การใช้พลังงานด้านการคมนาคมของประเทศไทย2563

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยสถานการณ์พลังงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 พบว่า ภาพรวมการใช้พลังงานขั้นต้นลดลงร้อยละ 10.1 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศหยุดชะงัก

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์พลังงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 พบว่า การใช้พลังงานขั้นต้นลดลงร้อยละ 10.1 จากการใช้น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศหยุดชะงัก ในขณะที่ไฟฟ้านำเข้ามีการใช้เพิ่มขึ้นและพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

  • การใช้น้ำมันสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 12.6 โดยการใช้น้ำมันดีเซลลดลงร้อยละ 4.3 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในช่วงเวลาดังกล่าวลดลง อีกทั้ง การลดลงของผลผลิตสินค้าเกษตรเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง จึงทำให้การขนส่งสินค้าลดลง การใช้น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล ลดลงร้อยละ 7.1 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยต้องประกาศ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด โดยภาครัฐได้ออกมาตรการที่มีการเว้นระยะห่างทางสังคม การทำงานที่บ้าน (Work From Home) และลดการเดินทางข้ามจังหวัด ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินลดลง การใช้น้ำมันเครื่องบิน ลดลงร้อยละ 48.6 เนื่องจากข้อจำกัดของการอนุญาตให้ทำการบินในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเครื่องบินลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การใช้ LPG ลดลงเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะการใช้ในภาคขนส่ง ลดลงร้อยละ 30.2 จากการปรับลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันส่งผลให้ผู้ใช้รถยนต์ LPG บางส่วนหันมาใช้น้ำมันทดแทน ประกอบกับปริมาณรถยนต์ LPG ที่มีแนวโน้มลดลง การใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งมีสัดส่วนการใช้สูงสุดคิดเป็นร้อยละ 39 มีการใช้ลดลงร้อยละ 18.8 ส่วนภาคอุตสาหกรรม มีการใช้ลดลงร้อยละ 9.9 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และภาคครัวเรือนมีการใช้ลดลงร้อยละ 5.9
  • การใช้ก๊าซธรรมชาติ ลดลงร้อยละ 8.5 โดยลดลงทุกสาขาเศรษฐกิจ ทั้งการใช้เป็นเชื้อเพลิง
    ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การใช้เพื่อผลิตไฟฟ้า การใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่
    ชะลอตัว ด้านการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) ลดลงร้อยละ 28.8 จากผู้ใช้รถยนต์ NGV บางส่วนเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน เนื่องจากราคาอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก อีกทั้งผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การใช้ NGV ในการเดินทางลดลง
  • การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ ลดลงร้อยละ 0.3 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
  • ด้านการใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 3.9 โดยลดลงในเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมและธุรกิจ จากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และภาคการท่องเที่ยว โดยกลุ่มธุรกิจหลักที่มีการใช้ไฟฟ้าลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งมีผลมาจากมาตรการ Lock Down ได้แก่ โรงแรม และห้างสรรพสินค้า อย่างไรก็ตาม ภาคครัวเรือนมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ และมาตรการทำงานที่บ้าน (Work From Home)

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ยังกล่าวถึงแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2563 ซึ่ง สนพ. ได้มีการพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมุติฐานด้านเศรษฐกิจ และนโยบายที่เกี่ยวข้องมาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน โดยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 สภาพัฒน์ฯ คาดว่าในปี 2563 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะมีการปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ (-5.0) – (-6.0) เนื่องจาก (1) การปรับตัวลดลงรุนแรงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) การลดลงรุนแรงของจำนวน และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ (3) เงื่อนไขข้อจำกัดที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้ง (4) ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งจากสมมุติฐานดังกล่าว จะส่งผลให้
การใช้พลังงานขั้นต้นในปี 2563 ลดลงร้อยละ 5.3 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยคาดการณ์ว่าการใช้พลังงานจะลดลงเกือบทุกประเภท โดยการใช้น้ำมันลดลงร้อยละ 14.2 การใช้ก๊าซธรรมชาติ ลดลงร้อยละ 5.4 การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ลดลงร้อยละ 1.0 ขณะที่การใช้พลังงานไฟฟ้าในปี 2563 คาดว่าจะลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ในกรณีที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ปรับตัวลดลงรุนแรงถึงร้อยละ (-9.0) – (-10.0) คาดว่าจะส่งผลให้การใช้พลังงานของประเทศลดลงร้อยละ 7.9 โดยการใช้น้ำมันเบนซินลดลงร้อยละ 6.3 การใช้น้ำมันดีเซล ลดลงร้อยละ 4.0 การใช้น้ำมันเครื่องบิน ลดลงร้อยละ 43.5 การใช้ LPG ลดลงร้อยละ 10.9 การใช้น้ำมันเตาลดลงร้อยละ 10.0 และการใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 3.0

อย่างไรก็ตาม สนพ. ยังคงจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลต่อการใช้พลังงานของประเทศอย่างใกล้ชิด อาทิ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก มาตรการในการป้องกัน โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท กล่าวปิดท้าย


Post navigation

สนพ. เปิดเผยถึงสถานการณ์พลังงานปี 2563 ความต้องการใช้พลังงานลดลง 5.8% จากการใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน/ลิกไนต์ ที่ลดลง ในขณะที่การใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 0.4% ด้านแนวโน้มการใช้พลังงานในปี 2564 สนพ. ได้มีการพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมุติฐานด้านเศรษฐกิจ และนโยบายที่เกี่ยวข้องมาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น โดยประมาณการความต้องการใช้พลังงานค่อนข้างทรงตัว โดยคาดการณ์เพิ่มขึ้น 0.1-0.4% ส่วนความต้องการใช้พลังงานทดแทนคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5% จากนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์พลังงานปี 2563 พบว่า ความต้องการใช้พลังงานเกือบทุกชนิดเชื้อเพลิงลดลง ในขณะที่พลังงานทดแทนมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ไฟฟ้านำเข้ามีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เนื่องจากปลายปี 2562 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำของประเทศลาวเริ่มจ่ายเข้าระบบจำนวน 3 โรง

  • การใช้น้ำมันสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 11.5 โดยการใช้น้ำมันดีเซลลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนหนึ่งมาจากการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากสถานการณ์ภัยแล้งช่วงต้นปี ประกอบกับปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ในช่วงปลายปี รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้การใช้รถเพื่อเดินทางลดลง การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ลดลงร้อยละ 1.2 จากมาตรการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) และลดการเดินทางข้ามจังหวัด การใช้น้ำมันเครื่องบิน ลดลงร้อยละ 61.8 เนื่องจากมาตรการระงับการบินจากต่างประเทศและลดการบินในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีทำให้การบินในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ การใช้ LPG ลดลงเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะการใช้ในภาคขนส่ง ลดลงร้อยละ 26.3 จากการปรับลดลงของราคาขายปลีกน้ำมัน ส่งผลให้ผู้ใช้รถยนต์ LPG บางส่วนหันมาใช้น้ำมันทดแทน การใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ลดลงร้อยละ 17.7 การใช้ในภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 7.9 และภาคครัวเรือนมีการใช้ลดลงร้อยละ 4.5
  • การใช้ก๊าซธรรมชาติ ลดลงร้อยละ 8.2 โดยลดลงทุกสาขาเศรษฐกิจ ซึ่งลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ด้านการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ (NGV) ลดลงร้อยละ 28.5 จากผู้ใช้รถยนต์ NGV บางส่วนเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเนื่องจากราคาไม่สูงมากนัก
  • การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการใช้ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรม
  • การใช้ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 2.9 โดยลดลงเกือบทุกสาขา โดยกลุ่มธุรกิจหลักที่มีการใช้ไฟฟ้าลดลงอย่างชัดเจน ได้แก่ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคารและไนต์คลับ ซึ่งมีผลมาจากมาตรการ Lock Down
  • การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานของประเทศไทย ปี 2563 ลดลงในทุกภาคเศรษฐกิจ ทั้งการผลิตไฟฟ้า ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ โดยคาดว่าการปล่อย CO2 จากการใช้พลังงานอยู่ที่ระดับ 222.8 ล้านตัน CO2 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.1

แนวโน้มการใช้พลังงานปี 2564

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท กล่าวถึงแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2564 ซึ่ง สนพ. ได้มีการพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมุติฐานด้านเศรษฐกิจ และนโยบายที่เกี่ยวข้องมาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน โดย สศช. คาดว่าในปี 2564 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.5 – 4.5 ด้านราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สศช. คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2564 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 41.0 – 51.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนคาดว่าจะอยู่ในช่วง 30.3 – 31.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2564 จะขยายตัวลดลงร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ สนพ. ได้คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น โดย สนพ. ได้ประมาณการความต้องการใช้พลังงานในปี 2564 ออกเป็น 2 กรณี คือกรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ 1 ครั้ง และกรณีที่เกิดการระบาดมากกว่า 1 ครั้ง ในรอบปี 2564 ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  • การใช้พลังงานขั้นต้น ปี 2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 02 ถึง 19 จากการเพิ่มขึ้นของพลังงานเกือบทุกประเภท ยกเว้นการใช้น้ำมันที่ลดลงร้อยละ -19 ถึง -29 โดยคาดการณ์ว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติจะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 01 ถึง 41 การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์คาดว่าจะมีการใช้ค่อนข้างทรงตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 01 ถึง 04 ส่วนการใช้พลังงานทดแทน คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จากนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐ และไฟฟ้านำเข้า คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 01
  • การใช้น้ำมันสำเร็จรูป ปี 2564 คาดว่ามีการใช้ลดลงร้อยละ -19 ถึง -29 โดยคาดว่าการใช้น้ำมันเครื่องบิน จะลดลงร้อยละ -458 ถึง -515 ตามการหดตัวของการท่องเที่ยว และ การใช้ LPG ในส่วนที่ไม่รวมการใช้เป็น Feed stocks ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะลดลงร้อยละ -07 ถึง -27 ส่วนการใช้น้ำมันดีเซล คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 08 ถึง 13 ส่วนการใช้เบนซินและแก๊สโซฮอล คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 03 ถึง 08
  • การใช้ LPG โพรเพน และบิวเทน ปี 2564 คาดว่าจะมีการใช้ลดลงร้อยละ -10 ถึง -55 โดยการใช้ในภาคครัวเรือน คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ถึง 25 และภาคอุตสาหกรรม คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ถึง 36 ในขณะที่การใช้ในรถยนต์คาดว่าจะลดลงร้อยละ -122
    ถึง -158
  • ก๊าซธรรมชาติ ปี 2564 คาดว่าการใช้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 01 ถึง 41 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการใช้ในภาคขนส่งคาดว่าจะยังคงลดลงต่อเนื่องจากการที่ผู้ใช้ NGV เปลี่ยนกลับมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันยังคงไม่สูงมากนัก
  • การใช้ไฟฟ้า ปี 2564 คาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 191,029 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศและตามการดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ

ทั้งนี้ ผอ. สนพ. กล่าวปิดท้ายว่า อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และปัจจัยอื่นๆ อาทิ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก มาตรการในการป้องกันโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะส่งผลต่อการใช้พลังงานของประเทศต่อไป 


Source: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน


Post navigation