องค์ประกอบ ที่ใช้ใน งานดนตรี

องค์ประกอบของดนตรี.. ^^

องค์ประกอบของดนตรี

องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี 

          1.3.1 เสียง (Tone)
        เป็นการยากที่จะกล่าวหรือระบุได้ว่าดนตรีเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้อย่างแน่ชัด จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานและตั้งข้อสังเกตจากโบราณวัตถุหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานตามหลักการและเหตุผล และคำนึงถึงความเป็นไปได้มากที่สุด ข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับกำเนิดของดนตรีมีดังนี้
ลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นจะมีความแตกต่างไปจากเสียงที่มีความหมายว่า Noise เนื่องจากลักษณะของการเกิดเสียงที่เรียกว่า Tone นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงในความหมายว่า Noise นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ เสียงดนตรีไม่ว่าจะเป็นเสียงที่เกิดจากการเป่า การร้อง การดีด หรือการสี จะเป็นลักษณะเสียงที่เรียกว่า Tone เพราะการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ

เสียงประกอบไปด้วยคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการคือ ระดับเสียง ความสั้นยาวของเสียง ความดังเบาของเสียง และสีสันของเสียง

ระดับเสียง (Pitch)
ระดับเสียง หมายถึง ความสูงต่ำของเสียงในเชิงภายภาพ หากความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดเสียงสูง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเป็นลักษณะช้า จะทำให้เกิดเสียงต่ำ หูของมนุษย์สามารถแยกเสียงตั้งแต่ระดับความถี่ของการสั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที จนถึง 20,000 ครั้ง / วินาที

               ความสั้น – ยาวของเสียง (Duration)
เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสั้นยาวของเสียง กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินลักษณะของการลากเสียงยาวๆ หรือบางครั้งก็จะเป็นลักษณะห้วนๆสั้นๆ ความแตกต่างกันในลักษณะนี้เรียกว่า ความสั้น – ยาวของเสียง
               ความดัง – เบาของเสียง (Dynamics)
เสียงดนตรีจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความดัง – เบาของเสียงเช่นกัน กล่าวคือบางครั้งเราจะได้ยินการบรรเลงเพลงที่มีเสียงดัง อึกทึกครึกโครม ตรงกันข้ามบางครั้งก็จะได้ยินเสียงดนตรีที่นุ่มนวล หรือแผ่วเบา ลักษณะของการเกิดเสียงแบบนี้เรียกว่า ความดัง – เบาของเสียง
               ความดัง – เบาของเสียง อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะเบาหรือดังขึ้นทันทีทันใด หรืออาจจะเป็นลักษณะค่อยๆเบาลงหรือค่อยๆดังขึ้น ในดนตรีตะวันตกจะมีการบอกหรือแสดงเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร โดยใช้อักษรย่อจากคำเต็มในภาษาอิตาเลียน ได้แก่

fff มาจากคำเต็มว่า   fortississimo หมายถึง   ดังที่สุด
ff มาจากคำเต็มว่า   fortissimo หมายถึง   ดังมาก
f มาจากคำเต็มว่า   forte หมายถึง   ดัง
mf มาจากคำเต็มว่า   mezzo forte หมายถึง   ปานกลางค่อนข้างดัง
mp มาจากคำเต็มว่า   mezzo piano หมายถึง   ปานกลางค่อนข้างเบา
p มาจากคำเต็มว่า   piano หมายถึง   เบา
pp มาจากคำเต็มว่า   pianissimo หมายถึง   เบามาก
ppp มาจากคำเต็มว่า  pianississimo หมายถึง   เบาที่สุด

                    และยังมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงลักษณะเสียงที่ค่อยๆดังขึ้น เรียกว่า Crescendo และค่อยๆเบาลง เรียกว่า Decrescendo อีกด้วย
ในวัฒนธรรมดนตรีอื่นๆอาจจะไม่ได้มีเครื่องหมายแสดงลักษณะเสียงที่ชัดเจน แต่การบรรเลงจะเป็นไปในลักษณะของการใช้ความรู้สึกเป็นตัวกำหนด
สีสันของเสียง (Tone Color) 
สีสันของเสียง (Tone Color หรือ Timbre) หมายถึง ความแตกต่างของเสียงซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดเสียงที่ต่างกัน ซึ่งได้แก่เสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ รวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในบทเพลงๆหนึ่ง หากขับร้องโดยผู้ชายก็จะได้ความรู้สึกที่แตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง หรือในการบรรเลงดนตรี หากเป็นการบรรเลงเดี่ยวก็จะมีความแตกต่างไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือบรรเลงโดยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน ลักษณะที่แตกต่างกันนี้เรียกว่าสีสันของเสียง
คุณสมบัติทั้ง 4 ประการของเสียงรวมกันทำให้เกิดเสียงดนตรีที่หลากหลายจนทำให้ดนตรีเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง โดยสรุปเสียงดนตรีมีได้ตั้งแต่ ต่ำ – สูง สั้น – ยาว เบา – ดัง และมีเสียงที่แตกต่างกันของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด

       1.3.2 ทำนอง (Melody)
 ทำนองคือ การจัดเรียงของเสียงที่มีความแตกต่างกันของระดับเสียงและความยาวของเสียง โดยทั่วไปดนตรีจะประกอบไปด้วยทำนองซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมากที่สุด ทำนองมีหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป องค์ประกอบของทำนองที่ควรทราบได้แก่

จังหวะของทำนอง (Melodic Rhythm)
          จังหวะของทำนองคือ ความสั้นยาวของระดับเสียงแต่ละเสียงที่ประกอบกันเป็นทำนอง

มิติของทำนอง (Melodic Dimensions)
 มิติของทำนอง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความยาวและช่วงกว้าง
ความยาว (Length) ทำนองบางครั้งอาจจะสั้นๆเป็นส่วนๆ ซึ่งส่วนที่เล็กสุดหรือสั้นที่สุดเรียกว่า โมทีฟ (Motive) บางครั้งอาจเป็นทำนองที่ยาวมากๆ
ช่วงกว้าง (Range) คือ ระยะระหว่างระดับเสียงต่ำสุดจนถึงระดับเสียงสูงสุด

         ช่วงเสียงของทำนอง (Register)
ทำนองเพลงอาจจะอยู่ในช่วงเสียงใดช่วงเสียงหนึ่ง เช่น ในช่วงเสียงต่ำ กลาง หรือสูง บางครั้งทำนองอาจจะเคลื่อนที่จากช่วงเสียงหนึ่งไปยังอีกช่วงเสียงหนึ่งก็ได้

ทิศทางของทำนอง (Direction)
ทิศทางของทำนองหมายถึง การเคลื่อนที่ของทำนอง กล่าวคือทำนองอาจจะเคลื่อนที่ไปในหลายทิศทาง เช่น เคลื่อนที่ขึ้น เคลื่อนที่ลง หรืออยู่กับที่ โดยปกติทำนองมักจะเคลื่อนที่ขึ้นจุดสูงสุดเมื่อเนื้อหาของเพลงดำเนินไปถึงจุดสำคัญที่สุด ปกติการเคลื่อนที่ของทำนองอาจจะเป็นในลักษณะกระโดด (Disjunct Progression) หรือเรียงกันไป (Conjunct Progression) บทเพลงนั้นจะน่าสนใจ น่าฟัง หรือชวนฉงนสงสัย ขึ้นอยู่กับผลรวมของคุณสมบัติต่างๆของทำนอง ทำนองจัดเป็นลักษณะพื้นฐานของดนตรีหรือบทเพลง โดยทั่วไปทำนองที่เป็นหลักในบทเพลงหนึ่งจะเรียกว่าทำนองหลัก (Main Theme) ในแต่ละบทเพลงอาจจะมีทำนองหลักได้มากกว่า 1 ทำนอง
        1.3.3 เสียงประสาน (Harmony)
        เสียงประสานคือ องค์ประกอบของดนตรีที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานของเสียงมากกว่าหนึ่งแนวเสียง เสียงประสานเป็นองค์ประกอบดนตรีที่สลับซับซ้อนกว่าจังหวะและทำนอง แสดงถึงความประณีตในการประพันธ์ อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมอาจจะไม่พบการประสานเสียงของดนตรีเลย เช่น ดนตรีพื้นเมืองหรือดนตรีพื้นบ้านที่มีความเรียบง่ายของการประพันธ์ ซึ่งเป็นดนตรีที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของตนเอง

       >>  การประสานเสียงนั้นมี 2 ลักษณะคือ               การประสานเสียงที่มีลักษณะของเสียงที่กลมกลืนกันและไม่กลมกลืนกัน

           เสียงประสานที่กลมกลืน (Consonance)
              เสียงประสานที่กลมกลืนกันนั้น เมื่อฟังแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกกลมกล่อม สบายหูสามารถพบได้ในหลายๆวัฒนธรรมดนตรี

           เสียงประสานที่ไม่กลมกลืน (Dissonance)
เสียงประสานที่ไม่กลมกลืนกัน เมื่อฟังแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกขัดหู ตึงเครียด ค้างหรือแขวนอยู่ ลักษณะของเสียงประสานที่ไม่กลมกลืนกันมักจะไม่พบในวัฒนธรรมดนตรีตะวันออก แต่ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกจะมีการใช้เสียงประสานในรูปแบบนี้

        1.3.4 จังหวะ (Rhythm) 
จังหวะสามารถแบ่งออกได้เป็นลักษณะสำคัญดังนี้ อัตราจังหวะ (Meter)
โดยทั่วไปบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผนจะมีอัตราจังหวะที่ชัดเจน เช่น บทเพลงประเภทเพลงเถาในดนตรีไทยจะมี 3 ท่อน ท่อนที่ 1 มีอัตราจังหวะ 3 ชั้น ท่อนที่ 2 มีอัตราจังหวะ 2 ชั้น และท่อนที่ 3 มีอัตราจังหวะ 1 ชั้นหรือชั้นเดียว โดยฉิ่งจะทำหน้าที่กำกับจังหวะ อัตราจังหวะ ซึ่งผู้บรรเลงมีความจำเป็นต้องทราบถึงอัตราจังหวะเหล่านี้ หรือบทเพลงในดนตรีคลาสสิคของอินเดีย ก็จะมีอัตราจังหวะที่หลากหลาย ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกซึ่งมีการบันทึกดนตรีเป็นโน้ตดนตรีที่ชัดเจนอย่างมีระบบ ก็ได้แสดงหรือบ่งบอกอัตราจังหวะของเพลงไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน เช่น บทเพลงในลักษณะจังหวะแบบสามช่า (cha cha cha) ก็จะมีอัตราจังหวะ 4/4 ซึ่งหมายความว่า ในหนึ่งห้องเพลงจะมี 4 จังหวะ เป็นต้น
ความช้า – เร็วของจังหวะ (Tempo)
ดนตรีทุกชนิดในโลกจะมีความช้าเร็วของจังหวะเพลง เช่นเพลงที่ใช้ประกอบการเต้นรำเพื่อความสนุกสนาน ก็อาจจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว ตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้กล่อมเด็ก ก็มีจังหวะที่ค่อนข้างช้า เป็นเรื่องของเสียงที่เคลื่อนที่ไปในช่วงเวลา ดังนั้นองค์ประกอบเรื่องเวลาจึงเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของดนตรี ทางดนตรีองค์ประกอบเรื่องเวลาประกอบไปด้วย ความเร็วของจังหวะ (Tempo) อัตราจังหวะ (Meter) และจังหวะ (Rhythm)
ความช้า – เร็วของจังหวะ อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะช้าหรือเร็วขึ้นทันทีทันใด หรืออาจจะเป็นลักษณะค่อยๆช้าลงหรือค่อยๆเร็วขึ้น ซึ่งในดนตรีตะวันตกจะมีการบอกหรือแสดงเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร โดยใช้คำศัพท์ในภาษาอิตาเลียน เช่น

Presto หมายถึง   เร็วที่สุด
Vivace หมายถึง   เร็วมาก
Allegro หมายถึง   เร็ว
Allegretto หมายถึง   ค่อนข้างเร็ว
Moderato หมายถึง   ปานกลาง
Andantino หมายถึง   ค่อนข้างช้า
Andante หมายถึง   ช้า
Largo หมายถึง   ช้ามาก

           สำหรับในวัฒนธรรมอื่นๆมิได้มีการแสดงหรือระบุไว่าจะต้องบรรเลงอย่างไร แต่ผู้บรรเลงสามารถบรรเลงโดยมีความเข้าใจร่วมกัน เช่น ในบทเพลงเถาของไทย ผู้บรรเลงจะต้องบรรเลงให้ช้าหรือเร็วอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับกำกับจังหวะของฉิ่งในแต่ละท่อนเพลง
           ดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผน จะมีรูปแบบที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งได้แก่ ดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อการฟังที่เรียกว่า ดนตรีศิลป์ หรือดนตรีชั้นสูงของแต่ละชาติ หรือดนตรีประจำชาติ เช่น ดนตรีตะวันตกจะมีโครงสร้างของบทเพลงที่ชัดเจน บทเพลงจะมีการแบ่งออกเป็นท่อนต่างๆ เช่น บทเพลงประเภทรูปแบบ Concerto จะมี 3 ท่อน คือ ท่อนที่ 1 เป็นแบบ Allegro มีจังหวะเร็ว ท่อนที่ 2 ช้า และท่อนที่ 3 เร็ว ในแต่ละท่อนก็จะมีรูปแบบปลีกย่อยออกไปอีก เช่น ในท่อนที่ 1 อาจจะเป็นแบบ Rondo ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ท่อน A B A B หรือตัวอย่างเช่นในบทเพลงไทยเดิมลักษณะรูปแบบเพลงเถา ก็จะประกอบด้วย 3 ท่อน ท่อนที่ 1 เป็นอัตราจังหวะ 3 ชั้น ท่อนที่ 2 เป็นอัตราจังหวะ 2 ชั้น และท่อนที่ 3 เป็นอัตราจังหวะ 1 ชั้น
อย่างไรก็ตาม เรามักจะไม่ค่อยพบรูปแบบของดนตรีหรือบทเพลงที่ชัดเจนในดนตรีพื้นบ้าน เนื่องจากเป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ซึ่งมิได้คำนึงถึงหลักการประพันธ์แต่อย่างใด

องค์ประกอบทางดนตรีและศิลปะมีความสําคัญอย่างไร

องค์ประกอบดนตรีมีความส าคัญต่อ บทเพลง เพราะเป็นสิ่งที่ท าให้บทเพลง มีความสมบูรณ์ ไพเราะ น่าฟัง อีกทั้ง เป็นสิ่งที่ท าให้ผู้ฟังเข้าใจบทเพลงมากขึ้น องค์ประกอบทางศิลปะเป็นสิ่งที่ใช้ในการ สร้างสรรค์งานศิลปะ เมื่อมีการน าดนตรีมา เกี่ยวข้อง จะท าให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน ด้านศิลปะที่น่าสนใจ

ข้อใดคือองค์ประกอบของดนตรีทั้งหมด

องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี

องค์ประกอบของดนตรีสากลมีกี่ประเภท

สำหรับดนตรีตะวันตกนั้นเราสามารถ แบ่งองค์ประกอบได้ทั้งหมดเป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ จังหวะ (Rhythm), ทำนอง (Tune, Melody), เสียงประสาน (Harmony), และสีสันของเสียง (Tone Color) (Soifer, 1997) 3.1. จังหวะ จังหวะถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

องค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลงมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลงไทย ได้แก่ จังหวะ เสียง ทำานอง การประสานเสียง รูปพรรณ หรือพื้นผิว รูปแบบคีตลักษณ์ สีสันของเสียง