เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์

เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในปีที่ผ่านมาโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เเละกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟประมาณว่า เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 2017 จะมีมูลค่าที่ 311,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Ernesto Abella โฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่า ตั้งเเต่ขึ้นรับตำเเหน่งในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ได้สร้างความร่วมมือใหม่ๆ หลายด้านกับจีน และส่งเสริมความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น ซึ่งสนใจที่จะลงทุนในฟิลิปปินส์

เขาชี้ว่าความสำเร็จด้านความร่วมมือกับต่างประเทศนี้ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว

Rahul Bajoria นักเศรษฐศาสตร์ภูมิภาคแห่ง Barclays ในสิงคโปร์ กล่าวว่า หากดูในเเง่ของผลกระทบต่อจีนแล้ว ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นประเทศที่พึ่งพาจีนทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดในภูมิภาค เเต่เขากล่าวว่าในระยะยาว จีนจะมีบทบาททางเศรษฐกิจต่อฟิลิปปินส์มากขึ้นในช่วง 3 – 5 ปีข้างหน้า หากแผนความร่วมมือและความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศยังเดินหน้าต่อไป

นักวิเคราะห์เเห่ง Barclays กล่าวว่า การลงทุนต่างประเทศหลักๆ น่าจะมาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งอยู่จะเน้นที่ภาคโรงงานผลิตสินค้าและภาคการทำเหมือง

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่า จีนได้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือมูลค่า 24,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และบรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ญี่ปุ่นจะลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในฟิลิปปินส์ และยังจะให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่โครงการพัฒนาต่างๆ

โดยญี่ปุ่นเป็นชาติที่ลงทุนโดยตรงมากที่สุดในฟิลิปปินส์เมื่อปีที่แล้ว มูลค่าคิดเป็นเกือบ 29 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด

ในปี ค.ศ. 2017 ประธานาธิบดี Duterte ดูเทอร์เต้ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมอาเซียน (ASEAN) ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 10 ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโฆษกประจำตัวของเขากล่าวกับสื่อมวลชนท้องถิ่นว่า บทบาทในฐานะประธานสมาคมอาเซียนนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

อดีตประธานาธิบดี Benigno Aquino ได้เพิ่มมูลค่าการลงทุนด้านสาธารณูปโภคขึ้นไปเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี 2016 เพื่อพัฒนาทางด่วน ระบบขนส่งมวลชน Metro Manila และทางรถไฟสายต่างๆ ในจังหวัดต่างๆ

นอกจากนี้ เขายังได้พยายามดึงดูดนักลงทุนผ่านโครงการที่เรียกว่า "China+1" ซึ่งเป็นโครงการที่เสนอผลประโยชน์ต่างๆ เเก่บริษัทต่างชาติที่ลงทุนอยู่เเล้วในจีน ให้เข้าไปขยายกิจการในฟิลิปปินส์แทน

Ernesto Pernia เลขาธิการด้านการวางเเผนด้านเศรษฐศาสตร์สังคมของฟิลิปปินส์ กล่าวในงานแถลงข่าวว่า ประธานาธิบดี Duterte ตั้งเป้าที่จะเน้นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในชนบทห่างไกลของฟิลิปปินส์

เขากล่าวว่า ทางการฟิลิปปินส์ยังเดินหน้าดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สืบเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนต่อไป เเต่ได้เพิ่มเงินลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคมากขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาระดับภาคและในชนบท ตลอดจนเน้นลงทุนอย่างเข้มเเข็งในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรวมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา และโภชนาการ

โดยปกติแล้ว เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์พึ่งการบริโภคและเงินที่ส่งกลับบ้านโดยชาวฟิลิปปินส์ที่ีทำงานในต่างประเทศเป็นหลัก ตลอดจน call centers สำหรับบริษัทต่างชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ต่างประเทศ

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและค่าเเรงที่ต่ำ ช่วยดึงดูดให้บริษัทต่างชาติเข้าไปตั้ง call centers ในฟิลิปปินส์ และประมาณว่า call centers เหล่านี้ได้สร้างรายได้แก่ประเทศถึง 25,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา

ส่วนเงินที่เเรงงานชาวฟิลิปปินส์ในต่างประเทศส่งกลับบ้าน อยู่ที่ 14,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีเเรกของปีที่แล้ว

ธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ ADB ในฟิลิปปินส์ คาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในปีที่ผ่าน อยู่ที่ 6.4 เปอร์เซ็นต์ และน่าจะอยู่ที่ 6.2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017 และชี้ให้เห็นว่า ฟิลิปปินส์เติบโตทางเศรษฐกิจเร็วกว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเตือนว่าไม่ควรคาดหวังสูงนักต่อการลงทุนจากต่างประเทศ กฏหมายเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของธุรกิจของบริษัทต่างประเทศทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่อยากลงทุนในอุตสาหกรรมบางประเภท รวมทั้งการทำเหมือง และเงินที่มาจากจีนอาจอยู่ในรูปของเงินกู้ หรืออาจจะเจาะจงว่ามอบให้โครงการบางอย่างตามความสนใจของจีน

ธนาคารโลกรายงานว่า เงินลงทุนโดยต่างจากต่างประเทศคิดเป็นเเค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมในปี 2015

1.2 ฟิลิปปินส์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต (region) 80 จังหวัด (province) และ 120 เมือง (city) โดยแบ่งการปกครองย่อยออกเป็น 1,499 เทศบาล (municipality) และ 41,969 บารังไก (barangay) ซึ่งเทียบเท่าตำบลหรือหมู่บ้าน

1.3 ฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนท้องถิ่นทั่วประเทศ รวม 17,996 ตำแหน่งในคราวเดียวกัน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 มีผู้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 50.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประมาณ 38 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75 ของผู้ลงทะเบียนทั้งหมด โดยนายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม (Benigno S. Aquino III) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรค Liberal (LP) และนายเจโจมาร์ บิไน (Jejomar Binay) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองมากาติ (Makati) ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดี

1.4 รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี อาคีโน ที่สาม มุ่งให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและมีสถานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านงบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือน และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นท้าทายต่าง ๆ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ และการสร้างพลังประชาคมระหว่างประเทศในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDG) ภายในปี 2558

เศรษฐกิจการค้า

2. เศรษฐกิจ
2.1 ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน ขณะเดียวกันประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่

2.2 รัฐบาลภายใต้การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เน้นนโยบายสร้างวินัยทางการคลัง โดยการบริหารงบประมาณแบบสมดุล (zero - budgeting policy) เพื่อแก้ไขภาวะงบประมาณขาดดุล อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ในปี 2553 รัฐบาลได้กำหนดงบประมาณขาดดุลอัตราร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือประมาณ 625 พันล้านเปโซ เนื่องจากความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค และอัดฉีดเม็ดเงินให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยสนับสนุนการสร้างกลไกความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ - เอกชน (public - private partnerships) และเร่งแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของต่างชาติ ผลักดันกฎหมายป้องกันการผูกขาด (anti - trust law) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียม รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนในสาขาสาธารณูปโภค การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เหมืองแร่ และเกษตรกรรม

2.3 ในปี 2553 การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของฟิลิปปินส์ อยู่ที่อัตราร้อยละ 7.3 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2553 การใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 รวมทั้งปัจจัยเชิงบวกด้านอื่น ๆ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของเงินโอนจากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ การขยายตัวของภาคการส่งออก การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุน และเศรษฐกิจมหภาคมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโตในอัตราร้อยละ 7 – 8 ตลอดวาระการบริหารงาน (ปี 2553 – 2560) อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติยังมีความกังวลต่อปัญหา/ อุปสรรคอื่น ๆ ในการลงทุนในฟิลิปปินส์ เช่น ความไม่แน่นอนเชิงนโยบายในระยะยาว ระบบสาธารณูปโภคขาดคุณภาพและค่าใช้จ่ายสูง

3. นโยบายต่างประเทศ
3.1 นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์อยู่บนพื้นฐานของนโยบายหลัก 3 ด้าน คือ (1) ด้านความมั่นคง (2) ด้านเศรษฐกิจ และ (3) ด้านแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ (Overseas Filipinos Workers) โดยเน้นการสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติกับการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมระหว่างประเทศ และยังคงให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศสมาชิกอาเซียน

3.2 ฟิลิปปินส์มีความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา เนื่องด้วยความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์ ความเป็น พันธมิตรด้านความมั่นคง และสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ในระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกาของประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เมื่อเดือนกันยายน 2553 รัฐบาลฟิลิปปินส์ประสบผลสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนและเงินช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาพร้อมจะสนับสนุนนโยบายแห่งชาติของฟิลิปปินส์ในทุกมิติ ในการนี้ ฟิลิปปินส์ได้ลงนามความตกลง Millennium Challenge Account (MCA) มูลค่า 434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งความตกลงดังกล่าว อยู่ภายใต้การดำเนินงานของความร่วมมือแห่งความท้าทายแห่งสหัสวรรษ (Millennium Challenge Corporation – MCC) โดยเป็นเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาที่สนับสนุนประเทศที่ยากจนเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้แสดงความสนใจที่จะเพิ่มพลวัตร และแรงขับเคลื่อนทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา โดยการเข้าร่วมการเจรจาความตกลงว่าด้วยการค้าเสรีในกรอบ Trans – Pacific Economic Partnership

3.3 ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ในระดับดีกับนานาประเทศ อาทิ (1) กับญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์และเป็นประเทศผู้บริจาครายสำคัญต่อการพัฒนาในมินดาเนา (2) กับจีนในฐานะประเทศคู่ค้าและผู้ลงทุนที่สำคัญ และ (3) กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และเยเมน ซึ่งเป็นตลาดแรงงานสำคัญของฟิลิปปินส์และแหล่งทุนสำหรับการพัฒนาในมินดาเนา ตลอดจนมีศักยภาพที่จะสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ในองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference – OIC)

3.4 ฟิลิปปินส์ส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (1) การร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front – MILF) และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front – MNLF) (2) การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่ม NAM วาระพิเศษว่าด้วยเรื่อง Interfaith Dialogue และความร่วมมือเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (Special Non-Aligned Movement Ministerial Meeting - SNAMM) เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีการรับรองปฏิญญามะนิลาเกี่ยวกับหลักสำคัญในการบรรลุผลด้านสันติภาพและการพัฒนาโดยใช้ Interfaith Dialogue (3) การเป็นประธานการประชุมทบทวนไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (2010 Review Conference of Non-Proliferation of Nuclear Weapon – NPT) ซึ่งสาระสำคัญเกี่ยวกับการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติจำนวน 64 ข้อ ได้รับการบรรจุไว้ในรายงานสุดท้ายของการประชุมดังกล่าว (4) การส่งกองกำลังฟิลิปปินส์เข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และ (5) การมีบทบาทที่แข็งขันในกรอบอาเซียน อาทิ บทบาทในฐานะประเทศผู้ประสานงานการเจรจาระหว่างอาเซียน – สหรัฐอเมริกา การส่งเสริมการจัดทำแนวทางปฏิบัติ ในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in South China Sea) รวมทั้งการสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน

เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศฟิลิปปินส์คืออะไร

2.1 ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน ขณะเดียวกันประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพใน ...

ระบบเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปินส์เป็นแบบใด

ทั้งนี้ระบบเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์มีลักษณะคล้ายไทยคือเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร 9. สาหรับความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยนั้น ฟิลิปปินส์เป็นคู่ค้าล าดับที่18 ของไทย ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลาดับที่8 ของฟิลิปปินส์

อุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ คืออะไร

๒.๔ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอุปสรรคจากความล่าช้าของขั้นตอนการดำเนินงานภาครัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบรรยากาศด้านการลงทุนและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการกระจายรายได้และการปฏิรูปที่ดินที่ล่าช้า ทำให้พื้นที่การเกษตรโดยเฉลี่ยลดลง

สกุลเงินของประเทศฟิลิปปินส์คืออะไร

เปโซฟิลิปปินส์ฟิลิปปินส์ / สกุลเงินnull