แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) จะส่งผลให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีความสุข มีผลต่อประสิทธิภาพของการทำงาน และศักยภาพขององค์กร ตลอดจนอัตราการลาออกหรือย้ายงานขององค์กร
  • องค์กรที่ทำการสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) อย่างสม่ำเสมอจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นได้อย่างทันเวลา
  • ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) ได้มากที่สุด คือ เรื่องของคน, ความก้าวหน้าในการทำงาน และ อัตราจ้าง
  • แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและองค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ในยุคนี้องค์กรจึงหันมาใส่ใจทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก เพื่อรักษาพนักงานของตนไว้ รวมถึงลดอัตราการลาออกให้น้อยที่สุดด้วย หนึ่งในสิ่งที่องค์กรต้องคำนึงถึงไม่แพ้เรื่องอื่นๆ ก็คือ “ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction)” ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะทำให้พนักงานสามารถทำงานอยู่ร่วมกับองค์กรได้อย่างมีความสุข และอยู่ในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นหากบุคลากรขององค์กรมีความพึงพอใจต่อองค์กรมากเท่าไร โอกาสที่พวกเขาเหล่านั้นจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งมันจะส่งผลต่อการบรรลุความสำเร็จขององค์กรที่จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูงและรวดเร็วได้เช่นกัน

    ความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) คืออะไร?

    การนิยามความพึงพอใจในกรณีนี้นั้นจะขอนิยมความหมายเบื้องต้นของความพึงพอใจและความหมายในเชิงชี้เฉพาะเจาะจงสำหรับการปฎิบัติงาน ซึ่งนิยามได้ดังนี้

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    • ความพึงพอใจ (Satisfaction) ก็คือ ความรู้สึกของบุคลากรที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการทำงานตลอดจนองค์กรที่สังกัด ความพึงพอใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างดีและสมบูรณ์ที่สุด แล้วความพึงพอใจยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามค่านิยมตลอดจนประสบการณ์ของแต่ละคน รวมถึงระดับความพึงพอใจของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย
    • ความพึงพอใจในการปฎิบัติงาน (Working Satisfaction) ก็คือ ความรู้สึกในทิศทางที่ดี ตลอดจนทัศนคติในเชิงบวกที่มีต่องานที่ปฎิบัติอยู่ โดยบุคลากรได้รับการตอบสนองที่ดีจากองค์กร ซึ่งจะทำให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน รวมถึงมีความสุขในการทำงาน ที่จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ และยังส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เป็นอย่างดีด้วย

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    มีปัจจัยมากมายที่สามารถสร้างความพึงพอใจในการทำงานให้กับบุคลากรได้ ขณะเดียวกันปัจจัยเหล่านี้ก็กลับเป็นตัวแปรสำคัญที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงาน จนเป็นเหตุให้ทำงานในองค์กรได้อย่างไม่ราบรื่นและไม่มีความสุข ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็เป็นเหตุผลที่ทำให้พนักงานตัดสินใจลาออก หรือย้ายองค์กรได้เช่นกัน เราลองมาดูปัจจัยเหล่านี้กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

    1.คน

    คนคือทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร คนมีส่วนช่วยทำให้การทำงานประสบความสำเร็จได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะเดียวกันคนนี่แหละที่สร้างปัญหาให้กับองค์กรได้มากที่สุด การที่องค์กรมีบุคลากรที่ดีมาร่วมงานย่อมทำให้องค์กรเต็มไปด้วยคนที่มีคุณภาพและมีศักยภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้ทุกคนเกิดความสุขในการทำงานได้ และช่วยสร้างความพึงพอใจในการทำงานทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์รวมได้เป็นอย่างดีทีเดียว

    ความพึงพอใจ 5 มิติ

    มิติความสัมพันธ์ในองค์กรมีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานได้เช่นกัน หากมิติใดมิติหนึ่งมีปัญหาก็ย่อมส่งผลต่ออีกมิติหนึ่ง และกระทบไปหลากหลายมิติได้ ในขณะเดียวกันหากองค์กรมีการบริหารจัดการบุคลากรในทุกมิติที่ดีก็ย่อมสร้างความพึงพอใจได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน เราลองมาดูความพึงพอใจในการทำงานต่อมิติความสัมพันธ์ในระบบการทำงานต่างๆ กันว่าแต่ละมิติมีความสำคัญอย่างไร

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    • มิติที่ 1 : ความพึงพอใจต่อเพื่อนร่วมงาน > มิติความสัมพันธ์นี้เป็นมิติที่ใกล้ชิดที่สุด ซึ่งมีผลต่อการสร้างความพึงพอใจได้มากที่สุดอีกด้วย หากบุคลากรมีเพื่อนร่วมงานที่ดี ปฎิบัติงานได้มีประสิทธิภาพ ช่วยกันผลักดันให้งานสำเร็จลุล่วงได้ดี ก็ย่อมสร้างความพึงพอใจในการทำงานให้เกิดขึ้นได้มากเช่นกัน ในทางตรงกันข้ามหากบุคลากรมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ก็อาจทำให้กระทบต่อการทำงานได้ ไม่มีความสุขในการทำงาน และทำให้ผลงานออกมาแย่ สร้างปัญหากับคนอื่นตามมาได้เช่นกัน เมื่อเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงานก็จะสร้างผลเสียให้กับองค์กรได้
    • มิติที่ 2 : ความพึงพอใจต่อผู้บังคับบัญชา > ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างานถือเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างมาก ผู้นำที่ดีจะสามารถบริหารจัดการงานและคนได้ดีไปพร้อมกัน ย่อมทำให้ทุกคนเกิดความพึงพอใจในการทำงาน และพึงพอใจในการบริหารงานของผู้บังคับบัญญา ซึ่งนั่นทำให้องค์กรมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง ในขณะเดียวกันหากผู้บังคับบัญชาไร้ประสิทธิภาพ พนักงานก็อาจเกิดความไม่พึงพอใจ ทำงานได้ไม่สนุก งานมีปัญหา กระทบไปหลายๆ อย่าง ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในงานได้ในที่สุดเช่นกัน
    • มิติที่ 3 : ความพึงพอใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา > เมื่อมีมิติของผู้บังคับบัญชาก็ต้องมีมิติของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย ในทางกลับกัน หากหัวหน้าได้ลูกน้องที่ทำงานดี ขยันขันแข็ง เชื่อฟัง ปฎิบัติตาม ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเหลือเกื้อกูล ก็ย่อมทำให้การทำงานออกมาดีมีประสิทธิภาพได้ ก็จะเกิดความพึงพอใจในงาน เกิดความพึงพอใจซึ่งกันและกัน และถ้าหากหัวหน้าได้ลูกน้องที่แย่ ทำงานไม่เป็น ขี้เกียจ ไม่สนใจพัฒนาตนเอง หัวหน้าก็ควบคุมงานได้ยาก ทำให้บกพร่องในหน้าที่ โดนตำหนิ เบื่อหน่ายในการทำงาน จนทำให้หัวหน้าเกิดความไม่พึงพอใจในงานได้ และอาจส่งผลกระทบตามมาอีกมากมาย
    • มิติที่ 4 : ความพึงพอใจต่อผู้บริหาร > ดูเหมือนความสัมพันธ์ในมิตินี้จะไกลตัวสำหรับบุคคลกรไปหน่อย แต่ในยุคนี้ผู้บริหารต่างก็ลงมาคลุกคลีทำงานอย่างใกล้ชิดกับพนักงานเช่นกัน ซึ่งนั่นทำให้พนักงานต่างมีความพึงพอใจองค์กรได้สูงมาก และส่งผลให้ต่อสู้กับการทำงาน และสร้างความพึงพอใจในงานได้ในที่สุด ในขณะที่ผู้บริหารที่ไม่มีวิสัยทัศน์ ทำงานไม่เป็น ไม่มีนโยบายองค์กรที่ดี ก็อาจทำให้พนักงานไม่ท้าทาย เบื่องหน่าย มองไม่เห็นอนาคต ก็อาจเกิดความไม่พึงพอใจกับงาน กับผู้บริหาร กับองค์กร และส่งผลให้ลาออกหรือย้ายองค์กรได้เช่นกัน
    • มิติที่ 5 : ความพึงพอใจต่อองค์กร > หากมองในภาพรวมองค์กรก็เปรียบเสมือนเป็นคนคนหนึ่งซึ่งเป็นภาพรวมของทั้งหมดที่ชัดเจน การที่เราประทับใจต่อองค์กรนั้นทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานได้ง่าย เต็มที่กับการทำงาน และส่งผลต่อความสำเร็จได้ง่าย ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่มีความภูมิใจในองค์กรเลย ไม่ชอบองค์กรทั้งที่งานที่ทำก็เป็นงานที่ชอบและทำได้ดี ก็อาจทำให้ไม่เกิดความพึงพอใจในองค์กร และย้ายไปอยู่องค์กรที่ตนภูมิใจมากกว่า ซึ่งจะเกิดความพึงพอใจในการทำงานได้ดีกว่า ดังนั้นการสร้างภาพลักษณ์องค์กรทีดี่จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างความพึงพอใจในการทำงานได้หลายระดับ และส่งผลดีต่อบุคคลกรในทุกภาคส่วนด้วย

    2.งาน

    หากเราได้ทำงานที่เรารัก หรือถนัด เรามีโอกาสที่จะมีความสุขในการทำงานได้มากกว่าทำงานที่เราไม่ชอบ หรือไม่ถนัด การได้ทำงานที่อยากทำแล้วมีความสุขนั้นจะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะเมื่อมีความสุขในการทำงานแล้วก็จะส่งผลถึงความพึงพอใจในสิ่งอื่นๆ ได้ง่าย ไปจนถึงความพึงพอใจในองค์กรเลยทีเดียว

    งานที่ชอบ งานที่ใช่ แต่ไร้ความสุข

    บางครั้งเราก็มีโอกาสได้ทำงานที่ชอบ ทำงานที่ใช่ ในองค์กรที่รัก แต่ทำไมกลับทำงานแล้วไร้ความสุข เจอแต่ความทุกข์จนไม่อยากอยู่ร่วมงานกับองค์กรแล้ว ซึ่งปัญหาเรื่องงานอาจเกิดได้จากสิ่งเหล่านี้

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    • งานไม่ท้าทาย ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย : งานที่ทำทำจนเกิดความเคยชิน ทำจนเบื่อหน่าย หรือไม่มีความท้าทายใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาตนเอง ก็จะทำให้ความพึงพอใจลดลงได้ และอยากย้ายงานในที่สุด
    • อุปสรรคและปัญหาในการทำงาน : งานที่มีอุปสรรคเยอะ อุปสรรคที่เกิดจากการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ อุปสรรคที่เกิดขึ้นมากจนเกินไป ก็อาจทำให้เกิดความท้อในการทำงานได้ และไม่พึงพอใจในการทำงาน เพราะล้ากับการต่อสู้กับอุปสรรคมากจนเกินไป
    • เพื่อนร่วมงานไม่มีศักยภาพ : บางครั้งทุกอย่างเพอร์เฟ็คหมด แต่มาตกม้าตายตรงที่ได้คนไม่มีศักยภาพมาทำงานหรือร่วมงานด้วย ทำให้งานไม่ราบรื่น ผลงานไม่ดี ประสบปัญหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นบ่อเกิดให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงานในที่สุด
    • บริษัทไม่ส่งเสริมในงานที่ทำอย่างเหมาะควร : บริษัทไม่ส่งเสริมพัฒนาคนและพัฒนางาน ไม่สนใจในบุคลากรตลอดจนงานที่ทำเพราะไม่กระทบต่อรายได้ หรือไม่เห็นความสำคัญของงานและบุคลากรที่ทำงานนั้นๆ ก็อาจเกิดความไม่พึงพอใจในงานและองค์กรได้
    • ความสามารถด้อยกว่าคนอื่น : บางครั้งปัญหาความไม่พึงพอใจก็มาจากปัจจัยในตัวของบุคลากรเอง ซึ่งพนักงานที่มีคู่แข่งที่ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพกว่า หรือพนักงานที่ทำงานมีศักยภาพแย่รั้งท้ายที่สุด ก็อาจเกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย เครียด กดดัน รู้สึกแย่ รู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่ดีพอ ไมมีศักยภาพ ก็อาจทำให้ความพึงพอใจในงานที่ทำลดลงได้ และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานยิ่งลดลง จนเกิดความอยากลาออกจากงานในที่สุด

    3.โอกาสความก้าวหน้า

    ในโลกที่พัฒนาก้าวหน้าทุกวัน หลากหลายองค์กรมีแผนการพัฒนาองค์กรและบุคลากรอย่างจริงจัง องค์กรที่ไม่มีการพัฒนาองค์กรที่ดี หรือไม่มีโอกาสความก้าวหน้าให้พนักงานเห็น ไม่ส่งเสริมให้พนักงานก้าวหน้าหรือพัฒนา ก็ย่อมมีผลทำให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจต่องานที่ทำ และไม่พึงพอใจต่อองค์กรได้ เพราะมนุษย์ล้วนแล้วแต่ต้องการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ดังนั้นบุคลากรก็จะไปหาที่ที่ตนเองได้พัฒนาก้าวหน้ากว่า ก็จะเกิดการย้ายงาน ย้ายองค์กรได้

    4.อัตราจ้างและสวัสดิการ

    เรื่องเงินตลอดจนอัตราจ้างและสวัสดิการเป็นสิ่งสำคัญและละเอียดอ่อนมาก องค์กรที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะมีการใส่ใจเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบและจริงจัง การจ้างงานในอัตราที่เหมาะสมกับภาระหน้าที่ ตลอดจนการให้สวัสดิการที่คุ้มค่า มีส่วนเป็นอย่างมากที่จะทำให้พนักงานพึงพอใจในงานที่ทำและองค์กรที่ตนทำงานอยู่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการทำงานในระยะยาว และความจงรักภักดีต่อองค์กรได้เช่นกัน แล้วนี่ก็เป็นปัจจัยลำดับต้นๆ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงานมากที่สุดอีกด้วย

    5.สภาพแวดล้อมในการทำงาน

    การมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีนั้นจะช่วยให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงานได้ง่าย และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีจะส่งผลให้ทำงานได้อย่างมีความสุข การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นได้ และเกิดความพึงพอใจในการทำงานและองค์กรในที่สุด สภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นแบ่งได้สองมิติใหญ่ๆ ดังนี้

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    • สภาพแวดล้อมด้านสถานที่และสิ่งของ : หมายถึงออฟฟิศ สถานที่ทำงานที่สะดวกสบาย เอื้อประโยชน์ต่อการทำงาน เป็นสถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดโปร่ง ปลอดภัย มีสุขภาวะ ไม่ทำให้สุขภาพแย่ ตลอดจนทำให้การทำงานมีความรู้สึกอึดอัด สภาพแวดล้อมนี้ยังหมายถึงการตกแต่งออฟฟิศ เฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ เช่น โซนพักผ่อนหย่อนใจ, สวนที่ทำให้สดชื่น, ระยะห่างระหว่างโต๊ะทำงานที่ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างล้วนสร้างความพึงพอใจในการทำงานได้เช่นกัน
    • สภาพแวดล้อมด้านบุคคล : หมายถึงเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ไปจนถึงระดับผู้บริหาร การมีคนที่มีคุณภาพ ทำงานเก่งมีประสิทธิภาพ ช่วยเหลือเกื้อกูล ร่วมทุกข์ร่วมสุข ก็ย่อมจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีได้ สร้างความพึงพอใจในการทำงานได้ดีเยี่ยม

    6.การบริหารงานบุคคล

    ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ที่มีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลนั้นมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะสร้างความพึงพอใจ หรือสร้างความไม่พอใจให้กับพนักงานได้ง่าย การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความพึงพอใจได้ดี ตั้งแต่เรื่องอัตราจ้าง, สวัสดิการ, โปรแกรมการพัฒนาบุคลากร, ไปจนถึงสารทุกข์สุขดิบต่างๆ หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจสร้างความประทับใจได้ง่าย หรือหากละเลยก็อาจสร้างความรู้สึกแย่ๆ ลดความพึงพอใจได้ง่ายเช่นกัน

    7.สถานการณ์ของธุรกิจและองค์กรในขณะนั้น

    บางครั้งปัจจัยของความไม่พึงพอใจในการทำงานและองค์กรก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บริษัทหรือธุรกิจในขณะนั้น อย่างกรณีบริษัทที่เกิดข่าวหรือภาพลักษณ์ในเชิงลบ ถูกกระแสสังคมโจมตี ก็อาจทำให้พนักงานลดความพึงพอใจในบริษัทลงได้ หรือกรณีที่ผลประกอบการย่ำแย่ ขาดทุนอย่างหนัก ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน ก็อาจทำให้พนักงานไม่พึงพอใจได้ หรือสถานการณ์ที่บริษัทเป็นรองคู่แข่ง ก็อาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่พึงพอใจองค์กร อยากย้ายงาน หรือแม้กระทั่งการพัฒนาให้องค์กรก้าวหน้าเร็วเกินไปเพื่อให้ทันกับโลกและคู่แข่งจนไม่ดูความพร้อมของภายในองค์กร ก็อาจทำให้พนักงานรู้สึกตามไม่ทัน เครียด กดดัน ไม่พอใจองค์กร ตลอดจนรู้สึกว่าตนเองไม่เหมาะสมกับองค์กรที่ปรับเปลี่ยน ทำให้อยากลาออก ย้ายงาน ได้เช่นกัน

    HR ที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    Q. อยากเรียนสอบถามเรื่องการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน ว่ามีความจำเป็นต้องทำส่วนไหนบ้างคะที่สำคัญที่สุด

    ตั้งแต่วันแรกจนถึงเกษียณอายุ และมีวิธีหรือกิจกรรมที่สามารถแชร์ หรือแนะนำได้บ้างมั้ยคะ เนื่องจากมีผลประเมินความพึงพอใจค่อนข้างน้อย ซึ่งมองว่า Employees experience น่าจะสามารถทำให้พนักงานมีความพึงพอใจสูงขึ้น ขอบคุณนะคะ

     

    A.  จริงอยู่ที่ว่า Employee Experience ในเชิงบวกมีผลต่อ Employee Satisaction/Organization Health แต่หากจะเริ่มจากเรื่อง Employee Experience Management (EEM) ก็จะเป็นสิ่งที่กว้างมาก เพราะองค์กรสามารถสร้าง Employee Experience ได้ตั้งแต่การคัดเลือกพนักงาน การ maintain experience ระหว่างการเป็นพนักงานขององค์กร และจนกระทั่งพนักงานหมดหน้าที่ตามวาระหรือเกษียณจากองค์กรไป

    แต่โดยหลักใหญ่ใจความสำคัญของ EEM นั้น คือการสร้างการรับรู้ (cognitive learning) หรือสร้างความรู้สึกของพนักงานในเชิงบวกต่อองค์ประกอบรอบๆตัวในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมองค์กร ผู้นำองค์กร เพื่อนร่วมงาน บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เป็นต้น

    โดยการสร้าง EEM นั้นก็มีเป้าหมายหลักคือการก่อให้เกิดการรับรู้ที่ดีของพนักงาน…

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    เราจะวัดความพึงพอใจของพนักงานได้อย่างไร

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    ปัจจุบันองค์กรหลายองค์กรมีการวัดความพึงพอใจของพนักงานอยู่เสมอ เพื่อที่จะตรวจดู Feedback ของพนักงานอยู่ตลอดเวลา โดยการวัดความพึงพอใจของพนักงานสามารถทำในรูปแบบแบบสอบถามหรือแบบประเมินได้ ทั้งยังสามารถทำในระบบเอกสารไปจนถึงระบบออนไลน์ได้เช่นกัน โดยสามารถทำได้ตามกระบวนการดังนี้

    1.ตั้งประเด็นในการสำรวจความพึงพอใจ

    การตั้งประเด็นสำรวจความพึงพอใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนั่นคือข้อมูลที่อยากรู้ตามวัตถุประสงค์การทำการสำรวจนั่นเอง องค์กรควรตั้งประเด็นในการสำรวจให้ครอบคลุมรอบด้าน เพื่อที่จะตรวจดู Feedback ในหลากหลายมิติ และเข้าใจปัญหาขององค์กรได้หลายหลายมิติเช่นกัน ประเด็นต่างๆ ที่ควรทำการสำรวจมีดังนี้

    • ประเด็นของการทำงานตามหน้าที่ (Jobs & Responsible) : สำรวจความพึงพอใจในงานที่พนักงานทำว่าถนัดหรือมีความชอบหรือไม่ มีปัญหาในการทำงานหรือไม่ ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานส่งผลดีต่อการทำงานหรือไม่ เป็นต้น
    • ประเด็นของเพื่อนร่วมงานตลอดจนหัวหน้างาน (Colleague & Supervisor) : สำรวจความพึงพอใจของการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การบริหารงานบุคคลของหัวหน้างาน การบริหารจัดการระบบงาน ไปจนถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน เป็นต้น
    • ประเด็นของระบบการทำงาน (Working system & Work flow) : สำรวจความพึงพอใจในระบบการทำงานทั้งส่วนย่อยและองค์รวมว่ามีความราบรื่นหรือติดขัดอะไรหรือไม่ ควรปรับปรุงอะไรหรือไม่ ตลอดจนมีระบบการทำงานเป็นทีมที่ดี สอดคล้อง และช่วยเหลือกเกื้อกูลกันหรือไม่
    • ประเด็นของระบบบริหารการทำงาน (Organization Management) : สำรวจความพึงพอใจของการบริหารการทำงานขององค์กรว่ามีประสิทธิภาพ มีระบบ ระเบียบ ที่ดีหรือไม่ หรือควรปรับปรุงแก้ไขอะไร ตลอดจนประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานขององค์กร
    • ประเด็นของระบบริหารงานบุคคล (Human Resource Management) : สำรวจความพึงพอใจของการทำงานของฝ่าย HR การดูแลเอาใจใส่พนักงาน การช่วยแก้ปัญหาให้กับบุคลากรในด้านต่างๆ อัตราเงินเดือน สวัสดิการของพนักงาน ไปจนถึงเรื่องสันทนาการต่างๆ ที่องค์กรจัดบริการกับบุคลากร เป็นต้น
    • ประเด็นของการพัฒนาบุคลากร (Human Resource Development) : สำรวจความพึงพอใจในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร แผนการพัฒนาทักษะ-วิชาชีพ การพัฒนาองค์ความรู้ การเสริมความรู้ในด้านอื่นๆ ตลอดจนความก้าวหน้าในการทำงานภายในองค์กร เป็นต้น
    • ประเด็นอื่นๆ และประเด็นที่มีความสำคัญ (Other Issue & Important Subject) : สำรวจความพึงพอใจในประเด็นที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน หรือประเด็นสำคัญ ณ ขณะนั้น อย่างเช่น การย้ายที่ตั้งออฟฟิศ, การปรับโครงสร้างองค์กร เป็นต้น

    2.จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจ

    จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจขึ้นให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถวัดความพึงพอใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยองค์กรควรเลือกแบบสำรวจความพึงพอใจให้เหมาะกับองค์กรของตน หรือลักษณะที่ต้องการวัดผลให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งแบบสำรวจที่นิยมมีลักษณะดังนี้

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    การสำรวจความพึงพอใจแบบระบุระดับความพึงพอใจ

    แบบสำรวจนี้มักจะแบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ โดยมีค่ากลางเป็นมาตรฐานชี้วัด วัดระดับที่สูงขึ้นและต่ำลงมาอีกสองระดับ เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจได้อย่างละเอียดชัดเจนขึ้น และแต่ละระดับจะมีดีกรีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากวัดจากสิ่งที่แย่ที่สุดไปยังสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งทั้ง 5 ระดับก็ได้แก่ … ไม่พอใจมาก > ไม่พอใจ > เฉยๆ > พอใจ > พอใจมาก

    ตัวอย่างการวัดระดับความพึงพอใจ

    ระดับความพอใจไม่พอใจมากไม่พอใจเฉยๆพอใจพอใจมาก
    • คำถาม

     

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง (Source & Reference) : https://www.quicktapsurvey.com/feedback/templates/employee-satisfaction-survey-online

    การสำรวจความพึงพอใจแบบให้คะแนนความพึงพอใจ

    แบบสำรวจนี้จะเป็นการให้คะแนนความพึงพอใจ โดยมากจะเป็นคะแนน 5 ระดับ และ 10 ระดับ ให้ผู้ที่ถูกสำรวจชั่งน้ำหนักเพื่อให้คะแนนความพึงพอใจในเรื่องนั้นๆ ว่าควรได้รับคะแนนที่ระดับเท่าใด โดยความหมายของระดับคะแนนนั้น ฝั่งคะแนนน้อยที่สุดมักจะหมายถึง ความไม่พึงพอใจมากที่สุด และฝั่งคะแนนมากที่สุดมักจะหมายถึง ความพึงพอใจมาก

    ตัวอย่างการวัดระดับความพึงพอใจ

    คะแนนความพอใจ12345678910
    • คำถาม

     

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง (Source & Reference) : https://omnitechpro.com/blog/employee-satisfaction-surveys

    การสำรวจความพึงพอใจแบบคำถามปลายเปิดและช่องว่างให้เขียนข้อเสนอแนะ

    แบบสำรวจนี้จะเป็นการสำรวจความพึงพอใจแบบปลายเปิด คือให้ผู้ถูกสำรวจระบุเอง เสนอแนะได้อย่างอิสระ และให้รายละเอียดที่ชัดเจน ตรงประเด็นขึ้น

    • คำถาม

    ข้อเสนอแนะ

    ________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    อย่างไรก็ดีการทำแบบสำรวจความพึงพอใจในแต่ละครั้งนั้นอาจเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง หรือใช้ผสมร่วมกันตามความเหมาะสมได้ โดยเฉพาะการสำรวจแบบคำถามปลายเปิดที่ให้เขียนข้อเสนอแนะนั้นมักจะนำไว้ตอนท้ายเพื่อเก็บตกเรื่องราวหรือประเด็นต่างๆ ตามแต่ละบุคคลเสมอ

    3.เลือกวิธีการทำแบบสำรวจให้เหมาะสม

    ขั้นต่อมาก็คือการเลือกวิธีทำการสำรวจให้เหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ะละองค์กร โดยวิธีการสำรวจที่นิยมนั้นมี 2 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้

    • การสำรวจแบบเอกสาร (Paper Survey) : การสำรวจวิธีดั้งเดิมนี้ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ เพราะการสำรวจผ่านระบบออนไลน์ต้องใช้พนักงานที่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต และการสำรวจแบบนี้อาจมีข้อดีที่ผู้สำรวจจะมีสมาธิในการทำแบบสำรวจมากกว่าระบบออนไลน์ได้อีกด้วย
    • การสำรวจผ่านระบบออนไลน์ (Online Survey) : ปัจจุบันการสำรวจออนไลน์ได้รับความนิยมมาก เพราะประหยัดเวลา ประหยัดงบประมาณ สะดวกสบาย และจัดการง่าย อีกทั้งยังประมวลผลได้ง่าย โดยการทำแบบสำรวจออนไลน์ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูปตลอดจนแหล่งจัดทำที่ให้บริการมากมาย ไม่เสียค่าใช้จ่าย และทำได้ไม่ยากเลย แต่สำหรับองค์กรที่มีฝ่าย IT ก็อาจจะมีการสร้างแบบสอบถามขึ้นในระบบของตัวเอง ก็จะเป็นการดีที่สามารถออกแบบให้เหมาะสมได้ดีที่สุด

    Fun App Survey

    Happily.ai : แอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ที่กำลังมาแรงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงนี้ก็คือ Happily.ai ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่ผสมผสานแพลตฟอร์มของ Online Survey เข้ากับรูปแบบของ Game & Animation ที่ทำให้การสำรวจดึงดูดความสนใจของพนักงานได้ดีขึ้น สร้างความมีส่วนร่วมได้เยอะขึ้น สร้างความสนุกตื่นเต้นในการทำแบบสำรวจ สร้างความพึงพอใจในการให้ความร่วมมือ ตลอดจนสามารถได้รับประโยชน์จากความร่วมมือด้วยกลยุทธ์การสะสมแต้มเพื่อแลกสิทธิประโยชน์อีกด้วย นอกจากนี้ทางฝ่ายที่จัดการยังสามารถนำผลสำรวจมาประเมินผลได้อย่างว่องไวและมีประสิทธิภาพอีกด้วย เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับองค์กรในการทำการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานที่มีศักยภาพยอดเยี่ยมทีเดียว ลองเข้าไปดูรายละเอียดและติดตามข้อมูล ตลอดจนที่ไปที่มาของการสร้างสรรค์นวัตกรรมนี้ได้ที่บทสัมภาษณ์ด้านล่างนี้

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    Website : https://happily.ai/ 

    4.ประเมินผลแบบสำรวจและสรุปผล

    ขั้นตอนสุดท้ายเป็นสิ่งสำคัญมาก หลังจากทำแบบสำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วก็คือขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล และสรุปผลให้มีประสิทธิภาพที่สุด หากผู้ประมวลผลขาดความรู้ในการประมวลผลข้อมูลที่ดี สรุปผลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ดี ก็อาจทำให้การสำรวจมาทั้งหมดสูญเปล่าได้ ดังนั้นควรเลือกคนที่มีความเข้าใจ และมีศักยภาพในการสรุปผล ตลอดจนสามารถแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมได้ มาทำตรงจุดนี้ และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือการนำผลประเมินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในส่วนของฝ่ายต่างๆ และองค์กรเองก็ตาม รวมถึงแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่พบให้เร็วที่สุดด้วย นั่นจึงจะเป็นการสำรวจความพึงพอใจที่มีประสิทธิภาพที่สุด และสร้างความพึงพอใจให้บุคลากรอย่างแท้จริง

    บทสรุป

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    องค์กรควรรักษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรไว้ให้อยู่ในระดับที่ดีและมีทัศนคติในเชิงบวกเสมอ ตลอดจนควรส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรเกิดความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน การสร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรนั้นเกิดขึ้นได้ในหลากหลายมิติ ดังนั้นองค์กรที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่ดีย่อมสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน เมื่อพนักงานเกิดความพึงพอใจในงานที่ทำ ก็จะเกิดความตั้งใจ ทุ่มเทในงาน และเกิดความสุขในการทำงาน ที่ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในองค์กรได้ แล้วความพึงพอใจนี่ล่ะที่เป็นเคล็ดลับสำคัญที่ทำให้เป็นพลังผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างไร้ขีดจำกัด

    แบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงาน

    ความพึงพอใจในการทำงานตลอดจนความพึงพอใจในองค์กรนั้นช่วยให้บุคลากรอย่างร่วมงานกับองค์กรในระยะยาว ลดอัตราการออกจากงานได้ ทำให้บริษัททำงานได้ราบรื่น สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และทำให้การทำงานสัมฤทธิ์ผลได้สูง ความพึงพอใจในการทำงานนี้ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่องค์กรควรใส่ใจ รวมถึงสำรวจความพึงพอใจของพนักงานอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแนวโน้มของ Feedback ของพนักงานที่มีต่อองค์ว่าดีหรือแย่ง บวกหรือลบ ทั้งนี้ก็เพื่อการรักษาความพึงพอใจให้คงอยู่ ตลอดจนหาวิธีสร้างความพึงพอใจให้เพิ่มขึ้น ตลอดจนหาวิธีทางแก้ไขปัญหา อุดรอยรั่วได้ทัน กรณีที่เกิดวิกฤตที่จะลดระดับความพึงพอใจของพนักงาน