ยังไงบ้าง

1. เครื่องทำน้ำอุ่น

          เครื่องทำน้ำอุ่น กินไฟประมาณ 2,500-12,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ยชั่วโมงละ 10-47 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกซื้อเครื่องที่มีขนาดเหมาะสม พร้อมต่อสายดินให้เรียบร้อยและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ปรับอุณหภูมิให้พอดี อย่าให้ร้อนมากเกินไป ปิดก๊อก ปิดวาล์ว และปิดสวิซต์ทุกครั้งหลังใช้เสร็จ เมื่อพบรอยรั่วให้รีบแก้ไข รวมถึงลดการใช้น้ำอุ่นแบบไม่จำเป็นในฤดูร้อนด้วย

2. เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ


          เครื่องปรับอากาศ กินไฟประมาณ 1,200-3,300 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกซื้อเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและมีขนาดเหมาะสมกับห้อง พร้อมปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด ติดตั้งในระดับที่สูงพอดี มีที่ระบายความร้อน และไม่ไว้ใกล้วัตถุไวไฟ

          ส่วนระหว่างการใช้งานควรปิดประตู-หน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันความเย็นรั่วไหล ควรติดม่านกันแดดเพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายใน ควรตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมช่วย ควรทำความสะอาดแผ่นกรองและบำรุงรักษาเครื่องเป็นประจำ ควรปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน อย่าเปิดทิ้งไว้เวลาไม่อยู่บ้าน และถ้าหากอากาศไม่ร้อนมาก ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้จะดีที่สุด

          - 10 ประหยัดแอร์หน้าร้อน แต่บ้านยังเย็นสบายไม่เปลี่ยน

3. เครื่องซักผ้า

          เครื่องซักผ้า โดยเฉพาะเครื่องซักผ้าพร้อมอบแห้ง กินไฟประมาณ 3,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง ใส่ปริมาณเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับตัวเครื่อง ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากมีแค่ 1-2 ชิ้น ควรเปลี่ยนจากซักเครื่องเป็นซักมือแทน หากไม่ใช่ผ้าพิเศษหรือมีคราบมาก ควรใช้น้ำเย็นในการซัก หากมีแสงแดดจัด ควรนำออกตากแดดและหลีกเลี่ยงการอบแห้ง หมั่นตรวจสอบปลั๊กไฟ โครงเหล็ก และตัวเครื่องให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ และควรถอดปลั๊กหลังจากเลิกใช้งานทุกครั้ง

4. เตารีดไฟฟ้า

เตารีดไฟฟ้า


         เตารีดไฟฟ้า กินไฟประมาณ 750-2,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ต้องตรวจสอบสภาพก่อนใช้งานทุกครั้ง ทั้งปลั๊กเสียบและสายไฟต้องไม่ชำรุด ควรพรมน้ำก่อนรีดเล็กน้อย แต่ระวังอยากให้แฉะเกินไป ปรับความร้อนให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า เริ่มรีดจากตัวที่บางก่อนตัวที่หนา รีดครั้งละเยอะ ๆ ถอดปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จสัก 2-3 นาที เพราะความร้อนจะยังคงอยู่พอให้รีดต่อได้อีกสักพัก เมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ถอดปลั๊กทุกครั้ง

5. หม้อหุงข้าว

         หม้อหุงข้าว กินไฟประมาณ 450-1,500 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกใช้หม้อที่มีขนาดพอดีกับคนในครอบครัว และหุงข้าวให้พอดีกับการกินในแต่ละมื้อ ใส่น้ำให้เหมาะสม ปิดฝาให้แน่นสนิท ถอดปลั๊กออกหลังใช้เสร็จทุกครั้ง พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบแท่นความร้อนในหม้อ ล้างหม้อให้สะอาดไม่ให้มีข้าวเกาะจนทำให้ข้าวสุกช้า ก้นหม้อไม่ควรมีรอยบุบ และตรวจสอบปลั๊กเสียบหรือสายไฟ ไม่ให้ชำรุดและรั่วไหลด้วย


         เตาหุงต้มไฟฟ้า กินไฟประมาณ 200-1,500 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.80-6 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ตรวจเช็กตัวเครื่อง สายไฟ และปลั๊กเสียบ ไม่ให้เสื่อมสภาพหรือรั่วไหลก่อนใช้งานทุกครั้ง เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มทำอาหารเสมอ ใส่น้ำให้พอดี ไม่เปิด-ปิดฝาบ่อย หรี่ไฟและปิดฝาเมื่อทำการเคี่ยว และถอดปลั๊กทันทีที่ทำอาหารเสร็จ


7. เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่น


          เครื่องดูดฝุ่น กินไฟประมาณ 750-1,200 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-5 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ควรเทฝุ่นทิ้งทุกครั้งหลังเลิกใช้ เพื่อช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพและเปลืองไฟน้อยลง หมั่นตรวจสอบเต้าเสียบไม่ให้ชำรุดหรือมีรอยไหม้เสมอ และต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เครื่องร้อนและเกิดปัญหาตามมาได้นั่นเอง

8. เครื่องปิ้งขนมปัง

          โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ อ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าสายไฟไม่รั่วหรือชำรุด ขั้วต่อและเต้ารับแน่นสนิท และถอดปลั๊กทุกครั้งหลักเลิกใช้งาน

9. เครื่องเป่าผม

          เครื่องเป่าผม กินไฟประมาณ 400-1,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-4 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เช็ดผมก่อนเป่าและขยี้ผมระหว่างเป่า เพื่อช่วยให้ผมแห้งไวขึ้น จนทำให้กินไฟน้อยลง นอกจากนี้ต้องหมั่นตรวจเช็กเต้าเสียบ สายไฟ หรือส่วนที่เป็นโลหะให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอด้วย

10. เตาไมโครเวฟ

          เตาไมโครเวฟ กินไฟประมาณ 100-1,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.40-4 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ อ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าสายไฟไม่รั่วหรือชำรุด ขั้วต่อและเต้ารับแน่นสนิท นอกจากนี้ควรกำหนดเวลาและความร้อนให้เหมาะสม เลือกใช้ภาชนะก้นแบนหรือภาชนะที่แถมมากับเครื่อง เพื่อให้รับความร้อนได้ดี หลีกเลี่ยงการเปิด-ปิดฝาบ่อย ๆ เพื่อให้อาหารอุ่นเร็วขึ้น เปลืองไฟน้อยลง ถอดปลั๊กหลังใช้เสร็จทุกครั้งด้วย ทำสำคัญควรดูแลและหมั่นทำความสะอาดด้วย

          นอกเหนือจาก 10 อันดับข้างต้นแล้ว เครื่องชงกาแฟ โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลมเพดาน และพัดลมตั้งพื้น ก็ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมากที่สุดรองลงมาเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าหากใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ก็ลองเช็กตัวเองดูว่า มีของพวกนี้ครบหรือเปล่า ใช้งานบ่อยแค่ไหน หาทางเซฟบ้างไหม ซึ่งถ้าหากคำตอบออกมาเป็นลบละก็ ต้องหันมาเลี่ยง ๆ เบา ๆ และรีบประหยัดพลังงานกันด่วน ไม่งั้นสิ้นเดือนนี้คงได้ช็อกอีกรอบแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/เครื่องใช้ไฟฟ้าใดกินไฟมากที่สุด และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดเปลืองไฟที่สุด

จัดอันดับ 5 เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟมากที่สุด 1. เครื่องทำน้ำอุ่น ใช้ไฟ 2,500-12,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-47 บาท 2. เครื่องปรับอากาศ ใช้ไฟ 1,200-3,300 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท 3. เครื่องซักผ้า ใช้ไฟ 3,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท 4. เตารีดไฟฟ้า ใช้ไฟ 750-2,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานมีอะไรบ้าง

เคล็ดไม่ลับ !.
1 ตู้เย็น ... .
2 ไมโครเวฟ ... .
3 กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ... .
4 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ... .
5 เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ... .
6 เครื่องดูดควัน.

เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใด ที่ใช้ไฟน้อยที่สุด

เครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟ เลือกแบบไหนให้ประหยัดที่สุด.
เครื่องทำน้ำอุ่น ใช้ไฟ 2,500-12,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 10-47 บาท.
เครื่องปรับอากาศ ใช้ไฟ 1,200-3,300 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท.
เครื่องซักผ้า ใช้ไฟ 3,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท.
เตารีดไฟฟ้า ใช้ไฟ 750-2,000 วัตต์ ค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท.

ดูยังไงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟ

ปัจจุบันการตรวจสอบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายต่อปีไม่ใช่เรื่องยาก เพียงมองหาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตราหรือเครื่องหมายรับรองว่าประหยัดไฟ กินไฟน้อย หรือฉลากเบอร์ 5 ซึ่งคือระดับที่ประหยัดไฟมากที่สุดก็ทำให้มั่นใจได้ส่วนหนึ่งว่า ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาใช้งานที่บ้าน นอกจากประหยัดไฟ ...